21 พ.ค. 2535 แกนนำการชุมนุมตัดสินใจสลายการชุมนุมในเวลา 4.00 น. แม้จะผิดหวังที่ พล.อ.สุจินดา ยังไม่ประกาศลาออก
23 พ.ค. 2535 รัฐบาล พล.อ.สุจินดา ออก พ.ร.ก.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมกันระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2535 ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ.2535 โดยสาระสำคัญของ พ.ร.บ. ฉบับนี้อยู่ในมาตรา 3 ซึ่งระบุว่า
"บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมกันระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2535 ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ.2535 และได้กระทำในระหว่างวันดังกล่าวไม่ว่าได้กระทำในฐานะเป็นตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำหรือผู้ถูกใช้ หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมายก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด และความรับผิดชอบโดยสิ้นเชิง"
พ.ร.ก. ฉบับนี้เป็นการนิรโทษกรรมแบบ "เหมาเข่ง" ให้กับผู้ชุมนุม/เจ้าหน้าที่รัฐจากเหตุการณ์การชุมนุมทางเมืองระหว่างวันที่ 17-21 พ.ค. 2535 สร้างความกังขาให้กับหลายฝ่ายที่มองว่ากฎหมายนิรโทษกรรม นี้เป็นการนิรโทษกรรมให้กับการสังหารผู้ชุมนุม
24 พ.ค. 2535 พล.อ.สุจินดา ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยมอบหมายให้ มีชัย ฤชุพันธ์ รักษาการในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รวมเวลาในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 48 วัน มีชัยมีคำสั่งให้ยกเลิกประกาศห้ามบุคคลในท้องที่ กทม. ออกจากเคหสถานระหว่างเวลา 21.00-04.00 น ส่วน ร.ต.ฉลาด ประกาศยุติการอดอาหาร
ปลาย พ.ค. 2535 4 พรรคการเมืองฝ่ายค้านยื่นคำร้องให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ (ในขณะนั้นยังไม่มีศาลรัฐธรรมนูญ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญยังเป็นส่วนหนึ่งของศาลฎีกา) วินิจฉัยถึงความชอบธรรมของ พ.ร.ก. ฉบับนี้ โดยอาศัยอำนาจตาม รธน. มาตรา 173
3 มิ.ย. 2535 คณะตุลาการรัฐธรรมนูญออกคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ 1/2535 โดยวินิจฉัยว่า
"ตามบทบัญญัติของมาตรา 173 วรรคหนึ่งจะเห็นได้ว่า กรณีที่สมาชิกวุฒิสภาก็ดี หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ดี จะมีสิทธิเสนอความเห็นว่า พระราชกำหนดใดไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จะต้องเป็นกรณีที่ พระราชกำหนดนั้นไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของมาตรา 172 วรรคหนึ่งเท่านั้น กล่าวคือ พระราชกำหนดนั้นไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะ หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ สมาชิกวุฒิสภาหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะเสนอความเห็นให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยนอกเหนือจากกรณีเงื่อนไขตามมาตรา 172 วรรคหนึ่งไม่ได้"
จากสาระสำคัญในส่วนนี้ชี้ชัดว่า 4 พรรคการเมืองฝ่ายค้านไม่สามารถอ้างรัฐธรรมนูญมาตรา 173 เพื่อขอให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยถึงความชอบธรรมของ พ.ร.ก. ฉบับนี้ ดังนั้นความหวังในการคัดค้าน พรก. ฉบับนี้ในครั้งที่ 1 จึงต้องจบสิ้นลง
9 มิ.ย. 2535 4 พรรคการเมืองฝ่ายค้านยื่นคำร้องให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยถึงความชอบธรรมของ พ.ร.ก. ฉบับนี้อีกครั้ง โดยอ้างว่า พ.ร.ก. ฉบับนี้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 172
10 มิ.ย 2535 พรรคร่วมรัฐบาลเสนอชื่อ พล.อ.อ.สมบุญ ระหงษ์ หัวหน้าพรรคชาติไทย เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ อาทิตย์ อุไรรัตน์ ตัดสินใจนำชื่อ อานันท์ ปันยารชุน ขึ้นทูลเกล้าฯแทน ส่งผลให้อานันท์ได้กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง
30 มิ.ย. 2535 อานันท์ประกาศยุบสภา และจัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 13 ก.ย. 2535 5 พรรคร่วมรัฐบาลถวายฎีกาคัดค้าน แต่ไม่เป็นผล
