ประชาชน เลือกซื้อเนื้อไก่สด แทนเนื้อหมู โอ้แม่เจ้า ราคาไก่ ก็ขยับ อีกกก.ละ10 บาท
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_3121532
ประชาชน เลือกซื้อเนื้อไก่สด แทนเนื้อหมู โอ้แม่เจ้า ราคาไก่ ก็ขยับ อีกกก.ละ10 บาท
วันที่ 8 มกราคม ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดพิจิตรว่า ที่ตลาดสดเทศบาล 2 เทศบาลเมืองพิจิตร หลังจากราคาเนื้อหมูชำแหละมีราคาแพง ประชาชนจึงหันมาเลือกซื้อเนื้อไก่ที่มีราคาถูกกว่าเนื้อหมูไปประกอบอาหารบริโภคกันจำนวนมากขึ้น โดยจากการสำรวจแผงจำหน่ายเนื้อไก่ ทั้งไก่ตัว หรือเนื้อไก่ชำแหละ มีการปรับขึ้นราคาอีกกิโลกรัมละ 10 บาท
โดยนายวทัญญู กองรส พ่อค้าแผงจำหน่ายเนื้อไก่ กล่าวว่า ไก่ตัว จากเดิมจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 70 บาท ก็ปรับเพิ่มเป็นกิโลกรัมละ 80 บาท ส่วนเนื้อชำแหระทั้งเนื้อหน้าอก น่อง สะโพกไก่ ก็ปรับขึ้นอีกเฉลี่ยกิโลกรัมละ 10 บาทเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามเนื้อไก่ถูกกว่าเนื้อหมูทำให้ประชาชนหันมาบริโภคเนื้อไก่กันมากยิ่งขึ้น
ซึ่งผู้ประกอบการแผงจำหน่ายไก่สดต้องสั่งเพิ่มปริมาณการนำเนื้อไก่มาจำหน่ายเพิ่มอีก 1 เท่าตัวจากเดิมเคยจำหน่ายวันละกว่า 100 ตัวก็ปรับเพิ่มเป็นวันละ 200 – 300 ตัวเป็นต้น แม้ว่าราคาเนื้อไก่สดจะปรับขึ้นราคา แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อหมู ราคาเนื้อไก่จะมีราคาถูกกว่า 2 เท่าตัว ส่วนแผงจำหน่ายเนื้อสุกรชำแหละในตลาดเทศบาลเมืองพิจิตรก็เป็นไปอย่างเงียบเหงา ไม่ค่อยมีประชาชนให้ความสนใจเลือกซื้อเนื้อหมูเลย เพราะราคาแพง โดยหากเป็นเนื้อแดงจำหน่ายที่กิโลกรัม 220 -250 บาท
โผล่ครั้งที่สองใน 2 สัปดาห์ ไต้หวันพบอีกเชื้อ ASF ในพัสดุ "กุนเชียงหมู" จากไทย
https://www.khaosod.co.th/around-the-world-news/news_6821260
โผล่ครั้งที่สองใน 2 สัปดาห์ –
ไต้หวันฮอต และ อาร์ทีไอ รายงานวันที่ 4 ม.ค. ว่า ที่ทำการไปรษณีย์นครไถหนาน ทางใต้ของไต้หวัน ยึดพัสดุไปรษณีย์กุนเชียงหมูปนเปื้อนเชื้ออหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) จากประเทศไทยอีกครั้ง นับเป็นครั้งที่สองในรอบ 2 สัปดาห์ ที่มีการยึดพัสดุไปรษณีย์จากไทยที่มีกุนเชียงหมูปนเปื้อนเชื้ออหิวาต์แอฟริกาในสุกร
นาย
เฉิน จี๋-จ้ง ประธานคณะกรรมการการเกษตร ระบุว่า สถาบันสุขภาพแห่งชาติของคณะกรรมการการเกษตรตรวจพบกรดนิวคลีอิกของเชื้ออหิวาต์แอฟริกาในสุกรจากพัสดุไปรษณีย์จากประเทศไทย นับเป็นครั้งที่สองตั้งแต่วันที่ 22 ธ.ค. 2564 ที่ตรวจพบเชื้ออหิวาต์แอฟริกาในสุกรในพัสดุไปรษณีย์จากประเทศไทย โดยผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรจากการยึดทั้งสองครั้งดังกล่าวมาจากคนละโรงงานกัน ทำให้ทางการไต้หวันตื้นตัวมากขึ้นในการตรวจสอบพัสดุจากประเทศไทย และแม้แต่ประเทศในคาบสมุทรอินโดจีนทั้งหมด
นายเฉินกล่าวในฐานะผู้บัญชาการศูนย์รับมือภัยพิบัติส่วนกลางสำหรับโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรว่า ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบพัสดุในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างรัดกุมขึ้น และว่าจะรายงานสถานการณ์ดังกล่าวต่อประเทศไทยผ่านช่องทางอย่างเป็นทางการ และขอให้ปรับปรุงแก้ไข
