ถอดเนื้อหาบางส่วนจาก
ความเห็นตุลาการเสียงข้างน้อย นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ (จขกท. ใส่หมายเลขหัวข้อเอง)
1. เจตนารมณ์ของวาระดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไม่ให้เกิน 8 ปี คือการควบคุมและจำกัดอำนาจของผู้ใช้อำนาจไม่ให้เกิดการผูกขาดทางการเมือง
โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีซึ่งมีอำนาจสูงสุดในการบริหารอำนาจรัฐ
ทั้งยังปรากฏว่าบทเฉพาะกาลรัฐธรรมนูญ มาตรา 264 ให้รวมระยะเวลาดำรงตำแหน่งคณะรัฐมนตรีก่อนรัฐธรรมนูญประกาศใช้ด้วย
โดยไม่มีข้อยกเว้นบัญญัติไว้“หากไม่ต้องการให้ใช้บังคับก็ควรเขียนยกเว้นไว้ให้ชัด
2. การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ทั้งในข้อเท็จจริงและในข้อกฎหมายถูกต้องต่อเนื่องกันมาโดยตลอด
และเมื่อมีการเข้าสู่ตำแหน่งโดยชอบอย่างเป็นทางการแล้วและได้มีการใช้อำนาจบริหารประเทศตามความเป็นจริง
ระยะเวลาหรือวาระการดำรงตำแหน่งจึงต้องเริ่มนับทันที
สำหรับที่มานายกรัฐมนตรีตามเงื่อนไขมาตรา 158 วรรคสองและวรรคสาม ที่ให้มาจากสภาผู้แทนราษฎรนั้น
รัฐธรรมนูญมาตรา 263 วรรคแรก ให้สภานิติบัญญัติทำหน้าที่แทนสภาผู้แทนราษฎรในระหว่างที่ยังไม่มีได้
ซึ่งการลงนามรับสนองพระบรมราชโองการของประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อปี 2557
จึงชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้และกฎหมาย
3. หลักการจำกัดวาระแปดปีของนายกรัฐมนตรีในระบบการเมืองไทยมีประกาศให้รับรู้โดยทั่วไป
และมุ่งใช้ต่อเนื่องตั้งแต่รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 ซึ่งผ่านประชามติเจตจำนงของประชาชน ที่มีมาก่อนรัฐธรรมนูญฯ ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557
จึงไม่ใช่การบังคับใช้กฎหมายย้อนหลัง แต่ยังเป็นประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
4. ข้อเท็จจริงปรากฏเป็นที่ชัดเจนว่า เมื่อ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้าสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการ
ก็ได้มีบทบาทและใช้อำนาจหน้าที่บริหารประเทศตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ
รับเงินเดือนและผลประโยชน์ต่าง ๆ ในฐานะนายกรัฐมนตรี
ตลอดจน
ไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินเพิ่มเมื่อเข้าสู่ตำแหน่งอย่างต่อเนื่อง
5. จึงถือว่าการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้ถูกร้อง
ทั้งในข้อเท็จจริงและในข้อกฎหมาย ถูกต้องต่อเนื่องกันมาโดยตลอดแล้ว
และเมื่อมีการเข้าสู่ตำแหน่งโดยชอบอย่างเป็นทางการแล้ว และได้มีการใช้อำนาจบริหารประเทศตามความเป็นจริง
ระยะเวลาหรือวาระการดำรงตำแหน่งจึงต้องเริ่มนับทันที
ยิ่งเมื่อรัฐธรรมนูญใหม่กำหนดระยะเวลาดังกล่าวไว้ ยิ่งแสดงให้เห็นว่า หากมีการดำรงตำแหน่งดังกล่าวมาเป็นระยะเวลากว่า 8 ปีแล้ว
ไม่ต้องการให้ผู้นั้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญใหม่นี้อีก
.
เข้าใจง่าย เห็นภาพ แม้ไม่รู้ข้อกฎหมายก็อ่านและทำความเข้าใจได้สบาย ๆ
.
