ย้อนข้อมูล รบ.ประยุทธ์ รู้ตั้งแต่ ปี 62 มีโรคระบาดหมู อนุมัติงบ 4 ครั้ง เกือบพันล้าน!
https://www.khaosod.co.th/politics/news_6829071
ย้อนรอย มติคณะรัฐมนตรี รัฐบาล “ประยุทธ์” แก้อหิวาต์หมู (ASF) 4 ครั้ง อนุมัติแล้วกว่า 996 ล้านบาท รวมครั้งนี้อีก 574 ล้าน ทั้งหมด กว่า 1.5 พันล้าน!
วานนี้ (11 ม.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีปัญหาของ
“หมูแพง” ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อม และ อนุมัติงบประมาณเพื่อแก้ปัญหาอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ไปแล้ว 5 ครั้ง กว่า 996,909,200 บาท โดย ครั้งแรก เมื่อวันที่ 9 เม.ย.2562 , ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2564 และล่าสุดคือ ครั้งที่ 5 วานนี้ (11 ม.ค.) ที่ ครม.อนุมัติงบกลางฯ ปี 2565 วงเงิน 574 ล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร สำหรับรายละเอียดทั้งหมด ของทั้ง 4 ครั้ง ก่อนหน้า มีดังนี้
ครั้งที่ 1 : วันที่ 9 เมษายน 2562 : ครม.มีมติอนุมัติแผนเตรียมความพร้อมรับมือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรของประเทศไทย เป็น “วาระแห่งชาติ” ดังนี้
1. เห็นชอบแผนเตรียมความพร้อมรับมือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรของประเทศไทยเป็นวาระแห่งชาติ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ สำหรับงบประมาณในการดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคเร่งด่วน ในปีงบประมาณ พ.ศ.2562 จำนวน 53,604,900 บาท เห็นควรให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมปศุสัตว์ดำเนินการตามนัยระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2560 รวมถึงขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
2. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำกับดูแลการดำเนินการให้เป็นตามแผนดังกล่าวอย่างเคร่งครัดและรัดกุม รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรให้เร่งดำเนินการก่อหนี้ผูกพันให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และให้เร่งการสื่อสารกับประชาชนและเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และควรมีการจัดทำรายละเอียดประมาณการค่าใช้จ่ายในแต่ละมาตรการเพื่อใช้เป็นกรอบในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ รวมทั้งติดตามประเมินผลและตรวจสอบการดำเนินงานได้
นอกจากนี้ ควรประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการควบคุมตรวจสอบการปนเปื้อนเชื้อไวรัสของทั้งบุคคลและยานพาหนะที่เข้ามาในประเทศไทย และการลักลอบการนำเข้าผลิตภัณฑ์สุกรตามแนวชายแดน รวมถึงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้เกิดความตระหนักถึงการระบาดของเชื้อโรคอหิวาต์แอฟริกา ซึ่งจะเป็นมาตรการเฝ้าระวังที่สำคัญ
ตลอดจนมีมาตรการยกระดับการจัดการฟาร์มเลี้ยงสุกรในการป้องกันโรค โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยที่มีการเลี้ยงแบบเปิด ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
ครั้งที่ 2 : วันที่ 24 มีนาคม 2563 : ครม.มีมติอนุมัติใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการป้องกันโรคอหิวาค์แอฟริกาในสุกร จำนวน 523,244,500 บาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้
1. ค่าชดใช้ราคาสุกรที่ถูกทำลายโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 มาตรา 13 (4) ประมาณ 77,578 ตัว เป็นเงิน 381,772,500 บาท
2. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเกี่ยวกับการเฝ้าระวังโรค ตรวจวินิจฉัยและทำลายเชื้อโรค/ซากสัตว์ ได้แก่ ค่าจ้างเหมาในการขนส่งและขุดหลุมฝังกลบทำลายซาก ค่าจ้างเหมาบริการช่วยงานสัตวแพทย์ และค่าวัสดุเวชภัณฑ์/วัสดุวิทยาศาสตร์หรือการแพทย์ เป็นเงิน 99,852,000 บาท โดยให้ถัวจ่ายกันได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม
3. จัดซื้อครุภัณฑ์ รวม 4 รายการ เป็นเงิน 41,620,000 บาท ได้แก่ , เครื่องตรวจวิเคราะห์สารพันธุกรรมในสภาพจริงแบบเคลื่อนที่ จำนวน 7 ชุด ชุดละ 400,000 บาท เป็นเงิน 2,800,000 บาท , เครื่องตรวจวัดอุณหภูมิชนิดเคลื่อนที่แบบอินฟราเรด (Thermal Imaging System) จำนวน 108 เครื่อง เครื่องละ 40,000 บาท เป็นเงิน 4,320,000 บาท , รถขนซากสัตว์ติดเชื้อระบบปิด จำนวน 3 คัน คันละ 7,900,000 บาท เป็นเงิน 23,700,000 บาท , รถสามล้อพ่นยาฆ่าเชื้อ จำนวน 27 คัน คันละ 400,000 บาท เป็นเงิน 10,800,000 บาท
4. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมปศุสัตว์) เร่งรัดการดำเนินการป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรโดยเร็ว เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์
ครั้งที่ 3 : วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 ครม.อนุมัติใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร จำนวนเงิน 279,782,374 บาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมปศุสัตว์) รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรมีมาตรการยกระดับการจัดการฟาร์มเลี้ยงสุกรให้ได้มาตรฐานในการป้องกันโรค เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเกษตรกรในการรับมือกับโรคระบาดสัตว์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยที่มีการเลี้ยงแบบเปิดที่เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อ และอาจเป็นพาหะในการแพร่กระจายเชื้อโรคไปในวงกว้างได้ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ครั้งที่ 4 : วันที่ 6 กรกฎาคม 2564 : ครม.อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรและโรคระบาดร้ายแรงในสุกรหรือหมูป่า จำนวน 140,277,426 บาท เพื่อดำเนินการ
1.ค่าใช้จ่ายในการป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรและโรคระบาดร้ายแรงในสุกรหรือหมูป่า ประกอบด่วย ค่าชดใช้ราคาสุกรที่ถูกทำลาย ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2563 ถึงวันที่ 22 มีนาคม 2564 จำนวนเงิน 93,772,226 บาท และ 2.ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคตรวจวินิจฉัยและทำลายเชื้อโรค หรือ ซากสัตว์ จำนวนเงิน 46,505,200 บาท
แต่ ทว่างบประมาณ กว่า 996 ล้านบาท ทั้ง 4 ครั้ง ตลอดระยะเวลากว่า 2 ปีที่ผ่านมา ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหา “หมูแพง” ได้ จนกระทั่ง วานนี้ (11 ม.ค.) รัฐบาล ได้อนุมัติงบประมาณอีกครั้งเป็น ครั้งที่ 5 ผ่านมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยเป็นการอนุมัติงบกลางฯ ปี 2565 วงเงิน 574 ล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร
• ข้อมูลบางส่วน : prachachat.net
โรงเชือด แฉรัฐ รู้อหิวาต์หมูมีมาเป็นปี แต่ปิดข่าว ถูกจ้างให้นำหมูไปฝังเป็นพันตัว
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6828482
นครปฐม – โรงเชือด แฉรัฐ รู้อหิวาต์หมูมีมาเป็นปี แต่ปิดข่าว คนขับสิบล้อแฉซ้ำ ถูกจ้างให้นำหมูไปฝังเป็นพันตัว แต่วันนี้จะมาโยนบาปให้โรงเชือด
