ปี 2563 เป็นปีที่อุตสาหกรรมสุกรทั่วโลกต้องเผชิญหน้ากับความท้าทาย ทั้งวิกฤติโควิด-19 ที่แพร่ระบาดทั่วโลก ตลอดจนปัญหาโรคระบาดในสุกร อย่างโรคแอฟริกันสไวน์ฟีเวอร์ (African Swine Fever-ASF) ที่วงการสุกรต้องร่วมกันต่อสู้มานานกว่า 2 ปี และสถานการณ์นี้เองสะท้อนให้เห็นภาพความร่วมมืออย่างจริงจังของผู้เกี่ยวข้องในวงการสุกรไทยทุกภาคส่วนที่ช่วยกันเฝ้าระวังและป้องกันโรคนี้อย่างเข็มแข็ง ทำให้ไทยเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียที่คง “สถานะปลอดโรค ASF”จนถึงปัจจุบัน ช่วยตอกย้ำมาตรฐานการผลิตและความปลอดภัยทางอาหารของสุกรไทยได้เป็นอย่างดี
การผลิต
สำหรับปริมาณการผลิตสุกรของไทยในปี 2563 ผู้ประกอบการฟาร์มสุกรครบวงจรและเกษตรกรรายย่อยทั้งประเทศร่วม 200,000 ฟาร์ม ผลผลิตสุกรมากกว่า 22 ล้านตัวต่อปี เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ที่การผลิตอยู่ที่ 20.43 ล้านตัว ปริมาณการผลิตขยายตัวตามจำนวนประชากร ประกอบกับราคาสุกรมีชีวิตจูงใจให้เกษตรกรขยายการผลิตหลังจากช่วงกลางปี 2562 ราคาสุกรตกต่ำเป็นอย่างมากจากปัญหา Over Supply และมีปัจจัยเสริมจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับโรค ASF ทำให้เกษตรกรทั้งรายย่อย รายกลางและรายใหญ่ต่างระมัดระวังในการเข้าเลี้ยงสุกรมากขึ้น โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยที่ขาดทุนสะสมมานานกว่า 3 ปีก่อนหน้านี้ เมื่อปริมาณสุกรในภาพรวมลดลง ราคาพลิกกลับมาดีขึ้น เกษตรกรจึงหันมาเพิ่มการผลิตรองรับความต้องการการบริโภค ขณะเดียวกันการบริหารจัดการฟาร์มและป้องกันโรคระบาดได้เป็นอย่างดี ทำให้ประสิทธิภาพในการเลี้ยงสุกรดีขึ้น ส่งผลปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น
เมื่อมีการระบาดของโควิด-19ในประเทศไทยช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวและการจับจ่ายใช้สอยของประชาชน ยิ่งเมื่อรัฐบาลประกาศล็อกดาวน์ ปิดสถานที่เสี่ยง ทำให้ราคาขายสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มของเกษตรกรเริ่มเข้าสู่ภาวะตกต่ำ กระทั่งเริ่มทยอยปลดล็อกดาวน์ในช่วงพฤษภาคม ความต้องการการบริโภคเนื้อสุกรจึงกลับมาคึกคักขึ้น ประกอบกับเวลานั้นยังอยู่ในช่วงฤดูร้อน อากาศร้อนแปรปรวนและภัยแล้ง ส่งผลต่อปริมาณผลผลิตสุกรที่เสียหายกว่า 10% กลไกตลาดดังกล่าวทำให้ราคาสุกรฟื้นตัวได้อีกครั้งและประคองตัวมาได้ หากแต่ต้นทุนการเลี้ยงสุกรก็ปรับตัวขึ้นเป็นเงาตามตัวด้วยเช่นกัน ทั้งจากการลงทุนระบบ Biosecurity ในฟาร์มเพื่อป้องกันโรค ASF และโรค PRRS อย่างเข้มงวด ตลอดจนปัญหาภัยแล้งอากาศแปรปรวนกระทบต่อการผลิต
ความต้องการบริโภค
การผลิตสุกรของไทยเป็นการผลิตเพื่อรองรับการบริโภคภายในประเทศเป็นหลักประมาณ 97% ของปริมาณการผลิตทั้งหมด ขณะที่ความต้องการการบริโภคเนื้อสุกรของคนไทยอยู่ที่ประมาณ 1.49 ล้านตันในปี 2563 เพิ่มขึ้น 0.68% จากปี 2562 โดยการผลิตสุกรยังคงเพียงพอกับการบริโภคภายในประเทศ ไม่เคยมีปัญหาขาดแคลน
