1.ข้าวยากหมากแพง
กล่าวได้ว่า 'ผลงานชิ้น'โบดำ' ที่ทำให้ประชาชนคนไทยสยองขวัญกับการบริหารงานของรัฐบาลอภิสิทธิ์ก็คือการบริหารงานด้านเศรษฐกิจที่พ่นพิษจนเกิดข้าวยากหมากแพงกันไปทั่วทุกหัวระแหง ทั้งราคาหมู ราคาไข่ ราคาน้ำมัน สินค้าอุปโภคบริโภคแทบทุกรายการพากันปรับตัวสูงขึ้นแบบไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย ทำเอาชนชั้นกลางไปจนถึงคนยากคนจนที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศเดือดร้อนกันไปหมด ที่เคยอิ่มก็เริ่มอด ไอ้ที่อดอยู่แล้วก็ต้องอดอยากยากเข็ญยิ่งกว่าเดิม แม้ล่าสุดรัฐบาลจะประกาศเพิ่มเงินเดือนให้ข้าราชการอีก 5% และปรับขึ้นอัตราจ้างขั้นต่ำอีกวันละ 7-18 บาท แต่ก็ตามไม่ทันราคาสินค้าที่ถาโถมขึ้นราคาอย่างบ้าระห่ำ แต่ที่ทั้งเจ็บทั้งฮาก็คือวิธีการแก้ปัญหาที่อ่อนด้อยทางปัญหาของรัฐบาล อย่างเช่นการแก้ปัญหาไข่แพง ด้วยการประกาศนโยบายเอาไข่ไป 'ชั่งกิโล' ที่หลายคนสงสัยว่ามันจะทำให้ราคาไข่ลดลงได้อย่างไรตราบใดที่ยังไม่มีการแก้ปัญหาเรื่องต้นทุนการผลิต ทั้งเรื่องพันธุ์ไก่และราคาอาหารสัตว์ที่ถูกผูกขาดโดยบริษัทยักษ์ใหญ่ในประเทศ
2.ทุจริตน้ำมันปาล์ม
หนึ่งในสินค้าที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นอย่าไม่เคยปรากฏมาก่อนก็คือ 'น้ำมันปาล์ม' ที่ราคาพุ่งพรวดจากขวดละ 38 บาท ขึ้นไปถึงขวดละ 70บาท อีกทั้งยังขาดตลาดหายากยิ่งกว่าทองคำ จนเกิดปรากฎการณ์ 'มีเงินซื้อ แต่ไม่มีน้ำมันขาย' ทำเอาประชาชนชนและพ่อค้าแม่ขายเดือดร้อนกันถ้วนหน้า ทั้งที่ประเทศไทยนั้นได้ชื่อว่าเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันปาล์มอันดับ 2 ของโลก และที่เจ็บปวดที่สุดก็คือปัญหาราคาน้ำมันปาล์มที่แพงลิบลิ่วและขาดหายไปจากตลาดโดยเกิดจากกลไกตลาดที่ถูกบิดเบือนนั้นเราๆ ท่านๆ ต่างก็รู้กันดีว่าล้วนมาจากน้ำมือของนักการเมืองในรัฐบาลที่พัวพันกับธุรกิจน้ำมันปาล์มนั่นเอง จึงเกิดเป็นปฏิบัติการ 'กักตุน ปั่นราคา ฟันกำไร' จนทำให้ประชาชนเดือดร้อนกันทั้งประเทศ
3. โครงการฉาว...รถเมล์เช่า NGV
ผลงานฉาวลำดับถัดไป คือโครงการเช่ารถเมล์เอ็นจีวี ซึ่งเป็นโครงการที่ริเริ่มมาตั้งแต่ในสมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช (พ.ศ. 2550 - 2551)โดยมีนายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในขณะนั้นเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการเช่ารถเมล์เอ็นจีวีจำนวน 6,000 คัน กำหนดระยะเวลาเช่า 10 ปี มีมูลค่าโครงการกว่า 100,000 ล้านบาท มาใช้ในการให้บริการรถเมล์ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.) เพื่อทดแทนรถเมล์ของ ขสมก. ที่ใช้มาเป็นเวลานาน
ในครั้งนั้นพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นฝ่ายค้านได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่ชอบมาพากล ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน พร้อมทั้งชี้ว่ารัฐมนตรีที่ดำเนินโครงการมีผลประโยชน์ใต้โต๊ะ และหากอนุมัติไปก็จะส่งผลให้กระทรวงคมนาคมเสียหายจำนวนมหาศาล อย่างไรก็ดี โครงการนี้ยังไม่ทันได้ดำเนินการประกวดราคา ก็ต้องระงับไป และถูกถอนเรื่องออกจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเนื่องจากมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางจากสังคม สื่อมวลชน และพรรคฝ่ายค้าน
