ข่าวคราวการระบาดของโรคในสุกรที่บอกว่าเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือ PRRS จริงๆแล้วไม่ใช่โรคเกิดใหม่ในไทย
เป็นกันมานานแล้ว เพียงแต่ไม่มีข่าวคราวและความรุนแรงปรากฎออกมาเท่านั้น คำถามคือว่ามันมีทางรักษาได้หรือไม่ หรือมีวิธีการ
อื่นใด หรือเกิดจากเชื้อดื้อยารักษา หรือเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่มีความรุนแรงขึ้น คำตอบอาจไม่ใช่เวลานี้ เพียงแต่อาจกล่าวว่า หรือหมู
ไทยขี้โรค เจออะไรก็ตายไปหมด
หมูในเมื่องไทยมีคำกล่าวอ้างกันว่าเป็นหมูติดยา ต้องกินกันตลอดช่วงอายุขัยจึงจะอยู่รอดได้ จึงต้องมีการให้ยาผสมใน
อาหารสัตว์ตลอดเวลา ยังไม่นับที่จะมีการฉีดยา ให้กินยาละลายน้ำ จนเกือบถึงวันเข้าโรงเชือด เป็นความเชื่อหรือความจริงกนแน่
นอกจากนี้ยังมีการแอบใส่ยาที่เรียกกันว่า Topping ลงในอาหารสัตว์ต่างหาก เพื่อให้หมูมีสุขภาพที่ดีในวันจับเข้าโรงเชือด ซึ่งถ้าดู
ตามความเป็นจริงแล้วก็ควรดูแลสุขภาพหมูให้ดีที่สุด การใช้ยาจึงไม่ใช่เรื่องแปลกของในวงการเลี้ยงสุกร นี่จึงเป็นวัฒนธรรมของวง
การเลี้ยงหมูในไทย
มีการโฆษณาอยู่ตลอดเวลาว่าหมูของผมปลอดยาปลอดโรค แต่ในความเป็นจริงก็คือหมูต้องกินยาไปเรื่อยๆจนถึงวันที่
กำหนดไม่ให้มีการใช้ยาก่อนเข้าโรงเชือด เช่น 21 วันก่อนเข้าเชือด เพื่อไม่ให้มีสารตกค้างอยู่ในเนื้อหมู แล้วอะไรเป็นสาเหตุให้มีการ
ใช้ยาในอาหารสัตว์กันอย่างพร่ำเพรื่อ ใครดูแลรับผิดชอบมีมาตรการอย่างไรในการดูแลการใช้อาหารสัตวืนั้น
คำตอบก็คือการใส่ยาในอาหารสัตว์เริ่มตั้งแต่ลูกหมูหย่านมก็ให้กินแล้ว โดยกล่าวว่าถ้าไม่ใส่ยา หมูจะไม่โต จะตายเร็ว
อัตราเลี้ยงรอดไม่ดี เลยต้องให้ยาตั้งแต่เริ่มต้นและให้ตลอดไปเรื่อยๆ ใน dose ที่ไม่ใช่เป็นสารเร่งการเจริญเติบโตแต่เป็นการป้องกัน
และรักษา โดยยาส่วนใหญ่เป็นยาในกลุ่ม penicillin แต่รู้หรือไม่ว่าผู้รับผิดชอบในเรื่องอาหารสัตว์ของทางราชการไม่ให้ใส่ยาลงใน
อาหารสัตว์ที่ขายกันอยู่อย่างแพร่หลาย แต่อนุญาติให้ผสมลงในอาหารสัตว์ที่ฟาร์มเพื่อการรักษา ในความเป็นจริงก็คือไม่เคยมีบท
ลงโทษหรือมาตรการใดๆ ในการดูแลเรื่องนี้อย่างจริงจังจากภาครัฐ หมูไทยจึงกินยามาตลอดช่วงอายุขัยเสมือนหนึ่งขี้โรคไม่กินยา
ไม่ได้ ลองคิดถึงคนที่ต้องกินยาชั่วชีวิตว่าจะเป็นเช่นไร ถ้าเพื่อรักษาดรคที่เป็นอยู่ให้หายก็คงไม่ใช่ประเด็น แต่ถ้ากินเพื่อป้องกันโรค
ก็คงต้องศึกษาดูว่ามันใช่หรือไม่ มีประโยชนือะรบ้าง
ดังนั้นในกรณีของหมูจึงเป็นประเด็นว่าเมื่อ่หมูกินยาไปแล้ว ยาจะตกค้างในตัวเท่าไหร่แล้วมีผลกระทบถึงตัวคนกินหรือไม่
อันตรายมีมากน้อยเพียงใด หรือคนเลี้ยงหมูกลัวเกินเหตุต้องให้กินยาตลอด กลายเป็นหมุขี้โรค ติดยาตลอด ไม่ทราบใครจะตอบปัญ