การส่งออก
สำหรับการส่งออกสุกรของไทยมีการขยายตัวจากความต้องการสุกรของประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเชีย โดยเฉพาะจีน เวียดนาม กัมพูชา และเมียนมาที่ประสบปัญหาโรค ASF ทำให้ปริมาณผลผลิตไม่เพียงพอกับการบริโภคภายในประเทศนั้นๆ และราคาสุกรมีชีวิตเพิ่มขึ้น 2-3 เท่าตัวจากภาวะปกติตามกลไกตลาด จึงต้องพึ่งพาการนำเข้าจากไทย ทั้งในส่วนของสุกรพันธุ์ สุกรขุนมีชีวิต และเนื้อสุกร เนื่องจากมาตรฐานการผลิตและการป้องกันโรคของไทยที่สามารถผลิตสุกรคุณภาพปลอดสาร ปลอดภัย ปลอดโรคจากการที่มีระบบฟาร์มมาตรฐานทั้งฟาร์มในเชิงพาณิชย์ที่เลี้ยงภายใต้มาตรฐาน GAP และมาตรฐาน GFM ในฟาร์มขนาดเล็กที่กรมปศุสัตว์ผลักดันให้เกษตรกรเข้าสู่ระบบอย่างต่อเนื่อง โดยทั้งสองมาตรฐานมุ่งเน้นการปกป้องฟาร์มและฝูงสัตว์ด้วยการจัดการฟาร์มให้มีความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity System) ที่เข้มงวด ทำให้ประเทศไทยปลอดจากโรค ASF ซึ่งนับเป็นความสำเร็จจากความร่วมือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สมาคมผู้เลี้ยงสุกรและเกษตรกรทั่วประเทศที่ป้องกันความเสียหายไม่ให้เกิดกับเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรและอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรได้ อีกทั้งยังสร้างโอกาสในการส่งออก โดยเฉพาะปี 2563 ไทยส่งออกสุกรมีชีวิตจำนวนมากกว่า 2.2 ล้านตัว รวมถึงเนื้อและผลิตภัณฑ์สุกร มีปริมาณมากกว่า 54,000 ตัน มูลค่า 22,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากกว่า 300%เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านๆมา
ภาวะต้นทุนและราคาสุกร
จากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ต้นทุนเฉลี่ยของเกษตรกรในปี 2563 อยู่ที่ 68.87 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่เกษตรกรขายสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มได้เฉลี่ย 73-78 บาทต่อกิโลกรัม โดยต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เนื่องจากการเดินหน้ามาตรการเฝ้าระวังและป้องกันโรค ASF อย่างเข้มงวด ซึ่งจำเป็นต้องลงทุนจัดทำระบบป้องกันและมีค่าแรงงานในการดำเนินการเพิ่ม การใช้เงินลงทุนไปกับค่าน้ำยาฆ่าเชื้อโรคต่างๆจำเป็น ทั้งหมดนี้กลายเป็นต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เพื่อให้ไทยปลอดจากโรคนี้ ทำให้คนไทยไม่ต้องเผชิญกับภาวะขาดแคลนสุกรและไม่ต้องเดือดร้อนกับราคาสุกรที่สูงเกินไป ดังเช่นที่ประเทศอื่นๆกำลังประสบปัญหาอยู่ในขณะนี้ และอาจเรียกได้ว่า สุกรไทยมีราคาถูกที่สุดในภูมิภาคเอเชียเมื่อเทียบกับประเทศอื่น
แนวโน้มปี 2564
