ผมให้ความเห็นแบบนี้ สลิ่มจะว่าไงครับ
1. หาก ป.ป.ช. ชี้มูลเรื่องจำนำข้าว ยิ่งลักษณ์ก็ยังเป็นนายกฯรักษาการณ์ ไม่ใช่พ้นสภาพ
เพราะการชี้มูลมีผลแค่ "หยุดปฏิบัติหน้าที่" ไม่ใช่ "หลุดจากตำแหน่ง"
ขณะหยุดปฏิบัติหน้าที่ ก็ให้รองนายกฯรักษาการณ์ปฏิบัติหน้าที่แทน
2. เรื่องตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ไม่มีทางที่จะมีนายกฯคนกลางได้ เพราะรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่านายกรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส.
นอกจากแก้ หรือฉีกรัฐธรรมนูญ
3. กรณีการเปิดสภาผู้แทนราษฎรไม่ได้ เพราะการเลือกตั้งมีปัญหา เลือกนายกรัฐมนตรีไม่ได้ เพราะไม่มี ส.ส.
ตรงนี้ไม่ส่งผลต่อสภาพของรัฐบาลรักษาการณ์ เพราะรัฐธรรมนูญบัญญัติให้รัฐบาลรักษาการณ์อยู่ไปจนกว่าจะมี ครม.ใหม่เข้ามาแทน
เมื่อไม่มี ครม.ใหม่ ก็ต้องรอจนกว่าจะมี จะมาอ้างเรื่องสูญญากาศแล้วให้วุฒิสภาตั้งนายกฯ เป็นไปไม่ได้ ขัดรัฐธรรมนูญ
4. วุฒิสภา ไม่มีอำนาจในการแต่งตั้งนายกฯ เพราะรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่า สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้เลือกนายกฯ ไม่ใช่วุฒิสภา
การอ้างมาตรา 132 ว่าวุฒิสภาสามารถประชุมกันแต่งตั้งนายกฯได้ ก็มั่ว
เพราะการประชุมวุฒิสภาตามมาตรา 132 นั้น หมายถึงการแต่งตั้งบุคคลหรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่ว่างลง ไม่ใช่ตั้งนายกฯ
5. เมื่อเปิดสภาฯ ไม่ได้ กกต.ก็ต้องเร่งเลือกตั้งให้มี ส.ส. ครบอย่างน้อย 95% เพื่อให้เปิดสภาฯเลือกนายกฯได้
ยกเว้นทำการรัฐประการล้มการเลือกตั้ง แล้วตั้งนายกฯเอง
6. การบอกว่า ตั้งนายกฯได้ด้วยทางนั้นทางนี้ โดยเฉพาะการอ้างมาตรา 3 มาตรา 7
เป็นความคิดเห็นและตีความกฎหมายแบบหลุดโลก
7. กรณีมาตรา 3 รัฐธรรมนูญบอกว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์เป็นผู้ใช้อำนาจนี้
เมื่อพระมหากษัตริย์มีพระบรมราชโองการยุบสภาฯ และให้มีการเลือกตั้งใหม่
นั่นคือพระมหากษัตริย์ผู้ใช้อำนาจอธิปไตยได้คืนอำนาจให้ประชาชนแล้ว เพื่อให้ประชาชนเลือก ส.ส.
จะได้มีรัฐบาล(ฝ่ายบริหาร) และมี ส.ส. (ฝ่ายนิติบัญญัติ)
หากเอาแต่ตะแบงว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย อย่างนี้ ประชาชนเลือกผู้พิพากษา เลือกศาลเองได้ใช่ไหม
8. เรื่องมาตรา 7 เรื่องนี้ใช้ไม่ได้ เพราะรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติชัดเจนว่าอะไรมาจากไหน ต้องทำอย่างไร
จึงต้องเดินตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ ไม่ใช่จะโมเมว่าเกิดสูญญากาศแล้วใช้มาตรา 7 ได้
ยิ่งการอ้างถึงปี 2516 ที่จอมพลถนอมหนีออกนอกประเทศ แล้วมีนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกฯพระราชทาน ยิ่งมั่วหนัก
เพราะปีนั้น ประเทศไทยไม่มีรัฐธรรมนูญ มีแค่ธรรมนูญการปกครองของคณะรัฐประหารของถนอม
ซึ่งมีแค่ 24 มาตรา กำหนดไว้แค่ว่าใครจะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี
ต่างกับวันนี้ ที่รัฐธรรมนูญ 50 บัญญัติไว้หมดว่านายกฯมาจากไหน อย่างไร ใครรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะอ้างประเพณีบ้า ๆ บอ ๆ มาบิดเบือน
สรุป
ไม่มีทางเลยที่จะหานายกฯคนกลางมาได้ ไม่ว่าจะอ้างอะไรก็ตาม
นอกจากแก้รัฐธรรมนูญ หรือฉีกรัฐธรรมนูญ
ฉะนั้น นายกฯยิ่งลักษณ์จะอยู่หรือจะไป นายกรัฐมนตรีคนใหม่ก็ต้องมาจากการเลือกตั้ง
หากการเลือกตั้งเป็นโมฆะ ก็ต้องเลือกใหม่
สลิ่มครับ เข้ามาถกมาเถียงกันหน่อย ผมอยากเถียงกับสลิ่ม เพราะสลิ่มเป็นคนดีมีความรู้ นะ ๆ
1. หาก ป.ป.ช. ชี้มูลเรื่องจำนำข้าว ยิ่งลักษณ์ก็ยังเป็นนายกฯรักษาการณ์ ไม่ใช่พ้นสภาพ
เพราะการชี้มูลมีผลแค่ "หยุดปฏิบัติหน้าที่" ไม่ใช่ "หลุดจากตำแหน่ง"
ขณะหยุดปฏิบัติหน้าที่ ก็ให้รองนายกฯรักษาการณ์ปฏิบัติหน้าที่แทน
2. เรื่องตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ไม่มีทางที่จะมีนายกฯคนกลางได้ เพราะรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่านายกรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส.