11 ม.ค. 2565 – ที่ จ.นครปฐม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ประกอบการโรงฆ่าสัตว์ หรือโรงหมู ต่างไม่พอใจกับการตกเป็นจำเลยสังคม กรณีการตรวจพบเชื้อโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ที่อ้างว่าจากตัวอย่างพื้นผิวสัมผัสบริเวณโรงฆ่าสัตว์แห่งหนึ่งที่มาจาก จ.นครปฐม และมีผลบวกเชื้อ ASF
ตัวแทนผู้ประกอบการโรงฆ่าสัตว์ กล่าวว่า การเข้าตรวจ หรือการเข้ามาเก็บตัวอย่างหาเชื้อโรค โดยการใช้ผ้าก๊อซมาเช็ด ซับน้ำเลือดจากพื้นในโรงฆ่าสัตว์ แล้วนำไปตรวจวิเคราะห์โรคนั้น ไม่น่าจะเป็นการกระทำที่ถูกต้องที่สุด เพราะโรงฆ่าสัตว์ มีทั้งยานพาหนะขนส่งสินค้า ขนย้ายสุกร และคนงานเดินเข้าเดินออกมากมายในแต่ละชั่วโมงในหนึ่งวัน อาจจะมีเชื้อโรคต่าง ๆ ปนเปื้อนที่พื้นได้
ทางที่ถูกต้องคือ การจะตรวจหาเชื้อโรคที่ร้ายแรงขนาดนี้ ต้องตรวจเลือดสัตว์ คือ สุกร จึงจะถูก ไม่ใช่มาสุ่มเอาสารคัดหลั่งจากพื้นในโรงเชือดแบบนี้
โรคอหิวาต์ในหมู เกิดมาเป็นปีแล้ว ฟาร์มก็รู้ว่าเป็น ASF ปศุสัตว์ก็รู้ว่าหมูที่ป่วย แรก ๆ ยังให้นำหมูที่ป่วยไปฝังกลบ กินไม่ได้ ต้องให้ทิ้งเท่านั้น โดยราชการจ่ายเงินชดเชยให้ แต่ต่อมาระยะยาว ตายมากขึ้น แก้ไขไม่จบ จึงประกาศว่ากินได้
เมื่อพบหมูป่วย ก็แจ้งไปทางปศุสัตว์เข้าตรวจ ออกใบอนุญาต เคลื่อนย้ายเพื่อนำไปเชือดก่อนตาย แล้วนำไปขายได้ บางเล้าหมูอายุน้ำหนัก 20 กิโลกรัม เป็นร้อย ๆ ตัวติดเชื้อต้องขายออกกิโลละ 13 บาท เฉลี่ยตัวละสองพันกว่าบาท ขณะที่ค่าลูกหมูตัวละ 2,000 บาท ฟาร์มลักษณะนี้ เจ๊งหมดตัว 100% ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดมาเป็นปี แต่ถูกเก็บไว้ ด้วยเหตุผลอะไร ผู้ประกอบการเลี้ยงสุกรเจ๊งระนาว วันนี้จะมาโยนบาปให้โรงเชือด มันไม่เป็นธรรม
ขณะที่แหล่งข่าวจากผู้ประกอบการขนส่งรถบรรทุกสิบล้อรายหนึ่ง กล่าวว่า
เคยได้รับการว่าจ้างให้นำสุกรไปฝังกลบเป็นพันตัว ที่ อ.กำแพงแสน โดยมีเจ้าหน้าที่รัฐเป็นผู้ประสาน ที่น่าตกใจคือ คนขับรถต้องฆ่าเชื้อด้วยวิธี “อาบน้ำยา” แสดงให้เห็นว่าเชื้อโรคตัวนี้รุนแรงมาก คนงานที่อาบน้ำยาฆ่าเชื้อก็แพ้น้ำยาฆ่าเชื้อ เป็นแผลคันไปหมด ก็ไม่มีใครตอบได้ว่าเชื้อโรคตัวนี้คือเชื้อโรคอะไร รู้เพียงว่ามันรุนแรง
ไต้หวัน สั่งห้ามนำเข้าหมู-ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากไทยเข้าประเทศ ฝ่าฝืนมีโทษ 2.4 แสน
https://www.matichon.co.th/foreign/news_3127796
ไต้หวัน สั่งห้ามนำเข้าหมู-ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากไทยเข้าประเทศ ฝ่าฝืนมีโทษ 2.4 แสน
เมื่อวันที่ 12 มกราคม อินเตอร์เนชั่นแนล คอมมูนิตี้ เรดิโอ ไทเป ได้รายงานว่า รัฐบาลไต้หวัน ได้ออกประกาศเตือนว่า ใครก็ตามที่พยายามจะนำหมู หรือผลิตภัณฑ์จากหมูจากไทย เข้าไต้หวัน จะต้องเจอโทษปรับอย่างน้อย 200,000 ดอลลาร์ไต้หวัน หรือราว 240,000 บาท ผู้กระทำผิดซ้ำจะต้องถูกโทษปรับถึง 1 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน หรือราว 1,200,000 บาท
ทั้งยังรายงานว่า ผู้ที่ถูกจับได้ที่สนามบิน หรือท่าเรือ ที่พยายามจะนำหมูจากไทยเข้าไต้หวัน จะต้องจ่ายค่าปรับ มิเช่นนั้นจะถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าไต้หวันและเนรเทศกลับ
ค่าปรับดังกล่าวมีขึ้น หลังจากไทยประกาศว่าพบโรค ASF ในหมูอย่างเป็นทางการ ซึ่งไต้หวันได้พบกุนเชียงจากไทยในกล่องพัสดุ ในไถหนาน เมื่อธันวาคมที่ผ่านมา
ที่มา
icrt
JJNY : รบ.ประยุทธ์รู้ตั้งแต่ปี62 มีโรคระบาดหมู│โรงเชือดแฉรัฐ│ไต้หวันห้ามนำเข้าหมู-ผลิตภัณฑ์ไทย│เขียงหมูโอดนำเข้าไม่ช่วย
https://www.khaosod.co.th/politics/news_6829071
ย้อนรอย มติคณะรัฐมนตรี รัฐบาล “ประยุทธ์” แก้อหิวาต์หมู (ASF) 4 ครั้ง อนุมัติแล้วกว่า 996 ล้านบาท รวมครั้งนี้อีก 574 ล้าน ทั้งหมด กว่า 1.5 พันล้าน!
