5 นักเศรษฐศาสตร์ หวั่น ‘โอมิครอน’ยืดเยื้อ กระทบ ‘จีดีพี’ปี65 ดิ่ง
https://www.bangkokbiznews.com/business/979415
5 นักเศรษฐศาสตร์ ส่อฝกระทบโอมิครอน ‘ซีไอเอ็มบี ไทย” หากยืดเยื้อเกินครึ่งปีจีดีพี เหลือโต 3% ฟาก “กรุงไทย”ชี้ร้ายแรงสุดจีดีพีหาย 1% สูญ 1.5 แสนล้าน ขณะที่ “ทีทีบี”มั่นใจจีดีพีไม่ต่ำ 3% “เกียรตินาคินภัทร” หวั่นระบาดรุนแรงฉุดจีดีพีต่ำ 2% ฟาก “กรุงศรี” ยังยืนประมาณการที่ 3.7%
นาย
อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย และที่ปรึกษาการลงทุน ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า จากผลกระทบการแพร่ระบาดโคมิครอน ซีไอเอ็มบีไทย ยังไม่ปรับประมาณการจีดีพี จากเดิมที่คาดปี 2565 ขยายตัว 3.8% แต่ยอมรับว่าเศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงที่จะต่ำกว่าคาดได้ จากผลกระทบทั้งภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคภายในประเทศ แต่คาดว่าไม่ถึงการขั้นล็อกดาวน์เหมือนอดีต
แต่หากการระบาดรุนแรงขึ้น กระทบต่อการท่องเที่ยวระหว่างประเทศยาวนานถึงครึ่งปีแรกของปี 2565 รวมถึงกระทบต่อภาคการบริโภคในประเทศด้วย คาดว่า อาจเห็นจีดีพีไทยขยายตัวลดลงเหลือเพียง 3% เท่านั้น เพราะมองว่า เศรษฐกิจไทยยังได้รับแรงขับเคลื่อนจากส่งออกที่ดีอยู่แม้ ท่องเที่ยว บริโภคในประเทศจะลดลง
อย่างไรก็ตาม กรณีร้ายแรงสุด หากการระบาดโอมิครอนรุนแรง กระทบส่งออก อุปทานหยุดชะงัก จากซัพพลายเชนดิสรัปชั่น การขาดแคลนวัตถุดิบ กรณีนี้คาดว่า จีดีพีไทยน่าจะขยายตัวต่ำกว่า 3% ได้
“ตอนนี้เรายังมองว่า ไม่กระทบรุนแรง เพราะปกติการระบาดรอบสองที่ผ่านมา จะกินเวลาไม่เกิน 3 เดือน หลังจากนั้นเศรษฐกิจจะกลับมาเร่งตัวขึ้น ดังนั้นมองว่า จะไม่ระบาดรุนแรง จนทำให้เศรษฐกิจหยุดชะงัก ดังนั้น เรายังรอ ไม่ปรับประมาณการ แต่ต้องติดตามว่าการระบาดจะขยายวงกว้างรุนแรงหรือไม่ แต่เชื่อว่ารอบ 4 ไม่ใช่รอบสุดท้าย เราต้องอยู่กับมันให้ได้ ดังนั้นต้องปรับตัวเป็นประเด็นสำคัญ”
อย่างไรก็ตาม มองว่า ด้านการดูแลเศรษฐกิจ นโยบายการเงินการคลัง ยังมีรูมพอในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคการคลัง ที่ยังมีเงินกู้ 5 แสนล้านบาท รวมถึงงบกลาง เพื่อใช้เป็นช่องทางเยียวยาช่วงไตรมาสแรกได้ หรือหากต้องกู้เพิ่มก็ทำได้ ส่วนมาตรการการเงินสามารถทำซอฟท์โลนเพิ่มขึ้นได้
ร้ายแรงสุดกระทบจีดีพีหาย1%สูญ1.5แสนล.
