วันนี้ขอเสนอ เมนูเมืองอีกอย่างคือ "ต๋ำบะหนุน" ถ้าเป็นเมืองเหนือน่าจะหาซื้อที่สำเร็จได้ง่ายตามตลาดเช้าทั่วไป
หรือร้านขายกับข้าวเมือง เป็นเมนูที่ถือว่ารับแขกได้สบาย ๆ
จากตลาดนัดคนเดินวันอาทิตย์เมื่อวาน สล่าปู่ได้ขนุนอ่อนต้มแล้วมา 2 ชิ้น 20 บาท เช้านี้จัดการปอกเปลือก
เลาะแกนกลาง เหลือแต่เนื้อกับเมล็ดอ่อน เอาลงครกยืนตำซะจะละเอียด
ตำน้ำพริก มีกระเทียม หอมแดง ข่า พริกขี้หนูแห้งคั่วให้หอม กะปิ โขลกแบบน้ำพริกเมืองคือไม่ต้องละเอียดมากนักก็ได้
สล่าปู่เป็นคนเมือง "น้ำฮ้า" หมายถึงกินปลาร้าเป็น กินได้ เพราะฉะนั้นจึงไม่พลาด
เอาน้ำปลาร้าต้ม เทลงในชามผสม คลุกทั้งหมดให้เข้ากันเตรียมผัด
ตั้งกระทะใส่น้ำมัน เจียวหอมพอเหลือง แล้วเอาหมูบดลงผัดให้แห้ง เหตุผลคือต้องการ
รสสัมผัสเวลาเคี้ยวโดนมันจะให้ความรู้สึกกว่าหมูผัดแค่สุกนุ่ม เพราะตอนเคี้ยวมันจะปนไป
กับขนุนอ่อนแทบไม่รู้สึกอะไรเลย (เป็นความรู้สึกส่วนตัว)
หมูแห้งดีแล้วเอาขนุนที่คลุกกับเครื่องแกงแล้วลงผัด ใช้ไฟกลางเติมน้ำไปหน่อยหนึ่ง ผัดใจเย็น ๆ
ให้เข้าเนื้อ ผัดด้วยกระทะเหล็กไม่มีติดก้นกระทะอยู่แล้ว
ผัดจนได้ที่ ปรุงรส เสริมอร่อยด้วย มะเขือเทศซึ่งจะให้รสเปรี้ยวนิด ๆ เป็นอูมามิไปในตัว
ทุกครั้งต้องไม่ลืม สมัยสล่าปู่เป็นเด็กยายจะใช้ให้ไปเด็ดใบบะโหว้ เดี๋ยวนี้หาไม่ได้แล้ว
ต้องใช้ใบมะกรูดแทน
ก่อนปิดไฟ ซอยฝอยใส่ลงไปคนคลุกแล้วปิดไฟ
ตำบะหนุน จะนิยมโรยหน้าด้วย ใบมะกรูดซอยฝอย กระเทียมเจียว พริกขี้หนูแห้งทอด
กินกับข้าวนึ่งอุ่น ๆ แนมด้วยแคบหมูกรอบ ๆ มัน ๆ
ดูหน้าตากันครับ ว่าน่ากินแค่ไหน คนเมืองเหนือส่วนใหญ่จะรู้จักกันดี ขึ้นอยู่กับว่าจะซื้อกิน
หรือทำกินเองเท่านั้น
จานนี้ถ้าขึ้นโต๊ะสัก 80 บาท อย่าต่อเลยครับ คุ้มมาก ๆ ขอบอก ๆ
สวัสดีครับ
"ต๋ำบะหนุน" เมนูเมืองระดับแถวหน้า น่าจะ 1 ใน 5 ด้วยซ้ำไป
หรือร้านขายกับข้าวเมือง เป็นเมนูที่ถือว่ารับแขกได้สบาย ๆ
จากตลาดนัดคนเดินวันอาทิตย์เมื่อวาน สล่าปู่ได้ขนุนอ่อนต้มแล้วมา 2 ชิ้น 20 บาท เช้านี้จัดการปอกเปลือก
เลาะแกนกลาง เหลือแต่เนื้อกับเมล็ดอ่อน เอาลงครกยืนตำซะจะละเอียด
ตำน้ำพริก มีกระเทียม หอมแดง ข่า พริกขี้หนูแห้งคั่วให้หอม กะปิ โขลกแบบน้ำพริกเมืองคือไม่ต้องละเอียดมากนักก็ได้
สล่าปู่เป็นคนเมือง "น้ำฮ้า" หมายถึงกินปลาร้าเป็น กินได้ เพราะฉะนั้นจึงไม่พลาด
เอาน้ำปลาร้าต้ม เทลงในชามผสม คลุกทั้งหมดให้เข้ากันเตรียมผัด
ตั้งกระทะใส่น้ำมัน เจียวหอมพอเหลือง แล้วเอาหมูบดลงผัดให้แห้ง เหตุผลคือต้องการ
รสสัมผัสเวลาเคี้ยวโดนมันจะให้ความรู้สึกกว่าหมูผัดแค่สุกนุ่ม เพราะตอนเคี้ยวมันจะปนไป
กับขนุนอ่อนแทบไม่รู้สึกอะไรเลย (เป็นความรู้สึกส่วนตัว)
หมูแห้งดีแล้วเอาขนุนที่คลุกกับเครื่องแกงแล้วลงผัด ใช้ไฟกลางเติมน้ำไปหน่อยหนึ่ง ผัดใจเย็น ๆ
ให้เข้าเนื้อ ผัดด้วยกระทะเหล็กไม่มีติดก้นกระทะอยู่แล้ว
ผัดจนได้ที่ ปรุงรส เสริมอร่อยด้วย มะเขือเทศซึ่งจะให้รสเปรี้ยวนิด ๆ เป็นอูมามิไปในตัว
ทุกครั้งต้องไม่ลืม สมัยสล่าปู่เป็นเด็กยายจะใช้ให้ไปเด็ดใบบะโหว้ เดี๋ยวนี้หาไม่ได้แล้ว
ต้องใช้ใบมะกรูดแทน
ก่อนปิดไฟ ซอยฝอยใส่ลงไปคนคลุกแล้วปิดไฟ
ตำบะหนุน จะนิยมโรยหน้าด้วย ใบมะกรูดซอยฝอย กระเทียมเจียว พริกขี้หนูแห้งทอด
กินกับข้าวนึ่งอุ่น ๆ แนมด้วยแคบหมูกรอบ ๆ มัน ๆ
ดูหน้าตากันครับ ว่าน่ากินแค่ไหน คนเมืองเหนือส่วนใหญ่จะรู้จักกันดี ขึ้นอยู่กับว่าจะซื้อกิน
หรือทำกินเองเท่านั้น
จานนี้ถ้าขึ้นโต๊ะสัก 80 บาท อย่าต่อเลยครับ คุ้มมาก ๆ ขอบอก ๆ
สวัสดีครับ