เราเคยได้ยินอยู่เสมอว่า ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ และได้รับการสอนมาว่า วิญญาณ ตือ ตัวจิต ส่วน เวทนา สัญญา สังขาร คือ เจตสิก (สิ่งประกอบจิต)
เมื่อพิจารณาดูแล้วน่าจะเป็นการแต่งขึ้นของอภิธรรม เพราะไม่น่าจะแยกว่าเป็น จิต กับ เจตสิด ให้ยุ่งยาก
เพราะถ้าแยกก็จะทำให้เข้าใจว่า วิญญาณ เป็นอัตตา หรือตัวตน ที่เป็นเรา หรือเป็นตัวตนของทุกชีวิต ที่เป็นอมตะ (ไม่มีวันดับหายไปอย่างเด็ดขาด) ที่สามารถเกิดขึ้นมาใหม่ได้ เรื่อยไป ส่วน เวทนา สัญญา สังขาร นั้นไม่เที่ยง สามารถสูญหายไปได้ (เช่น ความจำจะหายไปเมื่อตายไป เมื่อเกิดใหม่จึงจำอะไรไมได้) ซึ่งเป็นคำสอนของพราหมณ์ ที่สอนว่าจิต หรือ วิญญาณ เป็นอัตตา ที่เวียนว่ายตายเกิดทางร่างกายได้อย่างไม่รู้จักจบสิ้น
จากความเป็นจริงที่เราทุกคนสัมผัสได้ก็คือ คำว่า จิต เป็นการสมมติเรียกการทำงานของระบบระบบหนึ่ง ที่มันสามารถรับรู้สิ่งต่างๆได้ (วิญญาณ) โดยผ่านระบบประสาทของร่างกาย, จำสิ่งที่รับรู้ได้ (สัญญา), รู้สึกต่อสิ่งที่รับรู้ได้ (เวทนา), และปรุงแต่งคิดนึกต่อสิ่งที่รับรู้ได้ (สังขาร) ซึ่งถ้ามันทำหน้าที่ปรุงแต่งก็เรียกสมมติเรียกว่าจิต แต่พอมันทำหน้าที่รู้สึกก็สมมติเรียกว่า ใจ ซึ่งมันก็คือเป็นการสมมติเรียกแยกกันตามหน้าที่เท่านั้น ซึ่งถ้าเราจะศึกษาและเข้าใจอย่างนี้ก็จะทำให้เข้าใจได้ว่า จิตเป็นแค่เพียง สิ่งปรุงแต่ง (หรือสิ่งประกอบจากสิ่งอื่น) เท่านั้น เมื่อมันเป็นสิ่งปรุงแต่ง ดังนั้นมันจึงเป็นอนัตตา คือไม่ใช่อัตตาอย่างที่พราหมณ์สอน และเมื่อจิตหรือวิญญาณเป็นอนัตตา ดังนั้นจึงไม่มีเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดทางร่างกาย
หรือใครมีความคิดเห็นอย่างไร?
คำว่า เจตสิก ไม่น่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
เมื่อพิจารณาดูแล้วน่าจะเป็นการแต่งขึ้นของอภิธรรม เพราะไม่น่าจะแยกว่าเป็น จิต กับ เจตสิด ให้ยุ่งยาก
เพราะถ้าแยกก็จะทำให้เข้าใจว่า วิญญาณ เป็นอัตตา หรือตัวตน ที่เป็นเรา หรือเป็นตัวตนของทุกชีวิต ที่เป็นอมตะ (ไม่มีวันดับหายไปอย่างเด็ดขาด) ที่สามารถเกิดขึ้นมาใหม่ได้ เรื่อยไป ส่วน เวทนา สัญญา สังขาร นั้นไม่เที่ยง สามารถสูญหายไปได้ (เช่น ความจำจะหายไปเมื่อตายไป เมื่อเกิดใหม่จึงจำอะไรไมได้) ซึ่งเป็นคำสอนของพราหมณ์ ที่สอนว่าจิต หรือ วิญญาณ เป็นอัตตา ที่เวียนว่ายตายเกิดทางร่างกายได้อย่างไม่รู้จักจบสิ้น
จากความเป็นจริงที่เราทุกคนสัมผัสได้ก็คือ คำว่า จิต เป็นการสมมติเรียกการทำงานของระบบระบบหนึ่ง ที่มันสามารถรับรู้สิ่งต่างๆได้ (วิญญาณ) โดยผ่านระบบประสาทของร่างกาย, จำสิ่งที่รับรู้ได้ (สัญญา), รู้สึกต่อสิ่งที่รับรู้ได้ (เวทนา), และปรุงแต่งคิดนึกต่อสิ่งที่รับรู้ได้ (สังขาร) ซึ่งถ้ามันทำหน้าที่ปรุงแต่งก็เรียกสมมติเรียกว่าจิต แต่พอมันทำหน้าที่รู้สึกก็สมมติเรียกว่า ใจ ซึ่งมันก็คือเป็นการสมมติเรียกแยกกันตามหน้าที่เท่านั้น ซึ่งถ้าเราจะศึกษาและเข้าใจอย่างนี้ก็จะทำให้เข้าใจได้ว่า จิตเป็นแค่เพียง สิ่งปรุงแต่ง (หรือสิ่งประกอบจากสิ่งอื่น) เท่านั้น เมื่อมันเป็นสิ่งปรุงแต่ง ดังนั้นมันจึงเป็นอนัตตา คือไม่ใช่อัตตาอย่างที่พราหมณ์สอน และเมื่อจิตหรือวิญญาณเป็นอนัตตา ดังนั้นจึงไม่มีเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดทางร่างกาย
หรือใครมีความคิดเห็นอย่างไร?