ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 8 ขออนุญาตลงกระทู้ในห้องราชดำเนินทุกวันจนกว่าจะมีคำตอบจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และจะเป็นการดีหากพวก สว.สรรหา สภาทนายความหรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะกล้าเข้ามาชี้แจง หรืออาจให้ลิ่วล้อออกมาชี้แจงแทนก้ได้ นั่นคือ ผมยืนยันว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัยคำร้องทุกฉบับตั้งแต่สิงหาคม 2521 เป็นต้นมา กล่าวคือ
-มาตรา 216 วรรค 6 บัญญัติว่า "วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ"
-มาตรา 300 วรรค 5 บัญญัติว่า "ในระหว่างที่ยังมิได้มีการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจออกข้อกำหนดเกี่ยวกับวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัยได้ แต่ทั้งนี้ ต้องตราพระราชบัญยัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้
ข้อเท็จจริงเพิ่มเติม คือ
1. ปัจจุบันยังไม่มีการตรา พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ
2. แม้ในระหว่างที่ยังไม่มี พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาฯ ตามมาตรา 216 วรรค 6 แต่บทเฉพาะกาลได้กำหนดในมาตรา 300 วรรค 5 ให้ศาลมีอำนาจในการออกข้อกำหนดของประธานศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาฯ แต่ก็มีระยะเวลาบังคับไว้ คือเพียงหนึ่งปีเท่านั้นประเด็นส่วนนี้คือ หากไม่มีการตรา พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญฯให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ข้อกำหนดฯที่ออกมาจะยังคงมีผลบังคับใช้ต่ออีกหรือไม่ หรือสิ้นไปโดยผลของรัฐธรรมนูญ ถ้าอ้างว่ายังคงใช้ได้ จะอ้างมาตราใดของรัฐธรรมนูญที่ให้ข้อกำหนดยังคงบังคับใช้ได้เรื่อยไป เพราะไม่มีมาตราใดๆของรัฐธรรมนูญบัญญัติอนุโลมได้ และถ้าข้อกำหนดฯหมดสภาพการบังคับใช้โดยผลของรัฐธรรมนูญที่กำหนดระยะเวลาให้แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจพิจารณาคดีหรือพิจารณาคำร้องตามกฎหมายใด ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยหรือมีคำสั่งใดๆโดยไม่มีวิธีพิจารณาไม่ได้
ดังนั้น เมื่อศาลรัฐธรรมนูญไม่มีวิธีพิจารณาคดีมาเป็นหลักปฏิบัติแล้ว การมีคำวินิจฉัยในคดีที่ผ่านมา นับแต่สิงหาคม 2551 (ระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ) จึงตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลสภาพบังคับใดๆได้เลย ไม่มีสภาพทางกฎหมายรองรับ และรวมหมายถึงคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 ด้วย
ขอเรียนเชิญนักกฎหมายที่เห็นต่างโต้แย้งมาหน่อยครับ หากการตีความของผมผิด ผมจะน้อมยอมรับ แต่ถ้ายังไม่มีผู้ใดชี้แจงได้ ผมจะขอลงถามทุกวันจนกว่าจะได้คำตอบจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญครับ
ตลก.ศาลรัฐธรรมนูญจะว่างัย หากผมขอยืนยันว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัยคำร้องทุกฉบับ (ครั้งที่ 8)
-มาตรา 216 วรรค 6 บัญญัติว่า "วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ"
-มาตรา 300 วรรค 5 บัญญัติว่า "ในระหว่างที่ยังมิได้มีการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจออกข้อกำหนดเกี่ยวกับวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัยได้ แต่ทั้งนี้ ต้องตราพระราชบัญยัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้
ข้อเท็จจริงเพิ่มเติม คือ
1. ปัจจุบันยังไม่มีการตรา พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ
2. แม้ในระหว่างที่ยังไม่มี พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาฯ ตามมาตรา 216 วรรค 6 แต่บทเฉพาะกาลได้กำหนดในมาตรา 300 วรรค 5 ให้ศาลมีอำนาจในการออกข้อกำหนดของประธานศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาฯ แต่ก็มีระยะเวลาบังคับไว้ คือเพียงหนึ่งปีเท่านั้นประเด็นส่วนนี้คือ หากไม่มีการตรา พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญฯให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ข้อกำหนดฯที่ออกมาจะยังคงมีผลบังคับใช้ต่ออีกหรือไม่ หรือสิ้นไปโดยผลของรัฐธรรมนูญ ถ้าอ้างว่ายังคงใช้ได้ จะอ้างมาตราใดของรัฐธรรมนูญที่ให้ข้อกำหนดยังคงบังคับใช้ได้เรื่อยไป เพราะไม่มีมาตราใดๆของรัฐธรรมนูญบัญญัติอนุโลมได้ และถ้าข้อกำหนดฯหมดสภาพการบังคับใช้โดยผลของรัฐธรรมนูญที่กำหนดระยะเวลาให้แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจพิจารณาคดีหรือพิจารณาคำร้องตามกฎหมายใด ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยหรือมีคำสั่งใดๆโดยไม่มีวิธีพิจารณาไม่ได้
ดังนั้น เมื่อศาลรัฐธรรมนูญไม่มีวิธีพิจารณาคดีมาเป็นหลักปฏิบัติแล้ว การมีคำวินิจฉัยในคดีที่ผ่านมา นับแต่สิงหาคม 2551 (ระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ) จึงตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลสภาพบังคับใดๆได้เลย ไม่มีสภาพทางกฎหมายรองรับ และรวมหมายถึงคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 ด้วย
ขอเรียนเชิญนักกฎหมายที่เห็นต่างโต้แย้งมาหน่อยครับ หากการตีความของผมผิด ผมจะน้อมยอมรับ แต่ถ้ายังไม่มีผู้ใดชี้แจงได้ ผมจะขอลงถามทุกวันจนกว่าจะได้คำตอบจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญครับ