สิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นมาตามธรรมชาตินี้เกิดมาจากธาตุ ๔ เพราะพื้นฐานของทุกสิ่งคือ ธาตุ ๔ คือมีของแข็ง (ธาตุดิน) ของเหลว (ธาตุน้ำ) ความร้อน (ธาตุไฟ) และก๊าซ (ธาตุลม) เท่านั้น แต่ธรรมชาตินี้มีความอัศรจจรย์ตรงที่ ธาตุทั้ง ๔ นี้เมื่อมันมาบรรจบหรือพบกันเข้าอย่างเหมาะสม มันจะมีการปรุงแต่งหรือทำให้เกิดสิ่งใหม่ๆขึ้นมาได้อีกอย่างน่าอัศจรรย์
คือเมื่อมีดิน น้ำ อุณหภูมิที่พอเหมาะ และก๊าซ อย่างเหมาะสม มันก็จะมีการปรุงแต่งหรือมีปฏิกิริยาทำให้เกิดวัตถุ (รูป) ชนิดหนึ่ง ที่วัตถุนั้นจะมีคุณสมบัติพิเศษที่มีการรับรู้สิ่งต่างๆได้ขึ้นมา ซึ่งการรับรู้นี้เองที่เรียกว่า วิญญาณ ที่แปลว่า แจ้ง หรือหมายถึง การรับรู้ และวิญญาณนี้เองที่เป็นพื้นฐานทำให้มีการปรุงแต่งให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า จิต ขึ้นมา (วิญญาณนี้เหมือนไฟฟ้าสถิตย์อย่างที่สุด)
เมื่อดูจากชีวิตของเราเองจริงๆแล้วจะพบว่า เมื่อมีอายตนะภายนอก (คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์) มากระทบกับ อายตนะภายใน (คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ก็จะทำให้เกิดวิญญาณหรือการรับรู้ขึ้นมาที่อายตนะภายในทันที เช่น เมื่อมีรูปมากระทบตา ก็จะเกิดวิญญาณทางตา (การเห็นรูป) ขึ้นมาที่ตาทันที หรือเมื่อมีเสียงมากระทบหู ก็จะเกิดวิญญาณทางหู (การได้ยินเสียง) ขึ้นมาทันที เป็นต้น โดยมีอายตนะใจคอยรับรู้อยู่ตลอดเวลาอีกที
คำว่า จิต หมายถึง สิ่งที่รู้สึกและนึกคิดได้ (ดูจากจิตของเราเอง) คือมันมีการรับรู้ (วิญญาณ) รู้สึก (เวทนา) จำสิ่งที่รับรู้ได้ (สัญญา) และนำเอาสิ่งที่จำได้นั้นมาปรุงแต่งให้เป็นความอยากบ้าง ความยึดถือว่าเป็นตัวเราบ้าง หรือความคิดต่างๆบ้าง ขึ้นมา (สังขาร)
สรุปแล้วขันธ์ ๕ (คือร่างกายกับจิตใจ) นี้เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ธรรมชาติปรุงแต่งขึ้นมาจากธาตุ ๔ ตามธรรมชาติเท่านั้น (เหมือนคอมพิวเตอร์ชั้นเยี่ยมที่มนุษย์สร้างขึ้นมา) แต่เพราะมันมีอวิชชา (ความรู้ว่ามีตนเอง) ที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาครอบงำ จึงทำให้จิตทั้งหลายเกิดความรู้ที่ผิดไปจากความเป็นจริงของธรรมชาติว่ามีตนเองขึ้นมา จึงทำให้จิตทั้งหลายเกิดความรู้สึกว่ามีตนเองและความยึดถือว่ามีตนเอง (พร้อมความทุกข์ใจ) ขึ้นมาอย่างที่เป็นเราในขณะนี้ ซึ่งขันธ์ ๕ นี้เมื่อมันถูกปรุงแต่งให้เกิดขึ้นมาแล้ว มันก็ไม่สามารถที่จะตั้งอยู่ไปชั่วนิรันดร (หรือเป็นอมตะ) ได้ เพราะไม่ช้าก็เร็ว มันจะต้องแตก (ใช้กับร่างกาย) หรือดับ (ใช้กับจิต) ไปในที่สุด (อนิจจัง) แม้ขณะที่มันยังตั้งอยู่ มันก็ยังต้องทนที่จะประคับประคองสภาวะการปรุงแต่งของมันเองไว้ด้วยความยากลำบาก (ทุกขัง) เพราะแท้จริงแล้ว ขันธ์ ๕ นี้มันไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงเลย (อนัตตา) ถ้ามันจะเป็นตัวตนที่แท้จริง (คำว่า อัตตา หมายถึง ตัวตนที่แท้จริง หรือตัวตนอมตะ ที่เป็นคำสอนของศาสนาพราหมณ์ ไม่ใช่ของพระพุทธเจ้า) แล้ว มันจะต้องมีลักษณะ เที่ยงหรือถาวร (นิจจัง) ไม่ต้องทน (สุขัง) ซึ่งความรู้ ความเข้าใจ และความเห็นแจ้งเรื่องขันธ์ ๕ เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตานี้เอง ที่เป็นหัวใจของปัญญาที่นำมาประกอบกับสมาธิ โดยมีศีลเป็นพื้นฐาน ในการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์หรือพ้นทุกข์ของจิตใจในปัจจุบัน (เช่น ความเศร้าโศก หรือความเสียใจ ความทุกข์ใจ ความไม่สบายใจ เป็นต้น) ตามหลักอริยสัจ ๔ ของพระพุทธเจ้า (ลองศึกษารายละเอียดเรื่องนี้ได้ที่
