เมื่อประมวลเหตุการณ์ทางการเมือง ที่เกิดขึ้นตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา สะท้อนความพยายามล้มระบอบประชาธิปไตย เพื่อสร้างสุญญากาศทางการเมืองและเปิดเส้นทางไปสู่การมีนายกรัฐมนตรีคนกลาง หรือนายกรัฐมนตรี มาตรา 7
วันที่ 19 มี.ค.คำตัดสินให้การเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์เป็นโมฆะ ไม่เหนือไปจากความคาดหมายของคนในประเทศ และต่างชาติที่เฝ้าจับตามองสถานการณ์การเมืองไทย หากประมวลเหตุการณ์ตลอดช่วงที่ผ่านมา สอดคล้องและเป็นไปตามสิ่งที่เรียกกันว่า แผนขั้นบันไดล้มรัฐบาลและฝ่ายนิยมประชาธิปไตย เป้าหมาย แช่แข็งประเทศไทย
นับแต่การบอยคอต ขัดขวางเลือกตั้ง จงใจทำให้ 28 เขต ภาคใต้ เปิดสมัครรับเลือกตั้งไม่สำเร็จ กลายเป็นปัญหาให้นำไปสู่การยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ด้วยเหตุผลว่าเป็นการเลือกตั้งที่มิชอบ เพราะไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกันวันเดียว
และระหว่างที่ไม่มีรัฐสภานี้ รัฐธรรมนูญให้วุฒิสภา ทำหน้าที่แทนสมาชิกรัฐสภาทั้งหมด ซึ่ง ส.ว.ที่เหลือในสภา คือ 142 คน แยกเป็น ส.ว.สรรหา 73 คน และ ส.ว.เลือกตั้ง 69 คน ในจำนวนนี้ มี ส.ว.กว่า 50 คนที่ถูกยื่นคำร้องถอดถอนต่อ ป.ป.ช.คดีแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องที่มา ส.ว.
หาก ป.ป.ช.มีมติชี้มูล ส.ว.เหล่านี้จะต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่ทันที นั่นหมายถึง ส.ว.สายสรรหา จะเป็นเสียงข้างมากในสภาทันที ซึ่งอีกฝ่ายยังมีข้อโต้แย้งว่าระหว่างถูกคำร้องถอดถอนนี้ 50 ส.ว.สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เพียงใด
ส่วนกรณี ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ก่อนหน้าตัดสินเลือกตั้งโมฆะเพียงวันเดียว ขั้นตอนจากนี้ ป.ป.ช.จะส่งให้วุฒิสภาถอดถอนโดยเร็วตามรัฐธรรมนูญ ท่ามกลางความพยายามผลักดัน นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว.สรรหา รองประธานวุฒิสภา ขึ้นมาทำหน้าที่แทน เปิดทางสู่การขอนายกรัฐมนตรี มาตรา 7
คู่ขนานไปกับ ฝ่ายรัฐบาล วันที่ 31 มีนาคมนี้ ครบกำหนดที่ ป.ป.ช.ให้นายกรัฐมนตรีชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาคดีรับจำนำข้าว ก่อนลงมติชี้มูลหากผลออกมาว่าผิด นายกรัฐมนตรีต้องยุติปฏิบัติหน้าที่ จากนั้นส่งให้วุฒิสภาถอดถอนด้วยเสียง 3 ใน 5
ผลที่ตามมา รัฐมนตรีทั้งคณะต้องสิ้นสภาพ ตามนายกรัฐมนตรี เข้าสู่สูญญากาศทางการเมือง และเป็นเหตุผลให้วุฒิสภาที่เหลืออยู่ อ้างความเป็นตัวแทนปวงชนชาวไทย ตามมาตรา 3 เสนอชื่อบุคคลที่เห็นสมควรให้เป็นนายกรัฐมนตรี คนกลางตาม มาตรา 7 ด้วยเหตุผลว่าบ้านเมืองอยู่ในภาวะไม่ปกติ ไม่สามารถบังคับใช้รัฐธรรมนูญที่มีอยู่ได้ จึงต้องใช้ประเพณีปฏิบัติจาก 14 ตุลาฯ 2516
วันนี้เหตุการณ์เดินมากว่าครึ่งทางแล้ว และแม้จะบรรลุเป้าหมาย แต่ก็มีคำถามว่านั่นจะเป็นจุดจบหรือเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของวิกฤตครั้งใหญ่ในไทย
ที่มา :
https://www.youtube.com/watch?v=C54SpTwFA3g&feature=youtu.be
24 มีนาคม 2557
ผังล้มประชาธิปไตย แช่แข็งประเทศไทย