แต่เมื่อเกิดการพลิกขั้วเปลี่ยนข้างถึงยุคที่พรรคประชาธิปัตย์ได้ขึ้นมาเป็นรัฐบาล มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี มีนายโสภณ ซารัมย์ จากพรรคภูมิใจไทย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นอกจากจะไม่ยกเลิกโครงการเจ้าปัญหาดังกล่าวแล้ว รัฐบาลชุดนี้กลับตัดสินใจว่าจำเป็นต้องการดำเนินโครงการนี้ต่อไป และได้เสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) และ ครม. ได้ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2552 โดยได้มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการจากในสมัยรัฐบาลนายสมัครเป็นการเช่ารถเมล์เอ็นจีวี จำนวน 4,000 คัน (จากเดิม 3,000 คัน) ใช้เงินงบประมาณ 63,000 ล้านบาท (จากเดิม 100,000 ล้านบาท) แต่เนื่องจากถูกวิจารณ์อย่างหนัก โดยเฉพาะประเด็นที่ว่า... ค่าเช่าแพงเกินไปหรือไม่ คุ้มค่าหรือไม่? ทำให้ต้องชะลอโครงการไว้กลางทาง โดยผ่านมาเกือบ 2 ปี จนถึงขณะนี้โครงการก็ยังอยู่ระหว่างการจัดทำร่างขอบเขตงานของโครงการเพื่อดำเนินการในการประกวดราคาต่อไป
4. บัตรสมาร์ทการ์ด...ชาตินี้คงได้ใช้
ปัญหาการออกบัตรประชาชนแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือบัตรสมาร์ทการ์ด ซึ่งล่าช้ามากว่า 3 ปี และยืดเยื้อมาหลายรัฐบาล เมื่อมาถึงรัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธ์ก็เกิดปัญหาเช่นกัน แต่ที่หนักไปกว่านั้นคือไม่ใช่ปัญหาเชิงเทคนิคที่ทำให้กระทรวงมหาดไทยไม่สามารถออกบัตรประชาชนแบบสมาร์ทการ์ดได้ และทำให้ประเทศไทยเป็นชาติเดียวในโลกที่ประชาชนหลายล้านคนไม่มีบัตรประชาชนใช้ และจำต้องถือกระดาษที่เรียกว่า 'บัตรเหลือง' แทนบัตรประชาชนมานานนับปี แต่ต้นเหตุของปัญหาคือความขัดแย้งระหว่างรัฐมนตรีว่าการมหาดไทยจากพรรคภูมิใจไทย กับอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือกระทรวงไอซีที จากพรรคเพื่อแผ่นดิน
แม้ล่าสุด กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยจะประกาศให้ประชาชนที่ถือบัตรเหลืองทยอยเดินทางไปทำบัตรประชาชนแบบสมาร์ทการ์ดได้ตั้งแต่วันที่ 21 มี.ค.2554 ที่ผ่านมา แต่ก็จำกัดจำนวนอยู่ที่ 3 แสนใบเท่านั้น และที่รีบนำบัตรสมาร์ทการ์ดออกมาให้ใช้ก็ไม่ใช่เพราะเล็งเห็นประโยชน์ของประชาชนแต่อย่างใด แต่เป็นเพราะผลพวงเรื่องการเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้นในวันที่ 3 ก.ค.2554 ที่จะถึงนี้ ซึ่งประชาชนจำเป็นต้องแสดงบัตรประชาชนก่อนลงคะแนนเลือกตั้ง
5.ขึ้นเงินเดือนตัวเอง
อีกหนึ่งผลงานฉาวที่ไม่คิดว่านายารัฐมนตรีดีกรีออกซฟอร์ดที่ชื่อ 'อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ' จะกล้าทำ ก็คือการ 'ขึ้นเงินเดือนตัวเอง' โดยที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2553 ได้มีมติให้มีการปรับขึ้นเงินเดือน ส.ส.และ ส.ว. 14.3-14.7% ซึ่งแม้นายอภิสิทธิ์จะเถียงหัวชนฝาว่าไม่ได้เป็นการขึ้นเงินเดือนให้ตัวเอง เพราะมติ ครม.ดังกล่าวไม่ได้ให้ปรับขึ้นเงินเดือนให้ ส.ส.ที่ทำงานอยู่ในสภาขณะนี้ แต่จะมีผลหลังเลือกตั้งสมัยหน้า แต่แม้กระทั่งเด็ก ป.4 ก็รู้ดีว่าไม่ว่าอย่างไรในการเลือกตั้งครั้งหน้า ส.ส.อีกไม่น้อยที่นั่งหน้าสลอนเป็นรัฐบาลอยู่ในขณะนี้ก็ต้องได้รับเลือกตั้งให้กลับเข้ามาทำงานในสภา โดยเฉพาะนายอภิสิทธิ์ ซึ่งเป็นปาร์ตีลิสต์อันดับ 1 ของพรรคประชาธิปัตย์
ที่สำคัญการขึ้นเงินเดือน ส.ส.-ส.ว.ครั้งนี้ ไม่ได้มีใครมาเรียกร้องกดดันใดๆทั้งสิ้น แต่เกิดจากการผลักดันของนายอภิสิทธิ์ ชนิดที่เรียกว่า 'ชงเอง กินเอง' เลยทีเดียว แม้จะมีเสียงคัดค้านจากหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น กลุ่ม 40 ส.ว. , กลุ่มคัดค้านการขึ้นเงินเดือน ส.ส.และ ส.ว. ที่มี นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ เป็นแกนนำ หรือแม้แต่โพลที่สำรวจความคิดเห็นของคนใต้ ที่ระบุว่าไม่เห็นด้วยกับการขึ้นเงินเดือนดังกล่าว แต่นายกฯอภิสิทธิ์ก็ได้ใส่ใจแม้แต่น้อย
สำหรับตัวเลขอัตราเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นนั้น สรุปได้ ดังนี้ • ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้เพิ่มขึ้นจาก 121,990 บาท เป็น 125,590 บาท (เพิ่มขึ้น 3,600 บาท) • ประธานรัฐสภาจาก 115,920 บาท เป็น 125,590 บาท (เพิ่มขึ้น 9,670 บาท) • ประธานวุฒิสภา 110,390 บาท เป็น 119,920 บาท (เพิ่มขึ้น 9,530 บาท) • ผู้นำฝ่ายค้าน 106,360 บาท เป็น 115,740 บาท (เพิ่มขึ้น 9,380 บาท) • ส.ส. และ ส.ว. 104,330 บาท เป็น 113,560 บาท (เพิ่มขึ้น 9,230 บาท)
นอกจากนั้นมติ ครม.ดังกล่าวยังได้ประกาศให้ขึ้นเงินเดือนแก่ปลัดกระทรวง และขึ้นเบี้ยประชุมกรรมาธิการในสภาด้วย โดยปลัดกระทรวง ได้ปรับขึ้นจาก108,480 บาท เป็น 111,810 บาท (เพิ่มขึ้น 3,330 บาท) ส่วนการขึ้นเบี้ยประชุมให้คณะกรรมาธิการนั้น ประธานกรรมาธิการได้ 1,500 บาท , กรรมาธิการได้ 1,200 บาท ส่วนอนุกรรมาธิการ 800 บาท โดยทุกตำแหน่ง ยกเว้น ส.ส. ให้มีผลตั้งแต่ เดือนเมษายน 2554 ส่วน ส.ส.ให้มีผลหลังการเลือกตั้งครั้งหน้า
6. ลอกนโยบายประชานิยม
แม้ว่าพรรคประชาธิปัตย์จะเคยตำหนิติติงนโยบายประชานิยมของพรรคเพื่อไทยมาตั้งแต่ครั้งยังเป็นไทยรักไทย แต่มาถึงวันนี้รัฐบาลประชาธิปัตย์ก็ยอมกลืนน้ำลายตัวเอง ด้วยการประกาศนโยบายประนิยม ภายใต้ชื่อที่สวยหรูว่า “ประชาวิวัฒน์” คิดนอกกฎ บริหารนอกกรอบ ด้วยเล็งเห็นว่าเป็นวิธีที่พรรคเพื่อไทยเคยใช้ได้ผลและสามารถเรียกคะแนนนิยมให้พรรคได้อย่างถล่มทลาย ประชาธิปัตย์จึงต้องหยิบกลยุทธ์เดียวกันนี้มาใช้เพื่อเรียกคะแนนให้กับพรรคในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในระยะเวลาอันใกล้นี้
นโยบายประชาภิวัฒน์ ที่นายกฯอภิสิทธิ์ประกาศออกมาเป็นวาระเร่งด่วน เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2554 นั้น ประกอบด้วยนโยบาย 5 ด้านหลัก ดังนี้ 1. การกระจายที่ดินทำกินและโฉนดชุมชน , การเพิ่มจุดผ่อนผันให้ผู้ค้าจำนวน 20,000 ราย มีพื้นที่ค้าขาย 2. การลดภาระค่าครองชีพของคนที่มีรายได้น้อย โดยให้ประชาชนใช้ไฟฟ้าฟรีสำหรับคนที่ใช้ต่ำกว่า 90 หน่วย แก้ปัญหากองทุนน้ำมัน ด้วยการยกเลิกการตรึงราคา LPG ในภาคอุตสาหกรรม แต่ยังตรึงราคาภาคครัวเรือนและขนส่ง
3. การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจนอกระบบ เช่น ให้คนขับรถแท็กซี่ ผู้ค้าหาบเร่แผงลอย สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยที่เป็นธรรม ขึ้นทะเบียนและจัดระบบมอเตอร์ไซค์รับจ้าง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบสวัสดิการ 4. การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น และ 5. การดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์ โดยให้ประชาชนที่อยู่นอกระบบสามารถทำประกันสังคม โดยสมทบเงิน 100 ต่อเดือน เข้าระบบประกันสังคม , ตั้งเป้าลดปัญหาอาชญากรรมได้ร้อยละ 20 ภายใน 6 เดือน ซึ่งนโยบายหลายอย่างถูกวิจารณ์ว่าเป็นการลอกนโยบายของพรรคเพื่อไทย อีกทั้งยังเป็นการนำเงินภาษีประชาชนมาหาเสียง โดยไม่ได้มีการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน เช่น การให้ประชาชนที่ใช้ไฟน้อยใช้ไฟฟรี แต่กลับไม่แก้ไขปัญหาค่าครองชีพที่ถีบตัวสูงขึ้น
7.ยกแผ่นดินไทยให้เขมร
สำหรับผลงานที่สร้างความเจ็บปวดใจให้แก่คนไทยทั้งประเทศก็คือ ความพยายามในการ 'ยกแผ่นดินไทยให้เขมร' โดยใช้ข้ออ้างเรื่อง MOU43 (บันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก) ที่รัฐบาลประชาธิปัตย์เคยลงนามเอาไว้กับกัมพูชา ขณะที่มีข้อพิพาทเรื่องปราสาทพระวิหาร ในสมัยที่นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี มาเป็นเครื่องมือ ซึ่งไม่ว่ารัฐบาลกัมพูชา ที่มีสมเด็จฮุน เซน เป็นนายกรัฐมนตรี จะละเมิดข้อตกด้วยการให้ทหารและประชาชนเข้ามาบุกรุกยึดครองพื้นที่ของประเทศไทยตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และพื้นที่ 4.6 กิโลเมตรรอบปราสาทพระวิหาร แม้ MOU43 จะห้ามไม่ให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเข้าไปในพื้นที่ทับซ้อน , ให้กองทัพกัมพูชาถล่มยิงเข้ามาในประเทศไทย หรือแสดงความเห็นโจมตีให้ร้ายประเทศไทยอย่างไร แต่รัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ก็ยังยืนยันที่จะ 'เจรจา' กับกัมพูชา อยู่ท่าเดียว โดยอ้างว่าต้องปฏิบัติตามข้อตกลงใน MOU43 ทั้งๆ ที่หลายครั้งหลายครากัมพูชาประกาศชัดว่าจะไม่มีการเจรจากับไทย และรัฐบาลไทยต้องยอมยกแผ่นดินที่สมเด็จฮุน เซนอ้างว่าเป็นของเขมรให้แก่กัมพูชาเท่านั้น
อีกทั้งรัฐบาลและกระทรวงการต่างประเทศของไทยยังยอมเป็นลูกไล่เดินตามเกมกัมพูชาอยู่ตลอดเวลา ล่าสุดกัมพูชายื่นฟ้องต่อศาลโลก เพื่อให้ตีความคำพิพากษาคดีพระวิหาร เมื่อปี 2505ซึ่งนักวิชาการหลายท่านออกมาท้วงติงว่าการนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของศาลโลกในครั้งนี้จะนำไปสู่การเสียดินแดนไทยจำนวนมหาศาล ทั้งในส่วนของพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรรอบปราสาทพระวิหาร และพื้นที่ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชาอีกกว่า 2 ล้านไร่ เนื่องจากกัมพูชาอ้างอิงถึงการใช้แผนที่ 1 ต่อ 200,000 ซึ่งจะทำให้แผนที่กัมพูชาล้ำเข้ามาในเขตไทยมีผลบังคับใช้ แต่นายกฯอภิสิทธิ์ก็ไม่สนใจ แทนที่รัฐบาลไทยจะคัดค้านการนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาคดีของศาลโลก นายอภิสิทธิ์กลับจงใจเดินเข้าไปสู่กับดัก โดยเตรียมทีมสู้คดี หนำซ้ำยังจะแต่งตั้งทนายสัญชาติฝรั่งเศสมาช่วยว่าความให้ฝ่ายไทย ทั้งที่รู้ดีว่าฝรั่งเศสคือประเทศมหาอำนาจที่เขามายึดประสาทพระวิหารซึ่งเป็นของไทยไปให้กัมพูชาซึ่งเป็นประเทศอาณานิคม ดังนั้นแนวโน้มที่ไทยจะพ่ายแพ้ต่อกัมพูชาในครั้งนี้จึงมีให้เห็นอยู่เต็มประตู
** เครดิต
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000061968 **
ตอบที่ผลงานใคร....???
