.
.
Bury your head in the sand.
(เอาหัวมุดดิน) สำนวนหมายถึงการหลีกเลี่ยง
หรือเพิกเฉยต่อสถานการณ์ที่ยากลำบาก
© Martin Harvey/Getty Images
.
นกกระจอกเทศเอาหัวมุดดินจริงหรือไม่
มีที่มาจาก
Pliny the Elder
นักธรรมชาติวิทยาชาวโรมัน
เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อน ที่ระบุว่า
นกกระจอกเทศเอาหัวมุดดิน
เมื่อมันรู้สึกว่าถูกศัตรูคุกคาม
แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงหรือไม่
.
.
เป็นเวลาหลายศตวรรษที่ผู้คนอ้างว่า
เมื่อนกกระจอกเทศ
Struthio camelus
เผชิญอันตรายจะเอาหัวมุดดิน เพื่อซ่อนตัว
ภาพที่ชัดเจนนี้ทำให้เกิดวลียอดนิยม
Bury your head in the sand.
คนที่ปฏิเสธที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาโดยตรง
.
.
.
.
.
Common Ostrich [Struthio Camelus]
.
.
.
.
.
ความเชื่อเกี่ยวกับนกกระจอกเทศนี้
มีในสารานุกรมโรมัน Naturalis Historia
โดย Pliny the Elder ผู้เฒ่ารอบรู้ หรือ
Gaius Plinius Secundus
ท่านตายในเหตุการณ์ภูเขาไฟวิสุเวียส
เพราะพยายามศึกษาปรากฏการณ์ครั้งนั้น
ตามข้อมูลของ
ABC science
ในหนังสือเล่มที่ 10 ของ
The Natural History
ท่านบรรยายถึงนกกระจอกเทศ
ที่ซ่อนหัวไว้ในพุ่มไม้ (มุดดิน)
เพื่อไม่ให้ศัตรูมองเห็น
(นอนหลับไม่รู้ นอนคู้ไม่เห็น
คำพังเพยโบราณของสยาม)
" นกกระจอกเทศมีคุณสมบัติที่น่าอัศจรรย์
คือ ย่อยสสารทุกชนิดได้โดยไม่ต้องแยกแยะ
แต่ความโง่เขลาของพวกมันก็น่าทึ่งไม่แพ้กัน
แม้ว่าส่วนอื่นของร่างกายจะใหญ่โตมาก
แต่พวกมันก็จินตนาการว่า
เมื่อเอาหัวและคอยัดเข้าไปในพุ่มไม้
พวกมันก็จะซ่อนทั้งตัวไว้ได้ "
ตามข้อเขียนของท่านที่มีคนแปลไว้
.
.
.
.
.
.
.
.
.
นกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
แต่มีหัวที่เล็กมากเมื่อเทียบกับขนาดของมัน
© NNehring/Getty Images
.
.
.
นกกระจอกเทศฝังหัวจริง ๆ หรือ
ไม่จริงแต่อย่างใด
แต่บางครั้งพวกมันก็ดูเหมือนฝังหัวในดิน
นกกระจอกเทศพบได้ในแอฟริกา
และอาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่อาศัย
หลากหลายประเภท รวมถึงทุ่งหญ้า
ทุ่งหญ้าสะวันนา และทะเลทราย
นกกระจอกเทศ
เป็น
นกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
มีน้ำหนักสูงสุดที่ทำสถิติคือ 156.8 กิโลกรัม
และสามารถเติบโตได้สูงถึง 2.7 เมตร
ตามข้อมูลของ
San Diego Zoo
หัวของนกกระจอกเทศค่อนข้างเล็ก
และมีพฤติกรรมบางอย่าง
ที่เมื่อมองจากระยะไกล ๆ
อาจดูเหมือนว่ากำลังเอาหัวมุดลงไป
นกกระจอกเทศไม่เหมือนนกที่สร้างรัง
พวกมันจะขุดหลุมตื้น ๆ ในทราย
หรือพื้นดินเพื่อวางไข่ของพวกมัน
ทั้งพ่อและแม่นกจะหมุนไข่หลายครั้งต่อวัน
เพื่อให้แน่ใจว่าไข่ได้รับความอบอุ่น
เมื่อมองจากระยะไกล ๆ
พฤติกรรมนี้อาจดูเหมือนว่า
นกกระจอกเทศเอาหัวมุดลงไป
หมายเหตุ
การหมุนไข่ที่ฟักของสัตว์ปีก
จะทำให้เปลือกไข่ได้รับความร้อนทั่วถึง
ทำให้ลูกสัตว์ปีกไม่ติดอยู่กับที่ในเปลือกไข่
ทั้งยังเป็นการกระตุ้นเซลล์ภายในให้ตื่นตัว
ฟาร์มฟักไข่ไก่ก็มีระยะเวลาพลิกไข่ทุกวัน
เพราะถ้าไม่มีการพลิกไข่ (จากการทดลอง)
ลูกไก่ที่ออกมา/รอดตาย มักจะพิการ
ง่อยเปลี้ยเสียขา หมดสภาพไก่ไปเลย
ลองนึกถึงทารกในครรภ์มารดา
ถ้าถึงระยะเวลาแล้วไม่ดิ้น ไม่ถีบ
อาการน่าเป็นห่วงเช่นกัน
แม้ว่าคนกับสัตว์ปีกจะแตกต่างกัน
แต่นัยสำคัญในธรรมชาติคล้าย ๆ กัน
.
.
.
นกกระจอกเทศไม่สร้างรังเหมือนนกชนิดอื่น
แต่จะขุดหลุมตื้น ๆ ด้วยกรงเล็บแทน
© aaaaimages/Getty Images
.
นกกระจอกเทศใช้เวลาส่วนใหญ่
ในการเอาหัวแนบพื้นเพื่อหาอาหาร
ซึ่งรวมทั้งหญ้าและบางครั้งก็เป็น
สัตว์ตัวเล็ก ๆ เช่น หนู กบ และแมลง
.
.
.
หัวนกจะอยู่ใกล้พื้นในขณะที่หาอาหาร
ซึ่งเมื่อมองจากระยะไกล ๆ
ดูเหมือนว่าหัวของมันฝังอยู่ในดิน
© Rini Kools/Shutterstock
.
.
นกกระจอกเทศเป็นนกที่วิ่งเร็วที่สุดในโลก
โดยมีความเร็วสูงสุด 70 กม./ชม.
ตามข้อมูล
Smithsonian's National Zoo
ในป่า
นกกระจอกเทศ
มีนักล่าตามธรรมชาติอยู่มากมาย
เช่น เสือชีตาห์ สิงโต เสือดาว หมาป่า
หากนกกระจอกเทศตกอยู่ในอันตราย
นกกระจอกเทศมักจะวิ่งหนีก่อน
หากไม่สามารถหลบหนีได้
นกกระจอกเทศจะนอนราบกับพื้น
โดยยืดคอออกเพื่อให้กลมกลืนไปกับพื้นดิน
กับใช้สังเกตการณ์ศัตรูไปด้วย
เป็นการพรางตัวประเภทหนึ่ง
รายงานบางฉบับระบุว่า
นกกระจอกเทศโตเต็มวัยใช้ปีก
ในการกระพือฝุ่นที่อยู่ใต้ตัวมัน
ทำให้เกิดม่านหมอกฝุ่นฟุ้งกระจาย
เบี่ยงเบนความสนใจศัตรู
ให้ห่างจากลูก ๆ ของพวกมัน
นกกระจอกเทศยังสามารถเตะ
ได้แรงพอที่จะฆ่าสิงโตได้ด้วย
ดังนั้น ในความเป็นจริง
นกกระจอกเทศจึงอาศัยความเร็ว
และประสาทสัมผัสที่เฉียบแหลม
ในการตรวจจับและหลบหนีจากนักล่า
พวกมันไม่จำเป็นต้องมุดหัวแต่อย่างใด
.
.
ไข่นกกระจอกเทศมีความแข็งแรงมาก
เปลือกไข่มีความหนาประมาณ 2-3 มิลลิเมตร
และรับน้ำหนักได้มากถึง 120-180 กิโลกรัม
โดยไม่แตกเพื่อรับน้ำหนักของแม่นก/พ่อนก
(แม่นก 90-110 กก. พ่อนก 100-156 กก.)