http://www.whatami.net )
หัวใจของปัญญาในพุทธศาสนาก็คือความเข้าใจและเห็นแจ้งว่า "สรรพสิ่งทั้งหลายเกิดมาจากธาตุ ๔ เท่านั้นเอง"
คือเมื่อมีดิน น้ำ อุณหภูมิที่พอเหมาะ และก๊าซ อย่างเหมาะสม มันก็จะมีการปรุงแต่งหรือมีปฏิกิริยาทำให้เกิดวัตถุ (รูป) ชนิดหนึ่ง ที่วัตถุนั้นจะมีคุณสมบัติพิเศษที่มีการรับรู้สิ่งต่างๆได้ขึ้นมา ซึ่งการรับรู้นี้เองที่เรียกว่า วิญญาณ ที่แปลว่า แจ้ง หรือหมายถึง การรับรู้ และวิญญาณนี้เองที่เป็นพื้นฐานทำให้มีการปรุงแต่งให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า จิต ขึ้นมา (วิญญาณนี้เหมือนไฟฟ้าสถิตย์อย่างที่สุด)
เมื่อดูจากชีวิตของเราเองจริงๆแล้วจะพบว่า เมื่อมีอายตนะภายนอก (คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์) มากระทบกับ อายตนะภายใน (คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ก็จะทำให้เกิดวิญญาณหรือการรับรู้ขึ้นมาที่อายตนะภายในทันที เช่น เมื่อมีรูปมากระทบตา ก็จะเกิดวิญญาณทางตา (การเห็นรูป) ขึ้นมาที่ตาทันที หรือเมื่อมีเสียงมากระทบหู ก็จะเกิดวิญญาณทางหู (การได้ยินเสียง) ขึ้นมาทันที เป็นต้น โดยมีอายตนะใจคอยรับรู้อยู่ตลอดเวลาอีกที
คำว่า จิต หมายถึง สิ่งที่รู้สึกและนึกคิดได้ (ดูจากจิตของเราเอง) คือมันมีการรับรู้ (วิญญาณ) รู้สึก (เวทนา) จำสิ่งที่รับรู้ได้ (สัญญา) และนำเอาสิ่งที่จำได้นั้นมาปรุงแต่งให้เป็นความอยากบ้าง ความยึดถือว่าเป็นตัวเราบ้าง หรือความคิดต่างๆบ้าง ขึ้นมา (สังขาร)
สรุปแล้วขันธ์ ๕ (คือร่างกายกับจิตใจ) นี้เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ธรรมชาติปรุงแต่งขึ้นมาจากธาตุ ๔ ตามธรรมชาติเท่านั้น (เหมือนคอมพิวเตอร์ชั้นเยี่ยมที่มนุษย์สร้างขึ้นมา) แต่เพราะมันมีอวิชชา (ความรู้ว่ามีตนเอง) ที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาครอบงำ จึงทำให้จิตทั้งหลายเกิดความรู้ที่ผิดไปจากความเป็นจริงของธรรมชาติว่ามีตนเองขึ้นมา จึงทำให้จิตทั้งหลายเกิดความรู้สึกว่ามีตนเองและความยึดถือว่ามีตนเอง (พร้อมความทุกข์ใจ) ขึ้นมาอย่างที่เป็นเราในขณะนี้ ซึ่งขันธ์ ๕ นี้เมื่อมันถูกปรุงแต่งให้เกิดขึ้นมาแล้ว มันก็ไม่สามารถที่จะตั้งอยู่ไปชั่วนิรันดร (หรือเป็นอมตะ) ได้ เพราะไม่ช้าก็เร็ว มันจะต้องแตก (ใช้กับร่างกาย) หรือดับ (ใช้กับจิต) ไปในที่สุด (อนิจจัง) แม้ขณะที่มันยังตั้งอยู่ มันก็ยังต้องทนที่จะประคับประคองสภาวะการปรุงแต่งของมันเองไว้ด้วยความยากลำบาก (ทุกขัง) เพราะแท้จริงแล้ว ขันธ์ ๕ นี้มันไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงเลย (อนัตตา) ถ้ามันจะเป็นตัวตนที่แท้จริง (คำว่า อัตตา หมายถึง ตัวตนที่แท้จริง หรือตัวตนอมตะ ที่เป็นคำสอนของศาสนาพราหมณ์ ไม่ใช่ของพระพุทธเจ้า) แล้ว มันจะต้องมีลักษณะ เที่ยงหรือถาวร (นิจจัง) ไม่ต้องทน (สุขัง) ซึ่งความรู้ ความเข้าใจ และความเห็นแจ้งเรื่องขันธ์ ๕ เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตานี้เอง ที่เป็นหัวใจของปัญญาที่นำมาประกอบกับสมาธิ โดยมีศีลเป็นพื้นฐาน ในการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์หรือพ้นทุกข์ของจิตใจในปัจจุบัน (เช่น ความเศร้าโศก หรือความเสียใจ ความทุกข์ใจ ความไม่สบายใจ เป็นต้น) ตามหลักอริยสัจ ๔ ของพระพุทธเจ้า (ลองศึกษารายละเอียดเรื่องนี้ได้ที่ http://www.whatami.net )