22 ก.ค. 2535 คณะตุลาการรัฐธรรมนูญออกคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ 2/2535 โดยวินิจฉัยว่า
"การตราพระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมกันระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2535 ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ.2535 ก็เป็นวิธีที่แก้ไขเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นนั้นให้เรียบร้อยลงได้ และให้เกิดความสามัคคีในประชาชนชาวไทยและเพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติต่อไป ดังนั้นการตราพระราชกำหนดนิรโทษกรรมฉบับนี้ จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษารักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ และเพื่อป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 172 วรรคหนึ่งของรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 ส่วนที่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ และคณะเห็นว่า การออกพระราชกำหนดนิรโทษกรรมนี้ คณะรัฐมนตรีมิได้มีการประชุมปรึกษาหารือกัน เพียงแต่ออกหนังสือเวียนแทนการเรียกประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อมีมตินั้น เป็นปัญหาตามมาตรา 172 วรรคสอง ซึ่งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญไม่สามารถวินิจฉัยให้ได้ เพราะมาตรา 173 ให้สิทธิสมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสนอความเห็นเพื่อให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้เฉพาะความเห็นที่ว่า พระราชกำหนดไม่เป็นไปตามมาตรา 172 วรรคหนึ่งเท่านั้น"
จากสาระสำคัญในส่วนนี้ชี้ชัดว่า พ.ร.ก. ฉบับนี้ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 172 วรรคหนึ่ง ส่วนวรรคสองนั้นคณะตุลาการรัฐธรรมนูญไม่สามารถวินิจฉัยให้ได้ ดังนั้นความหวังในการคัดค้าน พ.ร.ก. ฉบับนี้ในครั้งที่ 2 จึงต้องจบสิ้นลง
ที่มา
http://prachatai.com/journal/2013/02/45545
รัฐบาล พล.อ.สุจินดา ออก พ.ร.ก.นิรโทษกรรม (ทำง่าย จบเร็ว เคยมีคณะฯ รับรองแล้ว)
23 พ.ค. 2535 รัฐบาล พล.อ.สุจินดา ออก พ.ร.ก.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมกันระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2535 ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ.2535 โดยสาระสำคัญของ พ.ร.บ. ฉบับนี้อยู่ในมาตรา 3 ซึ่งระบุว่า
"บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมกันระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2535 ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ.2535 และได้กระทำในระหว่างวันดังกล่าวไม่ว่าได้กระทำในฐานะเป็นตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำหรือผู้ถูกใช้ หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมายก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด และความรับผิดชอบโดยสิ้นเชิง"
พ.ร.ก. ฉบับนี้เป็นการนิรโทษกรรมแบบ "เหมาเข่ง" ให้กับผู้ชุมนุม/เจ้าหน้าที่รัฐจากเหตุการณ์การชุมนุมทางเมืองระหว่างวันที่ 17-21 พ.ค. 2535 สร้างความกังขาให้กับหลายฝ่ายที่มองว่ากฎหมายนิรโทษกรรม นี้เป็นการนิรโทษกรรมให้กับการสังหารผู้ชุมนุม
24 พ.ค. 2535 พล.อ.สุจินดา ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยมอบหมายให้ มีชัย ฤชุพันธ์ รักษาการในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รวมเวลาในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 48 วัน มีชัยมีคำสั่งให้ยกเลิกประกาศห้ามบุคคลในท้องที่ กทม. ออกจากเคหสถานระหว่างเวลา 21.00-04.00 น ส่วน ร.ต.ฉลาด ประกาศยุติการอดอาหาร
ปลาย พ.ค. 2535 4 พรรคการเมืองฝ่ายค้านยื่นคำร้องให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ (ในขณะนั้นยังไม่มีศาลรัฐธรรมนูญ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญยังเป็นส่วนหนึ่งของศาลฎีกา) วินิจฉัยถึงความชอบธรรมของ พ.ร.ก. ฉบับนี้ โดยอาศัยอำนาจตาม รธน. มาตรา 173