นาย
พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB กล่าวว่า ปีหน้าคาดการณ์เศรษฐกิจขยายตัวที่ 3.8% คาดว่า โอมิครอนกระทบแค่ช่วงสั้นไตรมาสแรกเท่านั้น โดยไม่จำเป็นต้องล็อกดาวน์ เนื่องจากนักท่องเที่ยวต่างชาติครึ่งปีแรกน้อยอยู่แล้ว ทำให้กระทบไม่มาก
แต่อย่างไรก็ตามซีนาริโอถัดไป หากความรุนแรงเพิ่มขึ้น 3 เดือน กรณีนี้คาดว่าจีดีพีจะลดลง 1%หรือ 1.5 แสนล้านบาท ทำให้ภาครัฐต้องออกมาตรการเยียวยาเศรษฐกิจ 9 หมื่นล้านบาท เหมือนกรณี ม.33 ม.39 หรือคิดเป็นการใส่เงินราว 60% ของผลกระทบรายได้ที่จะหายไป ดังนั้นคาดว่าจีดีพีจะหายไปแค่ 0.4% ทำให้คาดว่าจีดีพีไทยขยายตัวเหลือ 3.4%
“กรณีร้ายแรงที่สุด มองการบริโภค การใช้จ่ายจะหายไปกว่า 1 แสนล้านบาท ที่กระทบจากโอมิครอน ทำให้ภาครัฐต้องกลับมาใช้มาตรการเยียวยาอีกรอบ หรือใส่เงินเข้ามาราว 9หมื่นล้านบาท ส่วนนี้จะมีส่วนช่วยให้จีดีพีหายไป 0.4% เหลือ 3.4% แต่หากไม่มี จีดีพีหายแน่ 1% กรณีนี้เรามองว่าโอมิครอนจะกินเวลายาวกว่าเดลตา ทำให้กระทบต่อช่วงสงกรานต์และตรุษจีน ทำให้รายได้หายไปค่อนข้างมาก”
หวั่นเศรษฐกิจโตต่ำ2%
นาย
พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ KKP Research บริษัทหลักทรัพย์(บล.) เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) หรือ KKP กล่าวว่า ต้องยอมรับว่าโอมิคอน เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อประมาณการเศรษฐกิจไทย หรือ downside risk to forecast จากเดิมที่คาดปีหน้าจีดีพีขยายตัว 3.9% ภายใต้นักท่องเที่ยว 5.8 ล้านคน
ซึ่งหากกระทบรุนแรงมากขึ้น แพร่กระจายได้เร็ว แต่ไม่รุนแรง อาจทำให้เศรษฐกิจไทยลดลงจากประมาณการเดิมได้เล็กน้อย ซึ่งอยู่ระหว่างการประเมิน
กรณีเลวร้าย (worst-case) หากโอมิครอนกระจายเร็ว ทำให้คนไม่กล้าใช้จ่าย แม้ไม่ปิดเมือง แต่การใช้จ่ายชะลอ ท่องเที่ยวยังไม่สามารถกลับมาได้ กรณีนี้ คาดจีดีพีอาจกลับไปโตต่ำกว่า 2% ได้
“เรามองว่ากรณีดีที่สุดเศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 3.9% หากโอมิครอนไม่รุนแรง จบได้เร็ว คนกลับมาเดินทางได้ นักท่องเที่ยวทำได้ 5.8 ล้านคน โอกาสจีดีพีจะโต 3.9% ยังมีอยู่ แต่หากการระบาดขยายวงกว้าง นักท่องเที่ยวไม่กลับมากรณีนี้ เศรษฐกิจไทยอาจต่ำกว่า 2% ได้”
ttb คาดเศรษฐกิจไทยโตเหนือ3%
นาย
นริศ สถาผลเดชา หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีทีบี (ttb analytics) กล่าวว่า ประมาณการ ttb ยังคาดเศรษฐกิจจะขยายตัวที่ 3.9% แต่เศรษฐกิจมีความเสี่ยงมากขึ้นจากโอมิครอน อาจทำให้เศรษฐกิจขยายตัวลดลงสู่ 3.5-3.8% ได้ ภายใต้การไม่มีล็อกดาวน์
แต่worst-case หากต้องมีการล็อกดาวน์อีกรอบ อาจทำให้เศรษฐกิจไทยลดลงมาก แต่จะไม่ต่ำกว่า 3% เนื่องจากมองว่าจุดต่ำสุดได้ผ่านไปแล้ว และทุกครั้งที่มีการล็อกดาวน์เศรษฐกิจปรับตัวขึ้นมาก ดูจากไตรมาส3ที่ผ่านมา การบริโภคเอกชนหดเพียง 3% ไม่ได้หดไปถึงระดับ 10% เหมือนช่วงแรกที่เกิดโควิด-19
แต่การกลับมาขยายตัวที่ระดับ 3% ก็ถือว่าไม่ใช่ระดับที่ดี เพราะหากเทียบเศรษฐกิจก่อนโควิด-19 โต 100% ปี 2563 เศรษฐกิจลดลง 6% เหลือ 94% หากปี 2564 เติบโต 1% เศรษฐกิจจะขึ้นมาเหลือ 95%ดังนั้นหากปีหน้ากลับไปเติบโต 3% เศรษฐกิจก็จะกลับไปสู่ระดับ 98% ซึ่งยังไม่ฟื้นตัวเหมือนกับก่อนโควิด