จริงไหมครับสลิ่ม
อะไรที่ไม่บิด จะมองเห็นภาพ เข้าใจได้ง่าย ไม่รู้สึกว่าซับซ้อนจนงุนงงในคำอธิบายความ
ถอดเนื้อหาบางส่วนจาก ความเห็นตุลาการเสียงข้างน้อย นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ (จขกท. ใส่หมายเลขหัวข้อเอง)
1. เจตนารมณ์ของวาระดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไม่ให้เกิน 8 ปี คือการควบคุมและจำกัดอำนาจของผู้ใช้อำนาจไม่ให้เกิดการผูกขาดทางการเมือง
โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีซึ่งมีอำนาจสูงสุดในการบริหารอำนาจรัฐ
ทั้งยังปรากฏว่าบทเฉพาะกาลรัฐธรรมนูญ มาตรา 264 ให้รวมระยะเวลาดำรงตำแหน่งคณะรัฐมนตรีก่อนรัฐธรรมนูญประกาศใช้ด้วย
โดยไม่มีข้อยกเว้นบัญญัติไว้“หากไม่ต้องการให้ใช้บังคับก็ควรเขียนยกเว้นไว้ให้ชัด
2. การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ทั้งในข้อเท็จจริงและในข้อกฎหมายถูกต้องต่อเนื่องกันมาโดยตลอด
และเมื่อมีการเข้าสู่ตำแหน่งโดยชอบอย่างเป็นทางการแล้วและได้มีการใช้อำนาจบริหารประเทศตามความเป็นจริง
ระยะเวลาหรือวาระการดำรงตำแหน่งจึงต้องเริ่มนับทันที
สำหรับที่มานายกรัฐมนตรีตามเงื่อนไขมาตรา 158 วรรคสองและวรรคสาม ที่ให้มาจากสภาผู้แทนราษฎรนั้น
รัฐธรรมนูญมาตรา 263 วรรคแรก ให้สภานิติบัญญัติทำหน้าที่แทนสภาผู้แทนราษฎรในระหว่างที่ยังไม่มีได้
ซึ่งการลงนามรับสนองพระบรมราชโองการของประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อปี 2557
จึงชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้และกฎหมาย
3. หลักการจำกัดวาระแปดปีของนายกรัฐมนตรีในระบบการเมืองไทยมีประกาศให้รับรู้โดยทั่วไป
และมุ่งใช้ต่อเนื่องตั้งแต่รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 ซึ่งผ่านประชามติเจตจำนงของประชาชน ที่มีมาก่อนรัฐธรรมนูญฯ ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557
จึงไม่ใช่การบังคับใช้กฎหมายย้อนหลัง แต่ยังเป็นประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
4. ข้อเท็จจริงปรากฏเป็นที่ชัดเจนว่า เมื่อ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้าสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการ
ก็ได้มีบทบาทและใช้อำนาจหน้าที่บริหารประเทศตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ รับเงินเดือนและผลประโยชน์ต่าง ๆ ในฐานะนายกรัฐมนตรี
ตลอดจนไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินเพิ่มเมื่อเข้าสู่ตำแหน่งอย่างต่อเนื่อง
5. จึงถือว่าการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้ถูกร้อง
ทั้งในข้อเท็จจริงและในข้อกฎหมาย ถูกต้องต่อเนื่องกันมาโดยตลอดแล้ว
และเมื่อมีการเข้าสู่ตำแหน่งโดยชอบอย่างเป็นทางการแล้ว และได้มีการใช้อำนาจบริหารประเทศตามความเป็นจริง
ระยะเวลาหรือวาระการดำรงตำแหน่งจึงต้องเริ่มนับทันที
ยิ่งเมื่อรัฐธรรมนูญใหม่กำหนดระยะเวลาดังกล่าวไว้ ยิ่งแสดงให้เห็นว่า หากมีการดำรงตำแหน่งดังกล่าวมาเป็นระยะเวลากว่า 8 ปีแล้ว
ไม่ต้องการให้ผู้นั้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญใหม่นี้อีก