โควิดวันนี้ หายป่วย 2,798 ราย ติดเชื้อเพิ่ม 2,940 ราย เสียชีวิตอีก 30 ราย
https://www.dailynews.co.th/news/597681/
ยอด 'โควิด-19' วันนี้ พบเสียชีวิตเพิ่มอีก 30 ราย ขณะที่พบผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มอีก 2,940 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 2,173,138 ราย
สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำวัน ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) รายงานสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ล่าสุด วันที่ 23 ธ.ค. 64 พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่อีก 2,940 ราย เป็นผู้ติดเชื้อใหม่ 2,887 ราย และผู้ติดเชื้อในเรือนจำ 53 ราย ทำให้มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมตั้งแต่ 1 เมษายน 2564 มีจำนวน 2,173,138 ราย หายป่วยกลับบ้าน 2,798 ราย หายป่วย
โดยวันนี้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 30 ราย ทำให้มีผู้เสียชีวิตสะสมตั้งแต่ปี 2563 มียอดสะสมสูงถึง 21,501 ราย
ล็อกดาวน์ซีอาน! กระทบชาวเมือง 13 ล้านคน หลังพบผู้ติดเชื้อ 143 ราย
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6797307
ล็อกดาวน์ซีอาน! กระทบชาวเมือง 13 ล้านคน หลังพบผู้ติดเชื้อ 143 ราย
ชาวซีอานมากกว่า 13 ล้านคน ถูกสั่งให้อยู่แต่ในบ้านพัก ภายใต้ความพยายามของทางการที่จะควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 หลังพบผู้ติดเชื้อรวม 143 คน นับตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคมเป็นต้นมา
ภายใต้มาตรการล็อกดาวน์ที่ประกาศเมื่อวันพุธที่ 22 ธันวาคม มีเพียง 1 คนต่อ 1 ครอบครัวเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ออกจากบ้านทุก 2 วันเพื่อหาซื้อข้าวของที่จำเป็น
นอกจากนี้ชาวเมืองซีอานจะไม่ได้รับอนุญาตให้เดินทางออกจากเมืองเว้นแต่จะมีเหตุผลที่จำเป็น หรือได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ให้ทำการเดินทางได้เท่านั้น โดยคำสั่งควบคุมดังกล่าวจะมีผลในเวลาเที่ยงคืนของวันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคมตามเวลาท้องถิ่น
รถโดยสารที่วิ่งระยะไกลได้ปิดให้บริการ ขณะที่มีการตั้งจุดตรวจขึ้นตามถนนมอเตอร์เวย์ที่เข้าไปยังเมือง และได้มีการยกเลิกเที่ยวบินจำนวนมากที่บินลงจอดในสนามบินซีอานแล้วเช่นกัน ธุรกิจที่ไม่จำเป็นจะต้องปิดทำการ ขณะที่ลูกจ้างท้องถิ่นของรัฐบาลได้รับคำสั่งให้ทำงานจากบ้านพัก
ทั้งนี้ ยังไม่มีการกำหนดกรอบเวลาว่ามาตรการควบคุมดังกล่าวจะบังคับใช้ไปถึงเมื่อใด ขณะที่ชาวบ้านในมณฑลส่านซี ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองซีอานหลายล้านคนได้เข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แล้วเช่นกัน เจ้าหน้าที่ระบุว่าไวรัสที่แพร่ระบาดอยู่ขณะนี้คือเดลต้า โดยไม่ได้มีการระบุถึงไวรัสกลายพันธุ์โอไมครอนที่กำลังแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วไปทั่วโลกในขณะนี้แต่อย่างใด
เกษตรกรเลี้ยงหมู แบกภาระล้น ต้นทุนพุ่ง หวังผู้บริโภคต่อลมหายใจ
https://www.innnews.co.th/news/news_259649/
น.สพ.วิ
