ความวัวไม่ทันหาย ... ความควาย (หมู) ก็เข้ามาแทรก

โรค African Swine Fever (ASF) หรือ โรคอหิวาต์แอฟริกาในหมู เป็นโรคหมูที่ถูกนำมาพูดถึงกันมากในระยะ 1-2 ปีนี้ หลังจากที่มีรายงานพบการแพร่ระบาดในประเทศไทยแล้ว จนทำให้มีหมูล้มตายจำนวนมาก และผู้เลี้ยงหมูรายย่อยหลายรายต้องลดจำนวนลงเพราะแบกรับต้นทุน และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นไม่ไหว จนส่งผลให้เนื้อหมูขาดตลาด และมีราคาแพงขึ้นในที่สุด 

ล่าสุด ความวัวไม่ทันหาย ... ความควาย (หมู) ก็เข้ามาแทรก โรค ASF ในประเทศไทยยังคุกรุ่นไม่ทันหมดไปดี (ปศุสัตว์ คุม ASF ได้แล้ว หนุนเกษตรกรเลี้ยงใหม่ มั่นใจหมูไม่ขาด)  
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สำหรับเหตุผลที่ว่า การกำจัดโรค ASF ให้หมดไปจากประเทศต้องใช้ระยะเวลานานก็เพราะ เชื้อ ASF สามารถอยู่ในสภาพแวดล้อมปกติได้ตั้งแต่ 1 เดือน ถึง 3 ปี โดยเฉพาะชิ้นส่วนหมูที่ถูกแช่แข็ง

แต่ปัญหาเรื่องใหม่กำลังเข้ามาอีกเมื่อ กรมปศุสัตว์ และเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูในประเทศ พบหมูเถื่อนทะลักเข้าไทย 1,000 ตู้ต่อเดือน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สำหรับ หมูเถื่อน ทะลักเข้าประเทศไทยได้จากหลายช่องทาง โดยเฉพาะการแอบลักลอบนำเข้ามา โดยการแจ้งเป็นสินค้าชนิดอื่น และรอดพ้นการตรวจสอบจากกรมศุลกากร จนออกไปสู่ท้องตลาด และถึงมือผู้บริโภคในทีสุด แต่หารู้ไม่ว่า

จากปัญหาการลักลอบนำเข้าสินค้าเหลือทิ้งจากอเมริกา และยุโรป ที่ไม่นิยมบริโภค ขา หัว และเครื่องในหมู  เข้ามาในประเทศไทย และไม่ผ่านการตรวจสอบที่ถูกต้อง ไม่ผ่านการตรวจและกักกันโรคนั้น มีโอกาสที่จะทำให้ประเทศไทยต้องกลับไปพบกับปัญหาในเรื่องเดิมๆ อีกก็คือ โรคระบาด ASF อีกครั้ง ยังไม่รวมถึงประเทศต้นทางเหล่านั้นที่มีการใช้สารเร่งเนื้อแดงกันอยู่ ในขณะที่ประเทศไทย สารเร่งเนื้อแดง เป็นสารที่ผิดกฎหมาย และเลิกใช้ในอุตสาหกรรมเลี้ยงหมูของไทยมาตั้งแต่ปี 2545 แล้ว (หากตรวจสอบพบ มีโทษจำคุก 1-3 ปี หรือปรับถึง 1 แสน)

โดยสารเร่งเนื้อแดง หรือสารกลุ่มเบต้าอะโกนิสต์ ใช้เป็นตัวยาในทางการแพทย์ ช่วยขยายหลอดลมในผู้ป่วยโรคหอบหืดและหลอดลมอักเสบ และใช้ยับยั้งการหดตัวของมดลูกในสัตว์ จนถูกนำมาใช้เป็นสารเร่งเนื้อแดงในสัตว์ หากมีการใช้ในปริมาณและระยะเวลาที่ไม่เหมาะสม ทำให้สารไม่สลายไปก่อนการนำมาบริโภค โดยสารกลุ่มนี้มีคุณสมบัติเสถียรต่อความร้อนทั้งน้ำเดือดที่ 100 องศาเซลเซียส  และน้ำมันที่ 260 องศาเซลเซียส การต้ม อบ ทอด หรือใช้ไมโครเวฟ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของสารกลุ่มนี้ได้