นอกจากแก้ หรือฉีกรัฐธรรมนูญ
3. กรณีการเปิดสภาผู้แทนราษฎรไม่ได้ เพราะการเลือกตั้งมีปัญหา เลือกนายกรัฐมนตรีไม่ได้ เพราะไม่มี ส.ส.
ตรงนี้ไม่ส่งผลต่อสภาพของรัฐบาลรักษาการณ์ เพราะรัฐธรรมนูญบัญญัติให้รัฐบาลรักษาการณ์อยู่ไปจนกว่าจะมี ครม.ใหม่เข้ามาแทน
เมื่อไม่มี ครม.ใหม่ ก็ต้องรอจนกว่าจะมี จะมาอ้างเรื่องสูญญากาศแล้วให้วุฒิสภาตั้งนายกฯ เป็นไปไม่ได้ ขัดรัฐธรรมนูญ
4. วุฒิสภา ไม่มีอำนาจในการแต่งตั้งนายกฯ เพราะรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่า สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้เลือกนายกฯ ไม่ใช่วุฒิสภา
การอ้างมาตรา 132 ว่าวุฒิสภาสามารถประชุมกันแต่งตั้งนายกฯได้ ก็มั่ว
เพราะการประชุมวุฒิสภาตามมาตรา 132 นั้น หมายถึงการแต่งตั้งบุคคลหรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่ว่างลง ไม่ใช่ตั้งนายกฯ
5. เมื่อเปิดสภาฯ ไม่ได้ กกต.ก็ต้องเร่งเลือกตั้งให้มี ส.ส. ครบอย่างน้อย 95% เพื่อให้เปิดสภาฯเลือกนายกฯได้
ยกเว้นทำการรัฐประการล้มการเลือกตั้ง แล้วตั้งนายกฯเอง
6. การบอกว่า ตั้งนายกฯได้ด้วยทางนั้นทางนี้ โดยเฉพาะการอ้างมาตรา 3 มาตรา 7
เป็นความคิดเห็นและตีความกฎหมายแบบหลุดโลก
7. กรณีมาตรา 3 รัฐธรรมนูญบอกว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์เป็นผู้ใช้อำนาจนี้
เมื่อพระมหากษัตริย์มีพระบรมราชโองการยุบสภาฯ และให้มีการเลือกตั้งใหม่
นั่นคือพระมหากษัตริย์ผู้ใช้อำนาจอธิปไตยได้คืนอำนาจให้ประชาชนแล้ว เพื่อให้ประชาชนเลือก ส.ส.
จะได้มีรัฐบาล(ฝ่ายบริหาร) และมี ส.ส. (ฝ่ายนิติบัญญัติ)
หากเอาแต่ตะแบงว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย อย่างนี้ ประชาชนเลือกผู้พิพากษา เลือกศาลเองได้ใช่ไหม
8. เรื่องมาตรา 7 เรื่องนี้ใช้ไม่ได้ เพราะรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติชัดเจนว่าอะไรมาจากไหน ต้องทำอย่างไร
จึงต้องเดินตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ ไม่ใช่จะโมเมว่าเกิดสูญญากาศแล้วใช้มาตรา 7 ได้
ยิ่งการอ้างถึงปี 2516 ที่จอมพลถนอมหนีออกนอกประเทศ แล้วมีนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกฯพระราชทาน ยิ่งมั่วหนัก
เพราะปีนั้น ประเทศไทยไม่มีรัฐธรรมนูญ มีแค่ธรรมนูญการปกครองของคณะรัฐประหารของถนอม
ซึ่งมีแค่ 24 มาตรา กำหนดไว้แค่ว่าใครจะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี
ต่างกับวันนี้ ที่รัฐธรรมนูญ 50 บัญญัติไว้หมดว่านายกฯมาจากไหน อย่างไร ใครรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะอ้างประเพณีบ้า ๆ บอ ๆ มาบิดเบือน
สรุป
ไม่มีทางเลยที่จะหานายกฯคนกลางมาได้ ไม่ว่าจะอ้างอะไรก็ตาม
นอกจากแก้รัฐธรรมนูญ หรือฉีกรัฐธรรมนูญ
ฉะนั้น นายกฯยิ่งลักษณ์จะอยู่หรือจะไป นายกรัฐมนตรีคนใหม่ก็ต้องมาจากการเลือกตั้ง
หากการเลือกตั้งเป็นโมฆะ ก็ต้องเลือกใหม่