แม้จะยังไม่กลับมา 100% แต่เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยปี 2565 มีโอกาสกลับไปต่ำที่ 95-98% ค่อนข้างยาก เพราะเศรษฐกิจ ธุรกิจมีการปรับตัวมากขึ้น การบริโภคฟื้นตัวดีขึ้น และหากเราสามารถรักษาโมเมนตัมการบริโภคในประเทศให้ฟื้นตัวต่อเนื่อง จากการสนับสนุนไทยเที่ยวไทย เชื่อว่าจะเป็นแรงหนุนเศรษฐกิจเดินต่อได้ เพราะมาตรการไทยเที่ยวไทย ถือเป็นมาตรการที่สร้างรายได้สูงถึง 6-7หมื่นล้านบาทต่อเดือน ที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตได้ต่อเนื่อง
คงจีดีพีปี65โต 3.7% เชื่อโอมิครอนไม่รุนแรง
นาย
สมประวิณ มันประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานวิจัย และหัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)หรือ BAYกล่าวว่า ยังคาดการณ์จีดีพีปี 2565 ยังเติบโตที่ 3.7% เพราะผลกระทบจากโอมิครอน หรือการระบาดใหม่ การกลายพันธ์ุโควิด กรุงศรีฯได้ใส่ความเสี่ยงเหล่านี้เข้าไปอยู่ในประมาณการณ์อยู่แล้ว ภายใต้การคาดการณ์นักท่องเที่ยวที่ 7 ล้านคน
“เรายังเชื่อว่าโอมิครอนกระทบไม่มาก เพราะวันนี้ภาครัฐ และต่างประเทศต่างๆมีการออกมาได้เร็ว ในการป้องกันการแพร่ระบาด อีกทั้งการส่งออกยังเป็นตัวหนุนเศรษฐกิจ แต่หากโอมิครอนกระทบกว่าคาด ตัวเลขอาจต่ำกว่าคาดการณ์ได้ หากต้องล็อกดาวน์ในประเทศ รวมถึงเศรษฐกิจโลกชะลอตัวรุนแรง กระทบส่งออก แต่เรามองว่าน้ำหนักความเป็นไปได้สิ่งเหล่านี้ยังไม่มาก”
ด่วน! ไทยพบ ‘โอมิครอน’ พุ่ง 514 ราย ป่วยหนัก 4% อาการมากสุด ไอ-เจ็บคอ
https://www.matichon.co.th/covid19/news_3105847
ไทยพบโอมิครอนพุ่ง 514 ราย ป่วยหนัก 4% อาการมากสุด ไอ-เจ็บคอ
เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.
เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัด สธ. พร้อมด้วย นพ.
โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค และ นพ.
สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ร่วมแถลงฉากทัศน์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในประเทศไทย และอัพเดตสถานการณ์เชื้อโอมิครอน
นพ.
เกียรติภูมิ กล่าวว่า ประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนตั้งแต่วันที่ 26 พ.ย. – 18 ธ.ค.64 เป็นต้นมา สะสม 514 รายที่เป็นต้นเชื้อ กระจายใน 14 จังหวัด ซึ่งส่วนใหญ่มาจากระบบเข้าประเทศทั้ง 3 ระบบ ได้แก่ ระบบไม่กักตัว(Test and go) ระบบแซนด์บ๊อกซ์(Sand box) และระบบกักตัว(Quarantine) แล้วเราตรวจจับได้ หลังจากนั้นคนเหล่านี้จะกลับไปพื้นที่ต่างๆ ส่วนใหญ่อยู่ในการควบคุม แต่บางส่วนเล็ดลอดออกไป พบเป็นการสัมผัสใกล้ชิดผู้เดินทางจากต่างประเทศประมาณ 20% เช่น ไปเยี่ยมญาติ ก็อาจทำให้เกิดการแพร่ระบาดได้ จึงต้องระมัดระวังให้มาก
สำหรับอาการของผู้ติดเชื้อ ดังนี้ อาการน้อยจนถึงไม่มีอาการ 90% มีอาการเล็กน้อย 10% อาการมาก 3-4% ขณะที่ โอมิครอนพบที่หลอดลมมากกว่าลงปอด ดังนั้นอาการที่พบได้มากคือ ไอ แต่หากลงปอดก็จะมีความรุนแรงเช่นเดียวกับเดลต้า ส่วนการศึกษาจากผู้ติดเชื้อโอมิครอน 41 รายที่เราทำการรักษาอยู่ พบว่า อาการไอ 54% เจ็บคอ 37% ไข้ 29% ปวดกล้ามเนื้อ 15% มีน้ำมูก 12% ปวดศีรษะ 10% หายใจลำบาก 5% และไม่ได้กลิ่น 2%
“เราพบอาการไม่ได้กลิ่นน้อย พบเพียง 1 ราย โดยเราให้ยาที่มีอยู่คือ ฟาวิพิราเวียร์ จำนวน 5 วันตามมาตรฐาน เราจึงพบว่า หากให้ยาตั้งแต่ต้น อาการจะดีขึ้นภาพใน 24-72 ชั่วโมง อาการฟื้นกลับมาเป็นปกติได้” นพ.
