เอกชัย ไชยนุวัติ : นายกรัฐมนตรีคนกลาง นอกรัฐธรรมนูญ มติชนออนไลน์

กระทู้สนทนา
เป็นที่รับทราบโดยทั่วไปว่า มีความพยายามของหลายๆ กลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม กปปส.
หรือคณะรัฐ บุคคล และนักวิชาการบางคนที่เสนอให้ มีนายกรัฐมนตรี "คนกลาง"Ž
ท่ามกลางความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ฝ่ายนายกยิ่งลักษณ์ก็ยืนยันที่จะปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี
ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่การยุบสภา เมื่อ 9 ธันวาคม พ.ศ.2556 จนถึงวันเลือกตั้งทั่วไป
ในวันที่ 2 ก.พ. พ.ศ.2557 และทุกวันนี้ ในขณะที่กลุ่ม กปปส. ของนายสุเทพก็ยืนยันที่
ต้องการให้ นายกรัฐมนตรีลาออกจากการ (รักษาการ) เพื่อเปิดทางให้เกิดสุญญากาศ
ทางอำนาจ และนำมาซึ่งนายกรัฐมนตรีที่ดูมีความเป็นกลางเพื่อปฏิรูปประเทศ

บทความนี้เขียนเพื่อยืนยันแนวคิดที่ว่านายกรัฐมนตรีคนกลางนั้นไม่มีในรัฐธรรมนูญนี้ หรือมี
แต่อยู่นอกรัฐธรรมนูญ


รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 (แก้ไข พ.ศ.2554) บัญญัติไว้อย่างชัดเจนที่ มาตรา 171 ถึงบุคคล
ที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ ว่า "นายกรัฐมนตรีต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ซึ่งได้รับแต่งตั้งตามมาตรา 172"Ž

กรณีนี้ชัดเจนที่สุดแล้วว่า ถ้าใครก็ตามต้องการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จะต้องลงสมัคร
รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและประชาชนจะมีสิทธิลงคะแนนให้ไม่ว่าจะเป็นแบบเขต
หรือบัญชีรายชื่อ เมื่อไปตรวจค้นในหนังสือเจตนารมณ์ รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ที่จัดทำโดยคณะ
กรรมาธิการวิสามัญบันทึกเจตนารมณ์ สภาร่างรัฐธรรมนูญ ก็ระบุไว้ชัดเจนว่า

1) กำหนดให้นายกรัฐมนตรีต้อง (เน้นโดยผู้เขียน) มาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้
นายกรัฐมนตรีมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับประชาชนโดยผ่านผู้แทนปวงชนซึ่งสอดคล้องกับ
ระบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขŽ


บทบัญญัตินี้ในเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญยืนยันถึงความต่อเนื่องจากรัฐธรรมนูญพ.ศ.2540ใน 
หมายเหตุ 1) คงเดิมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540Ž ดังนั้นเป็น
ที่ยุติในทางข้อเท็จจริงและกฎหมายว่า นายกรัฐมนตรีต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น
ไม่มีทางเป็นกรณีอื่นใดไปได้

ข้อเท็จจริง คือในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2556 นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น คือ นางสาวยิ่งลักษณ์
ชินวัตร ได้ใช้อำนาจ ตามมาตรา 108 แห่งรัฐธรรมนูญยุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อคืนอำนาจให้
กับประชาชนในการใช้อำนาจอธิปไตย เลือกผู้แทนของประชาชนเข้ามาบริหารประเทศชุดใหม่
โดยรัฐธรรมนูญได้ยึด หลักความต่อเนื่องไม่ขาดสายของการบริหารประเทศŽ (พรสันต์ 10 มีนาคม
พ.ศ.2557 น.ส.พ.มติชน หน้า 21 ในบทความ เรื่อง รัฐบาลรักษาการ ปัจจุบันพ้นสภาพไปแล้วหรือไม่Ž)
บังคับไว้ที่มาตรา 181 ว่า

"คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งต้อง (เน้นโดยผู้เขียน) อยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่า
คณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่"Ž


<
<
<

ปัญหาทางกฎหมาย ในแนวคิด นายกรัฐมนตรีคนกลาง ก็คือมาตรา 7 ที่บัญญัติว่า ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติ
แห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขŽ


<
<
<

สรุปนายกรัฐมนตรี คนกลางŽ คนดีŽ หรือ คนนอกŽ ไม่ว่าจะเรียกอย่างไร ถ้ายึดตามหลักกฎหมาย
และรัฐธรรมนูญ ไม่มีทางเกิดขึ้นได้ ถ้าจะเป็นไปได้ก็คือ นายกรัฐมนตรีคนกลางนอกรัฐธรรมนูญŽ
ซึ่งทำให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้สิ้นผลไปโดยปริยาย หรือฉีกรัฐธรรมนูญนั่นเอง


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1395064606&grpid=&catid=02&subcatid=0200

ตามไปอ่านกันเต็มจาก link  ด้วย  
เพื่อนที่สนับสนุนนายกฯคนกลาง  ดูกันให้ชัดๆ  มีความเป็นไปได้ตามรธน.มากน้อยแค่ไหน
อย่า เถียงกันแบบ ข้างๆคูๆ  
อยากจะฉีกรธน.  ก็บอกมากันตรงๆเลย  ไม่ต้องแอ๊บ ...  
วันนี้   ดูเหมือน  ว่าคนที่พอจะทำหน้าที่ "ฉีก"  รธน. พยายามปัดกันให้วุ่น
รอดูต่อไป    องค์กรไหนจะ  "ใจกล้า  หน้า ไม่เอาไม่พูด "  รับทำหน้าที่นี้กัน  ยิ้ม

สาวแว่น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่