กล่าวได้ว่า 'ผลงานชิ้น'โบดำ' ที่ทำให้ประชาชนคนไทยสยองขวัญกับการบริหารงานของรัฐบาลอภิสิทธิ์ก็คือการบริหารงานด้านเศรษฐกิจที่พ่นพิษจนเกิดข้าวยากหมากแพงกันไปทั่วทุกหัวระแหง ทั้งราคาหมู ราคาไข่ ราคาน้ำมัน สินค้าอุปโภคบริโภคแทบทุกรายการพากันปรับตัวสูงขึ้นแบบไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย ทำเอาชนชั้นกลางไปจนถึงคนยากคนจนที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศเดือดร้อนกันไปหมด ที่เคยอิ่มก็เริ่มอด ไอ้ที่อดอยู่แล้วก็ต้องอดอยากยากเข็ญยิ่งกว่าเดิม แม้ล่าสุดรัฐบาลจะประกาศเพิ่มเงินเดือนให้ข้าราชการอีก 5% และปรับขึ้นอัตราจ้างขั้นต่ำอีกวันละ 7-18 บาท แต่ก็ตามไม่ทันราคาสินค้าที่ถาโถมขึ้นราคาอย่างบ้าระห่ำ แต่ที่ทั้งเจ็บทั้งฮาก็คือวิธีการแก้ปัญหาที่อ่อนด้อยทางปัญหาของรัฐบาล อย่างเช่นการแก้ปัญหาไข่แพง ด้วยการประกาศนโยบายเอาไข่ไป 'ชั่งกิโล' ที่หลายคนสงสัยว่ามันจะทำให้ราคาไข่ลดลงได้อย่างไรตราบใดที่ยังไม่มีการแก้ปัญหาเรื่องต้นทุนการผลิต ทั้งเรื่องพันธุ์ไก่และราคาอาหารสัตว์ที่ถูกผูกขาดโดยบริษัทยักษ์ใหญ่ในประเทศ
2.ทุจริตน้ำมันปาล์ม
หนึ่งในสินค้าที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นอย่าไม่เคยปรากฏมาก่อนก็คือ 'น้ำมันปาล์ม' ที่ราคาพุ่งพรวดจากขวดละ 38 บาท ขึ้นไปถึงขวดละ 70บาท อีกทั้งยังขาดตลาดหายากยิ่งกว่าทองคำ จนเกิดปรากฎการณ์ 'มีเงินซื้อ แต่ไม่มีน้ำมันขาย' ทำเอาประชาชนชนและพ่อค้าแม่ขายเดือดร้อนกันถ้วนหน้า ทั้งที่ประเทศไทยนั้นได้ชื่อว่าเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันปาล์มอันดับ 2 ของโลก และที่เจ็บปวดที่สุดก็คือปัญหาราคาน้ำมันปาล์มที่แพงลิบลิ่วและขาดหายไปจากตลาดโดยเกิดจากกลไกตลาดที่ถูกบิดเบือนนั้นเราๆ ท่านๆ ต่างก็รู้กันดีว่าล้วนมาจากน้ำมือของนักการเมืองในรัฐบาลที่พัวพันกับธุรกิจน้ำมันปาล์มนั่นเอง จึงเกิดเป็นปฏิบัติการ 'กักตุน ปั่นราคา ฟันกำไร' จนทำให้ประชาชนเดือดร้อนกันทั้งประเทศ
3. โครงการฉาว...รถเมล์เช่า NGV
ผลงานฉาวลำดับถัดไป คือโครงการเช่ารถเมล์เอ็นจีวี ซึ่งเป็นโครงการที่ริเริ่มมาตั้งแต่ในสมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช (พ.ศ. 2550 - 2551)โดยมีนายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในขณะนั้นเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการเช่ารถเมล์เอ็นจีวีจำนวน 6,000 คัน กำหนดระยะเวลาเช่า 10 ปี มีมูลค่าโครงการกว่า 100,000 ล้านบาท มาใช้ในการให้บริการรถเมล์ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.) เพื่อทดแทนรถเมล์ของ ขสมก. ที่ใช้มาเป็นเวลานาน
ในครั้งนั้นพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นฝ่ายค้านได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่ชอบมาพากล ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน พร้อมทั้งชี้ว่ารัฐมนตรีที่ดำเนินโครงการมีผลประโยชน์ใต้โต๊ะ และหากอนุมัติไปก็จะส่งผลให้กระทรวงคมนาคมเสียหายจำนวนมหาศาล อย่างไรก็ดี โครงการนี้ยังไม่ทันได้ดำเนินการประกวดราคา ก็ต้องระงับไป และถูกถอนเรื่องออกจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเนื่องจากมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางจากสังคม สื่อมวลชน และพรรคฝ่ายค้าน
แต่เมื่อเกิดการพลิกขั้วเปลี่ยนข้างถึงยุคที่พรรคประชาธิปัตย์ได้ขึ้นมาเป็นรัฐบาล มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี มีนายโสภณ ซารัมย์ จากพรรคภูมิใจไทย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นอกจากจะไม่ยกเลิกโครงการเจ้าปัญหาดังกล่าวแล้ว รัฐบาลชุดนี้กลับตัดสินใจว่าจำเป็นต้องการดำเนินโครงการนี้ต่อไป และได้เสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) และ ครม. ได้ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2552 โดยได้มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการจากในสมัยรัฐบาลนายสมัครเป็นการเช่ารถเมล์เอ็นจีวี จำนวน 4,000 คัน (จากเดิม 3,000 คัน) ใช้เงินงบประมาณ 63,000 ล้านบาท (จากเดิม 100,000 ล้านบาท) แต่เนื่องจากถูกวิจารณ์อย่างหนัก โดยเฉพาะประเด็นที่ว่า... ค่าเช่าแพงเกินไปหรือไม่ คุ้มค่าหรือไม่? ทำให้ต้องชะลอโครงการไว้กลางทาง โดยผ่านมาเกือบ 2 ปี จนถึงขณะนี้โครงการก็ยังอยู่ระหว่างการจัดทำร่างขอบเขตงานของโครงการเพื่อดำเนินการในการประกวดราคาต่อไป
4. บัตรสมาร์ทการ์ด...ชาตินี้คงได้ใช้
ปัญหาการออกบัตรประชาชนแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือบัตรสมาร์ทการ์ด ซึ่งล่าช้ามากว่า 3 ปี และยืดเยื้อมาหลายรัฐบาล เมื่อมาถึงรัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธ์ก็เกิดปัญหาเช่นกัน แต่ที่หนักไปกว่านั้นคือไม่ใช่ปัญหาเชิงเทคนิคที่ทำให้กระทรวงมหาดไทยไม่สามารถออกบัตรประชาชนแบบสมาร์ทการ์ดได้ และทำให้ประเทศไทยเป็นชาติเดียวในโลกที่ประชาชนหลายล้านคนไม่มีบัตรประชาชนใช้ และจำต้องถือกระดาษที่เรียกว่า 'บัตรเหลือง' แทนบัตรประชาชนมานานนับปี แต่ต้นเหตุของปัญหาคือความขัดแย้งระหว่างรัฐมนตรีว่าการมหาดไทยจากพรรคภูมิใจไทย กับอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือกระทรวงไอซีที จากพรรคเพื่อแผ่นดิน
แม้ล่าสุด กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยจะประกาศให้ประชาชนที่ถือบัตรเหลืองทยอยเดินทางไปทำบัตรประชาชนแบบสมาร์ทการ์ดได้ตั้งแต่วันที่ 21 มี.ค.2554 ที่ผ่านมา แต่ก็จำกัดจำนวนอยู่ที่ 3 แสนใบเท่านั้น และที่รีบนำบัตรสมาร์ทการ์ดออกมาให้ใช้ก็ไม่ใช่เพราะเล็งเห็นประโยชน์ของประชาชนแต่อย่างใด แต่เป็นเพราะผลพวงเรื่องการเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้นในวันที่ 3 ก.ค.2554 ที่จะถึงนี้ ซึ่งประชาชนจำเป็นต้องแสดงบัตรประชาชนก่อนลงคะแนนเลือกตั้ง
5.ขึ้นเงินเดือนตัวเอง
อีกหนึ่งผลงานฉาวที่ไม่คิดว่านายารัฐมนตรีดีกรีออกซฟอร์ดที่ชื่อ 'อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ' จะกล้าทำ ก็คือการ 'ขึ้นเงินเดือนตัวเอง' โดยที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2553 ได้มีมติให้มีการปรับขึ้นเงินเดือน ส.ส.และ ส.ว. 14.3-14.7% ซึ่งแม้นายอภิสิทธิ์จะเถียงหัวชนฝาว่าไม่ได้เป็นการขึ้นเงินเดือนให้ตัวเอง เพราะมติ ครม.ดังกล่าวไม่ได้ให้ปรับขึ้นเงินเดือนให้ ส.ส.ที่ทำงานอยู่ในสภาขณะนี้ แต่จะมีผลหลังเลือกตั้งสมัยหน้า แต่แม้กระทั่งเด็ก ป.4 ก็รู้ดีว่าไม่ว่าอย่างไรในการเลือกตั้งครั้งหน้า ส.ส.อีกไม่น้อยที่นั่งหน้าสลอนเป็นรัฐบาลอยู่ในขณะนี้ก็ต้องได้รับเลือกตั้งให้กลับเข้ามาทำงานในสภา โดยเฉพาะนายอภิสิทธิ์ ซึ่งเป็นปาร์ตีลิสต์อันดับ 1 ของพรรคประชาธิปัตย์