3 มิ.ย. 2535 คณะตุลาการรัฐธรรมนูญออกคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ 1/2535 โดยวินิจฉัยว่า
"ตามบทบัญญัติของมาตรา 173 วรรคหนึ่งจะเห็นได้ว่า กรณีที่สมาชิกวุฒิสภาก็ดี หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ดี จะมีสิทธิเสนอความเห็นว่า พระราชกำหนดใดไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จะต้องเป็นกรณีที่ พระราชกำหนดนั้นไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของมาตรา 172 วรรคหนึ่งเท่านั้น กล่าวคือ พระราชกำหนดนั้นไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะ หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ สมาชิกวุฒิสภาหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะเสนอความเห็นให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยนอกเหนือจากกรณีเงื่อนไขตามมาตรา 172 วรรคหนึ่งไม่ได้"
จากสาระสำคัญในส่วนนี้ชี้ชัดว่า 4 พรรคการเมืองฝ่ายค้านไม่สามารถอ้างรัฐธรรมนูญมาตรา 173 เพื่อขอให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยถึงความชอบธรรมของ พ.ร.ก. ฉบับนี้ ดังนั้นความหวังในการคัดค้าน พรก. ฉบับนี้ในครั้งที่ 1 จึงต้องจบสิ้นลง
9 มิ.ย. 2535 4 พรรคการเมืองฝ่ายค้านยื่นคำร้องให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยถึงความชอบธรรมของ พ.ร.ก. ฉบับนี้อีกครั้ง โดยอ้างว่า พ.ร.ก. ฉบับนี้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 172
10 มิ.ย 2535 พรรคร่วมรัฐบาลเสนอชื่อ พล.อ.อ.สมบุญ ระหงษ์ หัวหน้าพรรคชาติไทย เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ อาทิตย์ อุไรรัตน์ ตัดสินใจนำชื่อ อานันท์ ปันยารชุน ขึ้นทูลเกล้าฯแทน ส่งผลให้อานันท์ได้กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง
30 มิ.ย. 2535 อานันท์ประกาศยุบสภา และจัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 13 ก.ย. 2535 5 พรรคร่วมรัฐบาลถวายฎีกาคัดค้าน แต่ไม่เป็นผล
22 ก.ค. 2535 คณะตุลาการรัฐธรรมนูญออกคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ 2/2535 โดยวินิจฉัยว่า
"การตราพระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมกันระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2535 ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ.2535 ก็เป็นวิธีที่แก้ไขเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นนั้นให้เรียบร้อยลงได้ และให้เกิดความสามัคคีในประชาชนชาวไทยและเพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติต่อไป ดังนั้นการตราพระราชกำหนดนิรโทษกรรมฉบับนี้ จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษารักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ และเพื่อป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 172 วรรคหนึ่งของรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 ส่วนที่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ และคณะเห็นว่า การออกพระราชกำหนดนิรโทษกรรมนี้ คณะรัฐมนตรีมิได้มีการประชุมปรึกษาหารือกัน เพียงแต่ออกหนังสือเวียนแทนการเรียกประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อมีมตินั้น เป็นปัญหาตามมาตรา 172 วรรคสอง ซึ่งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญไม่สามารถวินิจฉัยให้ได้ เพราะมาตรา 173 ให้สิทธิสมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสนอความเห็นเพื่อให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้เฉพาะความเห็นที่ว่า พระราชกำหนดไม่เป็นไปตามมาตรา 172 วรรคหนึ่งเท่านั้น"
จากสาระสำคัญในส่วนนี้ชี้ชัดว่า พ.ร.ก. ฉบับนี้ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 172 วรรคหนึ่ง ส่วนวรรคสองนั้นคณะตุลาการรัฐธรรมนูญไม่สามารถวินิจฉัยให้ได้ ดังนั้นความหวังในการคัดค้าน พ.ร.ก. ฉบับนี้ในครั้งที่ 2 จึงต้องจบสิ้นลง
ที่มา http://prachatai.com/journal/2013/02/45545