เปิดตัวเลขจำนำข้าว "ลุงตู่" ได้แค่ 3 ล้านตันจากผลผลิตข้าวกว่า 24 ล้านตันทั่วประเทศ ความหวังยกระดับราคาข้าว "ริบหรี่" แถมข่าวร้ายปลายปี G to G จีนยังไม่ซื้อเพิ่ม "ฟิลิปปินส์-มาเลเซีย-อินโดนีเซีย" เบรกซื้อข้าว750,000 ตัน โรงสีเตือนสต๊อกข้าวปีหน้ากลับมาที่ระดับ 11 ล้านตัน หวั่นราคาร่วงยาว
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ที่ประชุมมีมติให้ความเห็นชอบตามที่ คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) เสนอให้ขยายวงเงินอีก 18,000 ล้านบาท ในโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี 2559/2560 เพื่อช่วยเหลือชาวนาที่ปลูกข้าวหอมมะลิ 105 นอกเขตพื้นที่ 23 จังหวัด และ กข.15 ข้าวเปลือกเจ้านาปีและข้าวเปลือกปทุมธานี 1 โดยกำหนดให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ปล่อยสินเชื่อให้ 90% ของราคาข้าวในราคาตลาด
ทั้งนี้ ข้าวเปลือกเจ้า ราคาเฉลี่ยตันละ 7,800 บาท ธ.ก.ส.จะรับจำนำตันละ 7,000 บาท ข้าวเปลือกปทุมธานี ราคาเฉลี่ยตันละ 8,700 บาท ธ.ก.ส.จะรับจำนำตันละ 7,800 บาท แต่ชาวนาจะได้รับเงินช่วยเหลือเป็นค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวตันละ 2,000 บาท กับเงินค่าขึ้นยุ้งและเก็บรักษาอีกตันละ 1,500 บาท รายละไม่เกิน 10 ไร่ รวมแล้วชาวนาจะได้รับเงินข้าวเปลือกเจ้าตันละ 10,500 บาท ข้าวเปลือกปทุมธานีตันละ 11,300 บาท จากชาวนาที่ปลูกข้าวเปลือกเจ้า 661,885 ราย และชาวนาที่ปลูกข้าวปทุมธานี 91,028 ราย
ส่วนชาวนาที่ไม่ร่วมโครงการจำนำยุ้งฉางก็จะได้เงินจากการขายข้าวในราคาตลาดบวกกับเงินช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวตันละ2,000บาท ยกตัวอย่าง ข้าวเปลือกเจ้าราคาขายตลาดตันละ 7,800 บาท บวกค่าเก็บเกี่ยวอีก 2,000 บาท รวมเป็น 9,800 บาท ข้าวปทุมธานีราคาขายตลาดตันละ 8,700 บาท บวกค่าเก็บเกี่ยว 2,000 บาท รวมเป็น 10,700 บาท
จำนำยุ้งฉางเบ็ดเสร็จ 3 ล้านตัน
มีรายงานข่าวจากคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) เข้ามาว่า โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี 2559/2560 ธ.ก.ส.ได้ตั้งเป้าหมายจ่ายเงินสินเชื่อ (จำนำยุ้งฉาง) โดยใช้ข้าวเปลือกหอมมะลิในเขตพื้นที่ 23 จังหวัด และนอกพื้นที่เป็นหลักประกันประมาณ 2 ล้านตัน กับข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกปทุมธานี 1 เป็นหลักประกันอีกประมาณ 1 ล้านตัน รวมเป็นเป้าหมายที่จะเข้าไปรับจำนำชาวนาทั้งประเทศแค่ 3 ล้านตันข้าวเปลือกเท่านั้น
