“ปู” ปล่อยไก่ อ้างมีแต่วุฒิสภา คลอด พ.ร.ก.ตั้งสภา ปชช.ไม่ได้ โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 11 ธันวาคม 2556 18:30 น.

ยิ่งลักษณ์” ยังเชื่อ เลือกตั้ง 2 ก.พ.ปีหน้า เป็นทางออกของประเทศ โวหลายพรรคตอบรับแล้ว อ้างตอนนี้มีแต่วุฒิสภา ออก พ.ร.ก.ตั้งสภาประชาชน ตามข้อเสนอ ป.ป.ช.ไม่ได้ เชื่อ กปปส.พบเหล่าทัพไม่กระทบ ยึดพระราชดำรัสทำตามหน้าที่
       
       วันนี้ (11 ธ.ค.) ที่กรมการขนส่งทหารบก เมื่อเวลา 17.15 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ ว่า ภายใต้กฎหมายเมื่อมีการโปรดเกล้าฯ พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งตามหลักก็ควรที่จะปฏิบัติตามและจัดให้มีการเลือกตั้งภายใน 60 วัน ซึ่งได้กำหนดไว้ คือวันที่ 2 ก.พ. 57 และวันนี้ก็ได้เห็นการตอบรับจากพรรคการเมืองมาบ้างแล้วที่จะลงสมัครรับเลือกตั้ง ตนเชื่อว่าหากเราช่วยกันในการที่ให้การเลือกตั้งเป็นทางออกของประเทศไทย ก็น่าจะทำให้การเลือกตั้งเกิดขึ้น
       
       ผู้สื่อข่าวถามว่า มองอย่างไรที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เสนอให้มีการออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) เพื่อเปิดทางให้มีการตั้งสภาประชาชนเพื่อกำหนดกติกาก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง นายกฯ กล่าวว่า ยังไม่แน่ใจเรื่องนี้ คงต้องขอปรึกษาฝ่ายกฎหมายก่อน แต่วันนี้เราไม่มีรัฐสภา มีแต่วุฒิสภา จึงไม่แน่ใจว่าในส่วนของวุฒิสภาจะออก พ.ร.ก.ได้หรือไม่ เพราะตามกฎหมายเราได้ยุบสภาไปเรียบร้อยแล้ว
       
       เมื่อถามถึงกรณีที่คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ กปปส.ประกาศขอเข้าพบผู้บัญชาการเหล่าทัพในมุมมองของนายกฯ อยากให้กองทัพแสดงท่าทีอย่างไร นายกฯ กล่าวว่า ตนไม่สามารถตอบแทนผู้บัญชาการเหล่าทัพได้
       
       เมื่อถามย้ำว่า นายกฯ ยังมั่นใจหรือไม่ว่ากองทัพจะไม่ตกเป็นเครื่องมือทางการเมือง นายกฯ กล่าวว่า เชื่อว่าไม่ว่าจะเป็นกองทัพ หรือข้าราชการทุกคน มีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามหน้าที่และระเบียบของข้าราชการอยู่แล้ว ซึ่งมีพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 5 ธ.ค.ให้ทุกคนทำหน้าที่ของตัวเองอย่างเต็มที่ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ทุกอย่างต้องมีกติกามีระเบียบของตัวเองอยู่แล้ว เชื่อว่าข้าราชการทุกคนจะทำตาม
       
       เมื่อถามว่านายกฯ พร้อมจะอยู่ใน ส.ส.บัญชีรายชื่อลำดับหนึ่งของพรรคเพื่อไทยหรือไม่ นายกฯ กล่าวเพียงว่าตอนนี้ยังมีเวลาเหลือ




เป็น นายก ส.ส. เคยอ่านรัฐธรรมนูญ หรือเปล่า
-การออก พ.ร.ก. นี่เป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร
เพื่อความสงบสุข มั่นคงของบ้านเมือง ตามรัฐธรรมนูญ
แล้วเมื่อเปิดการประชุมสภาฯก็นำ พ.ร.ก.เข้าให้สภาฯให้
ความเห็นชอบ ไม่เกี่ยวกัย วุฒิสภาเลย  
มาตรา ๑๘๔ -๑๘๖  เคยอ่านหรือเปล่า ทั้ง ๆ ที่รัฐบาลก็เคยออกมาหลายฉบับแล้ว
ทำไมสมองไม่จำ