ความแข็งแรงนี้เกิดจากโครงสร้างพิเศษ
ของเปลือกไข่เป็นรูพรุนขนาดเล็กจำนวนมาก
ทำให้กระจายแรงกดทับได้ดี
และยังช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซ
ระหว่างตัวอ่อนกับภายนอกด้วย
ระยะเวลาฟักไข่ 42-45 วัน
ตัวเมียจะฟักไข่ตอนกลางวัน
ตัวผู้จะทำหน้าที่แทนตอนกลางคืน
จะมีการพลิกไข่วันละ 4-6 ครั้ง
ป้องกันตัวอ่อนติดเปลือกไข่
ลูกนกจะเริ่มเจาะเปลือกไข่ในวันที่ 40
ใช้เวลาราว 1-2 วันจึงจะออกจากเปลือกไข่
ห้ามช่วยเหลือเพราะอาจทำให้ติดเชื้อได้
หรือทำให้ลูกนกตกใจ/ไม่พัฒนาตนเอง
นกกระจอกเทศมีอายุยืน 40-45 ปี
แต่ถ้าดูแลดีดีอยู่ในฟาร์ม/สวนสัตว์
จะอายุยืนยาวมากขึ้นราว 5 ปี
ตัวผู้ตัวเมียจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ 3-4 ปี
ตัวเมียจะเริ่มวางไข่ได้ในวัย 3-4 ปี
และผสมพันธุ์/วางไข่ได้ถึง 40 ปี
.
เรียบเรียง/ที่มา
Livescience
.
.
.
.
ผู้เขียน
.
.
.
.
เรื่องเล่าไร้สาระ
โรคไข้หวัดนก คือไข้หวัดใหญ่
จากเชื้อ influenza viruses
ซึ่งเกิดขึ้นในสัตว์ปีก
ดังนั้นจึงเรียกโรคไข้หวัดนก ว่า
Avian influenza หรือ Bird flu
สำหรับสถานการณ์โรคไข้หวัดนกในไทย
เริ่มการระบาดของโรคประมาณปลายปี 2546
แต่มีรายงานเป็นทางการเดือน ม.ค. 2547
การระบาดรอบแรก ม.ค. – พ.ค. 2547
มีผู้ป่วยที่มีผลห้องปฏิบัติการยืนยัน 12 ราย
และทุกรายเกิดการติดเชื้อ
ระหว่าง ม.ค. – มี.ค.2547
การระบาดรอบที่สอง ส.ค. – ต.ค. 2547
มีผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยัน 5 ราย
รวมมีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 12 รายจาก 17 ราย
เชื้อไวรัสที่แยกได้จากการระบาดทั้ง 2 ครั้ง
ไม่มีความแตกต่างกัน เชื่อว่าน่าจะเกิดจาก
เชื้อไวรัสที่ยังหลงเหลืออยู่
ภายหลังจากการติดเชื้อครั้งแรก
ก่อการระบาดขึ้นใหม่
©
ไข้หวัดนกจะกลายสายพันธุ์สู่คนได้หรือไม่
.
.
ญี่ปุ่นฆ่าสัตว์ปีกเหตุหวัดนกกว่า 10 ล้านตัว
12 มกราคม 2566
หลังพบผู้ป่วยไข้หวัดนก 57 ราย
ใน 23 จังหวัด จากการระบาดของ
ไข้หวัดนกในประเทศญี่ปุ่น
ทำให้ต้องกำจัดไก่ไข่ส่วนใหญ่ไปแล้ว
กว่า 10.08 ล้านตัว คิดเป็น 7% กว่า
จากปริมาณไก่ไข่ 130 ล้านตัวทั้งประเทศ
ซึ่งมากกว่าสถิติก่อนหน้าที่ 9.87 ล้านตัว
คาดว่าราคาไข่ไก่จะแพงขึ้นมาก
การตรวจพบการติดเชื้อใหม่ล่าสุด
ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 ของจังหวัดมิยาซากิ
หน่วยงานท้องถิ่นจึงกําหนดให้
ห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกราว 3.96 ล้านตัว
ในฟาร์ม 123 แห่งภายในรัศมี 10 กิโลเมตร
.
.