ปี 2564 ถือเป็นอีกปีแห่งความท้าทายของอุตสาหกรรมสุกรไทย ทั้งปัญหาโควิด-19 และการระบาดของโรค ASF ในภูมิภาคเอเชียที่แม้ว่าการจัดการฟาร์มสุกรของไทยในปัจจุบันจะมีประสิทธิภาพและควบคุมโรคต่างๆได้ดีขึ้น จากประสบการณ์ในการป้องกัน ASF มานานกว่า 2 ปี หากแต่ในช่วงที่ผ่านมายังคงมีปัจจัยเสี่ยงเรื่องโรค PRRS ทำให้การผลิตสุกรเสียหายเป็นอย่างมาก ส่งผลให้เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น โดยเฉพาะฟาร์มสุกรของเกษตรกรรายย่อยและฟาร์มขนาดเล็ก ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรต้องดำเนินมาตรการป้องกันโรคที่เข้มงวดเพื่อป้องกันฝูงสัตว์ และต้องยกระดับการป้องกันโรคโควิดในบุคลากรที่ทำงานภายในฟาร์ม เพื่อไม่ให้กระทบกับการเลี้ยงสุกรอย่างเด็ดขาด ส่งผลให้ทุกฟาร์มมีภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นสูงกว่า 300 บาทต่อตัว
ขณะเดียวกัน ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตเช่นกัน ทั้งความกังวลของตลาดต่อปริมาณสต๊อกถั่วเหลืองในประเทศสหรัฐฯ ที่อาจจะปรับตัวลดลงต่ำกว่า 175 ล้านบุชเชล จากที่กระทรวงเกษตรสหรัฐฯคาดการณ์ไว้ และการเพาะปลูกถั่วเหลืองของอาร์เจนตินาที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง ส่งผลต่อราคาเมล็ดถั่วเหลืองและกากถั่วเหลืองนำเข้าที่เพิ่มสูงขึ้น ทำสถิติในรอบ 5ปี และมีแนวโน้มราคาสูงขึ้นต่อเนื่อง (ข้อมูล ณ วันที่ 7 มกราคม 2564)
ส่วนวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ผลิตได้ในประเทศอย่างเช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง รำ-ปลายข้าวราคาเพิ่มขึ้นเช่นกัน จากมาตรการประกันรายได้เกษตรกรของภาครัฐ เพื่อพยุงราคาพืชเกษตรที่ได้รับความเสียหายจากภาวะอากาศแล้งและภัยพิบัติในช่วงปีที่ผ่านมา
ขณะที่การเลี้ยงสุกรในปัจจุบันต้องปรับตัวเข้าสู่มาตรฐานของกรมปศุสัตว์ ทั้งฟาร์มเลี้ยงสุกรขนาดใหญ่ที่ต้องทำตามมาตรฐาน GMP อย่างเคร่งครัด และฟาร์มขนาดเล็กที่ต้องมีระบบป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม ภายใต้มาตรฐาน GFM ประกอบกับการที่เกษตรกรต้องลงทุนด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่กำหนดให้การเลี้ยงสุกรต้องควบคุมน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่สิ่งแวดล้อม ทั้งหมดส่งผลต่อภาพรวมต้นทุนการเลี้ยงสุกรที่ปรับตัวขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ปัจจุบันต้นทุนการเลี้ยงสุกรตามข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 75 บาท ขณะที่ราคาขายสุกรหน้าฟาร์มเกษตรกรตามประกาศของสมาคมผู้เลี้ยงสุกรอยู่ที่ 76-80 บาทต่อกิโลกรัม
นอกจากนี้ยังคาดการณ์ว่า ปีนี้ภาวะอากาศแปรปรวนจะรุนแรงกว่าทุกปี ฝนจะมาเร็วและหมดเร็ว ส่งผลให้ฤดูแล้งเร็วขึ้น แล้งยาวนานขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี สภาพอากาศเช่นนี้มีผลต่อประสิทธิภาพการเลี้ยง ทำให้สุกรกินอาหารได้น้อยลง การเติบโตช้า ต้องใช้อาหารมากขึ้นในการเปลี่ยนเป็นน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม จึงต้องใช้เวลาในการเลี้ยงยาวนานขึ้นกว่าเดิม จากปกติที่สุกรขนาดน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป จะใช้เวลาเลี้ยงตั้งแต่แรกคลอดจนถึงจับขายประมาณ 6 เดือน แต่อากาศร้อนแล้งทำให้เกษตรกรต้องขยายเวลาเลี้ยงออกไปอีก 2 สัปดาห์ ซึ่งจะทำให้มีต้นทุนสูงขึ้นทั้งค่าอาหาร ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าแรงงาน รวมถึงมีความเสี่ยงจากราคาที่อาจผันผวนในช่วงที่เลี้ยงนานขึ้นอีกด้วย