วัฒน์ พงษ์วิวัฒนชัย อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยถึงสถานการณ์ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรว่า ปัจจุบันเกษตรกรมีปัญหารุมเร้าหลายด้าน โดยเฉพาะราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อต้นทุนการเลี้ยงที่สูงขึ้นมากถึง 25% เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เป็นหนึ่งในวัตถุดิบหลักมีราคาสูงถึง 10.60 บาทต่อกิโลกรัม และเคยปรับขึ้นไปถึงกิโลกรัมละ 11.45 บาท เมื่อช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา จากปริมาณผลผลิตที่ขาดแคลนอย่างหนัก ส่วนกากถั่วเหลืองจากเมล็ดถั่วเหลืองนำเข้าราคาสูงถึง 19.50 บาทต่อกิโลกรัม และปลายข้าวราคาสูงถึงกระสอบละ 1,100 บาท นอกจากนี้ยังมีการจัดการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) เพื่อป้องกันโรคในสุกรอย่างเข้มงวด เกิดเป็นต้นทุนที่เกษตรกรต้องแบกรับอีกกว่า 400-500 บาทต่อตัว ขณะที่ ผลกระทบของโรคในสุกรทั้ง PRRS PED ฯลฯ ทำให้สุกรแม่พันธุ์เสียหายมากถึง 40% จากจำนวน 1.1 ล้านตัว เหลือเพียง 6.6 แสนตัว ส่งผลต่อเนื่องถึงปริมาณผลผลิตสุกรขุนปรับลดลงถึง 30% จากปี 2563 จากที่เคยมีจำนวนสุกรประมาณ 18-19 ล้านตัวต่อปี เหลือเพียง 15 ล้านตัวต่อปีเท่านั้น
“ภาวะต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ทั้งจากต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่พุ่งขึ้นไม่หยุด มาตรการป้องกันโรคที่ถูกยกระดับขึ้นทำให้มีค่าบริหารจัดการเพิ่มอีก รวมถึงความเสียหายที่เกิดกับตัวหมูจากภาวะโรค ความเสียหายจากน้ำท่วมในช่วงก่อนหน้านี้ และยังมีปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคการเลี้ยง ทำให้ค่าจ้างแรงงานต้องเพิ่มขึ้น และหลังจากนี้ยังต้องปรุงฟาร์มเพื่อเข้าสู่ระบบฟาร์มมาตรฐาน และ GAP ที่กรมปศุสัตว์กำหนดเป็นมาตรฐานบังคับ ซึ่งจำเป็นต้องใช้เงินทุนอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งหมดนี้เป็นภาระหนักของคนเลี้ยง และมีผลต่อการตัดสินใจเข้าเลี้ยงหมู ปริมาณหมูที่ลดลงสวนทางกับการบริโภคที่เพิ่มขึ้นจากการเปิดประเทศ การผ่อนคลายมาตรการของภาครัฐ โรงเรียนเปิดสอนแบบ On-site ทำให้การบริโภคกลับมาดีขึ้นเป็นอย่างมาก กลไกตลาดจึงทำงานตามภาวะที่แท้จริง” น.สพ.
วิวัฒน์ กล่าว
อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กล่าวอีกว่า ตลอดเวลา 3 ปีที่ผ่านมา เกษตรกต้องแบกรับภาระขาดทุนมาโดยตลอด โดยเฉพาะในช่วงปีนี้ มีการประมาณการความเสียหายทั่วประเทศจากการขายสุกรขุนต่ำกว่าทุนอยู่ที่ 8,000-10,000 ล้านบาท กลายเป็นความกดดันที่มีต่อผู้เลี้ยง และมีผลต่อการตัดสินใจเข้าเลี้ยงสุกรรอบใหม่ โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยที่ต้องหยุดเลี้ยงจากปัญหาด้านเงินลงทุน ผู้เลี้ยงรายกลางและรายใหญ่ต้องชะลอการเลี้ยง หรือเลี้ยงไม่เต็มกำลังการผลิต รวมถึงไม่เข้าผสมแม่สุกร เพื่อลดความเสี่ยงและรอดูสถานการณ์ในอุตสาหกรรมและสถานการณ์โรคโควิด-19 ที่กลายเป็นปัจจัยในการวางแผนการเลี้ยงด้วย คาดว่าอุตสาหกรรมสุกรต้องใช้เวลา 2-3 ปี กว่าที่การเลี้ยงจะกลับมาเต็มกำลัง 100% วันนี้เกษตรกรขอผู้บริโภคเข้าใจกลไกตลาดที่เกิดขึ้น ที่เพียงช่วยต่อลมหายใจภาคผู้เลี้ยงต่อไปเท่านั้น และผู้บริโภคยังคงมีทางเลือกในการซื้อหาอาหารโปรตีนที่หลากหลาย ขณะที่เกษตรกรไม่มีทางเลือก มีเพียงการเลี้ยงสุกรเป็นอาชีพเดียว