ในขณะที่คาดการณ์ปริมาณผลผลิตข้าวปี 2559/2560 รอบที่ 1 ระหว่างเดือนกันยายน 2559 ถึงเดือนมกราคม 2560 มีปริมาณสูงถึง 24.97 ล้านตันข้าวเปลือก นั่นหมายถึงมีข้าวเปลือกภายในประเทศอีกไม่ต่ำกว่า 21.97 ล้านตันข้าวเปลือก ที่ทยอยออกสู่ตลาดภายในประเทศโดยไม่ได้รับความช่วยเหลือจากการจำนำยุ้งฉางตามโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี2559/2560ของรัฐบาล โดยข้าวเปลือกจำนวนนี้จะถูกขายออกมาในราคาตลาด บวกกับการรับเงินช่วยเหลือ "ค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว" จากรัฐบาลจ่ายผ่าน ธ.ก.ส.ตันละ 2,000 บาท และยังถูก "จำกัด" การช่วยเหลือไว้ที่รายละไม่เกิน 10 ไร่ ในกรณีข้าวเปลือกเจ้า กับรายละ 15 ไร่ ในกรณีข้าวหอมมะลิ
"ด้วยวงเงินในโครงการสินเชื่อที่มีจำนวนจำกัด ทำให้รัฐบาลสามารถรับจำนำข้าวผ่านยุ้งฉางของ ธ.ก.ส.ได้แค่ 3 ล้านตันเท่านั้น แต่ก็ถือว่ามากที่สุดเท่าที่ ธ.ก.ส.เคยเปิดรับจำนำยุ้งฉางมา ประเด็นปัญหาจึงอยู่ที่ว่า ข้าวเปลือกที่เหลืออีกประมาณ 21 ล้านตันจะทำอย่างไร ในส่วนนี้กรมการค้าภายในได้จัดทำ โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้กับผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต๊อกระยะเวลา 2-6 เดือน มีเป้าหมายเก็บสต๊อกข้าวเปลือกโดยโรงสีข้าวปริมาณ 8 ล้านตัน โดยรัฐบาลจะชดเชยดอกเบี้ยให้กับโรงสี 3% เริ่มโครงการตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 ถึง 31 มีนาคม 2560 คงเหลือปริมาณข้าวเปลือกที่ออกสู่ตลาดประมาณ 13 ล้านตันข้าวเปลือก" แหล่งข่าวกล่าว
รัฐ-โรงสีแบกสต๊อกข้าวเพิ่ม
ด้านนายเกรียงศักดิ์ ตาปนานนท์ อดีตเลขาธิการสมาคมโรงสีข้าวไทย กล่าวถึงโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี 2559/2560 ที่ขยายไปถึงข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ถือเป็นการช่วยเหลือชาวนาให้เกิดความเสมอภาคกัน แต่ในทางปฏิบัติชาวภาคกลางที่ไม่มียุ้งฉางเก็บข้าวก็จะไม่ได้รับเงินช่วยเหลือค่าขึ้นยุ้งและเก็บรักษาตันละ1,500บาท ดังนั้นการจะเข้าร่วมโครงการจึงขึ้นอยู่กับสหกรณ์ในพื้นที่ว่าจะมีความเข้มแข็งเพียงใด
ส่วนผลจากการใช้มาตรการรับจำนำยุ้งฉางจะช่วยยกระดับราคาข้าวเปลือกในตลาดได้เพียงใดนั้น"ตรงนี้ขึ้นกับราคาข้าวสารที่ผู้ส่งออกจะรับซื้อ"ซึ่งหากคิดราคาข้าวเปลือกเจ้า 7,000 บาท เป็นต้นทุนข้าวสารที่ 12,000 บาท แต่ขณะนี้ผู้ส่งออกรับซื้อข้าวในราคา 11,000 บาท ส่วนข้าวหอมปทุมธานี 7,800 บาท คิดเป็นต้นทุนข้าวสารที่ตันละ 13,000-13,500 บาท แต่ราคาตลาดขณะนี้รับซื้ออยู่แค่ตันละ 12,500 บาทเท่านั้น
"รัฐบาลจะต้องวางแผนบริหารจัดการสต๊อกข้าวภายในประเทศที่จะเพิ่มขึ้นจาก 3 ส่วนด้วยกันให้ดี กล่าวคือสต๊อกข้าวจากโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลในอดีต ที่คงเหลือประมาณ 8.4 ล้านตัน สต๊อกข้าวของผู้ประกอบการโรงสีที่ค้างจากปีการผลิต 2558/2559 และสต๊อกข้าวเปลือกใหม่ของชาวนาในปีนี้ (ส่วนหนึ่งผ่านการจำนำยุ้งฉางของ ธ.ก.ส.อีกประมาณ 3 ล้านตัน) ทั้งหมดนี้จะบริหารจัดการกันอย่างไร" นายเกรียงศักดิ์กล่าว