สรุป
โดยสรุปภาวการณ์ผลิตสุกรในปัจจุบันที่ยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับโรค ASF และสถานการณ์โควิด-19รอบใหม่ ทำให้เกษตรกรพิจารณาเข้าเลี้ยงสุกรอย่างระมัดระวังมากขึ้น ปริมาณการเลี้ยงสุกรอาจลดลง ขณะเดียวกันยังคงได้รับผลกระทบจากภาระต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น อย่างไรก็ดีเกษตรกรยังคงร่วมใจกันตรึงราคาสุกรหน้าฟาร์มไว้ที่ 80 บาทต่อกิโลกรัมทั่วประเทศ แม้ต้นทุนจะเพิ่มขึ้นเกือบเท่าราคาขายที่ 80 บาทแล้วก็ตาม
ส่วนภาพรวมของอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรในปี 2564 นี้แม้ว่าจะมีความท้าทายจากวิกฤติโควิด-19 และสถานการณ์โรค ASF ที่ยังพบการระบาดในประเทศต่างๆรอบประเทศไทยก็ตาม แต่แนวโน้มอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรของไทยยังคงสดใส จากความต้องการการบริโภคที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นทั้งในไทยและภูมิภาคเอเชีย ขณะที่ปริมาณการผลิตน่าจะใกล้เคียงกับปี 2563 ที่ผ่านมา จากภาวะโรค ASF และ PRRS ที่ยังคงต้องเฝ้าระวัง และเกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงลดความเสี่ยงด้วยการเข้าเลี้ยงสุกรบางลง ไม่เต็มกำลังการผลิต สอดคล้องกับการผลิตสุกรทั่วโลกที่ลดลงจากปัจจัยดังกล่าว และเชื่อว่าสุกรจะยังคงเป็นสินค้าปศุสัตว์เดียวที่เหลืออยู่ที่จะสามารถนำเงินตราต่างประเทศเข้าประเทศได้ในวิกฤติโควิด-19 เช่นนี้
แนวโน้มสถานการณ์สุกรไทยปี 2564
การผลิต
สำหรับปริมาณการผลิตสุกรของไทยในปี 2563 ผู้ประกอบการฟาร์มสุกรครบวงจรและเกษตรกรรายย่อยทั้งประเทศร่วม 200,000 ฟาร์ม ผลผลิตสุกรมากกว่า 22 ล้านตัวต่อปี เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ที่การผลิตอยู่ที่ 20.43 ล้านตัว ปริมาณการผลิตขยายตัวตามจำนวนประชากร ประกอบกับราคาสุกรมีชีวิตจูงใจให้เกษตรกรขยายการผลิตหลังจากช่วงกลางปี 2562 ราคาสุกรตกต่ำเป็นอย่างมากจากปัญหา Over Supply และมีปัจจัยเสริมจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับโรค ASF ทำให้เกษตรกรทั้งรายย่อย รายกลางและรายใหญ่ต่างระมัดระวังในการเข้าเลี้ยงสุกรมากขึ้น โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยที่ขาดทุนสะสมมานานกว่า 3 ปีก่อนหน้านี้ เมื่อปริมาณสุกรในภาพรวมลดลง ราคาพลิกกลับมาดีขึ้น เกษตรกรจึงหันมาเพิ่มการผลิตรองรับความต้องการการบริโภค ขณะเดียวกันการบริหารจัดการฟาร์มและป้องกันโรคระบาดได้เป็นอย่างดี ทำให้ประสิทธิภาพในการเลี้ยงสุกรดีขึ้น ส่งผลปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น
