“ณัฐพงษ์” ฝากการบ้านว่าที่นายกฯแก้รธน.แก้อำนาจศาล รธน.
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_761960/
“ณัฐพงษ์”ฝากการบ้านว่าที่นายกฯ สร้างเสถียรภาพให้ประเทศ ปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญ แก้อำนาจศาล รธน.
นาย
ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคประชาชน อภิปราย ก่อนเข้าสู่วาระการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ว่า ไม่เห็นด้วยขบวนการนิติสงครามที่ดำเนินการโดยกลุ่มคนชั้นนำแม้ว่าสส.จะลงมติอย่างไร แต่ภารกิจของสภาฯ และนายกฯ คนต่อไป คือ การแก้ปัญหาประเทศที่ต้นตอ ถ้านับเฉพาะคดียุบพรรคก็มีหลายครั้ง หลายคน ล้วนเป็นเหยื่อการตัดสินทางการเมือง
ที่ให้อำนาจล้นเกินแก่ศาลรัฐธรรมนูญ จึงต้องวางอำนาจหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ให้รุกล้ำฝ่ายนิติบัญญัติจนล้นเกิน เชื่อว่าทุกคนเห็นปัญหาเช่นเดียวกันว่า หลายคนไม่สมควรถูกประหารชีวิตทางการเมือง มาตรฐานทางจริยธรรมควรเป็นเงื่อนไข กติกาที่พวกเราตรวจสอบกันเอง ไม่ใช่กติกาที่ให้องค์กรตุลาการมาวินิจฉัยโดยใช้มาตรวัดทางกฎหมาย
โดยมาตรวัดมาตรฐานจริยธรรมเป็นเรื่องที่แต่ละคนเห็นไม่เหมือนกัน ต้องใช้เสียงประชาชนมาตัดสิน 7 ปีที่ผ่านมาที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ซ้ำร้ายยังถูกไปใช้เป็นเครื่องมือกลั่นแกล้งจากกล่มคนชั้นนำทุบทำลาย สส.ที่ได้รับอำนาจสูงสุดจากประชชน
โจทย์ใหญ่ คือสร้างเสถียรภาพให้ประเทศ ไม่ให้เกิดสุญญากาศการเมือง ภารกิจสำคัญ สส.คือ เชิญชวนสานต่อภารกิจ ปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญ และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐญธรรมนูญเพื่อแก้อำนาจศาล รธน. องค์กรอิสระ เป็นไปตามหลักสากล ปรับกติกาพรรคการเมืองให้เกิดขึ้นง่าย ตายยาก สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้ระบอบประชาธิปไตย การลงมติของพรรคประชาชน จะไม่เห็นชอบการเลือกนายกฯ เพราะต้องสงวนจุดต่าง แสวงจุดร่วม
อ.พรสันต์ ชี้ผลคำวินิจฉัยศาล รธน. สะท้อนการขยายอาณาจักรกฎหมาย แนะวิธีแก้.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4738883
อ.พรสันต์ ชี้ผลคำวินิจฉัยศาล รธน. สะท้อนการขยายอาณาจักรกฎหมาย แนะวิธีแก้
จากกรณีศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 ยุบพรรคก้าวไกล ต่อเนื่องมาถึงตุลาการเสียงข้างมาก 5 ต่อ 4 วินิจฉัยให้ นาย
เศรษฐา ทวีสิน พ้นจากการเป็นนายกฯคนที่ 30 ของไทย
เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ผศ.ดร.
พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุทางเพจเฟซบุ๊ก
Ponson Liengboonlertchai เมื่อวันที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา ระบุว่า
ผมเห็นว่าสิ่งเกิดขึ้นและยังไม่เห็นจุดหมายปลายทางว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อใดและที่ไหนในระบอบรัฐธรรมนูญไทยในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาคือสภาวะ “อาณาจักรทางกฎหมายที่กำลังขยายตัว” (Law’s expanding empire)
“สภาวะอาณาจักรทางกฎหมายที่กำลังขยายตัว” คือการที่องค์กรตุลาการกำลังใช้อำนาจของตนเองในการตีความและบังคับใช้กฎหมายให้ครอบคลุมไปในเรื่อง หรือประเด็นทางด้านการเมือง (รวมถึงเรื่องอื่นๆ ที่มิใช่เรื่องทางกฎหมาย) ซึ่งโดยปกติไม่พึงเป็นเช่นนั้น
แน่นอนว่า เมื่อเกิดสภาวะข้างต้นขึ้นย่อมเกิดผลกระทบต่อบทบาทและอำนาจหน้าที่ของฝ่ายการเมืองไม่ว่าจะเป็นองค์กรนิติบัญญัติ หรือรัฐสภา และองค์กรบริหาร หรือคณะรัฐมนตรี อันนำไปสู่การกัดกร่อนลดทอนหลักแบ่งแยกอำนาจและหลักนิติธรรมที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้อย่างปฏิเสธไม่ได้
ยิ่งไปกว่านั้นแล้ว ผลกระทบที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การบั่นทอนความเชื่อมั่นของฝ่ายการเมืองและประชาชนที่มีต่อองค์กรตุลาการ เนื่องจากศาลกลายเป็นคู่ขัดแย้งทางการเมืองเสียเอง อันเป็นเรื่องที่พึงต้องระมัดระวังอย่างมาก
การตั้งข้อสังเกตและการอธิบายของผมเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าจะปฏิเสธบทบาทอำนาจหน้าที่ของศาลเลยอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด หากแต่เราต้องกำหนดตำแหน่งแห่งที่ขององค์กรและการใช้อำนาจตุลาการอย่างถูกที่ถูกทางอย่างที่พึงจะเป็น มิฉะนั้น จะนำไปสู่วิฤตของระบอบรัฐธรรมนูญอย่างแน่นอนครับ
อนึ่ง ผมกำลังคิดว่าอยากจะเขียนเป็นบทความ หรือพูดถึงประเด็นดังกล่าวอยู่ ขอช่องทางที่เหมาะสมก่อนนะครับ
https://www.facebook.com/pornson.liengboonlertchai/posts/pfbid037JiSvwBHT8RAQgqdkzn8Z4KZFjRS5E5VJKrh4xXYiGGfyNfLFCwqc1EbhWXwcWvyl
ผศ.ดร.เชษฐา ชี้ 'แพทองธาร' นั่งนายกฯ 10 สิ่งจะได้เห็นหลังจากนี้
https://www.matichon.co.th/politics/news_4738816
ผศ.ดร.เชษฐา ชี้ ‘แพทองธาร’ นั่งนายกฯ 10 สิ่งจะได้เห็นหลังจากนี้
เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ผศ.ดร.
เชษฐา ทรัพย์เย็น ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เปิดเผยกรณีที่น.ส.
แพทองธาร ชินวัตร ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี ว่า 10 สิ่งที่อาจจะได้เห็นหลังจากคุณอุ๊งอิ๊งขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ดังนี้
ด้านนโยบาย 4 ประเด็น
1. ลดขนาดดิจิทัลวอลเล็ตเป็นแบบมินิมอล ปรับให้ตรงตามคำท้วงติงของฝ่ายต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มอนุรักษ์นิยมที่เป็นหนึ่งในพลังผู้กุมอำนาจทางการเมือง
2. นโยบายหลักของพรรคภูมิใจไทยเรื่องวาระกัญชาภาคต่อ จะกลับมาผงาดอย่างเต็มตัว “ภาคกัญชารีเทิร์น”
3. เพิ่มขนาดนโยบายประชานิยมในหมู่คนรุ่นใหม่อย่างโดดเด่น เพื่อสร้างแบรนด์นายกฯหญิงคนรุ่นใหม่อายุน้อยและดึงฐานเสียงกลุ่มนี้ในอนาคตมาครอบครอง