เกียรติภูมิ กล่าว
องค์กรกิจกรรมเมียนมาประณามจีน ระบุส่งเรือดำน้ำให้กองทัพมินอ่องลาย
https://workpointtoday.com/inter-myamar211227-02/
วันที่ 27 ธันวาคม 2564 องค์กร ‘Justice For Myanmar’ องค์กรกิจกรรมของเมียนมาออกแถลงการณ์ประนามจีน หลังมีรายงานพบเรือดำน้ำจีนในน่านน้ำเมียนมา คาดซื้อขายเป็นที่เรียบร้อย
แถลงการณ์ของ ‘Justice For Myanmar’ ระบุว่า
“ขอประณามจีนที่ยังคงขายอาวุธให้กองทัพเมียนมาอย่างต่อเนื่องและรู้เห็นเป็นใจกับอาชญากรรมที่กองทัพกำลังก่อ ท่อน้ำเลี้ยงที่ส่งมอบอาวุธให้แก่รัฐบาลเมียนมาต้องหยุดลงเดี๋ยวนี้” และส่งเสริมให้มีการระงับความช่วยเหลือด้านอาวุธต่อรัฐบาลทหารของมินอ่องลาย ผ่าน #GlobalArmsEmbargo
แถลงการณ์ดังกล่าวออกมาไม่กี่วัน หลังสำนักข่าวฮินดูสถานรายงานว่าจีนได้ส่งมอบเรือดำน้ำให้แก่เมียนมาผ่านทางช่องแคบมะละกาเข้ามาทางทะเลอันตามัน ซึ่งอินเดียจับตามองเพราะหมายถึงภูมิศาสตร์การเมืองระหว่างอินเดียและจีนจะทวีความตึงเครียดขึ้น โดยที่ผ่านมามีผู้ถ่ายวีดีโอเรือดำน้ำดังกล่าวเข้าช่องแคบมะละกาใกล้อินโดนีเซียเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา และมีธงจีนอยู่บนเรือดำน้ำลำดังกล่าว
เอช ไอ ซัททัน ผู้เชี่ยวชาญด้านเรือดำน้ำ ทวีตว่าเรือดำน้ำดังกล่าวเป็นเรือดำน้ำรุ่น Type-035 submarine of the Ming class ขณะที่ภาพวีดีโอจากเมียนมาปรากฎภาพกองทัพเรือเมียนมาได้ึ่มกันเรือดำน้ำคันดังกล่าว ทำให้เป็นที่วิเคราะห์ว่าเป็นไปได้ว่า รัฐบาลจีนได้ซื้อขายเรือดำน้ำนี้ให้แก่รัฐบาลเมียนมา
สภาพทางภูมิศาสตร์การเมืองของเมียนมาอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ระหว่างสองยักษ์ใหญ่ จีน-อินเดีย ทำให้ปกติแล้วเป็นประเทศที่ได้รับการช่วยเหลือด้านความมั่นคง ก่อนที่จะปรากฎภาพเรือดำน้ำจีนนี้ อินเดียเคยมอบเรือดำน้ำมือสองให้กองทัพเมียนมามาแล้ว แต่หลังการรัฐประหารเกิดขึ้นรัฐบาลมินอ่องลายพัฒนาความสัมพันธ์ใกล้ชิดต่อจีนยิ่งขึ้นทำให้อินเดียจับตาดูอย่างใกล้ชิด
หนังสือพิมพ์ฮินดูสถานของอินเดียระบุว่า
“ขณะที่รัฐบาลทหารของเมียนมาปราบปรามผู้ไม่เห็นด้วยด้วยอาวุธปืนแล้ว ก็ยังแทงที่ข้างหลังของอินเดียด้วย โดยอนุญาตให้กลุ่มต่อสู้ติดอาวุธทางตะวันออกเฉียงเหนือในอินเดียเข้าไปตั้งฐานที่มั่นบริเวณชายแดนเมียนมา” ซึ่งรัฐบาลอินเดียเชื่อว่า กลุ่มดังกล่าวได้รับแรงสนับสนุนจากอาวุธของจีนเพื่อดำเนินการก่อความไม่สงบบริเวณมานิปูระ และนาคาแลนด์ ขณะเดียวกันกลุ่มติดอาวุธจากอินเดียนี้ก็ให้ความช่วยเหลือรัฐบาลทหารมินอ่องลายโดยช่วยโจมตีกองทัพประชาชนปลดแอกของเมียนมา