ที่สำคัญการขึ้นเงินเดือน ส.ส.-ส.ว.ครั้งนี้ ไม่ได้มีใครมาเรียกร้องกดดันใดๆทั้งสิ้น แต่เกิดจากการผลักดันของนายอภิสิทธิ์ ชนิดที่เรียกว่า 'ชงเอง กินเอง' เลยทีเดียว แม้จะมีเสียงคัดค้านจากหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น กลุ่ม 40 ส.ว. , กลุ่มคัดค้านการขึ้นเงินเดือน ส.ส.และ ส.ว. ที่มี นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ เป็นแกนนำ หรือแม้แต่โพลที่สำรวจความคิดเห็นของคนใต้ ที่ระบุว่าไม่เห็นด้วยกับการขึ้นเงินเดือนดังกล่าว แต่นายกฯอภิสิทธิ์ก็ได้ใส่ใจแม้แต่น้อย
สำหรับตัวเลขอัตราเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นนั้น สรุปได้ ดังนี้ • ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้เพิ่มขึ้นจาก 121,990 บาท เป็น 125,590 บาท (เพิ่มขึ้น 3,600 บาท) • ประธานรัฐสภาจาก 115,920 บาท เป็น 125,590 บาท (เพิ่มขึ้น 9,670 บาท) • ประธานวุฒิสภา 110,390 บาท เป็น 119,920 บาท (เพิ่มขึ้น 9,530 บาท) • ผู้นำฝ่ายค้าน 106,360 บาท เป็น 115,740 บาท (เพิ่มขึ้น 9,380 บาท) • ส.ส. และ ส.ว. 104,330 บาท เป็น 113,560 บาท (เพิ่มขึ้น 9,230 บาท)
นอกจากนั้นมติ ครม.ดังกล่าวยังได้ประกาศให้ขึ้นเงินเดือนแก่ปลัดกระทรวง และขึ้นเบี้ยประชุมกรรมาธิการในสภาด้วย โดยปลัดกระทรวง ได้ปรับขึ้นจาก108,480 บาท เป็น 111,810 บาท (เพิ่มขึ้น 3,330 บาท) ส่วนการขึ้นเบี้ยประชุมให้คณะกรรมาธิการนั้น ประธานกรรมาธิการได้ 1,500 บาท , กรรมาธิการได้ 1,200 บาท ส่วนอนุกรรมาธิการ 800 บาท โดยทุกตำแหน่ง ยกเว้น ส.ส. ให้มีผลตั้งแต่ เดือนเมษายน 2554 ส่วน ส.ส.ให้มีผลหลังการเลือกตั้งครั้งหน้า
6. ลอกนโยบายประชานิยม
แม้ว่าพรรคประชาธิปัตย์จะเคยตำหนิติติงนโยบายประชานิยมของพรรคเพื่อไทยมาตั้งแต่ครั้งยังเป็นไทยรักไทย แต่มาถึงวันนี้รัฐบาลประชาธิปัตย์ก็ยอมกลืนน้ำลายตัวเอง ด้วยการประกาศนโยบายประนิยม ภายใต้ชื่อที่สวยหรูว่า “ประชาวิวัฒน์” คิดนอกกฎ บริหารนอกกรอบ ด้วยเล็งเห็นว่าเป็นวิธีที่พรรคเพื่อไทยเคยใช้ได้ผลและสามารถเรียกคะแนนนิยมให้พรรคได้อย่างถล่มทลาย ประชาธิปัตย์จึงต้องหยิบกลยุทธ์เดียวกันนี้มาใช้เพื่อเรียกคะแนนให้กับพรรคในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในระยะเวลาอันใกล้นี้
นโยบายประชาภิวัฒน์ ที่นายกฯอภิสิทธิ์ประกาศออกมาเป็นวาระเร่งด่วน เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2554 นั้น ประกอบด้วยนโยบาย 5 ด้านหลัก ดังนี้ 1. การกระจายที่ดินทำกินและโฉนดชุมชน , การเพิ่มจุดผ่อนผันให้ผู้ค้าจำนวน 20,000 ราย มีพื้นที่ค้าขาย 2. การลดภาระค่าครองชีพของคนที่มีรายได้น้อย โดยให้ประชาชนใช้ไฟฟ้าฟรีสำหรับคนที่ใช้ต่ำกว่า 90 หน่วย แก้ปัญหากองทุนน้ำมัน ด้วยการยกเลิกการตรึงราคา LPG ในภาคอุตสาหกรรม แต่ยังตรึงราคาภาคครัวเรือนและขนส่ง
3. การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจนอกระบบ เช่น ให้คนขับรถแท็กซี่ ผู้ค้าหาบเร่แผงลอย สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยที่เป็นธรรม ขึ้นทะเบียนและจัดระบบมอเตอร์ไซค์รับจ้าง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบสวัสดิการ 4. การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น และ 5. การดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์ โดยให้ประชาชนที่อยู่นอกระบบสามารถทำประกันสังคม โดยสมทบเงิน 100 ต่อเดือน เข้าระบบประกันสังคม , ตั้งเป้าลดปัญหาอาชญากรรมได้ร้อยละ 20 ภายใน 6 เดือน ซึ่งนโยบายหลายอย่างถูกวิจารณ์ว่าเป็นการลอกนโยบายของพรรคเพื่อไทย อีกทั้งยังเป็นการนำเงินภาษีประชาชนมาหาเสียง โดยไม่ได้มีการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน เช่น การให้ประชาชนที่ใช้ไฟน้อยใช้ไฟฟรี แต่กลับไม่แก้ไขปัญหาค่าครองชีพที่ถีบตัวสูงขึ้น
7.ยกแผ่นดินไทยให้เขมร
สำหรับผลงานที่สร้างความเจ็บปวดใจให้แก่คนไทยทั้งประเทศก็คือ ความพยายามในการ 'ยกแผ่นดินไทยให้เขมร' โดยใช้ข้ออ้างเรื่อง MOU43 (บันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก) ที่รัฐบาลประชาธิปัตย์เคยลงนามเอาไว้กับกัมพูชา ขณะที่มีข้อพิพาทเรื่องปราสาทพระวิหาร ในสมัยที่นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี มาเป็นเครื่องมือ ซึ่งไม่ว่ารัฐบาลกัมพูชา ที่มีสมเด็จฮุน เซน เป็นนายกรัฐมนตรี จะละเมิดข้อตกด้วยการให้ทหารและประชาชนเข้ามาบุกรุกยึดครองพื้นที่ของประเทศไทยตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และพื้นที่ 4.6 กิโลเมตรรอบปราสาทพระวิหาร แม้ MOU43 จะห้ามไม่ให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเข้าไปในพื้นที่ทับซ้อน , ให้กองทัพกัมพูชาถล่มยิงเข้ามาในประเทศไทย หรือแสดงความเห็นโจมตีให้ร้ายประเทศไทยอย่างไร แต่รัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ก็ยังยืนยันที่จะ 'เจรจา' กับกัมพูชา อยู่ท่าเดียว โดยอ้างว่าต้องปฏิบัติตามข้อตกลงใน MOU43 ทั้งๆ ที่หลายครั้งหลายครากัมพูชาประกาศชัดว่าจะไม่มีการเจรจากับไทย และรัฐบาลไทยต้องยอมยกแผ่นดินที่สมเด็จฮุน เซนอ้างว่าเป็นของเขมรให้แก่กัมพูชาเท่านั้น
อีกทั้งรัฐบาลและกระทรวงการต่างประเทศของไทยยังยอมเป็นลูกไล่เดินตามเกมกัมพูชาอยู่ตลอดเวลา ล่าสุดกัมพูชายื่นฟ้องต่อศาลโลก เพื่อให้ตีความคำพิพากษาคดีพระวิหาร เมื่อปี 2505ซึ่งนักวิชาการหลายท่านออกมาท้วงติงว่าการนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของศาลโลกในครั้งนี้จะนำไปสู่การเสียดินแดนไทยจำนวนมหาศาล ทั้งในส่วนของพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรรอบปราสาทพระวิหาร และพื้นที่ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชาอีกกว่า 2 ล้านไร่ เนื่องจากกัมพูชาอ้างอิงถึงการใช้แผนที่ 1 ต่อ 200,000 ซึ่งจะทำให้แผนที่กัมพูชาล้ำเข้ามาในเขตไทยมีผลบังคับใช้ แต่นายกฯอภิสิทธิ์ก็ไม่สนใจ แทนที่รัฐบาลไทยจะคัดค้านการนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาคดีของศาลโลก นายอภิสิทธิ์กลับจงใจเดินเข้าไปสู่กับดัก โดยเตรียมทีมสู้คดี หนำซ้ำยังจะแต่งตั้งทนายสัญชาติฝรั่งเศสมาช่วยว่าความให้ฝ่ายไทย ทั้งที่รู้ดีว่าฝรั่งเศสคือประเทศมหาอำนาจที่เขามายึดประสาทพระวิหารซึ่งเป็นของไทยไปให้กัมพูชาซึ่งเป็นประเทศอาณานิคม ดังนั้นแนวโน้มที่ไทยจะพ่ายแพ้ต่อกัมพูชาในครั้งนี้จึงมีให้เห็นอยู่เต็มประตู
** เครดิต http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000061968 **