วานนี้ (11 ม.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีปัญหาของ “หมูแพง” ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อม และ อนุมัติงบประมาณเพื่อแก้ปัญหาอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ไปแล้ว 5 ครั้ง กว่า 996,909,200 บาท โดย ครั้งแรก เมื่อวันที่ 9 เม.ย.2562 , ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2564 และล่าสุดคือ ครั้งที่ 5 วานนี้ (11 ม.ค.) ที่ ครม.อนุมัติงบกลางฯ ปี 2565 วงเงิน 574 ล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร สำหรับรายละเอียดทั้งหมด ของทั้ง 4 ครั้ง ก่อนหน้า มีดังนี้
ครั้งที่ 1 : วันที่ 9 เมษายน 2562 : ครม.มีมติอนุมัติแผนเตรียมความพร้อมรับมือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรของประเทศไทย เป็น “วาระแห่งชาติ” ดังนี้
1. เห็นชอบแผนเตรียมความพร้อมรับมือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรของประเทศไทยเป็นวาระแห่งชาติ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ สำหรับงบประมาณในการดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคเร่งด่วน ในปีงบประมาณ พ.ศ.2562 จำนวน 53,604,900 บาท เห็นควรให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมปศุสัตว์ดำเนินการตามนัยระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2560 รวมถึงขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
2. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำกับดูแลการดำเนินการให้เป็นตามแผนดังกล่าวอย่างเคร่งครัดและรัดกุม รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรให้เร่งดำเนินการก่อหนี้ผูกพันให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และให้เร่งการสื่อสารกับประชาชนและเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และควรมีการจัดทำรายละเอียดประมาณการค่าใช้จ่ายในแต่ละมาตรการเพื่อใช้เป็นกรอบในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ รวมทั้งติดตามประเมินผลและตรวจสอบการดำเนินงานได้
นอกจากนี้ ควรประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการควบคุมตรวจสอบการปนเปื้อนเชื้อไวรัสของทั้งบุคคลและยานพาหนะที่เข้ามาในประเทศไทย และการลักลอบการนำเข้าผลิตภัณฑ์สุกรตามแนวชายแดน รวมถึงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้เกิดความตระหนักถึงการระบาดของเชื้อโรคอหิวาต์แอฟริกา ซึ่งจะเป็นมาตรการเฝ้าระวังที่สำคัญ
ตลอดจนมีมาตรการยกระดับการจัดการฟาร์มเลี้ยงสุกรในการป้องกันโรค โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยที่มีการเลี้ยงแบบเปิด ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
ครั้งที่ 2 : วันที่ 24 มีนาคม 2563 : ครม.มีมติอนุมัติใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการป้องกันโรคอหิวาค์แอฟริกาในสุกร จำนวน 523,244,500 บาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้
1. ค่าชดใช้ราคาสุกรที่ถูกทำลายโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 มาตรา 13 (4) ประมาณ 77,578 ตัว เป็นเงิน 381,772,500 บาท
2. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเกี่ยวกับการเฝ้าระวังโรค ตรวจวินิจฉัยและทำลายเชื้อโรค/ซากสัตว์ ได้แก่ ค่าจ้างเหมาในการขนส่งและขุดหลุมฝังกลบทำลายซาก ค่าจ้างเหมาบริการช่วยงานสัตวแพทย์ และค่าวัสดุเวชภัณฑ์/วัสดุวิทยาศาสตร์หรือการแพทย์ เป็นเงิน 99,852,000 บาท โดยให้ถัวจ่ายกันได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม
3. จัดซื้อครุภัณฑ์ รวม 4 รายการ เป็นเงิน 41,620,000 บาท ได้แก่ , เครื่องตรวจวิเคราะห์สารพันธุกรรมในสภาพจริงแบบเคลื่อนที่ จำนวน 7 ชุด ชุดละ 400,000 บาท เป็นเงิน 2,800,000 บาท , เครื่องตรวจวัดอุณหภูมิชนิดเคลื่อนที่แบบอินฟราเรด (Thermal Imaging System) จำนวน 108 เครื่อง เครื่องละ 40,000 บาท เป็นเงิน 4,320,000 บาท , รถขนซากสัตว์ติดเชื้อระบบปิด จำนวน 3 คัน คันละ 7,900,000 บาท เป็นเงิน 23,700,000 บาท , รถสามล้อพ่นยาฆ่าเชื้อ จำนวน 27 คัน คันละ 400,000 บาท เป็นเงิน 10,800,000 บาท
4. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมปศุสัตว์) เร่งรัดการดำเนินการป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรโดยเร็ว เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์
ครั้งที่ 3 : วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 ครม.อนุมัติใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร จำนวนเงิน 279,782,374 บาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมปศุสัตว์) รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรมีมาตรการยกระดับการจัดการฟาร์มเลี้ยงสุกรให้ได้มาตรฐานในการป้องกันโรค เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเกษตรกรในการรับมือกับโรคระบาดสัตว์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยที่มีการเลี้ยงแบบเปิดที่เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อ และอาจเป็นพาหะในการแพร่กระจายเชื้อโรคไปในวงกว้างได้ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ครั้งที่ 4 : วันที่ 6 กรกฎาคม 2564 : ครม.อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรและโรคระบาดร้ายแรงในสุกรหรือหมูป่า จำนวน 140,277,426 บาท เพื่อดำเนินการ
1.ค่าใช้จ่ายในการป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรและโรคระบาดร้ายแรงในสุกรหรือหมูป่า ประกอบด่วย ค่าชดใช้ราคาสุกรที่ถูกทำลาย ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2563 ถึงวันที่ 22 มีนาคม 2564 จำนวนเงิน 93,772,226 บาท และ 2.ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคตรวจวินิจฉัยและทำลายเชื้อโรค หรือ ซากสัตว์ จำนวนเงิน 46,505,200 บาท
แต่ ทว่างบประมาณ กว่า 996 ล้านบาท ทั้ง 4 ครั้ง ตลอดระยะเวลากว่า 2 ปีที่ผ่านมา ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหา “หมูแพง” ได้ จนกระทั่ง วานนี้ (11 ม.ค.) รัฐบาล ได้อนุมัติงบประมาณอีกครั้งเป็น ครั้งที่ 5 ผ่านมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยเป็นการอนุมัติงบกลางฯ ปี 2565 วงเงิน 574 ล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร
• ข้อมูลบางส่วน : prachachat.net
โรงเชือด แฉรัฐ รู้อหิวาต์หมูมีมาเป็นปี แต่ปิดข่าว ถูกจ้างให้นำหมูไปฝังเป็นพันตัว
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6828482
นครปฐม – โรงเชือด แฉรัฐ รู้อหิวาต์หมูมีมาเป็นปี แต่ปิดข่าว คนขับสิบล้อแฉซ้ำ ถูกจ้างให้นำหมูไปฝังเป็นพันตัว แต่วันนี้จะมาโยนบาปให้โรงเชือด
