803 ปีของการลงนามในกฎบัตรแมกนา คาร์ตา (15 มกราคม ค.ศ. 1215) ที่
รันนีมีด (Runnymede) ทางตอนล่างของอังกฤษ ซึ่ง ‘แมกนา คาร์ตา’ เป็นข้อตกลงระหว่างกลุ่มขุนนางและกษัตริย์ ที่ว่ากษัตริย์ และข้าราชบริพารของพระองค์จะปกครองประเทศอย่างไร?
กฎบัตรนี้ได้กลายเป็นพื้นฐานทางวัฒนธรรมการเมืองและกฎหมายของสหราชอาณาจักร รวมทั้งอีกหลายๆ ประเทศ และยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาด้วย
Magna Carta Monument at Runnymede
‘แมกนา คาร์ตา’ ถูกร่างขึ้นเพื่อแก้วิกฤติระหว่างพระเจ้าจอห์นและขุนนางของพระองค์ เมื่อปี ค.ศ.1215 โดย
คณะบาทหลวง ขุนนาง และพลเมืองชั้นนำ ต่อมาได้รับการการขัดเกลาแก้ไขในปี ค.ศ. 1216 และอีกครั้งในปี ค.ศ.1225
ปัจจุบันเนื้อหาส่วนมากได้ถูกแก้ไขใหม่แทบทั้งหมดแล้ว แต่หลักการสำคัญบางประการยังคงอยู่จนถึงทุกวันนี้ เช่น
ในมาตรา 39 ที่เขียนว่า “เสรีชนจะถูกจับกุมคุมขังไม่ได้ ยกเว้นโดยการตัดสินตามกฎหมาย โดยคณะลูกขุนหรือตามกฎหมายแห่งรัฐ” และ
ในมาตรา 40 “ห้ามขาย ห้ามปฏิเสธ หรือถ่วงสิทธิ์ส่วนบุคคลหรือความยุติธรรม”
การปกครองประเทศอังกฤษของพระเจ้าจอห์น ไม่เป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก จนทำให้กลุ่มผู้มีอิทธิพลที่สุดสองกลุ่ม คือ กลุ่มขุนนาง และกลุ่มนักบวชได้รวมกันต่อต้านพระองค์ โดยในยุคศักดินาของอังกฤษ การกบฏต่อต้านการปกครองที่ไม่ชอบของกษัตริย์ จะเป็นในลักษณะการ
สนับสนุนให้คู่แข่งในราชบัลลังก์ขึ้นมาครองราชย์แทน แต่เดวิด สตาร์คีย์ นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ ชี้ว่าในช่วงนั้นพระเจ้าจอห์นไม่มีคู่แข่ง ฝ่ายกบฏจึงได้ทำในสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน นั่นคือ
พวกเขาไม่ได้กบฏเพื่อสนับสนุนตัวบุคคล แต่เพื่อแนวความคิด นั่นคือเพื่อปฏิรูปกฎหมายและการปกครองให้อยู่ในรูปแบบของคำปฏิญาณหรือกฎบัตร
ความสำคัญของกฎบัตรแมกนา คาร์ตา มีด้วยกันสองประการ
ประการแรก กฎบัตรนี้ได้สร้างหลักนิติธรรมขึ้นในอังกฤษ เนื่องจากกฎบัตรแมกนา คาร์ตากำหนดว่า
กษัตริย์และขุนนางไม่สามารถประพฤติตนตามอำเภอใจได้ เช่น
การขึ้นอัตราภาษีตามใจชอบ นอกจากนี้ยังได้กำหนดว่า
เสรีชนทุกคนจะต้องได้รับความยุติธรรมและมีสิทธิ์ที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเสรี ประการที่สอง แมกนา คาร์ตาเป็น
จุดเริ่มต้นของวิวัฒนาการสู่การปกครองระบอบรัฐสภาและประชาธิปไตย ตัวกฎบัตรแมกนา คาร์ตาเองไม่ได้ก่อตั้งประชาธิปไตย แต่กระบวนการการมีส่วนร่วมที่ทำให้เกิดข้อตกลงนี้รวมทั้งสมมติฐานที่ว่าทุกคนต้องได้รับความยุติธรรมและความเสมอภาคตามกฎหมายได้เป็นตัวกำหนดแนวทางวัฒนธรรมทางการเมืองของอังกฤษตลอด 800 ปีหลังจากนั้น นั่นคือแนวโน้มที่จะทุกฝ่ายจะประนีประนอมเพื่อพบกันครึ่งทางอย่างให้เกียรติซึ่งกันและกัน
มหากฎบัตร Magna Carta
