คำว่า วิญญาณ แปลว่า แจ้ง หรือ รู้แจ้งอย่างวิเศษ ซึ่งก็หมายถึง การรับรู้ที่เกิดขึ้นตามอายตนะภายใน (สิ่งที่ทำหน้าที่เชื่อมต่ออันเป็นภายใน) ทั้ง ๖ ของร่างกาย คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เพื่อเอาไว้เชื่อมต่อกับอายตนะภายนอก (สิ่งที่ทำหน้าที่เชื่อมต่ออันเป็นภายนอก) ทั้ง ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สิ่งกระทบกาย) และ ธรรมารมณ์ (สิ่งกระทบใจ)
เมื่ออายตนะภายนอก มากระทบกับอายตนะภายในที่ตรงกัน ก็จะเกิดวิญญาณขึ้นมาที่อายตนะภายในนั้นทันที เช่น เมื่อมีรูปมากระทบตา ก็จะเกิดวิญญาณทางตา (การเห็นภาพ) ขึ้นมาทันที หรือเมื่อมีเสียงมากระทบหู ก็จะเกิดวิญญาณทางหู (การได้ยินเสียง) ขึ้นมาทันที เป็นต้น
เมื่อเกิดวิญญาณขึ้นมาแล้วก็จะเกิดสัญญา (การจำสิ่งที่รับรู้ได้) และเวทนา (ความรู้สึกต่อสิ่งที่รับรู้) ขึ้นมาด้วยทันที และเมื่อมีสัญญาและเวทนาแล้ว ก็จะเกิดสังขาร (การปรุงแต่งของจิต) ขึ้นมาทันที เช่น เกิดการคิด หรือ เกิดการปรุงแต่งให้เกิดความพอใจ-ไม่พอใจ-ไม่แน่ใจ (กิเลส) เป็นต้นขึ้นมาทันที ซึ่งระบบการทำงานทั้งหมดนี้สมมติเรียกว่า จิต (เมื่อทำหน้าที่คิดนึก) หรือ ใจ (เมื่อทำหน้าที่รู้สึก)
ส่วนคำว่า ตัวตน นั้น มาจากคำว่า อัตตา ที่แปลว่า ตัวตน ที่หมายถึง ตัวตนอมตะ ที่เวียนว่ายตายเกิดได้ อันเป็นความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ แต่ในทางพุทธศาสนาจะไม่สอนว่าจะมีสิ่งใดเป็นอัตตาหรือตัวตน มีแต่การปรุงแต่งให้เกิดความรู้สึกว่ามีตัวตนขึ้นมาชั่วคราวเท่านั้น (ที่เรียกว่า อนัตตา ที่แปลว่า ไม่ใช่อัตตา คือหมายถึง ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง) จึงเรียกว่าว่าเป็นตัวตนมายา หรือตัวตนชั่วคราวเท่านั้น (เพราะมันไม่เที่ยง)
คือจากระบบการทำงานของจิตนี้เอง เมื่อมันมีอวิชชา (ความรู้ผิดว่ามีตนเองหรือตัวเรา) ครอบงำ มันก็จะปรุงแต่งให้เกิดจิตความรู้สึกว่ามีตัวตน (หรือตัวเรา) ขึ้นมาในจิตได้อย่างน่าอัศจรรย์ แล้วตัวตนนี้ก็มาเป็นทุกข์เพราะมายึดถือสิ่งที่ยึดถือไม่ได้ (เช่นเมื่อยึดถือร่างกายแล้วร่างกายแก่ หรือจะตาย จิตมันก็จะเป็นทุกข์)
แต่ถ้าจิตนี้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งแล้วว่า แม้จริงมันไม่ได้มีตัวเราอยู่จริง (มีวิชชาหรือปัญญา) พร้อมทั้งมีสติ (ระลึกถึงปัญญา) และสมาธิอยู่ด้วย (โดยมีศีลเป็นพื้นฐานอยู่ก่อนแล้ว) จิตนี้ก็จะไม่เกิดอวิชชา พร้อมทั้งความยึดถือว่ามีตัวเราขึ้นมา แล้วก็จิตนี้จะไม่มีความทุกข์ เมื่อจิตไม่มีทุกข์ มันก็สงบเย็น (หรือที่สมมติเรียกว่า นิพพาน) ได้ แม้เพียงชั่วคราว
สรุปได้ว่า ชาวพุทธควรศึกษาเรื่องเหล่านี้ให้เข้าใจ เพราะนี่คือหัวใจของพุทธศาสนา ถ้าไม่รู้และไม่เข้าใจเรื่อง วิญญาณ จิต - อัตตา - อนัตตา เป็นต้น ก็จะไม่รู้ และไม่เข้าใจในคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า แล้วก็จะให้เกิดความเข้าใจผิดๆต่อคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า และไม่ได้รับประโยชน์จากคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า อย่างเช่นที่กำลังเป็นอยู่ในปัจจุบัน