ในงานเกษตรแฟร์/งานวัดแถวบ้าน
มีช่วงหนึ่ง ยอดฮิตมากเลยในตอนนั้น
มักจะมีการนำนกระจอกเทศ มาให้คนนั่ง
จขกท. ป๊อด(แหก) ไม่กล้านั่งแต่อย่างใด
แต่ผู้สาว(ลูกสาว) อาสาขึ้นนั่งแทนแถมยิ้มแฉ่ง
ทำเอา จขกท. หน้าม้านต้องถ่ายรูปรัว ๆ
กับกิจกรรมผู้สาวนั่งบนหลังนกกระจอกเทศ
.
.
สยามตอนที่มีการระบาดของไข้หวัดนก
ทำให้มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ไก่พื้นเมือง
นกชนิดต่าง ๆ เช่น นกกรงหัวจุก นกพิราบ
นกกะทา นกเขา (นกของเขา ไม่ใช่ของเรา
เพราะอยู่กับเราไม่ยอมขัน ให้คนอื่นขยันขันจัง)
ที่หนักหนาสาหัสมากคือ นกกระจอกเทศ
ทำเอาคนหลายคนกลายเป็นคนเคยรวย
บางคนปลงตกบอกว่า เลี้ยงแล้วได้เป็นแสน
แสนสาหัส สากรรจ์มาก ในยุคนั้น
เพราะซื้อมาแบบยอดนิยมหลักแสน-ล้านบาท
แล้วมีคำสั่งทางการให้ฆ่าทิ้งทั้งหมดช่วงนั้น
แถวบ้านทุ่งหาดใหญ่
กลายเป็นแหล่งหลบช่อน
เขตปลอดโรคไข้หวัดนก
นักร้องดนตรีเพื่อชีวิต
ที่บอกจะเลิกแล้ว
แต่ยังไม่เลิกซักที
กับพ่อค้าขายไก่รายใหญ่
ที่ชอบเลี้ยงไก่ชนเป็นงานอดิเรก
ก็หอบหิ้วไก่ชนมาฝากไว้ฟาร์มเฮียฮ่าย
ที่รู้เพราะ ฮ่าย คือ คนงานเก่าของพ่อ
ลาออกมาเป็นพญาตีครัว(สองศรีพี่น้อง)
กับเป็นนักเพาะพันธุ์ไก่ชน/นก ชื่อดังแถวบ้าน
มีลูกค้าระดับข้าราขการเบ้ง(ใหญ่โต) หลายคน
บางรายก็พาสัตว์ปีกหลบหนีไปแถว
ตะเข็บชายแดนไทย-นายู (มลายู)
หรือสามจังหวัดชายแดน กับสี่อำเภอสงขลา
ในหมู่บ้านพื้นที่สีแดงของฝ่ายราชการ
(เขตปลอดกฎหมาย/ราชการในบางพิ้นที่)
หลายคน/นักวิชาการ เลยรวมตัวกัน
ดาหน้ากันออกมาโวยวาย/เรียกร้อง
ให้ยุติการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์สัตว์ปีก
ระยะ 1-5 ตารางกิโลเมตร(วงกลม)
เพราะเป็นการทำลายพันธุกรรมไก่สยาม
แทนที่จะรักษา/ควบคุม/ติดตามอาการ
แต่ก็ไม่มึอะไรในกอไผ่แต่อย่างใด
ยกเว้นคนมีเส้นสาย/หลบหลีกทันท่วงที
ทำให้คนมีสายพันธุ์สัตว์ปีกเก็บไว้ได้
ร่ำรวยตามมา ตอนของขาดตลาด
ส่วนคนที่เลี้ยงเก่าที่ตามไม่ทันเกมส์
ที่อยู่ในเขตฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เริ่มจนลง
เพราะไก่/นก ตายเหม็ดในตอนนั้น
พร้อมกับข่าวลือมาผสมข่าวจริง
มีการฆ่าไก่รองรับเก็บไว้ในห้องเย็น
หรือทำไก่ต้มสุกแข่แข็ง กักตุนรอไว้
หลังจากเริ่มมีข่าวกำจัดไข้หวัดนก
เพื่อนำมาขายในข่วงไก่ขาดแคลน
นกกระจอกเทศเอาหัวมุดดินจริงหรือไม่
.