JJNY : หวั่น ‘โอมิครอน’ยืดเยื้อ ‘จีดีพี’ปี65ดิ่ง│ไทยพบ‘โอมิครอน’พุ่ง514ราย│องค์กรกิจกรรมเมียนมาประณามจีน│พีมูฟบุกทำเนียบ
https://www.bangkokbiznews.com/business/979415
5 นักเศรษฐศาสตร์ ส่อฝกระทบโอมิครอน ‘ซีไอเอ็มบี ไทย” หากยืดเยื้อเกินครึ่งปีจีดีพี เหลือโต 3% ฟาก “กรุงไทย”ชี้ร้ายแรงสุดจีดีพีหาย 1% สูญ 1.5 แสนล้าน ขณะที่ “ทีทีบี”มั่นใจจีดีพีไม่ต่ำ 3% “เกียรตินาคินภัทร” หวั่นระบาดรุนแรงฉุดจีดีพีต่ำ 2% ฟาก “กรุงศรี” ยังยืนประมาณการที่ 3.7%
นายอมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย และที่ปรึกษาการลงทุน ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า จากผลกระทบการแพร่ระบาดโคมิครอน ซีไอเอ็มบีไทย ยังไม่ปรับประมาณการจีดีพี จากเดิมที่คาดปี 2565 ขยายตัว 3.8% แต่ยอมรับว่าเศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงที่จะต่ำกว่าคาดได้ จากผลกระทบทั้งภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคภายในประเทศ แต่คาดว่าไม่ถึงการขั้นล็อกดาวน์เหมือนอดีต
แต่หากการระบาดรุนแรงขึ้น กระทบต่อการท่องเที่ยวระหว่างประเทศยาวนานถึงครึ่งปีแรกของปี 2565 รวมถึงกระทบต่อภาคการบริโภคในประเทศด้วย คาดว่า อาจเห็นจีดีพีไทยขยายตัวลดลงเหลือเพียง 3% เท่านั้น เพราะมองว่า เศรษฐกิจไทยยังได้รับแรงขับเคลื่อนจากส่งออกที่ดีอยู่แม้ ท่องเที่ยว บริโภคในประเทศจะลดลง
อย่างไรก็ตาม กรณีร้ายแรงสุด หากการระบาดโอมิครอนรุนแรง กระทบส่งออก อุปทานหยุดชะงัก จากซัพพลายเชนดิสรัปชั่น การขาดแคลนวัตถุดิบ กรณีนี้คาดว่า จีดีพีไทยน่าจะขยายตัวต่ำกว่า 3% ได้
“ตอนนี้เรายังมองว่า ไม่กระทบรุนแรง เพราะปกติการระบาดรอบสองที่ผ่านมา จะกินเวลาไม่เกิน 3 เดือน หลังจากนั้นเศรษฐกิจจะกลับมาเร่งตัวขึ้น ดังนั้นมองว่า จะไม่ระบาดรุนแรง จนทำให้เศรษฐกิจหยุดชะงัก ดังนั้น เรายังรอ ไม่ปรับประมาณการ แต่ต้องติดตามว่าการระบาดจะขยายวงกว้างรุนแรงหรือไม่ แต่เชื่อว่ารอบ 4 ไม่ใช่รอบสุดท้าย เราต้องอยู่กับมันให้ได้ ดังนั้นต้องปรับตัวเป็นประเด็นสำคัญ”
อย่างไรก็ตาม มองว่า ด้านการดูแลเศรษฐกิจ นโยบายการเงินการคลัง ยังมีรูมพอในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคการคลัง ที่ยังมีเงินกู้ 5 แสนล้านบาท รวมถึงงบกลาง เพื่อใช้เป็นช่องทางเยียวยาช่วงไตรมาสแรกได้ หรือหากต้องกู้เพิ่มก็ทำได้ ส่วนมาตรการการเงินสามารถทำซอฟท์โลนเพิ่มขึ้นได้
ร้ายแรงสุดกระทบจีดีพีหาย1%สูญ1.5แสนล.
นายพชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB กล่าวว่า ปีหน้าคาดการณ์เศรษฐกิจขยายตัวที่ 3.8% คาดว่า โอมิครอนกระทบแค่ช่วงสั้นไตรมาสแรกเท่านั้น โดยไม่จำเป็นต้องล็อกดาวน์ เนื่องจากนักท่องเที่ยวต่างชาติครึ่งปีแรกน้อยอยู่แล้ว ทำให้กระทบไม่มาก
แต่อย่างไรก็ตามซีนาริโอถัดไป หากความรุนแรงเพิ่มขึ้น 3 เดือน กรณีนี้คาดว่าจีดีพีจะลดลง 1%หรือ 1.5 แสนล้านบาท ทำให้ภาครัฐต้องออกมาตรการเยียวยาเศรษฐกิจ 9 หมื่นล้านบาท เหมือนกรณี ม.33 ม.39 หรือคิดเป็นการใส่เงินราว 60% ของผลกระทบรายได้ที่จะหายไป ดังนั้นคาดว่าจีดีพีจะหายไปแค่ 0.4% ทำให้คาดว่าจีดีพีไทยขยายตัวเหลือ 3.4%
“กรณีร้ายแรงที่สุด มองการบริโภค การใช้จ่ายจะหายไปกว่า 1 แสนล้านบาท ที่กระทบจากโอมิครอน ทำให้ภาครัฐต้องกลับมาใช้มาตรการเยียวยาอีกรอบ หรือใส่เงินเข้ามาราว 9หมื่นล้านบาท ส่วนนี้จะมีส่วนช่วยให้จีดีพีหายไป 0.4% เหลือ 3.4% แต่หากไม่มี จีดีพีหายแน่ 1% กรณีนี้เรามองว่าโอมิครอนจะกินเวลายาวกว่าเดลตา ทำให้กระทบต่อช่วงสงกรานต์และตรุษจีน ทำให้รายได้หายไปค่อนข้างมาก”
หวั่นเศรษฐกิจโตต่ำ2%
นายพิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ KKP Research บริษัทหลักทรัพย์(บล.) เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) หรือ KKP กล่าวว่า ต้องยอมรับว่าโอมิคอน เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อประมาณการเศรษฐกิจไทย หรือ downside risk to forecast จากเดิมที่คาดปีหน้าจีดีพีขยายตัว 3.9% ภายใต้นักท่องเที่ยว 5.8 ล้านคน
ซึ่งหากกระทบรุนแรงมากขึ้น แพร่กระจายได้เร็ว แต่ไม่รุนแรง อาจทำให้เศรษฐกิจไทยลดลงจากประมาณการเดิมได้เล็กน้อย ซึ่งอยู่ระหว่างการประเมิน
กรณีเลวร้าย (worst-case) หากโอมิครอนกระจายเร็ว ทำให้คนไม่กล้าใช้จ่าย แม้ไม่ปิดเมือง แต่การใช้จ่ายชะลอ ท่องเที่ยวยังไม่สามารถกลับมาได้ กรณีนี้ คาดจีดีพีอาจกลับไปโตต่ำกว่า 2% ได้
“เรามองว่ากรณีดีที่สุดเศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 3.9% หากโอมิครอนไม่รุนแรง จบได้เร็ว คนกลับมาเดินทางได้ นักท่องเที่ยวทำได้ 5.8 ล้านคน โอกาสจีดีพีจะโต 3.9% ยังมีอยู่ แต่หากการระบาดขยายวงกว้าง นักท่องเที่ยวไม่กลับมากรณีนี้ เศรษฐกิจไทยอาจต่ำกว่า 2% ได้”
ttb คาดเศรษฐกิจไทยโตเหนือ3%
นายนริศ สถาผลเดชา หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีทีบี (ttb analytics) กล่าวว่า ประมาณการ ttb ยังคาดเศรษฐกิจจะขยายตัวที่ 3.9% แต่เศรษฐกิจมีความเสี่ยงมากขึ้นจากโอมิครอน อาจทำให้เศรษฐกิจขยายตัวลดลงสู่ 3.5-3.8% ได้ ภายใต้การไม่มีล็อกดาวน์
แต่worst-case หากต้องมีการล็อกดาวน์อีกรอบ อาจทำให้เศรษฐกิจไทยลดลงมาก แต่จะไม่ต่ำกว่า 3% เนื่องจากมองว่าจุดต่ำสุดได้ผ่านไปแล้ว และทุกครั้งที่มีการล็อกดาวน์เศรษฐกิจปรับตัวขึ้นมาก ดูจากไตรมาส3ที่ผ่านมา การบริโภคเอกชนหดเพียง 3% ไม่ได้หดไปถึงระดับ 10% เหมือนช่วงแรกที่เกิดโควิด-19
