สภาขุนนางหรือ House of Lords มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ขุนนางฝ่ายศาสนจักรและอาณาจักรผู้ทรงเกียรติแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือในที่ประชุมรัฐสภา เป็นสภาสูงของรัฐสภาสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือไม่มีจำนวนสมาชิกที่ตายตัวในปัจจุบันมีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 787 คน ซึ่งเยอะกว่าสภาสามัญชนหรือ House of Commons ที่มีจำนวนตายตัวอยู่ที่ 650 คน โดยจะแบ่งสมาชิก 4 ประเภท คือ
1.ขุนนางตลอดชีพ (Life Peers) มาจากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ ผ่านการเสนอชื่อจากนายกรัฐมนตรี และจะดำรงตำแหน่งไปตลอดชีวิต ปัจจุบัน สมาชิกประเภทนี้มีจำนวนมากที่สุด
2.ขุนนางสืบตระกูล (Hereditary Peers) มาจากการสืบทอดตำแหน่งทางสายโลหิต เดิมสะพานขุนนางมีแต่สมาชิกประเภทนี้เท่านั้น ในสมัยหลังๆสมาชิกประเภทนี้ลดจำนวนลง โดย "พระราชบัญญัติรัฐสภา ค.ศ. 1999" (Parliament Act 1999) กำหนดให้มีเพียง 92 คนเท่านั้น ในการนี้ ให้ 92 คนมาจากการสรรหากันเองโดยสมาชิกสืบตระกูลที่ดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนแล้ว อีก 2 คน คือ"สมุหพระราชวัง" (Lord Great Chamberlain) และ "สมุหพระราชมณเทียร" (Grand Marshal)
3.ขุนนางศาสนา (Spiritual Peers) มาจากตัวแทนของศาสนจักร เช่น บิชอปและอาร์ชต่างๆ (โดยจะต้องมาจากคริสตจักรแห่งอังกฤษเท่านั้น)
4.ขุนนางกฎหมาย (Law Lords) เป็นสมาชิกที่มีความรู้ด้านกฎหมาย และทำหน้าที่เป็นตุลาการศาลสูงสุดของสหราชอาณาจักรจนถึง ค.ศ. 2009 มี 26 คน
แหล่งที่มา:วิกิพีเดียภาษาไทย
ในปัจจุบันแม้ว่าสภาขุนนางจะไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน แต่ในทางปฏิบัติแล้วไม่มีอำนาจทางการเมืองเลย มีอำนาจแค่กลั่นกรองกฎหมาย ยับยั้งกฎหมายได้ไม่เกิน 1 ปี ปรึกษาสภาสามัญชนและตั้งกระทู้ถามคณะรัฐมนตรี แต่ไม่มีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรี อภิปรายรัฐบาล และที่สำคัญไม่มีอำนาจในการเลือกองค์กรอิสระ และในโอกาสการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาของไทยในเดือนมิถุนายนนี้ ซึ่งเป็นการเลือกกันเองของผู้สมัคร ก็ขอให้มีการเลือกโดยสุจริต ฟังเสียงประชาชน และเมื่อได้รับเลือกแล้ว ก็ขอให้เลือกองค์กรอิสระที่อิสระจริงๆ ตรวจสอบรัฐบาลอย่างจริงจังและแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น
สัดส่วนสมาชิกสภาขุนนาง House of Lords
1.ขุนนางตลอดชีพ (Life Peers) มาจากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ ผ่านการเสนอชื่อจากนายกรัฐมนตรี และจะดำรงตำแหน่งไปตลอดชีวิต ปัจจุบัน สมาชิกประเภทนี้มีจำนวนมากที่สุด
2.ขุนนางสืบตระกูล (Hereditary Peers) มาจากการสืบทอดตำแหน่งทางสายโลหิต เดิมสะพานขุนนางมีแต่สมาชิกประเภทนี้เท่านั้น ในสมัยหลังๆสมาชิกประเภทนี้ลดจำนวนลง โดย "พระราชบัญญัติรัฐสภา ค.ศ. 1999" (Parliament Act 1999) กำหนดให้มีเพียง 92 คนเท่านั้น ในการนี้ ให้ 92 คนมาจากการสรรหากันเองโดยสมาชิกสืบตระกูลที่ดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนแล้ว อีก 2 คน คือ"สมุหพระราชวัง" (Lord Great Chamberlain) และ "สมุหพระราชมณเทียร" (Grand Marshal)
3.ขุนนางศาสนา (Spiritual Peers) มาจากตัวแทนของศาสนจักร เช่น บิชอปและอาร์ชต่างๆ (โดยจะต้องมาจากคริสตจักรแห่งอังกฤษเท่านั้น)
4.ขุนนางกฎหมาย (Law Lords) เป็นสมาชิกที่มีความรู้ด้านกฎหมาย และทำหน้าที่เป็นตุลาการศาลสูงสุดของสหราชอาณาจักรจนถึง ค.ศ. 2009 มี 26 คน
แหล่งที่มา:วิกิพีเดียภาษาไทย
ในปัจจุบันแม้ว่าสภาขุนนางจะไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน แต่ในทางปฏิบัติแล้วไม่มีอำนาจทางการเมืองเลย มีอำนาจแค่กลั่นกรองกฎหมาย ยับยั้งกฎหมายได้ไม่เกิน 1 ปี ปรึกษาสภาสามัญชนและตั้งกระทู้ถามคณะรัฐมนตรี แต่ไม่มีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรี อภิปรายรัฐบาล และที่สำคัญไม่มีอำนาจในการเลือกองค์กรอิสระ และในโอกาสการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาของไทยในเดือนมิถุนายนนี้ ซึ่งเป็นการเลือกกันเองของผู้สมัคร ก็ขอให้มีการเลือกโดยสุจริต ฟังเสียงประชาชน และเมื่อได้รับเลือกแล้ว ก็ขอให้เลือกองค์กรอิสระที่อิสระจริงๆ ตรวจสอบรัฐบาลอย่างจริงจังและแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น