รายงานพิเศษ "กว่าชาวอังกฤษจะได้ 1 สิทธิ์ 1 เสียง" ตอนที่ 1
อังกฤษเป็นประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภามาเป็นเวลานาน สมาชิกรัฐสภาในปัจจุบันมาจากการเลือกตั้งของประชาชนแบบ 1 สิทธิ์ ออกเสียงได้ 1 เสียง ก่อนหน้านี้ชาวอังกฤษสามารถออกสิทธิ์ออกเสียงได้หรือไม่ และมีพัฒนาการการลงคะเเนนเสียงอย่างไร
อังกฤษถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีระบบรัฐสภาเข้มแข็ง ทั้งยังเป็นต้นแบบให้กับหลายประเทศบนโลกใบนี้ ที่นำระบบดังกล่าวไปใช้ ทว่า อังกฤษกลับไม่ใช่ชาติแรกในโลกใบนี้ที่ให้สิทธิการลงคะแนนเลือกตั้งผู้แทนแบบ 1 สิทธิ์ 1 เสียง แต่กลับเป็นอาณานิคมของอังกฤษเสียเอง นั่นคือ นิวซีเลนด์ ที่ให้สิทธิลงคะแนนอย่างเท่าเทียมไม่ว่าจะเป็นชาย หญิง หรือ ชนพื้นเมืองอย่างชนเผ่าเมารีในปี 2436
รัฐสภาแห่งอังกฤษ ได้รับการสถาปนาขึ้นในปี พ.ศ.1758 โดยพระเจ้าจอห์นแห่งอังกฤษ หลังจากมหากฎบัตรหรือกฎบัตรแมกนาคาร์ตา ได้รับการตราขึ้นเพื่อจำกัดบทบาททางการเมืองของกษัตริย์อังกฤษ ซึ่งหลายคนเชื่อว่าอำนาจของกษัตริย์ไม่ได้ถูกจำกัดลงแต่อย่างใด ทั้งนี้กฎบัตรดังกล่าว ยังได้คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน และกลายมาเป็นแม่แบบของรัฐธรรมนูญที่วางกรอบกติกาในสังคม
รัฐสภาแห่งอังกฤษ ประกอบด้วย 2 สภา คือ สภาขุนนาง และสภาสามัญชนหรือสภาผู้แทนราษฎร โดยสภาขุนนางนั้นเป็นสภาที่มีอยู่ก่อนหน้ามาเป็นเวลานาน ผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาขุนนาง คือ ขุนนางจากทั่วอังกฤษที่ได้รับการแต่งตั้ง และสืบทอดไปยังลูกหลานเหมือนการได้รับมรดกด้วย
ส่วนสภาสามัญชนนั้นถือเป็นสภาผู้แทนราษฎรสภาแรก ที่ผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาจะได้รับการเลือกตั้ง ซึ่งมักเป็นอัศวิน 2 ราย กระฎุมพี 2 ราย และเสรีชน 2 ราย จากแต่ละเมือง แต่สิทธิการลงคะแนนเสียงยังถูกจำกัดอยู่เฉพาะชนชั้นนำ และผู้แทนเหล่านี้จะต้องได้รับการยอมรับจากขุนนางและกษัตริย์ด้วย
ในช่วงปีพ.ศ. 1808 รัฐสภาอังกฤษพยายามปฏิเสธการอนุมัติแต่งตั้งสมาชิกรัฐสภาของกษัตริย์ภายใต้การนำของซิโมน เดอ มงต์ฟอร์ท เอิร์ลคนที่ 6 แห่งเลสเตอร์เชียร์ ด้วยการแต่งตั้งอัศวินเข้าสู่รัฐสภาเพื่อเข้าไปรักษาผลประโยชน์ของเขตการเลือกตั้งนั้นๆ เหตุการณ์นี้นำไปสู่การสู้รบระหว่างกองทัพของทั้งกษัตริย์และเดอ มงต์ฟอร์ท ซึ่งเขาพ่ายแพ้ต่อกองทัพของพระเจ้าเฮนรี่ที่ 3 อย่างไรก็ตาม การแต่งตั้งอัศวินเข้าสู่รัฐสภาก็เกิดขึ้น
ตลอดระยะเวลา 200 ปีต่อมา มีการถกเถียงถึงการเลือกสมาชิกรัฐสภา ว่าแท้จริงแล้วใครเป็นผู้มีสิทธิออกเสียงกันแน่ ฐานันดรที่อยู่ต่ำลงไปมีสิทธิหรือไม่ จนท้ายที่สุดรัฐสภาจึงได้ลงมติว่า "ชายที่มีมูลค่าทรัพย์สินอย่างน้อย 40 ชิลลิ่ง เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา" ตามพระราชบัญญัติปี 1975
ระบบผู้มีสิทธิเลือกตั้งแบบ 40 ชิลลิ่งนี้ ไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะเวลาหลายร้อยปีจนกระทั่งปี 2375 ผ่านความขัดแย้งระหว่างสถาบันกษัตริย์และรัฐสภาที่มีกระฎุมพีเป็นหัวขบวน จนนำไปสู่สงครามกลางเมือง การขึ้นครองอำนาจของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ที่ทำให้อังกฤษกลายเป็นสาธารณรัฐ การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ในปี 2231 จนนำไปสู่พระราชบัญญัติแห่งสิทธิ การเมืองอังกฤษจึงเดินมาสู่จุดสมดุลผ่านการประนีประนอมอำนาจระหว่างสถาบันกษัตริย์กับรัฐสภา
ที่มา :
http://shows.voicetv.co.th/voice-news/91291.html
16 ธันวาคม 2556