Bury your head in the sand.
(เอาหัวมุดดิน) สำนวนหมายถึงการหลีกเลี่ยง
หรือเพิกเฉยต่อสถานการณ์ที่ยากลำบาก
© Martin Harvey/Getty Images
นกกระจอกเทศเอาหัวมุดดินจริงหรือไม่
มีที่มาจาก Pliny the Elder
นักธรรมชาติวิทยาชาวโรมัน
เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อน ที่ระบุว่า
นกกระจอกเทศเอาหัวมุดดิน
เมื่อมันรู้สึกว่าถูกศัตรูคุกคาม
แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงหรือไม่
.
.
.
.
.
.
.
เป็นเวลาหลายศตวรรษที่ผู้คนอ้างว่า
เมื่อนกกระจอกเทศ Struthio camelus
เผชิญอันตรายจะเอาหัวมุดดิน เพื่อซ่อนตัว
ภาพที่ชัดเจนนี้ทำให้เกิดวลียอดนิยม
Bury your head in the sand.
คนที่ปฏิเสธที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาโดยตรง
.
.
.
.
Common Ostrich [Struthio Camelus]
.
.
.
.
ความเชื่อเกี่ยวกับนกกระจอกเทศนี้
มีในสารานุกรมโรมัน Naturalis Historia
โดย Pliny the Elder ผู้เฒ่ารอบรู้ หรือ
Gaius Plinius Secundus
ท่านตายในเหตุการณ์ภูเขาไฟวิสุเวียส
เพราะพยายามศึกษาปรากฏการณ์ครั้งนั้น
ตามข้อมูลของ ABC science
ในหนังสือเล่มที่ 10 ของ
The Natural History
ท่านบรรยายถึงนกกระจอกเทศ
ที่ซ่อนหัวไว้ในพุ่มไม้ (มุดดิน)
เพื่อไม่ให้ศัตรูมองเห็น
(นอนหลับไม่รู้ นอนคู้ไม่เห็น
คำพังเพยโบราณของสยาม)
" นกกระจอกเทศมีคุณสมบัติที่น่าอัศจรรย์
คือ ย่อยสสารทุกชนิดได้โดยไม่ต้องแยกแยะ
แต่ความโง่เขลาของพวกมันก็น่าทึ่งไม่แพ้กัน
แม้ว่าส่วนอื่นของร่างกายจะใหญ่โตมาก
แต่พวกมันก็จินตนาการว่า
เมื่อเอาหัวและคอยัดเข้าไปในพุ่มไม้
พวกมันก็จะซ่อนทั้งตัวไว้ได้ "
ตามข้อเขียนของท่านที่มีคนแปลไว้
.
.
.
.
.
.
.
.
นกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
แต่มีหัวที่เล็กมากเมื่อเทียบกับขนาดของมัน
© NNehring/Getty Images
.
.
นกกระจอกเทศฝังหัวจริง ๆ หรือ
ไม่จริงแต่อย่างใด
แต่บางครั้งพวกมันก็ดูเหมือนฝังหัวในดิน
นกกระจอกเทศพบได้ในแอฟริกา
และอาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่อาศัย
หลากหลายประเภท รวมถึงทุ่งหญ้า
ทุ่งหญ้าสะวันนา และทะเลทราย
นกกระจอกเทศ
เป็นนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
มีน้ำหนักสูงสุดที่ทำสถิติคือ 156.8 กิโลกรัม
และสามารถเติบโตได้สูงถึง 2.7 เมตร
ตามข้อมูลของ San Diego Zoo
หัวของนกกระจอกเทศค่อนข้างเล็ก
และมีพฤติกรรมบางอย่าง
ที่เมื่อมองจากระยะไกล ๆ