โดยในส่วนสต๊อกข้าวของโรงสีที่ค้างจากปี 2558/2559 นายเกรียงศักดิ์กล่าวว่า มีทั้งแบบตั้งใจเก็บสต๊อกและแบบไม่ตั้งใจเก็บสต๊อกของโรงสี ซึ่งเป็นผลจากการซื้อข้าวไว้ต้นฤดูแล้วขายออกไปไม่ได้ จึงต้องแบกภาระสต๊อกข้ามปี ซึ่งในจำนวนนี้มีทั้งข้าวหอมมะลิและข้าว 5% เนื่องจากโรงสีประเมินว่า ภัยแล้งอาจจะทำให้ราคาข้าวขยับขึ้น เพราะผู้ส่งออกต้องหาข้าวส่งออก แต่เอาเข้าจริงสถานการณ์กลับเป็นอีกแบบ เนื่องจากผู้ส่งออกกลัวแล้ง หาข้าวส่งมอบไม่ได้ จึงไม่หาออร์เดอร์ใหม่ ราคาข้าวในประเทศจึงปรับลดลง
"ผมว่าโอกาสที่โรงสีจะเข้าร่วม โครงการรับซื้อชดเชยดอกเบี้ย 3% ของรัฐบาลในปีนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์สภาพคล่องของแต่ละโรงสี เพราะโรงสีบางโรงติดปัญหามีการทำแพ็กกิ้งเครดิตไว้กับธนาคารเมื่อปีก่อน พอราคาข้าวลง ธนาคารให้เติมเงินที่แพ็กกิ้งเครดิตไว้ หรือถ้าไม่เติมก็จะไม่มีสภาพคล่องซื้อข้าว โรงสีต้องเลือกว่าจะซื้อหรือจะเติม ทำให้โรงสีบางแห่งขาดทุนรุนแรง การที่รัฐชดเชยดอกเบี้ยให้ 3% จากดอกเบี้ยที่โรงสีจะต้องเสีย 7% หรือเทียบเป็นข้าวเจ้าชดเชยให้ 40 บาท/ตัน/เดือน ข้าวมะลิชดเชยให้ 80 บาท/ตัน/เดือน แต่ราคาข้าวลดลงไป 30-40% เช่น ข้าวหอมมะลิลดลงจากตันละ 27,000 บาท เหลือ 16,000 บาท (หายไปตันละ 11,000 บาท/ปี หรือเดือนละ 1,000 บาท) ข้าวขาวจากตันละ 13,000 บาท เหลือ 11,000 บาท (หายไปตันละ 2,000 บาท/ปี หรือ 166 บาท/เดือน) โรงสีจึงไม่ต้องการชดเชยดอกเบี้ย 3% ของรัฐ เพราะมันไม่คุ้มเมื่อเทียบกับราคาข้าวที่ลดลงไปแล้ว เราอยากให้ตลาดขายได้มากกว่า ขอให้รัฐบาลไปดูข้าวทั้งระบบตั้งแต่การส่งออกลงมาจนถึงชาวนาว่า แต่ละขั้นตอนเป็นอย่างไร สอดคล้องกันหรือไม่" นายเกรียงศักดิ์กล่าว
ไร้ออร์เดอร์อินโดฯ-ฟิลิปปินส์
ร.ต.ท.เจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า หากคำนวณราคาข้าวเปลือกจากโครงการสินเชื่อของรัฐบาลเท่ากับ คิดเป็นราคาส่งออกข้าวสารเจ้า 5% อยู่ที่ตันละ 300 เหรียญสหรัฐ ข้าวสารปทุมธานีขณะนี้อยู่ที่ 420-430 เหรียญ/ตัน ส่วนข้าวหอมมะลิอยู่ที่ 500 เหรียญ/ตัน ส่วนประเด็นที่ระบุว่า การตั้งราคาส่งออกข้าวล่วงหน้าที่ "ลดต่ำลง" จนส่งผลกระทบต่อราคาข้าวเปลือกในประเทศนั้น สมาคมมีความเห็นว่า การตั้งราคาส่งออกเป็นผลจากการคาดการณ์ของผู้ส่งออกแต่ละรายที่จะประเมินจากปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อไป "เสี่ยง" กำหนดราคาล่วงหน้า เพราะหากไทยไม่ตัดสินใจขายล่วงหน้าก็จะไม่มีตลาดรองรับข้าวใหม่ ซึ่งผู้ส่งออกมีความเสี่ยงที่จะขาดทุน "ไม่ใช่ว่า เราอยากลดราคาข้าว"