แต่การกลับมาขยายตัวที่ระดับ 3% ก็ถือว่าไม่ใช่ระดับที่ดี เพราะหากเทียบเศรษฐกิจก่อนโควิด-19 โต 100% ปี 2563 เศรษฐกิจลดลง 6% เหลือ 94% หากปี 2564 เติบโต 1% เศรษฐกิจจะขึ้นมาเหลือ 95%ดังนั้นหากปีหน้ากลับไปเติบโต 3% เศรษฐกิจก็จะกลับไปสู่ระดับ 98% ซึ่งยังไม่ฟื้นตัวเหมือนกับก่อนโควิด
แม้จะยังไม่กลับมา 100% แต่เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยปี 2565 มีโอกาสกลับไปต่ำที่ 95-98% ค่อนข้างยาก เพราะเศรษฐกิจ ธุรกิจมีการปรับตัวมากขึ้น การบริโภคฟื้นตัวดีขึ้น และหากเราสามารถรักษาโมเมนตัมการบริโภคในประเทศให้ฟื้นตัวต่อเนื่อง จากการสนับสนุนไทยเที่ยวไทย เชื่อว่าจะเป็นแรงหนุนเศรษฐกิจเดินต่อได้ เพราะมาตรการไทยเที่ยวไทย ถือเป็นมาตรการที่สร้างรายได้สูงถึง 6-7หมื่นล้านบาทต่อเดือน ที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตได้ต่อเนื่อง
คงจีดีพีปี65โต 3.7% เชื่อโอมิครอนไม่รุนแรง
นายสมประวิณ มันประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานวิจัย และหัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)หรือ BAYกล่าวว่า ยังคาดการณ์จีดีพีปี 2565 ยังเติบโตที่ 3.7% เพราะผลกระทบจากโอมิครอน หรือการระบาดใหม่ การกลายพันธ์ุโควิด กรุงศรีฯได้ใส่ความเสี่ยงเหล่านี้เข้าไปอยู่ในประมาณการณ์อยู่แล้ว ภายใต้การคาดการณ์นักท่องเที่ยวที่ 7 ล้านคน
“เรายังเชื่อว่าโอมิครอนกระทบไม่มาก เพราะวันนี้ภาครัฐ และต่างประเทศต่างๆมีการออกมาได้เร็ว ในการป้องกันการแพร่ระบาด อีกทั้งการส่งออกยังเป็นตัวหนุนเศรษฐกิจ แต่หากโอมิครอนกระทบกว่าคาด ตัวเลขอาจต่ำกว่าคาดการณ์ได้ หากต้องล็อกดาวน์ในประเทศ รวมถึงเศรษฐกิจโลกชะลอตัวรุนแรง กระทบส่งออก แต่เรามองว่าน้ำหนักความเป็นไปได้สิ่งเหล่านี้ยังไม่มาก”
ด่วน! ไทยพบ ‘โอมิครอน’ พุ่ง 514 ราย ป่วยหนัก 4% อาการมากสุด ไอ-เจ็บคอ
https://www.matichon.co.th/covid19/news_3105847
ไทยพบโอมิครอนพุ่ง 514 ราย ป่วยหนัก 4% อาการมากสุด ไอ-เจ็บคอ
เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัด สธ. พร้อมด้วย นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค และ นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ร่วมแถลงฉากทัศน์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในประเทศไทย และอัพเดตสถานการณ์เชื้อโอมิครอน
นพ.เกียรติภูมิ กล่าวว่า ประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนตั้งแต่วันที่ 26 พ.ย. – 18 ธ.ค.64 เป็นต้นมา สะสม 514 รายที่เป็นต้นเชื้อ กระจายใน 14 จังหวัด ซึ่งส่วนใหญ่มาจากระบบเข้าประเทศทั้ง 3 ระบบ ได้แก่ ระบบไม่กักตัว(Test and go) ระบบแซนด์บ๊อกซ์(Sand box) และระบบกักตัว(Quarantine) แล้วเราตรวจจับได้ หลังจากนั้นคนเหล่านี้จะกลับไปพื้นที่ต่างๆ ส่วนใหญ่อยู่ในการควบคุม แต่บางส่วนเล็ดลอดออกไป พบเป็นการสัมผัสใกล้ชิดผู้เดินทางจากต่างประเทศประมาณ 20% เช่น ไปเยี่ยมญาติ ก็อาจทำให้เกิดการแพร่ระบาดได้ จึงต้องระมัดระวังให้มาก