เมื่อมีการระบาดของโควิด-19ในประเทศไทยช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวและการจับจ่ายใช้สอยของประชาชน ยิ่งเมื่อรัฐบาลประกาศล็อกดาวน์ ปิดสถานที่เสี่ยง ทำให้ราคาขายสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มของเกษตรกรเริ่มเข้าสู่ภาวะตกต่ำ กระทั่งเริ่มทยอยปลดล็อกดาวน์ในช่วงพฤษภาคม ความต้องการการบริโภคเนื้อสุกรจึงกลับมาคึกคักขึ้น ประกอบกับเวลานั้นยังอยู่ในช่วงฤดูร้อน อากาศร้อนแปรปรวนและภัยแล้ง ส่งผลต่อปริมาณผลผลิตสุกรที่เสียหายกว่า 10% กลไกตลาดดังกล่าวทำให้ราคาสุกรฟื้นตัวได้อีกครั้งและประคองตัวมาได้ หากแต่ต้นทุนการเลี้ยงสุกรก็ปรับตัวขึ้นเป็นเงาตามตัวด้วยเช่นกัน ทั้งจากการลงทุนระบบ Biosecurity ในฟาร์มเพื่อป้องกันโรค ASF และโรค PRRS อย่างเข้มงวด ตลอดจนปัญหาภัยแล้งอากาศแปรปรวนกระทบต่อการผลิต
ความต้องการบริโภค
การผลิตสุกรของไทยเป็นการผลิตเพื่อรองรับการบริโภคภายในประเทศเป็นหลักประมาณ 97% ของปริมาณการผลิตทั้งหมด ขณะที่ความต้องการการบริโภคเนื้อสุกรของคนไทยอยู่ที่ประมาณ 1.49 ล้านตันในปี 2563 เพิ่มขึ้น 0.68% จากปี 2562 โดยการผลิตสุกรยังคงเพียงพอกับการบริโภคภายในประเทศ ไม่เคยมีปัญหาขาดแคลน
การส่งออก
สำหรับการส่งออกสุกรของไทยมีการขยายตัวจากความต้องการสุกรของประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเชีย โดยเฉพาะจีน เวียดนาม กัมพูชา และเมียนมาที่ประสบปัญหาโรค ASF ทำให้ปริมาณผลผลิตไม่เพียงพอกับการบริโภคภายในประเทศนั้นๆ และราคาสุกรมีชีวิตเพิ่มขึ้น 2-3 เท่าตัวจากภาวะปกติตามกลไกตลาด จึงต้องพึ่งพาการนำเข้าจากไทย ทั้งในส่วนของสุกรพันธุ์ สุกรขุนมีชีวิต และเนื้อสุกร เนื่องจากมาตรฐานการผลิตและการป้องกันโรคของไทยที่สามารถผลิตสุกรคุณภาพปลอดสาร ปลอดภัย ปลอดโรคจากการที่มีระบบฟาร์มมาตรฐานทั้งฟาร์มในเชิงพาณิชย์ที่เลี้ยงภายใต้มาตรฐาน GAP และมาตรฐาน GFM ในฟาร์มขนาดเล็กที่กรมปศุสัตว์ผลักดันให้เกษตรกรเข้าสู่ระบบอย่างต่อเนื่อง โดยทั้งสองมาตรฐานมุ่งเน้นการปกป้องฟาร์มและฝูงสัตว์ด้วยการจัดการฟาร์มให้มีความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity System) ที่เข้มงวด ทำให้ประเทศไทยปลอดจากโรค ASF ซึ่งนับเป็นความสำเร็จจากความร่วมือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สมาคมผู้เลี้ยงสุกรและเกษตรกรทั่วประเทศที่ป้องกันความเสียหายไม่ให้เกิดกับเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรและอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรได้ อีกทั้งยังสร้างโอกาสในการส่งออก โดยเฉพาะปี 2563 ไทยส่งออกสุกรมีชีวิตจำนวนมากกว่า 2.2 ล้านตัว รวมถึงเนื้อและผลิตภัณฑ์สุกร มีปริมาณมากกว่า 54,000 ตัน มูลค่า 22,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากกว่า 300%เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านๆมา
ภาวะต้นทุนและราคาสุกร
จากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ต้นทุนเฉลี่ยของเกษตรกรในปี 2563 อยู่ที่ 68.87 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่เกษตรกรขายสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มได้เฉลี่ย 73-78 บาทต่อกิโลกรัม โดยต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เนื่องจากการเดินหน้ามาตรการเฝ้าระวังและป้องกันโรค ASF อย่างเข้มงวด ซึ่งจำเป็นต้องลงทุนจัดทำระบบป้องกันและมีค่าแรงงานในการดำเนินการเพิ่ม การใช้เงินลงทุนไปกับค่าน้ำยาฆ่าเชื้อโรคต่างๆจำเป็น ทั้งหมดนี้กลายเป็นต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เพื่อให้ไทยปลอดจากโรคนี้ ทำให้คนไทยไม่ต้องเผชิญกับภาวะขาดแคลนสุกรและไม่ต้องเดือดร้อนกับราคาสุกรที่สูงเกินไป ดังเช่นที่ประเทศอื่นๆกำลังประสบปัญหาอยู่ในขณะนี้ และอาจเรียกได้ว่า สุกรไทยมีราคาถูกที่สุดในภูมิภาคเอเชียเมื่อเทียบกับประเทศอื่น
แนวโน้มปี 2564
ปี 2564 ถือเป็นอีกปีแห่งความท้าทายของอุตสาหกรรมสุกรไทย ทั้งปัญหาโควิด-19 และการระบาดของโรค ASF ในภูมิภาคเอเชียที่แม้ว่าการจัดการฟาร์มสุกรของไทยในปัจจุบันจะมีประสิทธิภาพและควบคุมโรคต่างๆได้ดีขึ้น จากประสบการณ์ในการป้องกัน ASF มานานกว่า 2 ปี หากแต่ในช่วงที่ผ่านมายังคงมีปัจจัยเสี่ยงเรื่องโรค PRRS ทำให้การผลิตสุกรเสียหายเป็นอย่างมาก ส่งผลให้เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น โดยเฉพาะฟาร์มสุกรของเกษตรกรรายย่อยและฟาร์มขนาดเล็ก ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรต้องดำเนินมาตรการป้องกันโรคที่เข้มงวดเพื่อป้องกันฝูงสัตว์ และต้องยกระดับการป้องกันโรคโควิดในบุคลากรที่ทำงานภายในฟาร์ม เพื่อไม่ให้กระทบกับการเลี้ยงสุกรอย่างเด็ดขาด ส่งผลให้ทุกฟาร์มมีภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นสูงกว่า 300 บาทต่อตัว
ขณะเดียวกัน ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตเช่นกัน ทั้งความกังวลของตลาดต่อปริมาณสต๊อกถั่วเหลืองในประเทศสหรัฐฯ ที่อาจจะปรับตัวลดลงต่ำกว่า 175 ล้านบุชเชล จากที่กระทรวงเกษตรสหรัฐฯคาดการณ์ไว้ และการเพาะปลูกถั่วเหลืองของอาร์เจนตินาที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง ส่งผลต่อราคาเมล็ดถั่วเหลืองและกากถั่วเหลืองนำเข้าที่เพิ่มสูงขึ้น ทำสถิติในรอบ 5ปี และมีแนวโน้มราคาสูงขึ้นต่อเนื่อง (ข้อมูล ณ วันที่ 7 มกราคม 2564)
ส่วนวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ผลิตได้ในประเทศอย่างเช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง รำ-ปลายข้าวราคาเพิ่มขึ้นเช่นกัน จากมาตรการประกันรายได้เกษตรกรของภาครัฐ เพื่อพยุงราคาพืชเกษตรที่ได้รับความเสียหายจากภาวะอากาศแล้งและภัยพิบัติในช่วงปีที่ผ่านมา