4. เร่งแก้รัฐธรรมนูญโดยเฉพาะประเด็นขอบเขตอำนาจขององค์กรอิสระต่าง ๆ เพื่อไม่ให้เป็นบูมเมอแรงสวิงกลับมาจัดการกับนายกฯผู้เป็นลูกสาวของผู้นำทางจิตวิญญาณของเพื่อไทย
ด้านการจัดการอำนาจ 6 ประเด็น
5. เลือกแคนดิเดตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่สามารถเป็นผู้พิทักษ์นายกฯตระกูลชินวัตรได้
6. ขอเจรจาต่อรองโผทหารเพื่อให้เกิดความสมดุลทางอำนาจสองฝ่ายมากขึ้น ระหว่างพลังอนุรักษ์กับเพื่อไทย เพื่อตัดปัญหาความเสี่ยงรัฐประหารลง
7. คุณพ่อซึ่งเป็นผู้นำทั้งจิตวิญญาณเพื่อไทยจะลงมาคุมฐานพลังทางการเมืองทั้งในพรรคและนอกพรรคอย่างออกหน้าออกตา เพื่อรับประกันความปลอดภัยของลูกสาวในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
8. คุณแม่ท่านนายกฯคนใหม่จะเข้าสู่สถานะมาดามเบื้องหลังการเมืองอย่างเต็มตัว เพื่อช่วยจัดแจงฉากหลังให้ปลอดภัยกับลูกสาวมากที่สุด และจะขอให้พี่ชายคือพลตำรวจเอกเพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ลงมาช่วยกำกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อช่วยเหลือหลานสาวให้จัดกำลังตำรวจให้เป็นปึกแผ่น
9. การเลือกบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งองค์กรอิสระต่าง ๆ นับจากนี้ จะเจรจากับภูมิใจไทยอย่างใกล้ชิด เพื่อเอาคนของสายชินวัตรเข้าไปร่วมเป็นกรรมการองค์กรอิสระชุดต่าง ๆ แต่ก็ต้องยอมแลกโดยการทุ่มเทเอาใจภูมิใจไทยมากกว่าเดิม
10. เล่นเกมตัดกำลังคู่แข่งมือหนึ่งอย่างอดีตก้าวไกล แม้ว่าฉากหน้าจะยังคงความเป็นมิตรกับอดีตก้าวไกล แต่จะเดินแผนชั้นสองแบบอัตราเร่งเกียร์หก เพื่อบั่นทอนพลังของอดีตพรรคก้าวไกลในนามพรรคประชาชนให้ประสบกับความยากลำบากในการขับเคลื่อน เช่น ผูกคดีต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นตลอดเวลา เร่ง ป.ป.ช.พิจารณา 44 ส.ส.อดีตก้าวไกล ขยายผลสถานภาพความเป็นพรรคประชาชนว่าจะเป็นตามกฏหมายพรรคการเมืองหรือไม่ ฯลฯ เพื่อรับประกันว่าพรรคประชาชนจะไม่มีพลังเพียงพอในการสอยนายกฯอุ๊งอิ๊ง
JJNY : “ณัฐพงษ์”ฝากการบ้าน│อ.พรสันต์ชี้ผลคำวินิจฉัยศาล│ผศ.ดร.เชษฐาชี้ 10สิ่งจะได้เห็น│ค้าปลีกภูธรจี้กระตุ้นกำลังซื้อด่วน
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_761960/
“ณัฐพงษ์”ฝากการบ้านว่าที่นายกฯ สร้างเสถียรภาพให้ประเทศ ปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญ แก้อำนาจศาล รธน.
นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคประชาชน อภิปราย ก่อนเข้าสู่วาระการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ว่า ไม่เห็นด้วยขบวนการนิติสงครามที่ดำเนินการโดยกลุ่มคนชั้นนำแม้ว่าสส.จะลงมติอย่างไร แต่ภารกิจของสภาฯ และนายกฯ คนต่อไป คือ การแก้ปัญหาประเทศที่ต้นตอ ถ้านับเฉพาะคดียุบพรรคก็มีหลายครั้ง หลายคน ล้วนเป็นเหยื่อการตัดสินทางการเมือง
ที่ให้อำนาจล้นเกินแก่ศาลรัฐธรรมนูญ จึงต้องวางอำนาจหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ให้รุกล้ำฝ่ายนิติบัญญัติจนล้นเกิน เชื่อว่าทุกคนเห็นปัญหาเช่นเดียวกันว่า หลายคนไม่สมควรถูกประหารชีวิตทางการเมือง มาตรฐานทางจริยธรรมควรเป็นเงื่อนไข กติกาที่พวกเราตรวจสอบกันเอง ไม่ใช่กติกาที่ให้องค์กรตุลาการมาวินิจฉัยโดยใช้มาตรวัดทางกฎหมาย