เมื่อประมวลเหตุการณ์ทางการเมือง ที่เกิดขึ้นตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา สะท้อนความพยายามล้มระบอบประชาธิปไตย เพื่อสร้างสุญญากาศทางการเมืองและเปิดเส้นทางไปสู่การมีนายกรัฐมนตรีคนกลาง หรือนายกรัฐมนตรี มาตรา 7
วันที่ 19 มี.ค.คำตัดสินให้การเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์เป็นโมฆะ ไม่เหนือไปจากความคาดหมายของคนในประเทศ และต่างชาติที่เฝ้าจับตามองสถานการณ์การเมืองไทย หากประมวลเหตุการณ์ตลอดช่วงที่ผ่านมา สอดคล้องและเป็นไปตามสิ่งที่เรียกกันว่า แผนขั้นบันไดล้มรัฐบาลและฝ่ายนิยมประชาธิปไตย เป้าหมาย แช่แข็งประเทศไทย
นับแต่การบอยคอต ขัดขวางเลือกตั้ง จงใจทำให้ 28 เขต ภาคใต้ เปิดสมัครรับเลือกตั้งไม่สำเร็จ กลายเป็นปัญหาให้นำไปสู่การยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ด้วยเหตุผลว่าเป็นการเลือกตั้งที่มิชอบ เพราะไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกันวันเดียว
และระหว่างที่ไม่มีรัฐสภานี้ รัฐธรรมนูญให้วุฒิสภา ทำหน้าที่แทนสมาชิกรัฐสภาทั้งหมด ซึ่ง ส.ว.ที่เหลือในสภา คือ 142 คน แยกเป็น ส.ว.สรรหา 73 คน และ ส.ว.เลือกตั้ง 69 คน ในจำนวนนี้ มี ส.ว.กว่า 50 คนที่ถูกยื่นคำร้องถอดถอนต่อ ป.ป.ช.คดีแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องที่มา ส.ว.
หาก ป.ป.ช.มีมติชี้มูล ส.ว.เหล่านี้จะต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่ทันที นั่นหมายถึง ส.ว.สายสรรหา จะเป็นเสียงข้างมากในสภาทันที ซึ่งอีกฝ่ายยังมีข้อโต้แย้งว่าระหว่างถูกคำร้องถอดถอนนี้ 50 ส.ว.สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เพียงใด
ส่วนกรณี ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ก่อนหน้าตัดสินเลือกตั้งโมฆะเพียงวันเดียว ขั้นตอนจากนี้ ป.ป.ช.จะส่งให้วุฒิสภาถอดถอนโดยเร็วตามรัฐธรรมนูญ ท่ามกลางความพยายามผลักดัน นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว.สรรหา รองประธานวุฒิสภา ขึ้นมาทำหน้าที่แทน เปิดทางสู่การขอนายกรัฐมนตรี มาตรา 7
คู่ขนานไปกับ ฝ่ายรัฐบาล วันที่ 31 มีนาคมนี้ ครบกำหนดที่ ป.ป.ช.ให้นายกรัฐมนตรีชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาคดีรับจำนำข้าว ก่อนลงมติชี้มูลหากผลออกมาว่าผิด นายกรัฐมนตรีต้องยุติปฏิบัติหน้าที่ จากนั้นส่งให้วุฒิสภาถอดถอนด้วยเสียง 3 ใน 5
ผลที่ตามมา รัฐมนตรีทั้งคณะต้องสิ้นสภาพ ตามนายกรัฐมนตรี เข้าสู่สูญญากาศทางการเมือง และเป็นเหตุผลให้วุฒิสภาที่เหลืออยู่ อ้างความเป็นตัวแทนปวงชนชาวไทย ตามมาตรา 3 เสนอชื่อบุคคลที่เห็นสมควรให้เป็นนายกรัฐมนตรี คนกลางตาม มาตรา 7 ด้วยเหตุผลว่าบ้านเมืองอยู่ในภาวะไม่ปกติ ไม่สามารถบังคับใช้รัฐธรรมนูญที่มีอยู่ได้ จึงต้องใช้ประเพณีปฏิบัติจาก 14 ตุลาฯ 2516
วันนี้เหตุการณ์เดินมากว่าครึ่งทางแล้ว และแม้จะบรรลุเป้าหมาย แต่ก็มีคำถามว่านั่นจะเป็นจุดจบหรือเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของวิกฤตครั้งใหญ่ในไทย
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=C54SpTwFA3g&feature=youtu.be
24 มีนาคม 2557