ขณะที่การเลี้ยงสุกรในปัจจุบันต้องปรับตัวเข้าสู่มาตรฐานของกรมปศุสัตว์ ทั้งฟาร์มเลี้ยงสุกรขนาดใหญ่ที่ต้องทำตามมาตรฐาน GMP อย่างเคร่งครัด และฟาร์มขนาดเล็กที่ต้องมีระบบป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม ภายใต้มาตรฐาน GFM ประกอบกับการที่เกษตรกรต้องลงทุนด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่กำหนดให้การเลี้ยงสุกรต้องควบคุมน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่สิ่งแวดล้อม ทั้งหมดส่งผลต่อภาพรวมต้นทุนการเลี้ยงสุกรที่ปรับตัวขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ปัจจุบันต้นทุนการเลี้ยงสุกรตามข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 75 บาท ขณะที่ราคาขายสุกรหน้าฟาร์มเกษตรกรตามประกาศของสมาคมผู้เลี้ยงสุกรอยู่ที่ 76-80 บาทต่อกิโลกรัม
นอกจากนี้ยังคาดการณ์ว่า ปีนี้ภาวะอากาศแปรปรวนจะรุนแรงกว่าทุกปี ฝนจะมาเร็วและหมดเร็ว ส่งผลให้ฤดูแล้งเร็วขึ้น แล้งยาวนานขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี สภาพอากาศเช่นนี้มีผลต่อประสิทธิภาพการเลี้ยง ทำให้สุกรกินอาหารได้น้อยลง การเติบโตช้า ต้องใช้อาหารมากขึ้นในการเปลี่ยนเป็นน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม จึงต้องใช้เวลาในการเลี้ยงยาวนานขึ้นกว่าเดิม จากปกติที่สุกรขนาดน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป จะใช้เวลาเลี้ยงตั้งแต่แรกคลอดจนถึงจับขายประมาณ 6 เดือน แต่อากาศร้อนแล้งทำให้เกษตรกรต้องขยายเวลาเลี้ยงออกไปอีก 2 สัปดาห์ ซึ่งจะทำให้มีต้นทุนสูงขึ้นทั้งค่าอาหาร ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าแรงงาน รวมถึงมีความเสี่ยงจากราคาที่อาจผันผวนในช่วงที่เลี้ยงนานขึ้นอีกด้วย
สรุป
โดยสรุปภาวการณ์ผลิตสุกรในปัจจุบันที่ยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับโรค ASF และสถานการณ์โควิด-19รอบใหม่ ทำให้เกษตรกรพิจารณาเข้าเลี้ยงสุกรอย่างระมัดระวังมากขึ้น ปริมาณการเลี้ยงสุกรอาจลดลง ขณะเดียวกันยังคงได้รับผลกระทบจากภาระต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น อย่างไรก็ดีเกษตรกรยังคงร่วมใจกันตรึงราคาสุกรหน้าฟาร์มไว้ที่ 80 บาทต่อกิโลกรัมทั่วประเทศ แม้ต้นทุนจะเพิ่มขึ้นเกือบเท่าราคาขายที่ 80 บาทแล้วก็ตาม
ส่วนภาพรวมของอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรในปี 2564 นี้แม้ว่าจะมีความท้าทายจากวิกฤติโควิด-19 และสถานการณ์โรค ASF ที่ยังพบการระบาดในประเทศต่างๆรอบประเทศไทยก็ตาม แต่แนวโน้มอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรของไทยยังคงสดใส จากความต้องการการบริโภคที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นทั้งในไทยและภูมิภาคเอเชีย ขณะที่ปริมาณการผลิตน่าจะใกล้เคียงกับปี 2563 ที่ผ่านมา จากภาวะโรค ASF และ PRRS ที่ยังคงต้องเฝ้าระวัง และเกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงลดความเสี่ยงด้วยการเข้าเลี้ยงสุกรบางลง ไม่เต็มกำลังการผลิต สอดคล้องกับการผลิตสุกรทั่วโลกที่ลดลงจากปัจจัยดังกล่าว และเชื่อว่าสุกรจะยังคงเป็นสินค้าปศุสัตว์เดียวที่เหลืออยู่ที่จะสามารถนำเงินตราต่างประเทศเข้าประเทศได้ในวิกฤติโควิด-19 เช่นนี้