เมื่อไม่มี พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณา แล้วศาลรัฐธรรมนญใช้อำนาจพิจารณาตามกฎหมายใด

นอกเหนือจากกรณีมาตรา  154(1) ที่คิดว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัยแล้ว  ทำให้วงการนักกฎหมายกลับมาให้ความสนใจกับการใช้อำนาจของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพราะ
-มาตรา 216 วรรค 6 บัญญัติว่า "วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูฐให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ"
-มาตรา 300 วรรค 5  บัญญัติว่า "ในระหว่างที่ยังมิได้มีการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจออกข้อกำหนดเกี่ยวกับวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัยได้ แต่ทั้งนี้  ต้องตราพระราชบัญยัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้
คำถามคือ
1. ปัจจุบันยังไม่มีการตรา พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ
2. แม้จะให้ศาลมีอำนาจในการออกข้อกำหนดฯ แต่ก็มีระยะเวลาบังคับไว้ ประเด็นส่วนนี้คือ หากไม่มีการตรา พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญฯให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้  ข้อกำหนดฯที่ออกมาจะยังคงมีผลบังคับใช้ต่ออีกหรือไม่  ถ้ายังใช้ได้ จะอ้างมาตราใดที่ให้ข้อกำหนดยังคงบังคับใช้ได้เรื่อยไป  และถ้าข้อกำหนดฯหมดสภาพการบังคับใช้แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจตามกฎหมายใด
ดังนั้น  ก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะขยายอำนาจตนเองไปวินิจฉัยเรื่องของนิติบัญยัติ เรื่องของฝ่ายบริหาร ตามที่ปรากฎเป็นข่าวในขณะนี้  ศาลรัฐธรรมนูญต้องนำมาตรา 216 วรรค 6 และมาตรา 300 วรรค 5 มาวินจฉัยตัวเองก่อนดีกว่ามั๊ยว่า ตนเองมีอำนาจตามกฎหมายจริงหรือไม่
ถ้าไม่มีอำนาจตามกฎหมายแล้ว สิ่งที่ผ่านมาจะทำอย่างไร
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่