ส่วนสาเหตุที่ราคาข้าวหอมมะลิล่วงหน้าลดลงมากนั้นเพราะมีการประเมินว่า ผลผลิตข้าวหอมมะลิจะออกมากกว่าปกติจาก 7 ล้านตัน เป็น 9.5 ล้านตัน ส่วนภาพรวมข้าวเคยสรุปแผนข้าวครบวงจรว่า ปีนี้จะมีผลผลิตลดเหลือ 25-27 ล้านตัน แต่จริง ๆ แล้วเฉพาะครอปแรกยอดกลับสูงขึ้น โดยในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2 เดือนรวมแล้วได้ประมาณ 25 ล้านตัน "สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก" ซ้ำคู่แข่งยังผลิตได้มากเช่นเดียวกันโดยเฉพาะ อินเดีย ที่กำลังเก็บเกี่ยวอยู่ขณะนี้ คาดว่าจะมีผลผลิตถึง 106.5 ล้านตัน
ขณะที่ตลาดส่งออกข้าวยังคงมีปัญหาจากกำลังซื้อลดลงโดยเฉพาะตลาดแอฟริกา และล่าสุดจากการที่สมาคมเข้าร่วมคณะไปกับกรมการค้าต่างประเทศ ไปเยือนประเทศผู้นำเข้า าเลเซีย-อินโดนีเซีย ประเมินว่า ในปีนี้มาเลเซียจะยังไม่มีการซื้อข้าวแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (G to G) แน่ จึงจะมีการซื้อในแบบเอกชน-เอกชน ส่วนอินโดนีเซีย ซึ่งเดิมคาดว่าจะมีออร์เดอร์ช่วงปลายปีอีก 500,000 ตัน ก็ชะลอออกไปก่อน เช่นเดียวกับฟิลิปปินส์ ที่เดิมคาดการณ์ว่าจะมีประมูลข้าว 250,000 ตันปลายปี "ก็คาดว่าจะเลื่อนไปเป็นปีหน้าอีก"
ส่วนการส่งมอบข้าวให้รัฐบาลจีนแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (G to G) ลอตแรกอีก 100,000 ตัน คาดว่าจะส่งมอบเสร็จภายในสิ้นเดือนนี้ ส่วนลอตต่อไปต้องรอผลการเจรจาราคาต่อไปอีก ขณะที่การสั่งซื้อโดยเอกชนจีนก็มีเพียงผู้นำเข้าข้าวที่ยังมีโควตานำเข้าเหลืออยู่เท่านั้นที่จะนำเข้าเพิ่มสำหรับใช้ในช่วงตรุษจีนส่วนที่เหลือต้องรอรัฐบาลจีนประกาศผลโควตานำเข้าปี2560 ซึ่งคาดว่าประกาศประมาณต้นปี 2560 และยังมีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการแบ่งโควตาเพิ่มขึ้นเป็น 200 เหรียญ/ตัน ถือว่าสูงมากและอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้นำเข้าตัดสินใจไม่นำเข้า และหันไปใช้ข้าวที่ผลิตในประเทศแทน
แหล่งข่าวจากวงการค้าข้าวเปิดเผยว่า ราคาข้าวเปลือกในประเทศจะขยับขึ้นหรือไม่นั้น "ไม่ได้ขึ้นอยู่กับโครงการรับจำนำยุ้งฉางของรัฐบาล เพราะมีการรับจำนำแค่ 3 ล้านตันเท่านั้น" แต่ขึ้นอยู่กับคำสั่งซื้อข้าวช่วงปลายปีนี้จะมีเข้ามาหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งออร์เดอร์ G to G จากรัฐบาลจีน ซึ่งตอนนี้ "ยังไม่มีวี่แวว" ส่วนการเปิดประมูลซื้อข้าวของมาเลเซีย-ฟิลิปปินส์ก็ยังไม่เกิดขึ้น ราคาข้าวไทยจึงทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ เป็นความจริงที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้
"จนถึงสิ้นปี 2559 รัฐบาลไทยจะมีสต๊อกข้าวคงเหลือทั้งจากโครงการรับจำนำข้าวในอดีต ประมาณ 8.4 ล้านตัน บวกกับสต๊อกที่ ธ.ก.ส.รับจำนำยุ้งฉางเข้ามาอีกประมาณ 3 ล้านตัน รวมเป็น 11-12 ล้านตันที่จะต้องเข้ามาบริหารจัดการ เพราะสต๊อกจำนวนนี้จะกดดันราคาข้าวต่อไปในปี 2560" แหล่งข่าวกล่าว