สำหรับเนื้อหมูที่มีสารเร่งเนื้อแดงตกค้าง และผู้บริโภคที่แพ้สารดังกล่าว หากรับประทานจะมีอาการ ดังต่อไปนี้
การใช้เนื้อหมูที่มีสารเร่งเนื้อแดงตกค้าง กำลังทำให้กลุ่มผู้บริโภคปลายทางที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ ที่กินเนื้อหมูจากร้านอาหารตามสั่ง หรือร้านหมูกะทะ คงต้องรับต้นทุนในการดูแลสุขภาพของตนเองเพิ่มขึ้นไปด้วย จากต้นทุนราคาถูก ลดรายจ่าย แต่ได้รายได้เท่าเดิม ทำให้กลุ่มมิจจาชีพเห็นช่องทางฉวยโอกาสทำกำไรจากส่วนต่างของชิ้นส่วนหมูที่นำเข้า ที่มีต้นทุนต่ำกว่า และเป็นชิ้นส่วนที่ประเทศต้นทางไม่บริโภค จึงส่งออกเข้ามายังประเทศไทยในราคาถูก

แต่หารู้ไม่ว่า ด้วยราคาต้นทุนราคาถูก กลับกำลังสร้างปัญหาใหญ่ให้กับทั้งเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูในประเทศ ที่ต้องเสี่ยงกับโรค ASF อีกครั้ง และยังรวมไปถึงผู้บริโภคคนไทย ที่ต้องเสี่ยงกับสารเร่งเนื้อแดง ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งชั้นดีอีกด้วย 

ถึงเราจะปรุงเนื้อหมูให้สุก สะอาดแล้วก็ตาม แต่ก็คงไม่มีคนไทยคนไหนตรวจสอบย้อนกลับว่า "หมูที่คุณกำลังกินอยู่นั้น มีโรค ASF ไหม หรือมีสารเร่งเนื้อแดงตกค้างไหม ?" 

ดังนั้นทางทีดีที่สุดก็คือ ซื้อเนื้อหมูจากร้านขาย หรือเขียงหมูที่มี "ตราสัญญลักษณ์ปศุสัตว์ OK" ว่าอย่างน้อยร้านฯ หรือเขียงฯ ดังกล่าวที่เราไปซื้อ ผ่านการตรวจสอบ และรับรองจากกรมปศุสัตว์มาแล้วในระดับหนึ่ง

.
สำหรับพ่อค้า - แม่ค้า ร้านอาหารตามสั่ง ร้านหมูกะทะ ก็อย่าเห็นแก่สินค้าราคาถูกเพียงอย่างเดียว อยากให้ลองสังเกตกันสักนิดว่า ร้านที่คุณสั่งเนื้อหมูมาใช้นั้นมีใบอนุญาต หรือมีความน่าเชื่อถือด้วยหรือไม่ โดยเฉพาะการสั่งซื้อเนื้อหมูออนไลน์ ผ่านพ่อค้า - แม่ค้าออนไลน์ ที่เราเห็นแต่รูป กับราคาที่ถูกแสนถูกมาล่อตาล่อใจให้ซื้อนั้น อาจจะกำลังนำมาซึ่งโรคภัยไข้เจ็บแก่คนไทยด้วยกันนะ 
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

ฝากเกษตรกรคนไทยไว้ในอ้อมอกอ้อมใจของคนไทยด้วยกันนะครับ เพราะผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูดังกล่าวนั้น ยังส่งผลกระทบตลอดห่วงโซ่การผลิต ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกพืช เพื่อใช้ผลิตเป็นอาหารสัตว์  และยังรวมถึงสุขภาพของผู้บริโภคคนไทยด้วยกันครับ

พาพันขอบคุณพาพันขอบคุณพาพันขอบคุณ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่