นกพิราบ พาหะตัวร้ายที่นำเชื้อโรคมาสู่มนุษย์ เนื่องจากมูลของนกพิราบ มีเชื้อราคริปโตคอคคัส นีโอฟรอร์แมนส์(Cryptococcus Neoformans) เมื่อมนุษย์ได้รับการสูดดม หรือสัมผัสเชื้อราตัวนี้ จะส่งผลให้มีการติดเชื้อที่บริเวณปอด และลุกลามไปยังสมองส่งผลให้เป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
โรคคริปโตคอกโคสิส (Cryptococcosis)
โรคสมองอักเสบจากเชื้อราคริปโตคอคคัส เป็นเชื้อราชนิดหนึ่งที่เจริญเติบโตได้ง่ายและพบในมูลนกพิราบ ส่วนใหญ่มักเกิดกับผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น คนที่ได้รับยากดภูมิ หรือคนที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอมาแต่กำเนิด ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้มากกว่าคนปกติถึง 1,000 เท่า
โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ปกติแล้วโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ สามารถเกิดขึ้นได้จากเชื้อโรค เชื้อไวรัส หรือแบคทีเรียจากสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวเราที่มาจากที่อยู่อาศัย สภาวะแวดล้อมไม่สะอาดนัก หรือมาจากพยาธิที่มากับอาหารที่ไม่สะอาด กึ่งสุกกึ่งดิบ
ไข้หวัดนก
เป็นการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอในสัตว์ปีก ปกติแล้วจะติดต่อกันระหว่างสัตว์เท่านั้น แต่บางสายพันธุ์สามารถแพร่เชื้อมาสู่คนได้ โดยเฉพาะไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายไข้หวัดทั่วไป เช่น เป็นไข้ ปวดศีรษะไอ คัดจมูก ปวดกล้ามเนื้อ เป็นต้น
โรคปอดอักเสบ
หากหายใจและสูดดมเอาเชื้อราชนิดนี้เข้าไปในปอด ก็อาจทำให้ปอดอักเสบได้ โดยเริ่มจากอาการปอดติดเชื้อก่อน แล้วอาจค่อยๆ ลามไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย นอกจากนี้ ในนกพิราบยังมีแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “คลามัยเดีย” ที่ทำให้เกิดอาการปอดบวมได้อีกด้วย
สังเกตอาการเสี่ยงติดเชื้อ
หากสูดดมเข้าไปในร่างกายจะทำให้ติดเชื้อที่ปอด ทั้งยังสามารถลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ เช่น สมอง ได้อีกด้วย ซึ่งจะมีอาการไข้ ไอเป็นเลือด เจ็บหน้าอก มีปัญหาทางการมองเห็น มึนงง หากมีการติดเชื้อที่สมองจะมีอาการสับสน และพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป และอาจไม่ใช่เฉพาะมีอาการปอดอักเสบ แต่เชื้ออาจลามไปทำลายสมองของเราได้อีกด้วย
หยุดให้อาหารนกพิราบ – วิธีป้องกันตนเองจากความเสี่ยงติดเชื้อราจากมูลนกพิราบ
กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้มากกว่าคนปกติ ได้แก่ เด็ก ผู้สูงอายุ คนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น คนที่ได้รับยากดภูมิ หรือคนที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอมาแต่กำเนิด สำหรับคนที่มีภูมิคุ้มกันปกติก็สามารถติดเชื้อได้เช่นกัน โดยควรป้องกันตนเอง เพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อราจากมูลนกพิราบ โดยมีวิธีป้องกันดังนี้
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสนก การเข้าไปอยู่ในฝูงนกพิราบ หากต้องเข้าใกล้ ควรใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันเชื้อโรค
- คนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ไม่ควรเข้าไปใกล้นกพิราบ เพราะอาจได้รับเชื้อในมูลเข้าสู่ร่างกายโดยไม่ได้ตั้งใจ
- ไล่นกพิราบไปไกลๆ ไม่ให้มาอาศัยอยู่ภายในบริเวณบ้าน
- ทำความสะอาดอาคารเก่า หรือบริเวณที่พบนกเคยอยู่อาศัย และล้างมือหลังจากทำความสะอาดทุกครั้ง
- ล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง ซึ่งจะเป็นการช่วยป้องกันเชื้อโรคได้
- ไม่ให้อาหารนกพิราบ เพื่อป้องกันการระบาดของโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน
ข้อมูลจาก
https://www.komchadluek.net/kom-lifestyle/health/594955