JJNY : ชวด GtoG จีนแบกสต๊อกข้าว11ล.ตัน
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ที่ประชุมมีมติให้ความเห็นชอบตามที่ คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) เสนอให้ขยายวงเงินอีก 18,000 ล้านบาท ในโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี 2559/2560 เพื่อช่วยเหลือชาวนาที่ปลูกข้าวหอมมะลิ 105 นอกเขตพื้นที่ 23 จังหวัด และ กข.15 ข้าวเปลือกเจ้านาปีและข้าวเปลือกปทุมธานี 1 โดยกำหนดให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ปล่อยสินเชื่อให้ 90% ของราคาข้าวในราคาตลาด
ทั้งนี้ ข้าวเปลือกเจ้า ราคาเฉลี่ยตันละ 7,800 บาท ธ.ก.ส.จะรับจำนำตันละ 7,000 บาท ข้าวเปลือกปทุมธานี ราคาเฉลี่ยตันละ 8,700 บาท ธ.ก.ส.จะรับจำนำตันละ 7,800 บาท แต่ชาวนาจะได้รับเงินช่วยเหลือเป็นค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวตันละ 2,000 บาท กับเงินค่าขึ้นยุ้งและเก็บรักษาอีกตันละ 1,500 บาท รายละไม่เกิน 10 ไร่ รวมแล้วชาวนาจะได้รับเงินข้าวเปลือกเจ้าตันละ 10,500 บาท ข้าวเปลือกปทุมธานีตันละ 11,300 บาท จากชาวนาที่ปลูกข้าวเปลือกเจ้า 661,885 ราย และชาวนาที่ปลูกข้าวปทุมธานี 91,028 ราย
ส่วนชาวนาที่ไม่ร่วมโครงการจำนำยุ้งฉางก็จะได้เงินจากการขายข้าวในราคาตลาดบวกกับเงินช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวตันละ2,000บาท ยกตัวอย่าง ข้าวเปลือกเจ้าราคาขายตลาดตันละ 7,800 บาท บวกค่าเก็บเกี่ยวอีก 2,000 บาท รวมเป็น 9,800 บาท ข้าวปทุมธานีราคาขายตลาดตันละ 8,700 บาท บวกค่าเก็บเกี่ยว 2,000 บาท รวมเป็น 10,700 บาท
จำนำยุ้งฉางเบ็ดเสร็จ 3 ล้านตัน
มีรายงานข่าวจากคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) เข้ามาว่า โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี 2559/2560 ธ.ก.ส.ได้ตั้งเป้าหมายจ่ายเงินสินเชื่อ (จำนำยุ้งฉาง) โดยใช้ข้าวเปลือกหอมมะลิในเขตพื้นที่ 23 จังหวัด และนอกพื้นที่เป็นหลักประกันประมาณ 2 ล้านตัน กับข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกปทุมธานี 1 เป็นหลักประกันอีกประมาณ 1 ล้านตัน รวมเป็นเป้าหมายที่จะเข้าไปรับจำนำชาวนาทั้งประเทศแค่ 3 ล้านตันข้าวเปลือกเท่านั้น
ในขณะที่คาดการณ์ปริมาณผลผลิตข้าวปี 2559/2560 รอบที่ 1 ระหว่างเดือนกันยายน 2559 ถึงเดือนมกราคม 2560 มีปริมาณสูงถึง 24.97 ล้านตันข้าวเปลือก นั่นหมายถึงมีข้าวเปลือกภายในประเทศอีกไม่ต่ำกว่า 21.97 ล้านตันข้าวเปลือก ที่ทยอยออกสู่ตลาดภายในประเทศโดยไม่ได้รับความช่วยเหลือจากการจำนำยุ้งฉางตามโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี2559/2560ของรัฐบาล โดยข้าวเปลือกจำนวนนี้จะถูกขายออกมาในราคาตลาด บวกกับการรับเงินช่วยเหลือ "ค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว" จากรัฐบาลจ่ายผ่าน ธ.ก.ส.ตันละ 2,000 บาท และยังถูก "จำกัด" การช่วยเหลือไว้ที่รายละไม่เกิน 10 ไร่ ในกรณีข้าวเปลือกเจ้า กับรายละ 15 ไร่ ในกรณีข้าวหอมมะลิ