หลักการเหล่านี้เป็นรากฐานของการพัฒนาไปสู่ระบอบรัฐสภาที่มีบทบาทมั่นคงและเป็นที่ยอมรับในโครงสร้างการปกครองของประเทศ เมื่อการพัฒนาด้านสังคมและเศรษฐกิจก้าวไป (เช่น การปฏิวัติอุตสาหกรรม) องค์ประกอบของสภาก็ขยายมากขึ้นจนมีรูปแบบปัจจุบัน คือ มีสภาล่างหรือสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป และบทบาทของสถาบันกษัตริย์ รัฐบาลและรัฐสภาก็ชัดเจนขึ้นจากธรรมเนียมปฏิบัติและระเบียบแบบแผน
มหากฎบัตรได้รับการปรับปรุงแก้ไขมาโดยตลอดยุคมืด และแก้ไขต่อใน
สมัยราชวงศ์ทิวดอร์และ
ราชวงศ์สจวต และต่อมาในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 (พ.ศ. 2144-2343) ล่วงมาถึงช่วงแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 19 มาตราต่าง ๆ ที่มีเดิมในกฎหมายอังกฤษถูกยกเลิกหรือได้รับการปรับปรุงไปเกือบหมด
ปัจจุบันนี้เนื่องจากสหราชอาณาจักรมีการปกครองระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญที่สมเด็จพระราชินีนาถพระราชทานพระราชอำนาจให้รัฐบาลของพระองค์ใช้ในการปกครองประเทศ หลักการแมกนา คาร์ตาจึงเกี่ยวข้องกับอำนาจการบริหารมากกว่าตัวองค์กษัตริย์หรือพระราชินี
การที่แมกนา คาร์ตา ทำให้เกิดหลักนิติธรรมเป็นการวางรากฐานให้การพัฒนาประชาธิปไตยในระบอบรัฐสภาในอังกฤษและบริเตนใหญ่ ลักษณะวิวัฒนาการของกระบวนการนี้เป็นสิ่งสำคัญ
ศาสตราจารย์ชาร์ลส์ ดาร์วินได้อธิบายทฤษฎีวิวัฒนาการไว้ในหนังสือ “กำเนิดสปีชีส์ (On the Origin of the Species)” ซึ่งแสดงให้เห็นว่า สิ่งมีชีวิตที่ประสบความสำเร็จที่สุด คือสิ่งมีชีวิตที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ในขณะที่สภาพแวดล้อมก็วิวัฒนาการไปด้วย
ชาร์ล ดาร์วิน เจ้าของ "ทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติ"
ผมเชื่อว่าระบบการเมืองก็เช่นกัน ระบบการเมืองควรจะสะท้อนความเชื่อมโยงกับสังคม และวิวัฒนาการไปเรื่อยๆ จากการอภิปรายอย่างมีข้อมูลและสม่ำเสมอในสังคมโดยรวม ลักษณะเช่นนี้ยังคงสืบเนื่องมาถึงการเมืองปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากการลงคะแนนเสียงประชามติเรื่องการแยกตัวเป็นเอกราชของสกอตแลนด์ และประชามติที่กำลังจะมีขึ้นเรื่องสมาชิกภาพของอังกฤษในสหภาพยุโรป
มาตรา39 ในอาคารจัดแสดง Magna Carta
สำหรับประวัติศาสตร์การเมืองของอังกฤษโดยมากแล้ว ระบบการปกครองได้ค่อยๆ วิวัฒนาการมาเรื่อยๆ โดยผ่านการเจรจาและความขัดแย้งซึ่งนำไปสู่ฉันทามติและธรรมเนียมปฏิบัติของผู้มีบทบาท แม้จะมีบางช่วงที่เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่และการปฏิวัติ แต่ก็จะเกิดปฏิกิริยาตอบโต้ซึ่งก็นำไปสู่การประนีประนอมเพื่อพบกันครึ่งทาง ขณะเดียวกันก็ยังคงทำให้เกิดวิวัฒนาการขึ้น กระบวนการแมกนา คาร์ตาเองเป็นตัวอย่างที่ดี
กฎบัตรนี้เสนอโดยกลุ่มกบฏ ได้รับการแก้ไขและเสนอใหม่โดยผู้สนับสนุนกษัตริย์ ก่อนที่กษัตริย์จะนำมาบังคับใช้ด้วยพระองค์เอง ซึ่งหมายความว่าทุกฝ่ายมีส่วนเป็นเจ้าของกฎบัตรนี้ในทางการเมือง และผลที่ได้ก็คือกษัตริย์และชนชั้นผู้มีสิทธิ์ทางการเมืองได้เห็นตรงกันว่าประเทศควรมีการปกครองตามหลักการบางประการ