นาย
เฉินชี้ว่า แม้ว่าประเทศไทยไม่ได้รายงานการติดเชื้ออหิวาต์แอฟริกาในสุกรต่อองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE)จนถึงตอนนี้ จึงยังไม่ถูกจัดอยู่ในเขตระบาดของโรคนี้ แต่เนื่องจากประเทศไทยมีพรมแดนติดกับประเทศในอินโดจีนและประเทศจีน ไต้หวันจึงรวมประเทศอาเซียนทั้งหมด รวมถึงไทย อยู่ในประเทศเสี่ยงยูงตั้งแต่ปี 2562 และดำเนินมาตรการตรวจสอบชายแดนในระดับเดียวกับเขตระบาด
นาย
เฉินระบุว่า สถานการณ์เชื้ออหิวาต์แอฟริกาในสุกรระหว่างประเทศในปัจจุบันยังรุนแรง มี 14 ประเทศ ในเอเชีย ได้แก่ จีน มองโกเลีย เวียดนาม เกาหลีเหนือ ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ติมอร์ตะวันออก อินโดนีเซีย อินเดีย ภูฏาน และเพื่อนบ้านของประเทศไทยทั้งหมด ได้แก่ เมียนมา ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย
นาย
เฉินเตือนว่า ขณะที่เทศกาลตรุษจีนใกล้เข้ามาถึง และประชาชนจะชินกับการขนหรือส่งผลิตภัณฑ์เนื้อหมู เช่น ไส้กรอก เบคอน และแฮม เข้ามา อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูปเหล่านี้ไม่ได้รับความร้อนที่อุณหภูมิสูง จึงมีความเสี่ยงสูงสุดที่จะแพร่เชื้อดังกล่าว
“ผมขอเรียกร้องให้ประชาชนห้ามขนและส่งผลิตภัณฑ์เนื้อหมูที่ผิดกฎหมายจากต่างประเทศ หรือนำเข้าไต้หวันด้วยวิธีอื่นใดโดยเด็ดขาด รัฐบาลจะพยายามอย่างเต็มที่เพื่อบังคับใช้กฎหมายและลงโทษตามกฎหมาย โปรดร่วมมือกันปกป้องหมูไต้หวัน” นาย
เฉินทิ้งท้าย
นาง
ตู้ เหวิน-เจิน อธิบดีกรมตรวจโรคพืชและสัตว์ไต้หวัน ระบุว่า เมื่อไต้หวันตรวจพบเชื้อเชื้ออหิวาต์แอฟริกาในสุกรในพัสดุไปรษณีย์ที่ส่งมาจากไทย จึงแจ้งให้ฝ่ายไทยทราบ ฝ่ายไทยตอบว่าเป็นการนำเข้าเนื้อหมูจากเขตระบาด ส่วนการตรวจพบครั้งที่สองเพิ่งพบเมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2564 จึงยังไม่ได้แจ้งให้ฝ่ายไทยทราบ
ด้านนาย
หวง จิน-เฉิน รองประธานคณะกรรมการการเกษตรไต้หวัน ระบุว่า ไต้หวันได้แจ้งให้ฝ่ายไทยทราบตลอดเวลา เพื่อให้ฝ่ายไทยเห็นความสำคัญของปัญหาโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรที่อาจเป็นปัญหาที่มีอยู่แล้วในประเทศไทย เนื่องจากประสบการณ์ของหลายประเทศ เมื่อเป็นเขตระบาดจะไม่อาจนำเข้าเนื้อหมูจากเขตระบาดอื่น จึงวิตกว่า หลายประเทศในอาเซียนรายงานให้ OIE ทราบแล้วว่าเป็นเขตระบาด มีเพียงไทยประเทศเดียวที่ยังไม่ได้รายงาน จึงหวังว่ารัฐบาลไทยจะเร่งตรวจสอบฟาร์มสุกรในประเทศไทยทั้งหมด เพื่อหาแหล่งต้นตอของเชื้ออหิวาต์แอฟริกาในสุกรให้ได้
https://www.facebook.com/ChiChung.agri/posts/1232737413883721
ดร.อนันต์เชื่อ"โอมิครอน"ไม่ใช่จุดจบ-ขอภาครัฐคุมเข้ม
https://www.tnnthailand.com/news/covid19/101379/
ดร.อนันต์เชื่อว่าหากมาตรการภาครัฐคุมไม่ดีตัวเลขผู้ติดเชื้อโอมิครอนจะพุ่งสูงกว่าเดลตาหลายหมื่นคน และเชื่อว่าการระบาดรอบนี้ยังไม่ใช้จุดจบของโควิด
วันนี้ ( 8 ม.ค. 65 )ดร.
อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรม และเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือ (ไบโอเทค) เชื่อว่า การแพร่ระบาดของโควิด สายพันธุ์ โอมิครอน จะไม่ใช่จุดจบของการแพร่ระบาด และเชื่อว่าด้วยจำนวนของผู้ที่ติดเชื้อที่ติดง่ายกว่า จะทำให้มีจำนวนของผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลทำให้ระบบสาธารณสุข
ดร.
อนันต์ ยังให้ความเห็นถึงกรณีที่กระทรวงสาธารณสุข ยกระดับการเตือนประชาชนจากระดับ 3 เป็นระดับที่ 4 ว่าอาจจะยังเป็นมาตรการที่ไม่เพียงพอ เพราะหากไม่มีมาตรการที่เข้มข้นเพิ่มออกมา อาจจะได้เห็นการระบาดโดยเฉพาะยอดของผู้ติดเชื้อ ที่สูงกว่าเดลตาหลายหมื่นคน
ด้านนายแพทย์
ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า ส่วนการเฝ้าระวังสายพันธุ์ โควิด ขณะนี้พบว่าสัดส่วนของพันธุ์โอมิครอนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาจากการเฝ้าระวังผู้ที่เดินทางเข้าประเทศไทย ได้มีการตรวจหาเชื้อ โควิดด้วย RT-PCR พบว่าเมื่อส่งตรวจสายพันธุ์เกือบทุกรายเป็นสายพันธุ์โอมิครอน
ในส่วนของประชาชนทั่วไปเมื่อติดโควิด ไม่อยากให้แยกว่าเป็นสายพันธุ์ไหนเพราะการรักษาในขณะนี้ใช้รูปแบบเดียวกันทุกสายพันธุ์
JJNY : ซื้อไก่แทนหมู ไก่ขยับ10บ.│ไต้หวันพบอีก ASF กุนเชียงหมูจากไทย│ดร.อนันต์เชื่อโอมิครอนไม่ใช่จุดจบ│พท.จี้ทำงานเชิงรุก
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_3121532
วันที่ 8 มกราคม ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดพิจิตรว่า ที่ตลาดสดเทศบาล 2 เทศบาลเมืองพิจิตร หลังจากราคาเนื้อหมูชำแหละมีราคาแพง ประชาชนจึงหันมาเลือกซื้อเนื้อไก่ที่มีราคาถูกกว่าเนื้อหมูไปประกอบอาหารบริโภคกันจำนวนมากขึ้น โดยจากการสำรวจแผงจำหน่ายเนื้อไก่ ทั้งไก่ตัว หรือเนื้อไก่ชำแหละ มีการปรับขึ้นราคาอีกกิโลกรัมละ 10 บาท
โดยนายวทัญญู กองรส พ่อค้าแผงจำหน่ายเนื้อไก่ กล่าวว่า ไก่ตัว จากเดิมจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 70 บาท ก็ปรับเพิ่มเป็นกิโลกรัมละ 80 บาท ส่วนเนื้อชำแหระทั้งเนื้อหน้าอก น่อง สะโพกไก่ ก็ปรับขึ้นอีกเฉลี่ยกิโลกรัมละ 10 บาทเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามเนื้อไก่ถูกกว่าเนื้อหมูทำให้ประชาชนหันมาบริโภคเนื้อไก่กันมากยิ่งขึ้น
ซึ่งผู้ประกอบการแผงจำหน่ายไก่สดต้องสั่งเพิ่มปริมาณการนำเนื้อไก่มาจำหน่ายเพิ่มอีก 1 เท่าตัวจากเดิมเคยจำหน่ายวันละกว่า 100 ตัวก็ปรับเพิ่มเป็นวันละ 200 – 300 ตัวเป็นต้น แม้ว่าราคาเนื้อไก่สดจะปรับขึ้นราคา แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อหมู ราคาเนื้อไก่จะมีราคาถูกกว่า 2 เท่าตัว ส่วนแผงจำหน่ายเนื้อสุกรชำแหละในตลาดเทศบาลเมืองพิจิตรก็เป็นไปอย่างเงียบเหงา ไม่ค่อยมีประชาชนให้ความสนใจเลือกซื้อเนื้อหมูเลย เพราะราคาแพง โดยหากเป็นเนื้อแดงจำหน่ายที่กิโลกรัม 220 -250 บาท