"ด้วยวงเงินในโครงการสินเชื่อที่มีจำนวนจำกัด ทำให้รัฐบาลสามารถรับจำนำข้าวผ่านยุ้งฉางของ ธ.ก.ส.ได้แค่ 3 ล้านตันเท่านั้น แต่ก็ถือว่ามากที่สุดเท่าที่ ธ.ก.ส.เคยเปิดรับจำนำยุ้งฉางมา ประเด็นปัญหาจึงอยู่ที่ว่า ข้าวเปลือกที่เหลืออีกประมาณ 21 ล้านตันจะทำอย่างไร ในส่วนนี้กรมการค้าภายในได้จัดทำ โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้กับผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต๊อกระยะเวลา 2-6 เดือน มีเป้าหมายเก็บสต๊อกข้าวเปลือกโดยโรงสีข้าวปริมาณ 8 ล้านตัน โดยรัฐบาลจะชดเชยดอกเบี้ยให้กับโรงสี 3% เริ่มโครงการตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 ถึง 31 มีนาคม 2560 คงเหลือปริมาณข้าวเปลือกที่ออกสู่ตลาดประมาณ 13 ล้านตันข้าวเปลือก" แหล่งข่าวกล่าว
รัฐ-โรงสีแบกสต๊อกข้าวเพิ่ม
ด้านนายเกรียงศักดิ์ ตาปนานนท์ อดีตเลขาธิการสมาคมโรงสีข้าวไทย กล่าวถึงโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี 2559/2560 ที่ขยายไปถึงข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ถือเป็นการช่วยเหลือชาวนาให้เกิดความเสมอภาคกัน แต่ในทางปฏิบัติชาวภาคกลางที่ไม่มียุ้งฉางเก็บข้าวก็จะไม่ได้รับเงินช่วยเหลือค่าขึ้นยุ้งและเก็บรักษาตันละ1,500บาท ดังนั้นการจะเข้าร่วมโครงการจึงขึ้นอยู่กับสหกรณ์ในพื้นที่ว่าจะมีความเข้มแข็งเพียงใด
ส่วนผลจากการใช้มาตรการรับจำนำยุ้งฉางจะช่วยยกระดับราคาข้าวเปลือกในตลาดได้เพียงใดนั้น"ตรงนี้ขึ้นกับราคาข้าวสารที่ผู้ส่งออกจะรับซื้อ"ซึ่งหากคิดราคาข้าวเปลือกเจ้า 7,000 บาท เป็นต้นทุนข้าวสารที่ 12,000 บาท แต่ขณะนี้ผู้ส่งออกรับซื้อข้าวในราคา 11,000 บาท ส่วนข้าวหอมปทุมธานี 7,800 บาท คิดเป็นต้นทุนข้าวสารที่ตันละ 13,000-13,500 บาท แต่ราคาตลาดขณะนี้รับซื้ออยู่แค่ตันละ 12,500 บาทเท่านั้น
"รัฐบาลจะต้องวางแผนบริหารจัดการสต๊อกข้าวภายในประเทศที่จะเพิ่มขึ้นจาก 3 ส่วนด้วยกันให้ดี กล่าวคือสต๊อกข้าวจากโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลในอดีต ที่คงเหลือประมาณ 8.4 ล้านตัน สต๊อกข้าวของผู้ประกอบการโรงสีที่ค้างจากปีการผลิต 2558/2559 และสต๊อกข้าวเปลือกใหม่ของชาวนาในปีนี้ (ส่วนหนึ่งผ่านการจำนำยุ้งฉางของ ธ.ก.ส.อีกประมาณ 3 ล้านตัน) ทั้งหมดนี้จะบริหารจัดการกันอย่างไร" นายเกรียงศักดิ์กล่าว