อาจดูเหมือนว่ากำลังเอาหัวมุดลงไป
นกกระจอกเทศไม่เหมือนนกที่สร้างรัง
พวกมันจะขุดหลุมตื้น ๆ ในทราย
หรือพื้นดินเพื่อวางไข่ของพวกมัน
ทั้งพ่อและแม่นกจะหมุนไข่หลายครั้งต่อวัน
เพื่อให้แน่ใจว่าไข่ได้รับความอบอุ่น
เมื่อมองจากระยะไกล ๆ
พฤติกรรมนี้อาจดูเหมือนว่า
นกกระจอกเทศเอาหัวมุดลงไป
หมายเหตุ
การหมุนไข่ที่ฟักของสัตว์ปีก
จะทำให้เปลือกไข่ได้รับความร้อนทั่วถึง
ทำให้ลูกสัตว์ปีกไม่ติดอยู่กับที่ในเปลือกไข่
ทั้งยังเป็นการกระตุ้นเซลล์ภายในให้ตื่นตัว
ฟาร์มฟักไข่ไก่ก็มีระยะเวลาพลิกไข่ทุกวัน
เพราะถ้าไม่มีการพลิกไข่ (จากการทดลอง)
ลูกไก่ที่ออกมา/รอดตาย มักจะพิการ
ง่อยเปลี้ยเสียขา หมดสภาพไก่ไปเลย
ลองนึกถึงทารกในครรภ์มารดา
ถ้าถึงระยะเวลาแล้วไม่ดิ้น ไม่ถีบ
อาการน่าเป็นห่วงเช่นกัน
แม้ว่าคนกับสัตว์ปีกจะแตกต่างกัน
แต่นัยสำคัญในธรรมชาติคล้าย ๆ กัน
.
.
นกกระจอกเทศไม่สร้างรังเหมือนนกชนิดอื่น
แต่จะขุดหลุมตื้น ๆ ด้วยกรงเล็บแทน
© aaaaimages/Getty Images
นกกระจอกเทศใช้เวลาส่วนใหญ่
ในการเอาหัวแนบพื้นเพื่อหาอาหาร
ซึ่งรวมทั้งหญ้าและบางครั้งก็เป็น
สัตว์ตัวเล็ก ๆ เช่น หนู กบ และแมลง
.
.
หัวนกจะอยู่ใกล้พื้นในขณะที่หาอาหาร
ซึ่งเมื่อมองจากระยะไกล ๆ
ดูเหมือนว่าหัวของมันฝังอยู่ในดิน
© Rini Kools/Shutterstock
.
นกกระจอกเทศเป็นนกที่วิ่งเร็วที่สุดในโลก
โดยมีความเร็วสูงสุด 70 กม./ชม.
ตามข้อมูล Smithsonian's National Zoo
ในป่า
นกกระจอกเทศ
มีนักล่าตามธรรมชาติอยู่มากมาย
เช่น เสือชีตาห์ สิงโต เสือดาว หมาป่า
หากนกกระจอกเทศตกอยู่ในอันตราย
นกกระจอกเทศมักจะวิ่งหนีก่อน
หากไม่สามารถหลบหนีได้
นกกระจอกเทศจะนอนราบกับพื้น
โดยยืดคอออกเพื่อให้กลมกลืนไปกับพื้นดิน
กับใช้สังเกตการณ์ศัตรูไปด้วย
เป็นการพรางตัวประเภทหนึ่ง
รายงานบางฉบับระบุว่า
นกกระจอกเทศโตเต็มวัยใช้ปีก
ในการกระพือฝุ่นที่อยู่ใต้ตัวมัน
ทำให้เกิดม่านหมอกฝุ่นฟุ้งกระจาย
เบี่ยงเบนความสนใจศัตรู
ให้ห่างจากลูก ๆ ของพวกมัน
นกกระจอกเทศยังสามารถเตะ
ได้แรงพอที่จะฆ่าสิงโตได้ด้วย
ดังนั้น ในความเป็นจริง
นกกระจอกเทศจึงอาศัยความเร็ว
และประสาทสัมผัสที่เฉียบแหลม
ในการตรวจจับและหลบหนีจากนักล่า
พวกมันไม่จำเป็นต้องมุดหัวแต่อย่างใด
.
.
.
.
.
.
ไข่นกกระจอกเทศมีความแข็งแรงมาก
เปลือกไข่มีความหนาประมาณ 2-3 มิลลิเมตร
และรับน้ำหนักได้มากถึง 120-180 กิโลกรัม
โดยไม่แตกเพื่อรับน้ำหนักของแม่นก/พ่อนก
(แม่นก 90-110 กก. พ่อนก 100-156 กก.)