โผล่ครั้งที่สองใน 2 สัปดาห์ ไต้หวันพบอีกเชื้อ ASF ในพัสดุ "กุนเชียงหมู" จากไทย
https://www.khaosod.co.th/around-the-world-news/news_6821260
โผล่ครั้งที่สองใน 2 สัปดาห์ – ไต้หวันฮอต และ อาร์ทีไอ รายงานวันที่ 4 ม.ค. ว่า ที่ทำการไปรษณีย์นครไถหนาน ทางใต้ของไต้หวัน ยึดพัสดุไปรษณีย์กุนเชียงหมูปนเปื้อนเชื้ออหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) จากประเทศไทยอีกครั้ง นับเป็นครั้งที่สองในรอบ 2 สัปดาห์ ที่มีการยึดพัสดุไปรษณีย์จากไทยที่มีกุนเชียงหมูปนเปื้อนเชื้ออหิวาต์แอฟริกาในสุกร
นายเฉิน จี๋-จ้ง ประธานคณะกรรมการการเกษตร ระบุว่า สถาบันสุขภาพแห่งชาติของคณะกรรมการการเกษตรตรวจพบกรดนิวคลีอิกของเชื้ออหิวาต์แอฟริกาในสุกรจากพัสดุไปรษณีย์จากประเทศไทย นับเป็นครั้งที่สองตั้งแต่วันที่ 22 ธ.ค. 2564 ที่ตรวจพบเชื้ออหิวาต์แอฟริกาในสุกรในพัสดุไปรษณีย์จากประเทศไทย โดยผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรจากการยึดทั้งสองครั้งดังกล่าวมาจากคนละโรงงานกัน ทำให้ทางการไต้หวันตื้นตัวมากขึ้นในการตรวจสอบพัสดุจากประเทศไทย และแม้แต่ประเทศในคาบสมุทรอินโดจีนทั้งหมด
นายเฉินกล่าวในฐานะผู้บัญชาการศูนย์รับมือภัยพิบัติส่วนกลางสำหรับโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรว่า ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบพัสดุในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างรัดกุมขึ้น และว่าจะรายงานสถานการณ์ดังกล่าวต่อประเทศไทยผ่านช่องทางอย่างเป็นทางการ และขอให้ปรับปรุงแก้ไข
นายเฉินชี้ว่า แม้ว่าประเทศไทยไม่ได้รายงานการติดเชื้ออหิวาต์แอฟริกาในสุกรต่อองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE)จนถึงตอนนี้ จึงยังไม่ถูกจัดอยู่ในเขตระบาดของโรคนี้ แต่เนื่องจากประเทศไทยมีพรมแดนติดกับประเทศในอินโดจีนและประเทศจีน ไต้หวันจึงรวมประเทศอาเซียนทั้งหมด รวมถึงไทย อยู่ในประเทศเสี่ยงยูงตั้งแต่ปี 2562 และดำเนินมาตรการตรวจสอบชายแดนในระดับเดียวกับเขตระบาด
นายเฉินระบุว่า สถานการณ์เชื้ออหิวาต์แอฟริกาในสุกรระหว่างประเทศในปัจจุบันยังรุนแรง มี 14 ประเทศ ในเอเชีย ได้แก่ จีน มองโกเลีย เวียดนาม เกาหลีเหนือ ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ติมอร์ตะวันออก อินโดนีเซีย อินเดีย ภูฏาน และเพื่อนบ้านของประเทศไทยทั้งหมด ได้แก่ เมียนมา ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย
นายเฉินเตือนว่า ขณะที่เทศกาลตรุษจีนใกล้เข้ามาถึง และประชาชนจะชินกับการขนหรือส่งผลิตภัณฑ์เนื้อหมู เช่น ไส้กรอก เบคอน และแฮม เข้ามา อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูปเหล่านี้ไม่ได้รับความร้อนที่อุณหภูมิสูง จึงมีความเสี่ยงสูงสุดที่จะแพร่เชื้อดังกล่าว