โดยในส่วนสต๊อกข้าวของโรงสีที่ค้างจากปี 2558/2559 นายเกรียงศักดิ์กล่าวว่า มีทั้งแบบตั้งใจเก็บสต๊อกและแบบไม่ตั้งใจเก็บสต๊อกของโรงสี ซึ่งเป็นผลจากการซื้อข้าวไว้ต้นฤดูแล้วขายออกไปไม่ได้ จึงต้องแบกภาระสต๊อกข้ามปี ซึ่งในจำนวนนี้มีทั้งข้าวหอมมะลิและข้าว 5% เนื่องจากโรงสีประเมินว่า ภัยแล้งอาจจะทำให้ราคาข้าวขยับขึ้น เพราะผู้ส่งออกต้องหาข้าวส่งออก แต่เอาเข้าจริงสถานการณ์กลับเป็นอีกแบบ เนื่องจากผู้ส่งออกกลัวแล้ง หาข้าวส่งมอบไม่ได้ จึงไม่หาออร์เดอร์ใหม่ ราคาข้าวในประเทศจึงปรับลดลง
"ผมว่าโอกาสที่โรงสีจะเข้าร่วม โครงการรับซื้อชดเชยดอกเบี้ย 3% ของรัฐบาลในปีนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์สภาพคล่องของแต่ละโรงสี เพราะโรงสีบางโรงติดปัญหามีการทำแพ็กกิ้งเครดิตไว้กับธนาคารเมื่อปีก่อน พอราคาข้าวลง ธนาคารให้เติมเงินที่แพ็กกิ้งเครดิตไว้ หรือถ้าไม่เติมก็จะไม่มีสภาพคล่องซื้อข้าว โรงสีต้องเลือกว่าจะซื้อหรือจะเติม ทำให้โรงสีบางแห่งขาดทุนรุนแรง การที่รัฐชดเชยดอกเบี้ยให้ 3% จากดอกเบี้ยที่โรงสีจะต้องเสีย 7% หรือเทียบเป็นข้าวเจ้าชดเชยให้ 40 บาท/ตัน/เดือน ข้าวมะลิชดเชยให้ 80 บาท/ตัน/เดือน แต่ราคาข้าวลดลงไป 30-40% เช่น ข้าวหอมมะลิลดลงจากตันละ 27,000 บาท เหลือ 16,000 บาท (หายไปตันละ 11,000 บาท/ปี หรือเดือนละ 1,000 บาท) ข้าวขาวจากตันละ 13,000 บาท เหลือ 11,000 บาท (หายไปตันละ 2,000 บาท/ปี หรือ 166 บาท/เดือน) โรงสีจึงไม่ต้องการชดเชยดอกเบี้ย 3% ของรัฐ เพราะมันไม่คุ้มเมื่อเทียบกับราคาข้าวที่ลดลงไปแล้ว เราอยากให้ตลาดขายได้มากกว่า ขอให้รัฐบาลไปดูข้าวทั้งระบบตั้งแต่การส่งออกลงมาจนถึงชาวนาว่า แต่ละขั้นตอนเป็นอย่างไร สอดคล้องกันหรือไม่" นายเกรียงศักดิ์กล่าว
ไร้ออร์เดอร์อินโดฯ-ฟิลิปปินส์
ร.ต.ท.เจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า หากคำนวณราคาข้าวเปลือกจากโครงการสินเชื่อของรัฐบาลเท่ากับ คิดเป็นราคาส่งออกข้าวสารเจ้า 5% อยู่ที่ตันละ 300 เหรียญสหรัฐ ข้าวสารปทุมธานีขณะนี้อยู่ที่ 420-430 เหรียญ/ตัน ส่วนข้าวหอมมะลิอยู่ที่ 500 เหรียญ/ตัน ส่วนประเด็นที่ระบุว่า การตั้งราคาส่งออกข้าวล่วงหน้าที่ "ลดต่ำลง" จนส่งผลกระทบต่อราคาข้าวเปลือกในประเทศนั้น สมาคมมีความเห็นว่า การตั้งราคาส่งออกเป็นผลจากการคาดการณ์ของผู้ส่งออกแต่ละรายที่จะประเมินจากปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อไป "เสี่ยง" กำหนดราคาล่วงหน้า เพราะหากไทยไม่ตัดสินใจขายล่วงหน้าก็จะไม่มีตลาดรองรับข้าวใหม่ ซึ่งผู้ส่งออกมีความเสี่ยงที่จะขาดทุน "ไม่ใช่ว่า เราอยากลดราคาข้าว"
