ผ่อนพักจิตที่เหนื่อยผ่านการฝึกโยคะ

กระทู้สนทนา
“เป็นที่รู้กันว่าเมื่อใช้แรงกายจนเหน็ดเหนื่อย เช่น หลังการเล่นกีฬา เราก็หยุดพัก หรือเมื่อใช้ร่างกายจนเมื่อยล้า เช่น เดินมาเป็นเวลาพอสมควร เราก็นั่งพัก
จิตมนุษย์ก็เช่นกันเมื่อใช้งานจนอ่อนล้า เช่น คิดงาน วางแผนโครงการ วิเคราะห์ ไตร่ตรอง ตัดสินใจ ฯลฯ เราก็ต้องหยุดพัก
นอกจากวิธี ‘พักจิต’ ที่เราคุ้นเคยมาเป็นอย่างดี คือ การนอนหลับแล้ว
อาสนะ เป็นวิธี ‘พักจิต’ อีกแบบหนึ่ง ตลอดเวลาที่เราทำอาสนะ เมื่อกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ได้รับการเหยียด จิตของเรา ณ ขณะนั้นจะอยู่กับสภาวะ ‘เหยียด-ตึง’ เหล่านี้ ครั้นพอเราคืนจากอาสนะสู่ท่าพัก จิตของเราก็ยังคงอยู่กับสภาวะ ‘หย่อน-คลาย’ ของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก จิตที่อยู่กับ ‘ความรู้สึกเหยียด-คลาย’ ของกายตลอดเวลาที่ทำอาสนะ จิตนั้นก็จะว่างเว้นจากการคิดใดๆ ทั้งปวง อันถือเป็นการ ‘พักจิต’ ไปในตัว

หลังฝึกอาสนะ ผู้ฝึกจึงรู้สึกโปร่งโล่ง สบายใจ ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะเหตุผลดังกล่าวข้างต้นนี่เอง ”

คำบรรยายในชั้นเรียนอาสนะ
ครูฮิโรชิ และครูฮิเดโกะ ไอคะตะ
กรุงเทพฯ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่