JJNY : ติดเชื้อ 2,940 เสียชีวิต 30│ล็อกดาวน์ซีอาน!│เกษตรกรเลี้ยงหมู แบกภาระล้น│เสรีพิศุทธ์ เหยียบซ้ำ สิระ หลังศาลรธน.ฟัน
https://www.dailynews.co.th/news/597681/
ยอด 'โควิด-19' วันนี้ พบเสียชีวิตเพิ่มอีก 30 ราย ขณะที่พบผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มอีก 2,940 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 2,173,138 ราย
สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำวัน ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) รายงานสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ล่าสุด วันที่ 23 ธ.ค. 64 พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่อีก 2,940 ราย เป็นผู้ติดเชื้อใหม่ 2,887 ราย และผู้ติดเชื้อในเรือนจำ 53 ราย ทำให้มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมตั้งแต่ 1 เมษายน 2564 มีจำนวน 2,173,138 ราย หายป่วยกลับบ้าน 2,798 ราย หายป่วย
โดยวันนี้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 30 ราย ทำให้มีผู้เสียชีวิตสะสมตั้งแต่ปี 2563 มียอดสะสมสูงถึง 21,501 ราย
ล็อกดาวน์ซีอาน! กระทบชาวเมือง 13 ล้านคน หลังพบผู้ติดเชื้อ 143 ราย
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6797307
ล็อกดาวน์ซีอาน! กระทบชาวเมือง 13 ล้านคน หลังพบผู้ติดเชื้อ 143 ราย
ชาวซีอานมากกว่า 13 ล้านคน ถูกสั่งให้อยู่แต่ในบ้านพัก ภายใต้ความพยายามของทางการที่จะควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 หลังพบผู้ติดเชื้อรวม 143 คน นับตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคมเป็นต้นมา
ภายใต้มาตรการล็อกดาวน์ที่ประกาศเมื่อวันพุธที่ 22 ธันวาคม มีเพียง 1 คนต่อ 1 ครอบครัวเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ออกจากบ้านทุก 2 วันเพื่อหาซื้อข้าวของที่จำเป็น
นอกจากนี้ชาวเมืองซีอานจะไม่ได้รับอนุญาตให้เดินทางออกจากเมืองเว้นแต่จะมีเหตุผลที่จำเป็น หรือได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ให้ทำการเดินทางได้เท่านั้น โดยคำสั่งควบคุมดังกล่าวจะมีผลในเวลาเที่ยงคืนของวันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคมตามเวลาท้องถิ่น
รถโดยสารที่วิ่งระยะไกลได้ปิดให้บริการ ขณะที่มีการตั้งจุดตรวจขึ้นตามถนนมอเตอร์เวย์ที่เข้าไปยังเมือง และได้มีการยกเลิกเที่ยวบินจำนวนมากที่บินลงจอดในสนามบินซีอานแล้วเช่นกัน ธุรกิจที่ไม่จำเป็นจะต้องปิดทำการ ขณะที่ลูกจ้างท้องถิ่นของรัฐบาลได้รับคำสั่งให้ทำงานจากบ้านพัก
ทั้งนี้ ยังไม่มีการกำหนดกรอบเวลาว่ามาตรการควบคุมดังกล่าวจะบังคับใช้ไปถึงเมื่อใด ขณะที่ชาวบ้านในมณฑลส่านซี ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองซีอานหลายล้านคนได้เข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แล้วเช่นกัน เจ้าหน้าที่ระบุว่าไวรัสที่แพร่ระบาดอยู่ขณะนี้คือเดลต้า โดยไม่ได้มีการระบุถึงไวรัสกลายพันธุ์โอไมครอนที่กำลังแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วไปทั่วโลกในขณะนี้แต่อย่างใด
เกษตรกรเลี้ยงหมู แบกภาระล้น ต้นทุนพุ่ง หวังผู้บริโภคต่อลมหายใจ
https://www.innnews.co.th/news/news_259649/