ความแข็งแรงนี้เกิดจากโครงสร้างพิเศษ
ของเปลือกไข่เป็นรูพรุนขนาดเล็กจำนวนมาก
ทำให้กระจายแรงกดทับได้ดี
และยังช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซ
ระหว่างตัวอ่อนกับภายนอกด้วย
ระยะเวลาฟักไข่ 42-45 วัน
ตัวเมียจะฟักไข่ตอนกลางวัน
ตัวผู้จะทำหน้าที่แทนตอนกลางคืน
จะมีการพลิกไข่วันละ 4-6 ครั้ง
ป้องกันตัวอ่อนติดเปลือกไข่
ลูกนกจะเริ่มเจาะเปลือกไข่ในวันที่ 40
ใช้เวลาราว 1-2 วันจึงจะออกจากเปลือกไข่
ห้ามช่วยเหลือเพราะอาจทำให้ติดเชื้อได้
หรือทำให้ลูกนกตกใจ/ไม่พัฒนาตนเอง
นกกระจอกเทศมีอายุยืน 40-45 ปี
แต่ถ้าดูแลดีดีอยู่ในฟาร์ม/สวนสัตว์
จะอายุยืนยาวมากขึ้นราว 5 ปี
ตัวผู้ตัวเมียจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ 3-4 ปี
ตัวเมียจะเริ่มวางไข่ได้ในวัย 3-4 ปี
และผสมพันธุ์/วางไข่ได้ถึง 40 ปี
.
เรียบเรียง/ที่มา
Livescience
.
.
.
ผู้เขียน
.
.
.
เรื่องเล่าไร้สาระ
โรคไข้หวัดนก คือไข้หวัดใหญ่
จากเชื้อ influenza viruses
ซึ่งเกิดขึ้นในสัตว์ปีก
ดังนั้นจึงเรียกโรคไข้หวัดนก ว่า
Avian influenza หรือ Bird flu
สำหรับสถานการณ์โรคไข้หวัดนกในไทย
เริ่มการระบาดของโรคประมาณปลายปี 2546
แต่มีรายงานเป็นทางการเดือน ม.ค. 2547
การระบาดรอบแรก ม.ค. – พ.ค. 2547
มีผู้ป่วยที่มีผลห้องปฏิบัติการยืนยัน 12 ราย
และทุกรายเกิดการติดเชื้อ
ระหว่าง ม.ค. – มี.ค.2547
การระบาดรอบที่สอง ส.ค. – ต.ค. 2547
มีผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยัน 5 ราย
รวมมีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 12 รายจาก 17 ราย
เชื้อไวรัสที่แยกได้จากการระบาดทั้ง 2 ครั้ง
ไม่มีความแตกต่างกัน เชื่อว่าน่าจะเกิดจาก
เชื้อไวรัสที่ยังหลงเหลืออยู่
ภายหลังจากการติดเชื้อครั้งแรก
ก่อการระบาดขึ้นใหม่
© ไข้หวัดนกจะกลายสายพันธุ์สู่คนได้หรือไม่
.
.
ญี่ปุ่นฆ่าสัตว์ปีกเหตุหวัดนกกว่า 10 ล้านตัว
12 มกราคม 2566
หลังพบผู้ป่วยไข้หวัดนก 57 ราย
ใน 23 จังหวัด จากการระบาดของ
ไข้หวัดนกในประเทศญี่ปุ่น
ทำให้ต้องกำจัดไก่ไข่ส่วนใหญ่ไปแล้ว
กว่า 10.08 ล้านตัว คิดเป็น 7% กว่า
จากปริมาณไก่ไข่ 130 ล้านตัวทั้งประเทศ
ซึ่งมากกว่าสถิติก่อนหน้าที่ 9.87 ล้านตัว
คาดว่าราคาไข่ไก่จะแพงขึ้นมาก
การตรวจพบการติดเชื้อใหม่ล่าสุด
ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 ของจังหวัดมิยาซากิ
หน่วยงานท้องถิ่นจึงกําหนดให้
ห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกราว 3.96 ล้านตัว
ในฟาร์ม 123 แห่งภายในรัศมี 10 กิโลเมตร
.
.