“ผมขอเรียกร้องให้ประชาชนห้ามขนและส่งผลิตภัณฑ์เนื้อหมูที่ผิดกฎหมายจากต่างประเทศ หรือนำเข้าไต้หวันด้วยวิธีอื่นใดโดยเด็ดขาด รัฐบาลจะพยายามอย่างเต็มที่เพื่อบังคับใช้กฎหมายและลงโทษตามกฎหมาย โปรดร่วมมือกันปกป้องหมูไต้หวัน” นายเฉินทิ้งท้าย
นางตู้ เหวิน-เจิน อธิบดีกรมตรวจโรคพืชและสัตว์ไต้หวัน ระบุว่า เมื่อไต้หวันตรวจพบเชื้อเชื้ออหิวาต์แอฟริกาในสุกรในพัสดุไปรษณีย์ที่ส่งมาจากไทย จึงแจ้งให้ฝ่ายไทยทราบ ฝ่ายไทยตอบว่าเป็นการนำเข้าเนื้อหมูจากเขตระบาด ส่วนการตรวจพบครั้งที่สองเพิ่งพบเมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2564 จึงยังไม่ได้แจ้งให้ฝ่ายไทยทราบ
ด้านนายหวง จิน-เฉิน รองประธานคณะกรรมการการเกษตรไต้หวัน ระบุว่า ไต้หวันได้แจ้งให้ฝ่ายไทยทราบตลอดเวลา เพื่อให้ฝ่ายไทยเห็นความสำคัญของปัญหาโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรที่อาจเป็นปัญหาที่มีอยู่แล้วในประเทศไทย เนื่องจากประสบการณ์ของหลายประเทศ เมื่อเป็นเขตระบาดจะไม่อาจนำเข้าเนื้อหมูจากเขตระบาดอื่น จึงวิตกว่า หลายประเทศในอาเซียนรายงานให้ OIE ทราบแล้วว่าเป็นเขตระบาด มีเพียงไทยประเทศเดียวที่ยังไม่ได้รายงาน จึงหวังว่ารัฐบาลไทยจะเร่งตรวจสอบฟาร์มสุกรในประเทศไทยทั้งหมด เพื่อหาแหล่งต้นตอของเชื้ออหิวาต์แอฟริกาในสุกรให้ได้
https://www.facebook.com/ChiChung.agri/posts/1232737413883721
ดร.อนันต์เชื่อ"โอมิครอน"ไม่ใช่จุดจบ-ขอภาครัฐคุมเข้ม
https://www.tnnthailand.com/news/covid19/101379/
ดร.อนันต์เชื่อว่าหากมาตรการภาครัฐคุมไม่ดีตัวเลขผู้ติดเชื้อโอมิครอนจะพุ่งสูงกว่าเดลตาหลายหมื่นคน และเชื่อว่าการระบาดรอบนี้ยังไม่ใช้จุดจบของโควิด
วันนี้ ( 8 ม.ค. 65 )ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรม และเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือ (ไบโอเทค) เชื่อว่า การแพร่ระบาดของโควิด สายพันธุ์ โอมิครอน จะไม่ใช่จุดจบของการแพร่ระบาด และเชื่อว่าด้วยจำนวนของผู้ที่ติดเชื้อที่ติดง่ายกว่า จะทำให้มีจำนวนของผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลทำให้ระบบสาธารณสุข
ดร.อนันต์ ยังให้ความเห็นถึงกรณีที่กระทรวงสาธารณสุข ยกระดับการเตือนประชาชนจากระดับ 3 เป็นระดับที่ 4 ว่าอาจจะยังเป็นมาตรการที่ไม่เพียงพอ เพราะหากไม่มีมาตรการที่เข้มข้นเพิ่มออกมา อาจจะได้เห็นการระบาดโดยเฉพาะยอดของผู้ติดเชื้อ ที่สูงกว่าเดลตาหลายหมื่นคน
ด้านนายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า ส่วนการเฝ้าระวังสายพันธุ์ โควิด ขณะนี้พบว่าสัดส่วนของพันธุ์โอมิครอนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาจากการเฝ้าระวังผู้ที่เดินทางเข้าประเทศไทย ได้มีการตรวจหาเชื้อ โควิดด้วย RT-PCR พบว่าเมื่อส่งตรวจสายพันธุ์เกือบทุกรายเป็นสายพันธุ์โอมิครอน
ในส่วนของประชาชนทั่วไปเมื่อติดโควิด ไม่อยากให้แยกว่าเป็นสายพันธุ์ไหนเพราะการรักษาในขณะนี้ใช้รูปแบบเดียวกันทุกสายพันธุ์