เปิดโรคที่มากับ "นกพิราบ" รู้แล้วจะอึ้ง! พาหะนำโรคร้ายอันตรายถึงสมองและปอด ติดได้เพียงแค่ "สัมผัส" หรือ "หายใจ"
นกพิราบ พาหะตัวร้ายที่นำเชื้อโรคมาสู่มนุษย์ เนื่องจากมูลของนกพิราบ มีเชื้อราคริปโตคอคคัส นีโอฟรอร์แมนส์(Cryptococcus Neoformans) เมื่อมนุษย์ได้รับการสูดดม หรือสัมผัสเชื้อราตัวนี้ จะส่งผลให้มีการติดเชื้อที่บริเวณปอด และลุกลามไปยังสมองส่งผลให้เป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
โรคคริปโตคอกโคสิส (Cryptococcosis)
โรคสมองอักเสบจากเชื้อราคริปโตคอคคัส เป็นเชื้อราชนิดหนึ่งที่เจริญเติบโตได้ง่ายและพบในมูลนกพิราบ ส่วนใหญ่มักเกิดกับผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น คนที่ได้รับยากดภูมิ หรือคนที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอมาแต่กำเนิด ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้มากกว่าคนปกติถึง 1,000 เท่า
โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ปกติแล้วโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ สามารถเกิดขึ้นได้จากเชื้อโรค เชื้อไวรัส หรือแบคทีเรียจากสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวเราที่มาจากที่อยู่อาศัย สภาวะแวดล้อมไม่สะอาดนัก หรือมาจากพยาธิที่มากับอาหารที่ไม่สะอาด กึ่งสุกกึ่งดิบ
ไข้หวัดนก
เป็นการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอในสัตว์ปีก ปกติแล้วจะติดต่อกันระหว่างสัตว์เท่านั้น แต่บางสายพันธุ์สามารถแพร่เชื้อมาสู่คนได้ โดยเฉพาะไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายไข้หวัดทั่วไป เช่น เป็นไข้ ปวดศีรษะไอ คัดจมูก ปวดกล้ามเนื้อ เป็นต้น
โรคปอดอักเสบ
หากหายใจและสูดดมเอาเชื้อราชนิดนี้เข้าไปในปอด ก็อาจทำให้ปอดอักเสบได้ โดยเริ่มจากอาการปอดติดเชื้อก่อน แล้วอาจค่อยๆ ลามไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย นอกจากนี้ ในนกพิราบยังมีแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “คลามัยเดีย” ที่ทำให้เกิดอาการปอดบวมได้อีกด้วย
สังเกตอาการเสี่ยงติดเชื้อ
หากสูดดมเข้าไปในร่างกายจะทำให้ติดเชื้อที่ปอด ทั้งยังสามารถลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ เช่น สมอง ได้อีกด้วย ซึ่งจะมีอาการไข้ ไอเป็นเลือด เจ็บหน้าอก มีปัญหาทางการมองเห็น มึนงง หากมีการติดเชื้อที่สมองจะมีอาการสับสน และพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป และอาจไม่ใช่เฉพาะมีอาการปอดอักเสบ แต่เชื้ออาจลามไปทำลายสมองของเราได้อีกด้วย
หยุดให้อาหารนกพิราบ – วิธีป้องกันตนเองจากความเสี่ยงติดเชื้อราจากมูลนกพิราบ
กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้มากกว่าคนปกติ ได้แก่ เด็ก ผู้สูงอายุ คนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น คนที่ได้รับยากดภูมิ หรือคนที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอมาแต่กำเนิด สำหรับคนที่มีภูมิคุ้มกันปกติก็สามารถติดเชื้อได้เช่นกัน โดยควรป้องกันตนเอง เพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อราจากมูลนกพิราบ โดยมีวิธีป้องกันดังนี้
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสนก การเข้าไปอยู่ในฝูงนกพิราบ หากต้องเข้าใกล้ ควรใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันเชื้อโรค
- คนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ไม่ควรเข้าไปใกล้นกพิราบ เพราะอาจได้รับเชื้อในมูลเข้าสู่ร่างกายโดยไม่ได้ตั้งใจ
- ไล่นกพิราบไปไกลๆ ไม่ให้มาอาศัยอยู่ภายในบริเวณบ้าน
- ทำความสะอาดอาคารเก่า หรือบริเวณที่พบนกเคยอยู่อาศัย และล้างมือหลังจากทำความสะอาดทุกครั้ง
- ล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง ซึ่งจะเป็นการช่วยป้องกันเชื้อโรคได้
- ไม่ให้อาหารนกพิราบ เพื่อป้องกันการระบาดของโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน
ข้อมูลจาก
https://www.komchadluek.net/kom-lifestyle/health/594955