วิวัฒนาการอีกแบบหนึ่งซึ่งแตกต่างจากที่กล่าวถึงข้างต้นคือการ
เปลี่ยนแปลงจากบนสู่ล่าง เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เป็นระยะๆ ซึ่งผมเชื่อว่าเป็นอุปสรรคต่อการสร้างฉันทามติในสังคม และต่อการสร้างความปรองดองโดยผ่านการอภิปราย ถ้ามีการนำระบบการเมืองใหม่ๆ มาใช้โดยคนกลุ่มเล็กๆ อยู่บ่อยครั้ง ประชาชนในวงกว้างก็ย่อมปราศจากแรงจูงใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการอภิปรายและในกระบวนการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
การปฏิรูปที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมซึ่งเป็นผลมาจากการอภิปรายแสดงความคิดเห็นจะมีทางประสบความสำเร็จมากกว่า และสะท้อนให้เห็นความสนใจที่หลากหลายของสังคม ระบบการเมืองไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยการเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่จะต้องมีการนำระบบมาใช้โดยผนวกกับการปฏิบัติทางการเมือง จารีตประเพณี และวัฒนธรรม เป็นไปไม่ได้ที่รัฐธรรมนูญจะครอบคลุมเหตุการณ์ทุกอย่างที่จะเกิดขึ้นเพื่อควบคุมผู้มีบทบาททางการเมือง และในทางปฏิบัติก็จะมีการหาทางลบข้อจำกัดต่างๆ จึงเป็นการดีกว่าถ้าเราจะใช้เวลาปลูกฝังการศึกษาทางการเมือง และสร้างความเข้าใจในหน้าที่ของพลเมือง หน้าที่ทางการเมือง และวัฒนธรรมทางการเมืองเพื่อหลักการประชาธิปไตยและหลักนิติธรรม
อิทธิพลของแมกนา คาร์ตาไม่ได้จำกัดอยู่ในอังกฤษและสหราชอาณาจักรเท่านั้น ในสหรัฐอเมริกาเองแนวคิดเกี่ยวกับแมกนา คาร์ตาก็มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อ
คำประกาศอิสรภาพ และบัญญัติสิทธิ์ (Bill of Rights) บรรดาผู้พิพากษาในศาลฎีกาของสหรัฐอเมริกาได้อ้างแมกนา คาร์ตาในคำพิพากษากว่า 400 ครั้ง ภาษาที่ใช้ในแมกนา คาร์ตายังได้ปรากฏใน
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนปี ค.ศ. 1948 และนางเอลินอร์ รูสเวลท์ได้อ้างถึงแมกนา คาร์ตาอย่างชัดเจนในการประกาศใช้ปฏิญญาสากลนั้น
มาตรา40ในอาคารจัดแสดง Magna Carta
ผมเชื่อว่าหลักการที่ระบุอยู่ในแมกนา คาร์ตาเป็นหลักการสากลอย่างแท้จริง โดยสรุป แมกนา คาร์ตาวางแนวคิดเกี่ยวกับหลักนิติธรรม และกระบวนการซึ่งได้พัฒนาเป็นระบบรัฐสภา และในเวลาต่อมาเป็นระบบประชาธิปไตยที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม กล่าวง่ายๆ ก็คือ สังคมที่มั่นคงและประสบความสำเร็จที่สุดคือสังคมที่ปฏิบัติต่อพลเมืองอย่างยุติธรรมและเท่าเทียมกัน (หลักนิติธรรม) และคือสังคมที่ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม หรือมีผู้แทนร่วมในการปกครองประเทศ หลักการของแมกนา คาร์ตายังคงเหมาะสมต่อสังคมปัจจุบัน ไม่ใช่เฉพาะในอังกฤษ และในสหราชอาณาจักร แต่ในทุกประเทศที่ต้องการมีประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
ปรับปรุงจากบทความของ
นายมาร์ค เคนท์ อดีตเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย
https://www.thairath.co.th/content/504696
"กฎบัตรแมกนา คาร์ตา" "ความเท่าเทียม" VS. "Natural Selection"
803 ปีของการลงนามในกฎบัตรแมกนา คาร์ตา (15 มกราคม ค.ศ. 1215) ที่รันนีมีด (Runnymede) ทางตอนล่างของอังกฤษ ซึ่ง ‘แมกนา คาร์ตา’ เป็นข้อตกลงระหว่างกลุ่มขุนนางและกษัตริย์ ที่ว่ากษัตริย์ และข้าราชบริพารของพระองค์จะปกครองประเทศอย่างไร? กฎบัตรนี้ได้กลายเป็นพื้นฐานทางวัฒนธรรมการเมืองและกฎหมายของสหราชอาณาจักร รวมทั้งอีกหลายๆ ประเทศ และยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาด้วย
‘แมกนา คาร์ตา’ ถูกร่างขึ้นเพื่อแก้วิกฤติระหว่างพระเจ้าจอห์นและขุนนางของพระองค์ เมื่อปี ค.ศ.1215 โดยคณะบาทหลวง ขุนนาง และพลเมืองชั้นนำ ต่อมาได้รับการการขัดเกลาแก้ไขในปี ค.ศ. 1216 และอีกครั้งในปี ค.ศ.1225
ปัจจุบันเนื้อหาส่วนมากได้ถูกแก้ไขใหม่แทบทั้งหมดแล้ว แต่หลักการสำคัญบางประการยังคงอยู่จนถึงทุกวันนี้ เช่น ในมาตรา 39 ที่เขียนว่า “เสรีชนจะถูกจับกุมคุมขังไม่ได้ ยกเว้นโดยการตัดสินตามกฎหมาย โดยคณะลูกขุนหรือตามกฎหมายแห่งรัฐ” และในมาตรา 40 “ห้ามขาย ห้ามปฏิเสธ หรือถ่วงสิทธิ์ส่วนบุคคลหรือความยุติธรรม”
การปกครองประเทศอังกฤษของพระเจ้าจอห์น ไม่เป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก จนทำให้กลุ่มผู้มีอิทธิพลที่สุดสองกลุ่ม คือ กลุ่มขุนนาง และกลุ่มนักบวชได้รวมกันต่อต้านพระองค์ โดยในยุคศักดินาของอังกฤษ การกบฏต่อต้านการปกครองที่ไม่ชอบของกษัตริย์ จะเป็นในลักษณะการสนับสนุนให้คู่แข่งในราชบัลลังก์ขึ้นมาครองราชย์แทน แต่เดวิด สตาร์คีย์ นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ ชี้ว่าในช่วงนั้นพระเจ้าจอห์นไม่มีคู่แข่ง ฝ่ายกบฏจึงได้ทำในสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน นั่นคือ พวกเขาไม่ได้กบฏเพื่อสนับสนุนตัวบุคคล แต่เพื่อแนวความคิด นั่นคือเพื่อปฏิรูปกฎหมายและการปกครองให้อยู่ในรูปแบบของคำปฏิญาณหรือกฎบัตร
ความสำคัญของกฎบัตรแมกนา คาร์ตา มีด้วยกันสองประการ ประการแรก กฎบัตรนี้ได้สร้างหลักนิติธรรมขึ้นในอังกฤษ เนื่องจากกฎบัตรแมกนา คาร์ตากำหนดว่ากษัตริย์และขุนนางไม่สามารถประพฤติตนตามอำเภอใจได้ เช่น การขึ้นอัตราภาษีตามใจชอบ นอกจากนี้ยังได้กำหนดว่าเสรีชนทุกคนจะต้องได้รับความยุติธรรมและมีสิทธิ์ที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเสรี ประการที่สอง แมกนา คาร์ตาเป็นจุดเริ่มต้นของวิวัฒนาการสู่การปกครองระบอบรัฐสภาและประชาธิปไตย ตัวกฎบัตรแมกนา คาร์ตาเองไม่ได้ก่อตั้งประชาธิปไตย แต่กระบวนการการมีส่วนร่วมที่ทำให้เกิดข้อตกลงนี้รวมทั้งสมมติฐานที่ว่าทุกคนต้องได้รับความยุติธรรมและความเสมอภาคตามกฎหมายได้เป็นตัวกำหนดแนวทางวัฒนธรรมทางการเมืองของอังกฤษตลอด 800 ปีหลังจากนั้น นั่นคือแนวโน้มที่จะทุกฝ่ายจะประนีประนอมเพื่อพบกันครึ่งทางอย่างให้เกียรติซึ่งกันและกัน
