Master Plan รัฐบาลจะแก้เกมยังไง?

ลองอ่านดูค่ะ ยาวหน่อย แต่น่าสนใจดี
ถ้าเป็นไปตามนี้ รัฐบาลไม่รอดแน่ๆ
และถ้าเป็นไปตามนี้ ก็น่าเป็นห่วง เพราะอาจเป็นชนวนความขัดแย้งขั้นรุนแรง ที่อาจนำไปสู่สงครามกลางเมือง

การวิเคราะห์นี้เป็นไปได้จริงหรือ?
คุณคิดว่ารัฐบาลควรแก้เกมยังไง?
อะไรคือทางออก?

-------------------------------------

วิเคราะห์แผนยึดอำนาจประชาชน

‪#‎ปปช‬.
เป็นองค์กรต้นเรื่องทั้งหมด มีหน้าที่ชี้มูลความผิดนายกรัฐมนตรี และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อส่งเรื่องต่อไปที่วุฒิสภา ตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๗๒ ในเรื่องของการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของ ส.ว. และชี้มูลความผิดนายกรัฐมนตรีทางอาญา ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗ ในเรื่องโครงการรับจำนำข้าว

‪#‎กกต‬.
มีหน้าที่ทำให้การเลือกตั้ง ส.ส.ไม่ครบ ๙๕% ส่งผลให้เปิดประชุมสภาไม่ได้ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๙๓

ในอีกทางหนึ่ง ก็จะพยายามจัดการเลือกตั้ง ส.ว.ให้สำเร็จ ส่งผลให้ ส.ว.เลือกตั้งชุดเดิมพ้นหน้าที่ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๑๗ วรรค ๓

หลังจากนั้น กกต.ก็จะรับรองสมาชิกวุฒิสภาเลือกตั้งชุดใหม่ เพื่อที่จะส่งไม้ต่อให้กลุ่มที่ต้องการล้มอำนาจรัฐในส่วนของวุฒิสภาต่อไป

‪#‎วุฒิสภา
‬ยังคงเปิดประชุมสภาไม่ได้ เนื่องจากไม่เข้าข้อยกเว้นตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๓๒ รองประธานวุฒิสภา (นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย) จะทำหน้าที่ประธานวุฒิสภาต่อได้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๒๕ โดยเหลือแค่ ส.ว.สรรหา ๗๓ คน แล้วจะนำเรื่องถอดถอนนายกรัฐมนตรีมาพิจารณา โดยดำเนินการเปิดประชุมวิสามัญตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๓๒ (๓)

ทางเลือกของวุฒิสภา

๑. ทางเลือกที่หน้าด้านที่สุด

ใช้สมาชิกวุฒิสภาสรรหา ดำเนินการพิจารณาถอดถอนนายกรัฐมนตรีเลย โดยไม่แทรกวาระการปฏิญาณตนของ ส.ว.เลือกตั้งชุดใหม่ วิธีการนี้ จะใช้เสียง ๔๔ เสียงในการถอดถอนนายกรัฐมนตรี

๒. ทางเลือกที่ดูเหมือนจะยุติธรรม

แทรกวาระการปฏิญาณตนของ ส.ว.เลือกตั้งชุดใหม่ ก่อนการลงมติถอดถอนนายกรัฐมนตรี วิธีการนี้จะใช้เสียง ๙๐ เสียงในการถอดถอนนายกรัฐมนตรี

หลังถอดถอนนายกรัฐมนตรีออกจากตำแหน่ง ไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๘๒(๘) ประกอบมาตรา ๒๗๔ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรี จะได้รับการรับรองเป็นรองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามกฎหมาย

ต่อมาจะมีฝ่ายตรงข้ามไปร้องศาลรัฐธรรมนูญว่า รัฐมนตรีทั้งคณะจะต้องพ้นจากตำแหน่งเมื่อความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๘๒ โดยอ้างมาตรา ๑๘๐(๑)

เมื่อศาลรัฐธรรมนูญไต่สวน กรณีนี้เราต้องแย้งกลับว่า คณะรัฐมนตรีทั้งคณะได้พ้นจากตำแหน่งไปแล้ว ตั้งแต่วันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๖ ตามนัยยะแห่งรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๘๐(๒) โดยในปัจจุบันเป็นการดำรงอยู่เพื่อรักษาการณ์ตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๘๑ เท่านั้น

แต่คาดว่าศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินว่า คณะรัฐมนตรีย่อมพ้นจากตำแหน่งไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๘๐(๑) ทำให้เกิดสุญญากาศทางการเมืองระยะหนึ่ง ซึ่งจะมีผู้เดินหน้าเพื่อร้องศาลรัฐธรรมนูญขอใช้รัฐธรรมนูญมาตรา ๗ ต่อไป หรืออาจร้องมาในคราวเดียวกันในคำร้องขอให้รัฐมนตรีทั้งคณะต้องพ้นจากตำแหน่งก็เป็นไปได้