โดยมาตรวัดมาตรฐานจริยธรรมเป็นเรื่องที่แต่ละคนเห็นไม่เหมือนกัน ต้องใช้เสียงประชาชนมาตัดสิน 7 ปีที่ผ่านมาที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ซ้ำร้ายยังถูกไปใช้เป็นเครื่องมือกลั่นแกล้งจากกล่มคนชั้นนำทุบทำลาย สส.ที่ได้รับอำนาจสูงสุดจากประชชน
โจทย์ใหญ่ คือสร้างเสถียรภาพให้ประเทศ ไม่ให้เกิดสุญญากาศการเมือง ภารกิจสำคัญ สส.คือ เชิญชวนสานต่อภารกิจ ปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญ และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐญธรรมนูญเพื่อแก้อำนาจศาล รธน. องค์กรอิสระ เป็นไปตามหลักสากล ปรับกติกาพรรคการเมืองให้เกิดขึ้นง่าย ตายยาก สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้ระบอบประชาธิปไตย การลงมติของพรรคประชาชน จะไม่เห็นชอบการเลือกนายกฯ เพราะต้องสงวนจุดต่าง แสวงจุดร่วม
อ.พรสันต์ ชี้ผลคำวินิจฉัยศาล รธน. สะท้อนการขยายอาณาจักรกฎหมาย แนะวิธีแก้.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4738883
อ.พรสันต์ ชี้ผลคำวินิจฉัยศาล รธน. สะท้อนการขยายอาณาจักรกฎหมาย แนะวิธีแก้
จากกรณีศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 ยุบพรรคก้าวไกล ต่อเนื่องมาถึงตุลาการเสียงข้างมาก 5 ต่อ 4 วินิจฉัยให้ นายเศรษฐา ทวีสิน พ้นจากการเป็นนายกฯคนที่ 30 ของไทย
เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ผศ.ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุทางเพจเฟซบุ๊ก Ponson Liengboonlertchai เมื่อวันที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา ระบุว่า
ผมเห็นว่าสิ่งเกิดขึ้นและยังไม่เห็นจุดหมายปลายทางว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อใดและที่ไหนในระบอบรัฐธรรมนูญไทยในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาคือสภาวะ “อาณาจักรทางกฎหมายที่กำลังขยายตัว” (Law’s expanding empire)
“สภาวะอาณาจักรทางกฎหมายที่กำลังขยายตัว” คือการที่องค์กรตุลาการกำลังใช้อำนาจของตนเองในการตีความและบังคับใช้กฎหมายให้ครอบคลุมไปในเรื่อง หรือประเด็นทางด้านการเมือง (รวมถึงเรื่องอื่นๆ ที่มิใช่เรื่องทางกฎหมาย) ซึ่งโดยปกติไม่พึงเป็นเช่นนั้น
แน่นอนว่า เมื่อเกิดสภาวะข้างต้นขึ้นย่อมเกิดผลกระทบต่อบทบาทและอำนาจหน้าที่ของฝ่ายการเมืองไม่ว่าจะเป็นองค์กรนิติบัญญัติ หรือรัฐสภา และองค์กรบริหาร หรือคณะรัฐมนตรี อันนำไปสู่การกัดกร่อนลดทอนหลักแบ่งแยกอำนาจและหลักนิติธรรมที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้อย่างปฏิเสธไม่ได้
ยิ่งไปกว่านั้นแล้ว ผลกระทบที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การบั่นทอนความเชื่อมั่นของฝ่ายการเมืองและประชาชนที่มีต่อองค์กรตุลาการ เนื่องจากศาลกลายเป็นคู่ขัดแย้งทางการเมืองเสียเอง อันเป็นเรื่องที่พึงต้องระมัดระวังอย่างมาก
การตั้งข้อสังเกตและการอธิบายของผมเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าจะปฏิเสธบทบาทอำนาจหน้าที่ของศาลเลยอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด หากแต่เราต้องกำหนดตำแหน่งแห่งที่ขององค์กรและการใช้อำนาจตุลาการอย่างถูกที่ถูกทางอย่างที่พึงจะเป็น มิฉะนั้น จะนำไปสู่วิฤตของระบอบรัฐธรรมนูญอย่างแน่นอนครับ
อนึ่ง ผมกำลังคิดว่าอยากจะเขียนเป็นบทความ หรือพูดถึงประเด็นดังกล่าวอยู่ ขอช่องทางที่เหมาะสมก่อนนะครับ