กว่าชาวอังกฤษจะได้ 1 สิทธิ์ 1 เสียง (ตอนที่ 1)
รายงานพิเศษ "กว่าชาวอังกฤษจะได้ 1 สิทธิ์ 1 เสียง" ตอนที่ 1
อังกฤษเป็นประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภามาเป็นเวลานาน สมาชิกรัฐสภาในปัจจุบันมาจากการเลือกตั้งของประชาชนแบบ 1 สิทธิ์ ออกเสียงได้ 1 เสียง ก่อนหน้านี้ชาวอังกฤษสามารถออกสิทธิ์ออกเสียงได้หรือไม่ และมีพัฒนาการการลงคะเเนนเสียงอย่างไร
อังกฤษถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีระบบรัฐสภาเข้มแข็ง ทั้งยังเป็นต้นแบบให้กับหลายประเทศบนโลกใบนี้ ที่นำระบบดังกล่าวไปใช้ ทว่า อังกฤษกลับไม่ใช่ชาติแรกในโลกใบนี้ที่ให้สิทธิการลงคะแนนเลือกตั้งผู้แทนแบบ 1 สิทธิ์ 1 เสียง แต่กลับเป็นอาณานิคมของอังกฤษเสียเอง นั่นคือ นิวซีเลนด์ ที่ให้สิทธิลงคะแนนอย่างเท่าเทียมไม่ว่าจะเป็นชาย หญิง หรือ ชนพื้นเมืองอย่างชนเผ่าเมารีในปี 2436
รัฐสภาแห่งอังกฤษ ได้รับการสถาปนาขึ้นในปี พ.ศ.1758 โดยพระเจ้าจอห์นแห่งอังกฤษ หลังจากมหากฎบัตรหรือกฎบัตรแมกนาคาร์ตา ได้รับการตราขึ้นเพื่อจำกัดบทบาททางการเมืองของกษัตริย์อังกฤษ ซึ่งหลายคนเชื่อว่าอำนาจของกษัตริย์ไม่ได้ถูกจำกัดลงแต่อย่างใด ทั้งนี้กฎบัตรดังกล่าว ยังได้คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน และกลายมาเป็นแม่แบบของรัฐธรรมนูญที่วางกรอบกติกาในสังคม
รัฐสภาแห่งอังกฤษ ประกอบด้วย 2 สภา คือ สภาขุนนาง และสภาสามัญชนหรือสภาผู้แทนราษฎร โดยสภาขุนนางนั้นเป็นสภาที่มีอยู่ก่อนหน้ามาเป็นเวลานาน ผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาขุนนาง คือ ขุนนางจากทั่วอังกฤษที่ได้รับการแต่งตั้ง และสืบทอดไปยังลูกหลานเหมือนการได้รับมรดกด้วย
ส่วนสภาสามัญชนนั้นถือเป็นสภาผู้แทนราษฎรสภาแรก ที่ผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาจะได้รับการเลือกตั้ง ซึ่งมักเป็นอัศวิน 2 ราย กระฎุมพี 2 ราย และเสรีชน 2 ราย จากแต่ละเมือง แต่สิทธิการลงคะแนนเสียงยังถูกจำกัดอยู่เฉพาะชนชั้นนำ และผู้แทนเหล่านี้จะต้องได้รับการยอมรับจากขุนนางและกษัตริย์ด้วย
ในช่วงปีพ.ศ. 1808 รัฐสภาอังกฤษพยายามปฏิเสธการอนุมัติแต่งตั้งสมาชิกรัฐสภาของกษัตริย์ภายใต้การนำของซิโมน เดอ มงต์ฟอร์ท เอิร์ลคนที่ 6 แห่งเลสเตอร์เชียร์ ด้วยการแต่งตั้งอัศวินเข้าสู่รัฐสภาเพื่อเข้าไปรักษาผลประโยชน์ของเขตการเลือกตั้งนั้นๆ เหตุการณ์นี้นำไปสู่การสู้รบระหว่างกองทัพของทั้งกษัตริย์และเดอ มงต์ฟอร์ท ซึ่งเขาพ่ายแพ้ต่อกองทัพของพระเจ้าเฮนรี่ที่ 3 อย่างไรก็ตาม การแต่งตั้งอัศวินเข้าสู่รัฐสภาก็เกิดขึ้น
ตลอดระยะเวลา 200 ปีต่อมา มีการถกเถียงถึงการเลือกสมาชิกรัฐสภา ว่าแท้จริงแล้วใครเป็นผู้มีสิทธิออกเสียงกันแน่ ฐานันดรที่อยู่ต่ำลงไปมีสิทธิหรือไม่ จนท้ายที่สุดรัฐสภาจึงได้ลงมติว่า "ชายที่มีมูลค่าทรัพย์สินอย่างน้อย 40 ชิลลิ่ง เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา" ตามพระราชบัญญัติปี 1975
ระบบผู้มีสิทธิเลือกตั้งแบบ 40 ชิลลิ่งนี้ ไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะเวลาหลายร้อยปีจนกระทั่งปี 2375 ผ่านความขัดแย้งระหว่างสถาบันกษัตริย์และรัฐสภาที่มีกระฎุมพีเป็นหัวขบวน จนนำไปสู่สงครามกลางเมือง การขึ้นครองอำนาจของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ที่ทำให้อังกฤษกลายเป็นสาธารณรัฐ การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ในปี 2231 จนนำไปสู่พระราชบัญญัติแห่งสิทธิ การเมืองอังกฤษจึงเดินมาสู่จุดสมดุลผ่านการประนีประนอมอำนาจระหว่างสถาบันกษัตริย์กับรัฐสภา
ที่มา : http://shows.voicetv.co.th/voice-news/91291.html
16 ธันวาคม 2556