จุดเริ่มต้นของมหากาพย์ มาตรา ๗

การเดินหน้าขอใช้รัฐธรรมนูญมาตรา ๗ ฝ่ายตรงข้ามจะอ้างอำนาจของพระมหากษัตริย์ในรัฐธรรมนูญมาตรา ๓ ประกอบมาตรา ๗ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญจะตีความว่ามีความจำเป็นในสภาวการณ์ของบ้านเมืองบริบทนั้น โดยอาจตัดสินให้วุฒิสภาดำเนินการ"สรรหานายกรัฐมนตรี" และยกเว้นรัฐธรรมนูญมาตราต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น มาตรา ๑๗๑ วรรค ๒ ที่ว่านายกรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส. และมาตรา ๑๗๒ ที่ว่า ส.ส.เป็นผู้เลือกนายกรัฐมนตรี และ มาตรา ๑๗๑ วรรค ๓ ที่ว่าประธานสภาผู้แทนราษฎรต้องเป็นผู้ลงนามรับสนองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี โดยกรณีนี้ จะทำให้รองประธานวุฒิสภา สามารถลงนามรับสนองพระบรมราชโองการได้ถูกต้องตามกฎหมาย

หลังมีการโปรดเกล้าแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีสรรหา ขั้นตอนต่อมานายกรัฐมนตรีลากตั้งจะตั้งคณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๗๑ วรรค ๑

ถึงคณะรัฐมนตรีชุดนี้จะมีอำนาจบริหารตามกฎหมาย แต่โดยสภาพยังคงเป็นคณะรัฐมนตรีรักษาการณ์ เพราะไม่สามารถหยุดยั้งกระบวนการเลือกตั้งซึ่งดำเนินไปแล้วตามพระราชกฤษฎีกายุบสภาประกอบรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๐๘ เว้นแต่จะมีการประกาศให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ

หากมีการตัดสินให้การเลือกตั้งวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๗ เป็นโมฆะ คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ก็ต้องออกพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งใหม่ แต่จะไม่มีการกำหนดวันเลือกตั้งในระยะเวลาอันใกล้ โดยอ้างว่าระยะเวลา ๖๐ วันนับแต่วันยุบสภาได้ผ่านพ้นไปแล้ว และรัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติไว้ว่าในกรณีนี้จะมีเกณฑ์ใดกำหนดวันเลือกตั้ง ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าจะแทรกเรื่องการปฏิรูปประเทศเข้ามาเป็นข้ออ้าง แล้วดำเนินการแช่แข็งประเทศเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี

วาระที่อาจซ่อนเร้นในช่วงเวลาแช่แข็งประเทศ

• คณะรัฐมนตรี และสมาชิกวุฒิสภาสรรหา จะแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๙

• และจะแก้กฎมณเฑียรบาลตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๓ เพื่อเปลี่ยนตัวรัชทายาท

‪#‎ศาลรัฐธรรมนูญ‬
มีหน้าที่วินิจฉัยให้เกิดความผิดได้ตามธง และตีความรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามที่ธงตั้งไว้ เช่น แก้รัฐธรรมนูญ ศาลจะใช้มาตรา ๖๘ เล่นงานฝ่ายเรา งบ ๒ ล้านล้าน ศาลจะใช้รัฐธรรมนูญมาตรา ๑๕๔ คือการควบคุมการตรากฎหมายที่ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญเล่นงานฝ่ายเราเช่นเดียวกัน

‪#‎ทหาร‬
มีหน้าที่ปราบปรามประชาชนที่ออกมาต่อต้านระบอบอำมาตย์ โดยอ้างรัฐธรรมนูญมาตรา ๗๗ และมาตรา ๖๙ ว่าศาลรัฐธรรมนูญได้ตีความว่า สิ่งที่ทำมาตั้งแต่ต้นจนจบของฝ่ายอำมาตย์ชอบด้วยรัฐธรรมนูญทุกอย่าง ผู้ที่ออกมาต่อต้านต่างหากที่กระทำการขัดรัฐธรรมนูญ

แนวทางอื่นๆที่เป็นไปได้

• ศาลตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะก่อนชี้มูลความผิดนายกรัฐมนตรี

• ตามกฎหมายคณะรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ออกพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งใหม่ทดแทนการเลือกตั้งที่เป็นโมฆะ

• กกต. ดำเนินการจัดการเลือกตั้ง ประกาศรับสมัคร โดยครั้งนี้พรรคประชาธิปัตย์ลงเลือกตั้งด้วย

• หลังรับสมัครแล้ว ปปช. จะชี้มูลความผิด ส.ส. และส.ว. ๓๘๓ คน ในกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของ ส.ว. ซึ่งจะทำให้ ส.ส.พรรคเพื่อไทย จำนวน ๓๑๒ คน เกิดปัญหาในการเลือกตั้ง

• โดยจะมีฝ่ายตรงข้ามยื่นศาลรัฐธรรมนูญ ให้วินิจฉัยคุณสมบัติของผู้สมัคร ส.ส.ที่ถูกชี้มูลความผิด คือ ถึงแม้จะชนะการเลือกตั้ง แต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ศาลรัฐธรรมนูญก็จะตัดสินว่าบัตรเลือกตั้งที่กาผู้สมัครที่ถูก ปปช.ชี้มูลความผิด จะถือเป็นบัตรเสีย

• การเลือกตั้งก็จะดำเนินต่อไป โดยที่เราจะเหลือแต่ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ไม่ถูกชี้มูลความผิด เพราะถึงแม้ผู้สมัครหน้าเดิมที่ถูกชี้มูลความผิดลงสมัครแล้วได้รับเลือกตั้งก็ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้

• วิธีการนี้คาดว่า พรรคประชาธิปัตย์ จะได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล

• ขั้นตอนนี้ ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญทุกอย่าง ไม่ต้องไปอ้างรัฐธรรมนูญมาตรา ๓ หรือ มาตรา ๗ ให้ยุ่งยากแต่อย่างใด

ที่มา:
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1497691103791647&id=1437868739773884
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่