หลักการเหล่านี้เป็นรากฐานของการพัฒนาไปสู่ระบอบรัฐสภาที่มีบทบาทมั่นคงและเป็นที่ยอมรับในโครงสร้างการปกครองของประเทศ เมื่อการพัฒนาด้านสังคมและเศรษฐกิจก้าวไป (เช่น การปฏิวัติอุตสาหกรรม) องค์ประกอบของสภาก็ขยายมากขึ้นจนมีรูปแบบปัจจุบัน คือ มีสภาล่างหรือสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป และบทบาทของสถาบันกษัตริย์ รัฐบาลและรัฐสภาก็ชัดเจนขึ้นจากธรรมเนียมปฏิบัติและระเบียบแบบแผน
มหากฎบัตรได้รับการปรับปรุงแก้ไขมาโดยตลอดยุคมืด และแก้ไขต่อในสมัยราชวงศ์ทิวดอร์และราชวงศ์สจวต และต่อมาในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 (พ.ศ. 2144-2343) ล่วงมาถึงช่วงแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 19 มาตราต่าง ๆ ที่มีเดิมในกฎหมายอังกฤษถูกยกเลิกหรือได้รับการปรับปรุงไปเกือบหมด
ปัจจุบันนี้เนื่องจากสหราชอาณาจักรมีการปกครองระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญที่สมเด็จพระราชินีนาถพระราชทานพระราชอำนาจให้รัฐบาลของพระองค์ใช้ในการปกครองประเทศ หลักการแมกนา คาร์ตาจึงเกี่ยวข้องกับอำนาจการบริหารมากกว่าตัวองค์กษัตริย์หรือพระราชินี
การที่แมกนา คาร์ตา ทำให้เกิดหลักนิติธรรมเป็นการวางรากฐานให้การพัฒนาประชาธิปไตยในระบอบรัฐสภาในอังกฤษและบริเตนใหญ่ ลักษณะวิวัฒนาการของกระบวนการนี้เป็นสิ่งสำคัญ ศาสตราจารย์ชาร์ลส์ ดาร์วินได้อธิบายทฤษฎีวิวัฒนาการไว้ในหนังสือ “กำเนิดสปีชีส์ (On the Origin of the Species)” ซึ่งแสดงให้เห็นว่า สิ่งมีชีวิตที่ประสบความสำเร็จที่สุด คือสิ่งมีชีวิตที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ในขณะที่สภาพแวดล้อมก็วิวัฒนาการไปด้วย
ผมเชื่อว่าระบบการเมืองก็เช่นกัน ระบบการเมืองควรจะสะท้อนความเชื่อมโยงกับสังคม และวิวัฒนาการไปเรื่อยๆ จากการอภิปรายอย่างมีข้อมูลและสม่ำเสมอในสังคมโดยรวม ลักษณะเช่นนี้ยังคงสืบเนื่องมาถึงการเมืองปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากการลงคะแนนเสียงประชามติเรื่องการแยกตัวเป็นเอกราชของสกอตแลนด์ และประชามติที่กำลังจะมีขึ้นเรื่องสมาชิกภาพของอังกฤษในสหภาพยุโรป
สำหรับประวัติศาสตร์การเมืองของอังกฤษโดยมากแล้ว ระบบการปกครองได้ค่อยๆ วิวัฒนาการมาเรื่อยๆ โดยผ่านการเจรจาและความขัดแย้งซึ่งนำไปสู่ฉันทามติและธรรมเนียมปฏิบัติของผู้มีบทบาท แม้จะมีบางช่วงที่เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่และการปฏิวัติ แต่ก็จะเกิดปฏิกิริยาตอบโต้ซึ่งก็นำไปสู่การประนีประนอมเพื่อพบกันครึ่งทาง ขณะเดียวกันก็ยังคงทำให้เกิดวิวัฒนาการขึ้น กระบวนการแมกนา คาร์ตาเองเป็นตัวอย่างที่ดี
กฎบัตรนี้เสนอโดยกลุ่มกบฏ ได้รับการแก้ไขและเสนอใหม่โดยผู้สนับสนุนกษัตริย์ ก่อนที่กษัตริย์จะนำมาบังคับใช้ด้วยพระองค์เอง ซึ่งหมายความว่าทุกฝ่ายมีส่วนเป็นเจ้าของกฎบัตรนี้ในทางการเมือง และผลที่ได้ก็คือกษัตริย์และชนชั้นผู้มีสิทธิ์ทางการเมืองได้เห็นตรงกันว่าประเทศควรมีการปกครองตามหลักการบางประการ