สำหรับอาการของผู้ติดเชื้อ ดังนี้ อาการน้อยจนถึงไม่มีอาการ 90% มีอาการเล็กน้อย 10% อาการมาก 3-4% ขณะที่ โอมิครอนพบที่หลอดลมมากกว่าลงปอด ดังนั้นอาการที่พบได้มากคือ ไอ แต่หากลงปอดก็จะมีความรุนแรงเช่นเดียวกับเดลต้า ส่วนการศึกษาจากผู้ติดเชื้อโอมิครอน 41 รายที่เราทำการรักษาอยู่ พบว่า อาการไอ 54% เจ็บคอ 37% ไข้ 29% ปวดกล้ามเนื้อ 15% มีน้ำมูก 12% ปวดศีรษะ 10% หายใจลำบาก 5% และไม่ได้กลิ่น 2%
“เราพบอาการไม่ได้กลิ่นน้อย พบเพียง 1 ราย โดยเราให้ยาที่มีอยู่คือ ฟาวิพิราเวียร์ จำนวน 5 วันตามมาตรฐาน เราจึงพบว่า หากให้ยาตั้งแต่ต้น อาการจะดีขึ้นภาพใน 24-72 ชั่วโมง อาการฟื้นกลับมาเป็นปกติได้” นพ.เกียรติภูมิ กล่าว
องค์กรกิจกรรมเมียนมาประณามจีน ระบุส่งเรือดำน้ำให้กองทัพมินอ่องลาย
https://workpointtoday.com/inter-myamar211227-02/
วันที่ 27 ธันวาคม 2564 องค์กร ‘Justice For Myanmar’ องค์กรกิจกรรมของเมียนมาออกแถลงการณ์ประนามจีน หลังมีรายงานพบเรือดำน้ำจีนในน่านน้ำเมียนมา คาดซื้อขายเป็นที่เรียบร้อย
แถลงการณ์ของ ‘Justice For Myanmar’ ระบุว่า “ขอประณามจีนที่ยังคงขายอาวุธให้กองทัพเมียนมาอย่างต่อเนื่องและรู้เห็นเป็นใจกับอาชญากรรมที่กองทัพกำลังก่อ ท่อน้ำเลี้ยงที่ส่งมอบอาวุธให้แก่รัฐบาลเมียนมาต้องหยุดลงเดี๋ยวนี้” และส่งเสริมให้มีการระงับความช่วยเหลือด้านอาวุธต่อรัฐบาลทหารของมินอ่องลาย ผ่าน #GlobalArmsEmbargo
แถลงการณ์ดังกล่าวออกมาไม่กี่วัน หลังสำนักข่าวฮินดูสถานรายงานว่าจีนได้ส่งมอบเรือดำน้ำให้แก่เมียนมาผ่านทางช่องแคบมะละกาเข้ามาทางทะเลอันตามัน ซึ่งอินเดียจับตามองเพราะหมายถึงภูมิศาสตร์การเมืองระหว่างอินเดียและจีนจะทวีความตึงเครียดขึ้น โดยที่ผ่านมามีผู้ถ่ายวีดีโอเรือดำน้ำดังกล่าวเข้าช่องแคบมะละกาใกล้อินโดนีเซียเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา และมีธงจีนอยู่บนเรือดำน้ำลำดังกล่าว
เอช ไอ ซัททัน ผู้เชี่ยวชาญด้านเรือดำน้ำ ทวีตว่าเรือดำน้ำดังกล่าวเป็นเรือดำน้ำรุ่น Type-035 submarine of the Ming class ขณะที่ภาพวีดีโอจากเมียนมาปรากฎภาพกองทัพเรือเมียนมาได้ึ่มกันเรือดำน้ำคันดังกล่าว ทำให้เป็นที่วิเคราะห์ว่าเป็นไปได้ว่า รัฐบาลจีนได้ซื้อขายเรือดำน้ำนี้ให้แก่รัฐบาลเมียนมา
สภาพทางภูมิศาสตร์การเมืองของเมียนมาอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ระหว่างสองยักษ์ใหญ่ จีน-อินเดีย ทำให้ปกติแล้วเป็นประเทศที่ได้รับการช่วยเหลือด้านความมั่นคง ก่อนที่จะปรากฎภาพเรือดำน้ำจีนนี้ อินเดียเคยมอบเรือดำน้ำมือสองให้กองทัพเมียนมามาแล้ว แต่หลังการรัฐประหารเกิดขึ้นรัฐบาลมินอ่องลายพัฒนาความสัมพันธ์ใกล้ชิดต่อจีนยิ่งขึ้นทำให้อินเดียจับตาดูอย่างใกล้ชิด
หนังสือพิมพ์ฮินดูสถานของอินเดียระบุว่า “ขณะที่รัฐบาลทหารของเมียนมาปราบปรามผู้ไม่เห็นด้วยด้วยอาวุธปืนแล้ว ก็ยังแทงที่ข้างหลังของอินเดียด้วย โดยอนุญาตให้กลุ่มต่อสู้ติดอาวุธทางตะวันออกเฉียงเหนือในอินเดียเข้าไปตั้งฐานที่มั่นบริเวณชายแดนเมียนมา” ซึ่งรัฐบาลอินเดียเชื่อว่า กลุ่มดังกล่าวได้รับแรงสนับสนุนจากอาวุธของจีนเพื่อดำเนินการก่อความไม่สงบบริเวณมานิปูระ และนาคาแลนด์ ขณะเดียวกันกลุ่มติดอาวุธจากอินเดียนี้ก็ให้ความช่วยเหลือรัฐบาลทหารมินอ่องลายโดยช่วยโจมตีกองทัพประชาชนปลดแอกของเมียนมา