มาตรา ๑๘๔ ในกรณีเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ
ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ
พระมหากษัตริย์จะทรงตราพระราชกำหนดให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติก็ได้

การตราพระราชกำหนดตามวรรคหนึ่ง ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณี
ฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้
ในการประชุมรัฐสภาคราวต่อไป ให้คณะรัฐมนตรีเสนอพระราชกำหนดนั้นต่อรัฐสภาเพื่อ
พิจารณาโดยไม่ชักช้า ถ้าอยู่นอกสมัยประชุมและการรอการเปิดสมัยประชุมสามัญจะเป็นการชักช้า
คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติ
พระราชกำหนดโดยเร็ว ถ้าสภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติ หรือสภาผู้แทนราษฎรอนุมัติแต่วุฒิสภา
ไม่อนุมัติและสภาผู้แทนราษฎรยืนยันการอนุมัติด้วยคะแนนเสียงไม่มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิก
ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร ให้พระราชกำหนดนั้นตกไป แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือน
กิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้พระราชกำหนดนั้น
หากพระราชกำหนดตามวรรคหนึ่งมีผลเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกบทบัญญัติ
แห่งกฎหมายใด และพระราชกำหนดนั้นต้องตกไปตามวรรคสาม ให้บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีอยู่
ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิก มีผลใช้บังคับต่อไปนับแต่วันที่การไม่อนุมัติพระราชกำหนดนั้นมีผล
ถ้าสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาอนุมัติพระราชกำหนดนั้น หรือถ้าวุฒิสภาไม่อนุมัติและ
สภาผู้แทนราษฎรยืนยันการอนุมัติด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของ
สภาผู้แทนราษฎร ให้พระราชกำหนดนั้นมีผลใช้บังคับเป็นพระราชบัญญัติต่อไป
การอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกำหนด ให้นายกรัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ในกรณีไม่อนุมัติ ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
การพิจารณาพระราชกำหนดของสภาผู้แทนราษฎรและของวุฒิสภาในกรณียืนยันการอนุมัติ
พระราชกำหนด จะต้องกระทำในโอกาสแรกที่มีการประชุมสภานั้น ๆ
มาตรา ๑๘๕ ก่อนที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาจะได้อนุมัติพระราชกำหนดใดตาม
มาตรา ๑๘๔ วรรคสาม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้า
ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา มีสิทธิเข้าชื่อเสนอความเห็นต่อประธานแห่งสภา
ที่ตนเป็นสมาชิกว่าพระราชกำหนดนั้นไม่เป็นไปตามมาตรา ๑๘๔ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง และให้
ประธานแห่งสภานั้นส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับความเห็นเพื่อ
วินิจฉัย เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้ว ให้ศาลรัฐธรรมนูญแจ้งคำวินิจฉัยนั้นไปยังประธานแห่งสภา
ที่ส่งความเห็นนั้นมาเมื่อประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานวุฒิสภาได้รับความเห็นของสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้รอการพิจารณาพระราชกำหนดนั้นไว้ก่อน
จนกว่าจะได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญตามวรรคหนึ่ง
ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าพระราชกำหนดใดไม่เป็นไปตามมาตรา ๑๘๔ วรรคหนึ่ง
หรือวรรคสอง ให้พระราชกำหนดนั้นไม่มีผลบังคับมาแต่ต้น
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญว่าพระราชกำหนดใดไม่เป็นไปตามมาตรา ๑๘๔ วรรคหนึ่ง
หรือวรรคสอง ต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมด
มาตรา ๑๘๖ ในระหว่างสมัยประชุม ถ้ามีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากร
หรือเงินตราซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน
พระมหากษัตริย์จะทรงตราพระราชกำหนดให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติก็ได้
พระราชกำหนดที่ได้ตราขึ้นตามวรรคหนึ่ง จะต้องนำเสนอต่อสภาผู้แทนราฯ

http://www.ombudsman.go.th/10/documents/law/Constitution2550.pdf
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่