วิวัฒนาการอีกแบบหนึ่งซึ่งแตกต่างจากที่กล่าวถึงข้างต้นคือการเปลี่ยนแปลงจากบนสู่ล่าง เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เป็นระยะๆ ซึ่งผมเชื่อว่าเป็นอุปสรรคต่อการสร้างฉันทามติในสังคม และต่อการสร้างความปรองดองโดยผ่านการอภิปราย ถ้ามีการนำระบบการเมืองใหม่ๆ มาใช้โดยคนกลุ่มเล็กๆ อยู่บ่อยครั้ง ประชาชนในวงกว้างก็ย่อมปราศจากแรงจูงใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการอภิปรายและในกระบวนการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
การปฏิรูปที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมซึ่งเป็นผลมาจากการอภิปรายแสดงความคิดเห็นจะมีทางประสบความสำเร็จมากกว่า และสะท้อนให้เห็นความสนใจที่หลากหลายของสังคม ระบบการเมืองไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยการเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่จะต้องมีการนำระบบมาใช้โดยผนวกกับการปฏิบัติทางการเมือง จารีตประเพณี และวัฒนธรรม เป็นไปไม่ได้ที่รัฐธรรมนูญจะครอบคลุมเหตุการณ์ทุกอย่างที่จะเกิดขึ้นเพื่อควบคุมผู้มีบทบาททางการเมือง และในทางปฏิบัติก็จะมีการหาทางลบข้อจำกัดต่างๆ จึงเป็นการดีกว่าถ้าเราจะใช้เวลาปลูกฝังการศึกษาทางการเมือง และสร้างความเข้าใจในหน้าที่ของพลเมือง หน้าที่ทางการเมือง และวัฒนธรรมทางการเมืองเพื่อหลักการประชาธิปไตยและหลักนิติธรรม
อิทธิพลของแมกนา คาร์ตาไม่ได้จำกัดอยู่ในอังกฤษและสหราชอาณาจักรเท่านั้น ในสหรัฐอเมริกาเองแนวคิดเกี่ยวกับแมกนา คาร์ตาก็มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อคำประกาศอิสรภาพ และบัญญัติสิทธิ์ (Bill of Rights) บรรดาผู้พิพากษาในศาลฎีกาของสหรัฐอเมริกาได้อ้างแมกนา คาร์ตาในคำพิพากษากว่า 400 ครั้ง ภาษาที่ใช้ในแมกนา คาร์ตายังได้ปรากฏในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนปี ค.ศ. 1948 และนางเอลินอร์ รูสเวลท์ได้อ้างถึงแมกนา คาร์ตาอย่างชัดเจนในการประกาศใช้ปฏิญญาสากลนั้น
ผมเชื่อว่าหลักการที่ระบุอยู่ในแมกนา คาร์ตาเป็นหลักการสากลอย่างแท้จริง โดยสรุป แมกนา คาร์ตาวางแนวคิดเกี่ยวกับหลักนิติธรรม และกระบวนการซึ่งได้พัฒนาเป็นระบบรัฐสภา และในเวลาต่อมาเป็นระบบประชาธิปไตยที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม กล่าวง่ายๆ ก็คือ สังคมที่มั่นคงและประสบความสำเร็จที่สุดคือสังคมที่ปฏิบัติต่อพลเมืองอย่างยุติธรรมและเท่าเทียมกัน (หลักนิติธรรม) และคือสังคมที่ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม หรือมีผู้แทนร่วมในการปกครองประเทศ หลักการของแมกนา คาร์ตายังคงเหมาะสมต่อสังคมปัจจุบัน ไม่ใช่เฉพาะในอังกฤษ และในสหราชอาณาจักร แต่ในทุกประเทศที่ต้องการมีประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
ปรับปรุงจากบทความของ นายมาร์ค เคนท์ อดีตเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย
https://www.thairath.co.th/content/504696