คำว่า "วิญญาณ - จิต - อัตตา - อนัตตา" ชาวพุทธยังรู้จักกันไม่ถูกต้อง แล้วจะรู้จักพุทธศาสนาถูกต้องได้อย่างไร
เมื่ออายตนะภายนอก มากระทบกับอายตนะภายในที่ตรงกัน ก็จะเกิดวิญญาณขึ้นมาที่อายตนะภายในนั้นทันที เช่น เมื่อมีรูปมากระทบตา ก็จะเกิดวิญญาณทางตา (การเห็นภาพ) ขึ้นมาทันที หรือเมื่อมีเสียงมากระทบหู ก็จะเกิดวิญญาณทางหู (การได้ยินเสียง) ขึ้นมาทันที เป็นต้น
เมื่อเกิดวิญญาณขึ้นมาแล้วก็จะเกิดสัญญา (การจำสิ่งที่รับรู้ได้) และเวทนา (ความรู้สึกต่อสิ่งที่รับรู้) ขึ้นมาด้วยทันที และเมื่อมีสัญญาและเวทนาแล้ว ก็จะเกิดสังขาร (การปรุงแต่งของจิต) ขึ้นมาทันที เช่น เกิดการคิด หรือ เกิดการปรุงแต่งให้เกิดความพอใจ-ไม่พอใจ-ไม่แน่ใจ (กิเลส) เป็นต้นขึ้นมาทันที ซึ่งระบบการทำงานทั้งหมดนี้สมมติเรียกว่า จิต (เมื่อทำหน้าที่คิดนึก) หรือ ใจ (เมื่อทำหน้าที่รู้สึก)
ส่วนคำว่า ตัวตน นั้น มาจากคำว่า อัตตา ที่แปลว่า ตัวตน ที่หมายถึง ตัวตนอมตะ ที่เวียนว่ายตายเกิดได้ อันเป็นความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ แต่ในทางพุทธศาสนาจะไม่สอนว่าจะมีสิ่งใดเป็นอัตตาหรือตัวตน มีแต่การปรุงแต่งให้เกิดความรู้สึกว่ามีตัวตนขึ้นมาชั่วคราวเท่านั้น (ที่เรียกว่า อนัตตา ที่แปลว่า ไม่ใช่อัตตา คือหมายถึง ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง) จึงเรียกว่าว่าเป็นตัวตนมายา หรือตัวตนชั่วคราวเท่านั้น (เพราะมันไม่เที่ยง)
คือจากระบบการทำงานของจิตนี้เอง เมื่อมันมีอวิชชา (ความรู้ผิดว่ามีตนเองหรือตัวเรา) ครอบงำ มันก็จะปรุงแต่งให้เกิดจิตความรู้สึกว่ามีตัวตน (หรือตัวเรา) ขึ้นมาในจิตได้อย่างน่าอัศจรรย์ แล้วตัวตนนี้ก็มาเป็นทุกข์เพราะมายึดถือสิ่งที่ยึดถือไม่ได้ (เช่นเมื่อยึดถือร่างกายแล้วร่างกายแก่ หรือจะตาย จิตมันก็จะเป็นทุกข์)
แต่ถ้าจิตนี้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งแล้วว่า แม้จริงมันไม่ได้มีตัวเราอยู่จริง (มีวิชชาหรือปัญญา) พร้อมทั้งมีสติ (ระลึกถึงปัญญา) และสมาธิอยู่ด้วย (โดยมีศีลเป็นพื้นฐานอยู่ก่อนแล้ว) จิตนี้ก็จะไม่เกิดอวิชชา พร้อมทั้งความยึดถือว่ามีตัวเราขึ้นมา แล้วก็จิตนี้จะไม่มีความทุกข์ เมื่อจิตไม่มีทุกข์ มันก็สงบเย็น (หรือที่สมมติเรียกว่า นิพพาน) ได้ แม้เพียงชั่วคราว
สรุปได้ว่า ชาวพุทธควรศึกษาเรื่องเหล่านี้ให้เข้าใจ เพราะนี่คือหัวใจของพุทธศาสนา ถ้าไม่รู้และไม่เข้าใจเรื่อง วิญญาณ จิต - อัตตา - อนัตตา เป็นต้น ก็จะไม่รู้ และไม่เข้าใจในคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า แล้วก็จะให้เกิดความเข้าใจผิดๆต่อคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า และไม่ได้รับประโยชน์จากคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า อย่างเช่นที่กำลังเป็นอยู่ในปัจจุบัน