https://www.facebook.com/pornson.liengboonlertchai/posts/pfbid037JiSvwBHT8RAQgqdkzn8Z4KZFjRS5E5VJKrh4xXYiGGfyNfLFCwqc1EbhWXwcWvyl
ผศ.ดร.เชษฐา ชี้ 'แพทองธาร' นั่งนายกฯ 10 สิ่งจะได้เห็นหลังจากนี้
https://www.matichon.co.th/politics/news_4738816
ผศ.ดร.เชษฐา ชี้ ‘แพทองธาร’ นั่งนายกฯ 10 สิ่งจะได้เห็นหลังจากนี้
เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ผศ.ดร.เชษฐา ทรัพย์เย็น ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เปิดเผยกรณีที่น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี ว่า 10 สิ่งที่อาจจะได้เห็นหลังจากคุณอุ๊งอิ๊งขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ดังนี้
ด้านนโยบาย 4 ประเด็น
1. ลดขนาดดิจิทัลวอลเล็ตเป็นแบบมินิมอล ปรับให้ตรงตามคำท้วงติงของฝ่ายต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มอนุรักษ์นิยมที่เป็นหนึ่งในพลังผู้กุมอำนาจทางการเมือง
2. นโยบายหลักของพรรคภูมิใจไทยเรื่องวาระกัญชาภาคต่อ จะกลับมาผงาดอย่างเต็มตัว “ภาคกัญชารีเทิร์น”
3. เพิ่มขนาดนโยบายประชานิยมในหมู่คนรุ่นใหม่อย่างโดดเด่น เพื่อสร้างแบรนด์นายกฯหญิงคนรุ่นใหม่อายุน้อยและดึงฐานเสียงกลุ่มนี้ในอนาคตมาครอบครอง
4. เร่งแก้รัฐธรรมนูญโดยเฉพาะประเด็นขอบเขตอำนาจขององค์กรอิสระต่าง ๆ เพื่อไม่ให้เป็นบูมเมอแรงสวิงกลับมาจัดการกับนายกฯผู้เป็นลูกสาวของผู้นำทางจิตวิญญาณของเพื่อไทย
ด้านการจัดการอำนาจ 6 ประเด็น
5. เลือกแคนดิเดตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่สามารถเป็นผู้พิทักษ์นายกฯตระกูลชินวัตรได้
6. ขอเจรจาต่อรองโผทหารเพื่อให้เกิดความสมดุลทางอำนาจสองฝ่ายมากขึ้น ระหว่างพลังอนุรักษ์กับเพื่อไทย เพื่อตัดปัญหาความเสี่ยงรัฐประหารลง
7. คุณพ่อซึ่งเป็นผู้นำทั้งจิตวิญญาณเพื่อไทยจะลงมาคุมฐานพลังทางการเมืองทั้งในพรรคและนอกพรรคอย่างออกหน้าออกตา เพื่อรับประกันความปลอดภัยของลูกสาวในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
8. คุณแม่ท่านนายกฯคนใหม่จะเข้าสู่สถานะมาดามเบื้องหลังการเมืองอย่างเต็มตัว เพื่อช่วยจัดแจงฉากหลังให้ปลอดภัยกับลูกสาวมากที่สุด และจะขอให้พี่ชายคือพลตำรวจเอกเพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ลงมาช่วยกำกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อช่วยเหลือหลานสาวให้จัดกำลังตำรวจให้เป็นปึกแผ่น
9. การเลือกบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งองค์กรอิสระต่าง ๆ นับจากนี้ จะเจรจากับภูมิใจไทยอย่างใกล้ชิด เพื่อเอาคนของสายชินวัตรเข้าไปร่วมเป็นกรรมการองค์กรอิสระชุดต่าง ๆ แต่ก็ต้องยอมแลกโดยการทุ่มเทเอาใจภูมิใจไทยมากกว่าเดิม
10. เล่นเกมตัดกำลังคู่แข่งมือหนึ่งอย่างอดีตก้าวไกล แม้ว่าฉากหน้าจะยังคงความเป็นมิตรกับอดีตก้าวไกล แต่จะเดินแผนชั้นสองแบบอัตราเร่งเกียร์หก เพื่อบั่นทอนพลังของอดีตพรรคก้าวไกลในนามพรรคประชาชนให้ประสบกับความยากลำบากในการขับเคลื่อน เช่น ผูกคดีต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นตลอดเวลา เร่ง ป.ป.ช.พิจารณา 44 ส.ส.อดีตก้าวไกล ขยายผลสถานภาพความเป็นพรรคประชาชนว่าจะเป็นตามกฏหมายพรรคการเมืองหรือไม่ ฯลฯ เพื่อรับประกันว่าพรรคประชาชนจะไม่มีพลังเพียงพอในการสอยนายกฯอุ๊งอิ๊ง