ในงานเกษตรแฟร์/งานวัดแถวบ้าน
มีช่วงหนึ่ง ยอดฮิตมากเลยในตอนนั้น
มักจะมีการนำนกระจอกเทศ มาให้คนนั่ง
จขกท. ป๊อด(แหก) ไม่กล้านั่งแต่อย่างใด
แต่ผู้สาว(ลูกสาว) อาสาขึ้นนั่งแทนแถมยิ้มแฉ่ง
ทำเอา จขกท. หน้าม้านต้องถ่ายรูปรัว ๆ
กับกิจกรรมผู้สาวนั่งบนหลังนกกระจอกเทศ
.
.
สยามตอนที่มีการระบาดของไข้หวัดนก
ทำให้มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ไก่พื้นเมือง
นกชนิดต่าง ๆ เช่น นกกรงหัวจุก นกพิราบ
นกกะทา นกเขา (นกของเขา ไม่ใช่ของเรา
เพราะอยู่กับเราไม่ยอมขัน ให้คนอื่นขยันขันจัง)
ที่หนักหนาสาหัสมากคือ นกกระจอกเทศ
ทำเอาคนหลายคนกลายเป็นคนเคยรวย
บางคนปลงตกบอกว่า เลี้ยงแล้วได้เป็นแสน
แสนสาหัส สากรรจ์มาก ในยุคนั้น
เพราะซื้อมาแบบยอดนิยมหลักแสน-ล้านบาท
แล้วมีคำสั่งทางการให้ฆ่าทิ้งทั้งหมดช่วงนั้น
แถวบ้านทุ่งหาดใหญ่
กลายเป็นแหล่งหลบช่อน
เขตปลอดโรคไข้หวัดนก
นักร้องดนตรีเพื่อชีวิต
ที่บอกจะเลิกแล้ว
แต่ยังไม่เลิกซักที
กับพ่อค้าขายไก่รายใหญ่
ที่ชอบเลี้ยงไก่ชนเป็นงานอดิเรก
ก็หอบหิ้วไก่ชนมาฝากไว้ฟาร์มเฮียฮ่าย
ที่รู้เพราะ ฮ่าย คือ คนงานเก่าของพ่อ
ลาออกมาเป็นพญาตีครัว(สองศรีพี่น้อง)
กับเป็นนักเพาะพันธุ์ไก่ชน/นก ชื่อดังแถวบ้าน
มีลูกค้าระดับข้าราขการเบ้ง(ใหญ่โต) หลายคน
บางรายก็พาสัตว์ปีกหลบหนีไปแถว
ตะเข็บชายแดนไทย-นายู (มลายู)
หรือสามจังหวัดชายแดน กับสี่อำเภอสงขลา
ในหมู่บ้านพื้นที่สีแดงของฝ่ายราชการ
(เขตปลอดกฎหมาย/ราชการในบางพิ้นที่)
หลายคน/นักวิชาการ เลยรวมตัวกัน
ดาหน้ากันออกมาโวยวาย/เรียกร้อง
ให้ยุติการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์สัตว์ปีก
ระยะ 1-5 ตารางกิโลเมตร(วงกลม)
เพราะเป็นการทำลายพันธุกรรมไก่สยาม
แทนที่จะรักษา/ควบคุม/ติดตามอาการ
แต่ก็ไม่มึอะไรในกอไผ่แต่อย่างใด
ยกเว้นคนมีเส้นสาย/หลบหลีกทันท่วงที
ทำให้คนมีสายพันธุ์สัตว์ปีกเก็บไว้ได้
ร่ำรวยตามมา ตอนของขาดตลาด
ส่วนคนที่เลี้ยงเก่าที่ตามไม่ทันเกมส์
ที่อยู่ในเขตฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เริ่มจนลง
เพราะไก่/นก ตายเหม็ดในตอนนั้น
พร้อมกับข่าวลือมาผสมข่าวจริง
มีการฆ่าไก่รองรับเก็บไว้ในห้องเย็น
หรือทำไก่ต้มสุกแข่แข็ง กักตุนรอไว้
หลังจากเริ่มมีข่าวกำจัดไข้หวัดนก
เพื่อนำมาขายในข่วงไก่ขาดแคลน