หาหรือแก้โจทย์นี้ให้ได้เพื่อประโยชน์ของคนกินหมูต่อไป
กร แสงตะวัน
หมูไทยขี้โรค หรือเปล่า
เป็นกันมานานแล้ว เพียงแต่ไม่มีข่าวคราวและความรุนแรงปรากฎออกมาเท่านั้น คำถามคือว่ามันมีทางรักษาได้หรือไม่ หรือมีวิธีการ
อื่นใด หรือเกิดจากเชื้อดื้อยารักษา หรือเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่มีความรุนแรงขึ้น คำตอบอาจไม่ใช่เวลานี้ เพียงแต่อาจกล่าวว่า หรือหมู
ไทยขี้โรค เจออะไรก็ตายไปหมด
หมูในเมื่องไทยมีคำกล่าวอ้างกันว่าเป็นหมูติดยา ต้องกินกันตลอดช่วงอายุขัยจึงจะอยู่รอดได้ จึงต้องมีการให้ยาผสมใน
อาหารสัตว์ตลอดเวลา ยังไม่นับที่จะมีการฉีดยา ให้กินยาละลายน้ำ จนเกือบถึงวันเข้าโรงเชือด เป็นความเชื่อหรือความจริงกนแน่
นอกจากนี้ยังมีการแอบใส่ยาที่เรียกกันว่า Topping ลงในอาหารสัตว์ต่างหาก เพื่อให้หมูมีสุขภาพที่ดีในวันจับเข้าโรงเชือด ซึ่งถ้าดู
ตามความเป็นจริงแล้วก็ควรดูแลสุขภาพหมูให้ดีที่สุด การใช้ยาจึงไม่ใช่เรื่องแปลกของในวงการเลี้ยงสุกร นี่จึงเป็นวัฒนธรรมของวง
การเลี้ยงหมูในไทย
มีการโฆษณาอยู่ตลอดเวลาว่าหมูของผมปลอดยาปลอดโรค แต่ในความเป็นจริงก็คือหมูต้องกินยาไปเรื่อยๆจนถึงวันที่
กำหนดไม่ให้มีการใช้ยาก่อนเข้าโรงเชือด เช่น 21 วันก่อนเข้าเชือด เพื่อไม่ให้มีสารตกค้างอยู่ในเนื้อหมู แล้วอะไรเป็นสาเหตุให้มีการ
ใช้ยาในอาหารสัตว์กันอย่างพร่ำเพรื่อ ใครดูแลรับผิดชอบมีมาตรการอย่างไรในการดูแลการใช้อาหารสัตวืนั้น
คำตอบก็คือการใส่ยาในอาหารสัตว์เริ่มตั้งแต่ลูกหมูหย่านมก็ให้กินแล้ว โดยกล่าวว่าถ้าไม่ใส่ยา หมูจะไม่โต จะตายเร็ว
อัตราเลี้ยงรอดไม่ดี เลยต้องให้ยาตั้งแต่เริ่มต้นและให้ตลอดไปเรื่อยๆ ใน dose ที่ไม่ใช่เป็นสารเร่งการเจริญเติบโตแต่เป็นการป้องกัน
และรักษา โดยยาส่วนใหญ่เป็นยาในกลุ่ม penicillin แต่รู้หรือไม่ว่าผู้รับผิดชอบในเรื่องอาหารสัตว์ของทางราชการไม่ให้ใส่ยาลงใน
อาหารสัตว์ที่ขายกันอยู่อย่างแพร่หลาย แต่อนุญาติให้ผสมลงในอาหารสัตว์ที่ฟาร์มเพื่อการรักษา ในความเป็นจริงก็คือไม่เคยมีบท
ลงโทษหรือมาตรการใดๆ ในการดูแลเรื่องนี้อย่างจริงจังจากภาครัฐ หมูไทยจึงกินยามาตลอดช่วงอายุขัยเสมือนหนึ่งขี้โรคไม่กินยา
ไม่ได้ ลองคิดถึงคนที่ต้องกินยาชั่วชีวิตว่าจะเป็นเช่นไร ถ้าเพื่อรักษาดรคที่เป็นอยู่ให้หายก็คงไม่ใช่ประเด็น แต่ถ้ากินเพื่อป้องกันโรค
ก็คงต้องศึกษาดูว่ามันใช่หรือไม่ มีประโยชนือะรบ้าง
ดังนั้นในกรณีของหมูจึงเป็นประเด็นว่าเมื่อ่หมูกินยาไปแล้ว ยาจะตกค้างในตัวเท่าไหร่แล้วมีผลกระทบถึงตัวคนกินหรือไม่
อันตรายมีมากน้อยเพียงใด หรือคนเลี้ยงหมูกลัวเกินเหตุต้องให้กินยาตลอด กลายเป็นหมุขี้โรค ติดยาตลอด ไม่ทราบใครจะตอบปัญ
หาหรือแก้โจทย์นี้ให้ได้เพื่อประโยชน์ของคนกินหมูต่อไป
กร แสงตะวัน