น.สพ.วิวัฒน์ พงษ์วิวัฒนชัย อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยถึงสถานการณ์ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรว่า ปัจจุบันเกษตรกรมีปัญหารุมเร้าหลายด้าน โดยเฉพาะราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อต้นทุนการเลี้ยงที่สูงขึ้นมากถึง 25% เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เป็นหนึ่งในวัตถุดิบหลักมีราคาสูงถึง 10.60 บาทต่อกิโลกรัม และเคยปรับขึ้นไปถึงกิโลกรัมละ 11.45 บาท เมื่อช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา จากปริมาณผลผลิตที่ขาดแคลนอย่างหนัก ส่วนกากถั่วเหลืองจากเมล็ดถั่วเหลืองนำเข้าราคาสูงถึง 19.50 บาทต่อกิโลกรัม และปลายข้าวราคาสูงถึงกระสอบละ 1,100 บาท นอกจากนี้ยังมีการจัดการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) เพื่อป้องกันโรคในสุกรอย่างเข้มงวด เกิดเป็นต้นทุนที่เกษตรกรต้องแบกรับอีกกว่า 400-500 บาทต่อตัว ขณะที่ ผลกระทบของโรคในสุกรทั้ง PRRS PED ฯลฯ ทำให้สุกรแม่พันธุ์เสียหายมากถึง 40% จากจำนวน 1.1 ล้านตัว เหลือเพียง 6.6 แสนตัว ส่งผลต่อเนื่องถึงปริมาณผลผลิตสุกรขุนปรับลดลงถึง 30% จากปี 2563 จากที่เคยมีจำนวนสุกรประมาณ 18-19 ล้านตัวต่อปี เหลือเพียง 15 ล้านตัวต่อปีเท่านั้น
“ภาวะต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ทั้งจากต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่พุ่งขึ้นไม่หยุด มาตรการป้องกันโรคที่ถูกยกระดับขึ้นทำให้มีค่าบริหารจัดการเพิ่มอีก รวมถึงความเสียหายที่เกิดกับตัวหมูจากภาวะโรค ความเสียหายจากน้ำท่วมในช่วงก่อนหน้านี้ และยังมีปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคการเลี้ยง ทำให้ค่าจ้างแรงงานต้องเพิ่มขึ้น และหลังจากนี้ยังต้องปรุงฟาร์มเพื่อเข้าสู่ระบบฟาร์มมาตรฐาน และ GAP ที่กรมปศุสัตว์กำหนดเป็นมาตรฐานบังคับ ซึ่งจำเป็นต้องใช้เงินทุนอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งหมดนี้เป็นภาระหนักของคนเลี้ยง และมีผลต่อการตัดสินใจเข้าเลี้ยงหมู ปริมาณหมูที่ลดลงสวนทางกับการบริโภคที่เพิ่มขึ้นจากการเปิดประเทศ การผ่อนคลายมาตรการของภาครัฐ โรงเรียนเปิดสอนแบบ On-site ทำให้การบริโภคกลับมาดีขึ้นเป็นอย่างมาก กลไกตลาดจึงทำงานตามภาวะที่แท้จริง” น.สพ.วิวัฒน์ กล่าว
อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กล่าวอีกว่า ตลอดเวลา 3 ปีที่ผ่านมา เกษตรกต้องแบกรับภาระขาดทุนมาโดยตลอด โดยเฉพาะในช่วงปีนี้ มีการประมาณการความเสียหายทั่วประเทศจากการขายสุกรขุนต่ำกว่าทุนอยู่ที่ 8,000-10,000 ล้านบาท กลายเป็นความกดดันที่มีต่อผู้เลี้ยง และมีผลต่อการตัดสินใจเข้าเลี้ยงสุกรรอบใหม่ โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยที่ต้องหยุดเลี้ยงจากปัญหาด้านเงินลงทุน ผู้เลี้ยงรายกลางและรายใหญ่ต้องชะลอการเลี้ยง หรือเลี้ยงไม่เต็มกำลังการผลิต รวมถึงไม่เข้าผสมแม่สุกร เพื่อลดความเสี่ยงและรอดูสถานการณ์ในอุตสาหกรรมและสถานการณ์โรคโควิด-19 ที่กลายเป็นปัจจัยในการวางแผนการเลี้ยงด้วย คาดว่าอุตสาหกรรมสุกรต้องใช้เวลา 2-3 ปี กว่าที่การเลี้ยงจะกลับมาเต็มกำลัง 100% วันนี้เกษตรกรขอผู้บริโภคเข้าใจกลไกตลาดที่เกิดขึ้น ที่เพียงช่วยต่อลมหายใจภาคผู้เลี้ยงต่อไปเท่านั้น และผู้บริโภคยังคงมีทางเลือกในการซื้อหาอาหารโปรตีนที่หลากหลาย ขณะที่เกษตรกรไม่มีทางเลือก มีเพียงการเลี้ยงสุกรเป็นอาชีพเดียว