ส่วนสาเหตุที่ราคาข้าวหอมมะลิล่วงหน้าลดลงมากนั้นเพราะมีการประเมินว่า ผลผลิตข้าวหอมมะลิจะออกมากกว่าปกติจาก 7 ล้านตัน เป็น 9.5 ล้านตัน ส่วนภาพรวมข้าวเคยสรุปแผนข้าวครบวงจรว่า ปีนี้จะมีผลผลิตลดเหลือ 25-27 ล้านตัน แต่จริง ๆ แล้วเฉพาะครอปแรกยอดกลับสูงขึ้น โดยในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2 เดือนรวมแล้วได้ประมาณ 25 ล้านตัน "สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก" ซ้ำคู่แข่งยังผลิตได้มากเช่นเดียวกันโดยเฉพาะ อินเดีย ที่กำลังเก็บเกี่ยวอยู่ขณะนี้ คาดว่าจะมีผลผลิตถึง 106.5 ล้านตัน
ขณะที่ตลาดส่งออกข้าวยังคงมีปัญหาจากกำลังซื้อลดลงโดยเฉพาะตลาดแอฟริกา และล่าสุดจากการที่สมาคมเข้าร่วมคณะไปกับกรมการค้าต่างประเทศ ไปเยือนประเทศผู้นำเข้า าเลเซีย-อินโดนีเซีย ประเมินว่า ในปีนี้มาเลเซียจะยังไม่มีการซื้อข้าวแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (G to G) แน่ จึงจะมีการซื้อในแบบเอกชน-เอกชน ส่วนอินโดนีเซีย ซึ่งเดิมคาดว่าจะมีออร์เดอร์ช่วงปลายปีอีก 500,000 ตัน ก็ชะลอออกไปก่อน เช่นเดียวกับฟิลิปปินส์ ที่เดิมคาดการณ์ว่าจะมีประมูลข้าว 250,000 ตันปลายปี "ก็คาดว่าจะเลื่อนไปเป็นปีหน้าอีก"
ส่วนการส่งมอบข้าวให้รัฐบาลจีนแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (G to G) ลอตแรกอีก 100,000 ตัน คาดว่าจะส่งมอบเสร็จภายในสิ้นเดือนนี้ ส่วนลอตต่อไปต้องรอผลการเจรจาราคาต่อไปอีก ขณะที่การสั่งซื้อโดยเอกชนจีนก็มีเพียงผู้นำเข้าข้าวที่ยังมีโควตานำเข้าเหลืออยู่เท่านั้นที่จะนำเข้าเพิ่มสำหรับใช้ในช่วงตรุษจีนส่วนที่เหลือต้องรอรัฐบาลจีนประกาศผลโควตานำเข้าปี2560 ซึ่งคาดว่าประกาศประมาณต้นปี 2560 และยังมีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการแบ่งโควตาเพิ่มขึ้นเป็น 200 เหรียญ/ตัน ถือว่าสูงมากและอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้นำเข้าตัดสินใจไม่นำเข้า และหันไปใช้ข้าวที่ผลิตในประเทศแทน
แหล่งข่าวจากวงการค้าข้าวเปิดเผยว่า ราคาข้าวเปลือกในประเทศจะขยับขึ้นหรือไม่นั้น "ไม่ได้ขึ้นอยู่กับโครงการรับจำนำยุ้งฉางของรัฐบาล เพราะมีการรับจำนำแค่ 3 ล้านตันเท่านั้น" แต่ขึ้นอยู่กับคำสั่งซื้อข้าวช่วงปลายปีนี้จะมีเข้ามาหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งออร์เดอร์ G to G จากรัฐบาลจีน ซึ่งตอนนี้ "ยังไม่มีวี่แวว" ส่วนการเปิดประมูลซื้อข้าวของมาเลเซีย-ฟิลิปปินส์ก็ยังไม่เกิดขึ้น ราคาข้าวไทยจึงทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ เป็นความจริงที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้
"จนถึงสิ้นปี 2559 รัฐบาลไทยจะมีสต๊อกข้าวคงเหลือทั้งจากโครงการรับจำนำข้าวในอดีต ประมาณ 8.4 ล้านตัน บวกกับสต๊อกที่ ธ.ก.ส.รับจำนำยุ้งฉางเข้ามาอีกประมาณ 3 ล้านตัน รวมเป็น 11-12 ล้านตันที่จะต้องเข้ามาบริหารจัดการ เพราะสต๊อกจำนวนนี้จะกดดันราคาข้าวต่อไปในปี 2560" แหล่งข่าวกล่าว