11 ม.ค. 2565 – ที่ จ.นครปฐม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ประกอบการโรงฆ่าสัตว์ หรือโรงหมู ต่างไม่พอใจกับการตกเป็นจำเลยสังคม กรณีการตรวจพบเชื้อโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ที่อ้างว่าจากตัวอย่างพื้นผิวสัมผัสบริเวณโรงฆ่าสัตว์แห่งหนึ่งที่มาจาก จ.นครปฐม และมีผลบวกเชื้อ ASF
ตัวแทนผู้ประกอบการโรงฆ่าสัตว์ กล่าวว่า การเข้าตรวจ หรือการเข้ามาเก็บตัวอย่างหาเชื้อโรค โดยการใช้ผ้าก๊อซมาเช็ด ซับน้ำเลือดจากพื้นในโรงฆ่าสัตว์ แล้วนำไปตรวจวิเคราะห์โรคนั้น ไม่น่าจะเป็นการกระทำที่ถูกต้องที่สุด เพราะโรงฆ่าสัตว์ มีทั้งยานพาหนะขนส่งสินค้า ขนย้ายสุกร และคนงานเดินเข้าเดินออกมากมายในแต่ละชั่วโมงในหนึ่งวัน อาจจะมีเชื้อโรคต่าง ๆ ปนเปื้อนที่พื้นได้
ทางที่ถูกต้องคือ การจะตรวจหาเชื้อโรคที่ร้ายแรงขนาดนี้ ต้องตรวจเลือดสัตว์ คือ สุกร จึงจะถูก ไม่ใช่มาสุ่มเอาสารคัดหลั่งจากพื้นในโรงเชือดแบบนี้
โรคอหิวาต์ในหมู เกิดมาเป็นปีแล้ว ฟาร์มก็รู้ว่าเป็น ASF ปศุสัตว์ก็รู้ว่าหมูที่ป่วย แรก ๆ ยังให้นำหมูที่ป่วยไปฝังกลบ กินไม่ได้ ต้องให้ทิ้งเท่านั้น โดยราชการจ่ายเงินชดเชยให้ แต่ต่อมาระยะยาว ตายมากขึ้น แก้ไขไม่จบ จึงประกาศว่ากินได้
เมื่อพบหมูป่วย ก็แจ้งไปทางปศุสัตว์เข้าตรวจ ออกใบอนุญาต เคลื่อนย้ายเพื่อนำไปเชือดก่อนตาย แล้วนำไปขายได้ บางเล้าหมูอายุน้ำหนัก 20 กิโลกรัม เป็นร้อย ๆ ตัวติดเชื้อต้องขายออกกิโลละ 13 บาท เฉลี่ยตัวละสองพันกว่าบาท ขณะที่ค่าลูกหมูตัวละ 2,000 บาท ฟาร์มลักษณะนี้ เจ๊งหมดตัว 100% ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดมาเป็นปี แต่ถูกเก็บไว้ ด้วยเหตุผลอะไร ผู้ประกอบการเลี้ยงสุกรเจ๊งระนาว วันนี้จะมาโยนบาปให้โรงเชือด มันไม่เป็นธรรม
ขณะที่แหล่งข่าวจากผู้ประกอบการขนส่งรถบรรทุกสิบล้อรายหนึ่ง กล่าวว่า เคยได้รับการว่าจ้างให้นำสุกรไปฝังกลบเป็นพันตัว ที่ อ.กำแพงแสน โดยมีเจ้าหน้าที่รัฐเป็นผู้ประสาน ที่น่าตกใจคือ คนขับรถต้องฆ่าเชื้อด้วยวิธี “อาบน้ำยา” แสดงให้เห็นว่าเชื้อโรคตัวนี้รุนแรงมาก คนงานที่อาบน้ำยาฆ่าเชื้อก็แพ้น้ำยาฆ่าเชื้อ เป็นแผลคันไปหมด ก็ไม่มีใครตอบได้ว่าเชื้อโรคตัวนี้คือเชื้อโรคอะไร รู้เพียงว่ามันรุนแรง
ไต้หวัน สั่งห้ามนำเข้าหมู-ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากไทยเข้าประเทศ ฝ่าฝืนมีโทษ 2.4 แสน
https://www.matichon.co.th/foreign/news_3127796
ไต้หวัน สั่งห้ามนำเข้าหมู-ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากไทยเข้าประเทศ ฝ่าฝืนมีโทษ 2.4 แสน
เมื่อวันที่ 12 มกราคม อินเตอร์เนชั่นแนล คอมมูนิตี้ เรดิโอ ไทเป ได้รายงานว่า รัฐบาลไต้หวัน ได้ออกประกาศเตือนว่า ใครก็ตามที่พยายามจะนำหมู หรือผลิตภัณฑ์จากหมูจากไทย เข้าไต้หวัน จะต้องเจอโทษปรับอย่างน้อย 200,000 ดอลลาร์ไต้หวัน หรือราว 240,000 บาท ผู้กระทำผิดซ้ำจะต้องถูกโทษปรับถึง 1 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน หรือราว 1,200,000 บาท
ทั้งยังรายงานว่า ผู้ที่ถูกจับได้ที่สนามบิน หรือท่าเรือ ที่พยายามจะนำหมูจากไทยเข้าไต้หวัน จะต้องจ่ายค่าปรับ มิเช่นนั้นจะถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าไต้หวันและเนรเทศกลับ
ค่าปรับดังกล่าวมีขึ้น หลังจากไทยประกาศว่าพบโรค ASF ในหมูอย่างเป็นทางการ ซึ่งไต้หวันได้พบกุนเชียงจากไทยในกล่องพัสดุ ในไถหนาน เมื่อธันวาคมที่ผ่านมา
ที่มา icrt