เห็นได้อย่างชัดเจนว่า
นศ. ไม่สนใจเลยว่าผลกระทบที่ได้นักการเมือง
มาจากการเลือกตั้งได้สร้างความเสียหาย
ต่อประเทศชาติหรือไม่อย่างไร ?
คล้ายกับว่าอะไรก็ตามที่มาจากการเลือกตั้ง
ถือเป็นสูตรความสำเร็จที่ตายตัว
และสิ่งใดก็ตามที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งนั้น
ถือว่าเป็นสูตรความล้มเหลวที่ตายตัวเช่นกัน
ล่าสุดมีการนำเสนอข่าวชิ้นหนึ่งจากสื่อฝรั่งเศส
โดยอ้างถึงคำให้สัมภาษณ์ของรัฐมนตรีเศรษฐกิจ
ที่พูดถึงความล้มเหลวของการปกครอง
ในระบอบประชาธิปไตย
ก็น่าพิจารณาเป็นอย่างยิ่งว่า
สาระของการให้สัมภาษณ์ดังกล่าว
สะท้อนให้เห็นว่าประชาธิปไตยหรือการเลือกตั้ง
ไม่ใช่สูตรความสำเร็จที่ตายตัว
ซึ่งเป็นสิ่งที่นศ.กลุ่มประชาธิปไตยใหม่
จะได้นำไปพิจารณาเปรียบเทียบด้วยใช่หรือไม่ ?
เมื่อวันที่ 8 ก.ค.58 Sputnik news พาดหัวข่าว
เรื่องหนึ่งว่า “Long Live the King
French Minister Misses Monarchy,
Slams Democracy” แปลว่า
“ทีฆายุโก โหตุ มหาราชา ขอพระองค์
ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
รัฐมนตรีฝรั่งเศสคิดถึงระบอบกษัตริย์
จวกระบอบประชาธิปไตย”
นอกจากนี้สื่อฯรัสเซียพาดหัวข่าวรองว่า
“นาย Emmanuel Macron
รมว.กระทรวงเศรษฐกิจของฝรั่งเศส
ให้สำภาษณ์กับนิตยสาร Le 1 Hebdo
อ้างโดย
หนังสือพิมพ์รายวัน Le Figaro ของฝรั่งเศส
ว่าฝรั่งเศส
จำเป็นต้องหวนกลับไปใช้ระบอบการปกครอง
แบบกษัตริย์ (monarchy)
เนื่องจากระบบประชาธิปไตยไร้ความสามารถ
และนำพาประเทศดิ่งเหว”
นอกจากนี้รัฐมนตรี Emmanuel Macron
บอกว่ารู้สึกเสียใจที่ระบอบกษัตริย์หายไป
จากการเมืองของฝรั่งเศส
และหนังสือพิมพ์ Le Figaro อ้างคำพูดของเขา
ว่า “ประชาธิปไตยมักจะหมายถึง
ความไม่สมบูรณ์บางอย่าง
เนื่องจากมันไม่เพียงพอในตัวเอง”
Emmanuel Macron กล่าวต่อว่า
“ชีวิตทางการเมืองของฝรั่งเศส
กำลังสูญเสียภาพ ที่เข้มแข็งไป
คนบางคนที่มีความเด็ดเดี่ยวในการนำพาฝรั่งเศส
มันเป็นช่วงเวลาที่นโปเลียนใหม่จะปรากฏขึ้นมา”
ถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ปกติ
ที่รัฐมนตรีของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งขึ้นชื่อ
ว่าเป็นประเทศที่เป็นหนึ่งในต้นตำหรับ
ของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ได้ออกมาพูดถึงข้อบกพร่อง
ของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
แสดงให้เห็นว่าประชาธิปไตย
และการเลือกตั้งไม่ใช่สูตรสำเร็จ
ของการปกครองประเทศเสมอไปใช่หรือไม่ ?
รูปแบบของรัฐบาลในระบอบการปกครอง
แบบประชาธิปไตย แบ่งออกเป็น 3 ระบอบ คือ
1.ระบบการปกครองแบบรัฐสภา
2.ระบบการปกครองแบบประธานาธิบดี
3.ระบบการปกครองแบบกึ่งประธานาธิบดี
ประเทศฝรั่งเศส
เป็นประเทศที่ยึดระบบของกฎหมายตามรูปแบบ
ของระบบกฎหมายแบบโรมาโน-เยอรมันนิค
(Romano Germanic) หรือที่รู้จักกันนามของ
Civil Law กฎหมายรูปแบบนี้ คือ
มีลักษณะพิเศษ มีการเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร
เดิมทีประเทศฝรั่งเศส
ปกครองในระบบสมบูรณาญาสิทธิราช
โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ประวัติศาสตร์ของรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส
เริ่มต้นจากที่ฝรั่งเศสทำสงครามกับอังกฤษ
ในปี (ค.ศ 1396 – 1454) หรือที่เรียกว่า
สงครามร้อยปี ( Hundred Years Wars)
โดยสงครามร้อยปี ( Hundred Years Wars)
ทำให้ดินแดนฝรั่งเศสที่เคยเป็นของอังกฤษ
กลับมาเป็นของฝรั่งเศสอย่างแท้จริง
ผลของสงครามร้อยปี ทำให้พระราชอำนาจ
ของพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสมีมากขึ้น
ขุนนางฝรั่งเศสจึงมอบความไว้วางใจในด้านต่างๆ
เช่น การเก็บภาษี
กษัตริย์ฝรั่งเศส
ไม่ต้องขออนุมัติจากสภาฐานันดร
(Estate General)
ไม่มีการเรียกร้องให้กษัตริย์
เปิดการประชุมสภานับเป็นเวลากว่าร้อยปี
สภาวะการณ์เช่นนี้ทำให้พระราชอำนาจ
ของพระมหากษัตริย์เพิ่มสูงยิ่งขึ้น
จนสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
แห่ง ราชวงศ์บูรบง สถาบันกษัตริย์ของฝรั่งเศส
ก้าวเข้าสู่ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชอย่างแท้จริง
โดยคำกล่าวของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
ที่ว่า “I am the state”
สภาพสมบูรณาญาสิทธิราชในฝรั่งเศส
ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งในยุคต่อมาอย่างรุนแรง
เมื่อถึงสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16
เกิดการปฏิวัติใหญ่ในเดือน สิงหาคม 1789
ภายหลังการปฏิวิติใหญ่
ประเทศฝรั่งเศส
ได้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ขึ้นมา
ฝรั่งเศสได้ก้าวเข้าสู่ยุคแห่งสิทธิเสรีภาพ
หลังจากนั้น
ได้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญอีกหลายฉบับ
ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ที่เกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้ง
และในการเปลี่ยนแปลงการปกครองแต่ละครั้ง
ก็จะมีรัฐธรรมนูญใหม่เกิดขึ้น จนกระทั่งปัจจุบัน
รัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ คือ
รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณฝรั่งเศส ปี ค.ศ 1958
โดยจัดทำขึ้นในสมัย
ประธานาธิบดี ชาล์ล เดอ โกล
เนื้อหาสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญของฝรั่งเศส
คือ การบัญญัติเกี่ยวกับโครงสร้างอำนาจ
และการปกครองของประเทศฝรั่งเศส
ซึ่งสามารถกล่าวโดยสังเขปได้ ดังต่อไปนี้
ส่วนโครงสร้างอำนาจและการปกครอง
ในรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส
มีบทบัญญัติทั้งสิ้น 89 มาตรา
โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 17 หมวด
ได้มีการกล่าวถึงโครงสร้างการปกครอง
ของประเทศฝรั่งเศสไว้ดังต่อไปนี้
- รูปแบบของรัฐและรูปแบบการปกครอง
ประเทศฝรั่งเศสปกครองในรูปแบบของสาธารณรัฐ
มีลักษณะเป็นรัฐเดี่ยวไม่สามารถแบ่งแยกได้
มีภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาประจำชาติ
มีเพลง ลา มาร์ซัยแยส เป็นเพลงประจำชาติ
มีธงสามสี คือ สีน้ำเงิน สีขาวและสีแดง
เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ
คติของรัฐ คือ เสรีภาพ เสมอภาคและภราดรภาพ
นอกจากนี้ฝรั่งเศสยังมีหลักการของชาติ
ซึ่งได้แก่ รัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน
และเพื่อประชาชน
ในส่วนของรูปแบบการปกครอง
ของประเทศฝรั่งเศสนั้น
มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ในระบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี
กล่าวคือ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข
หรือผู้นำของสาธารณรัฐ
และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายรัฐบาล
ซึ่งนายกรัฐมนตรี
มาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดี
โดยการปกครองของฝรั่งเศสนั้น
เน้นตามคติของชาติ
คือ เสรีภาพ เสมอภาคและภราดรภาพ เป็นหลัก
สาธารณรัฐรับรองความเสมอภาคของประชาชน
ตามกฎหมายโดยไม่แบ่งแยกแหล่งกำเนิด
เชื้อชาติ และศาสนา และเคารพในความเชื่อ
ของทุกนิกาย
โดยหลักการปกครอง
ของประเทศฝรั่งเศส ได้ยึดหลัก
ที่ว่าด้วยอำนาจอธิปไตย
คือ อำนาจอธิปไตยของชาติเป็นของประชาชน
ซึ่งเป็นการผสมผสานกันระหว่างทฤษฎี
ว่าด้วยอำนาจอธิปไตยของ ซีเอเยส
ซึ่งกล่าวว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ
และทฤษฎีของ ฌอง ฌาคส์ รุสโซ ที่ว่า
อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน
สถาบันที่ใช้อำนาจอธิปไตย
สามารถแบ่งได้ออกเป็น 3 สถาบัน คือ
สถาบันนิติบัญญัติ
สถาบันบริหาร
และสถาบันตุลาการ
สถาบันนิติบัญญัติ
หรือรัฐสภาของฝรั่งเศส ตามรัฐธรรมนูญ
ของประเทศได้บัญญัติไว้ว่า รัฐสภาของฝรั่งเศส
เป็นแบบสภาคู่
ซึ่งประกอบด้วย 2 สภา คือ
สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรง
ของประชาชน และวุฒิสภา ซึ่งเป็นตัวแทน
ขององค์กรปกครองท้องถิ่นในสาธารณรัฐ
ได้มาจากการเลือกตั้งโดยอ้อม
ทั้งนี้ประชาชนชาวฝรั่งเศส
ที่อยู่นอกราชอาณาจักรต้องมีผู้แทนในวุฒิสภาด้วย
ในส่วนของสภาผู้แทนราษฎรนั้น
ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนทั้งสิ้น 570 คน
และดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี
ส่วนวุฒิสภามีสมาชิกทั้งสิ้น 304 คน
โดยดำรงตำแหน่งได้คราวละ 9 ปี
สถาบันบริหาร
หรือรัฐบาลหรือรัฐธรรมนูญกำหนดว่า
อำนาจหน้าที่ของรัฐบาลเป็นการแบ่งกัน
ระหว่างประธานาธิบดีในฐานะผู้นำประเทศ
ของนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล
เรียกว่า ทวิภาคของฝ่ายบริหาร
ซึ่งหมายถึงการที่ฝ่ายบริหาร
มีผู้มีอำนาจสั่งการ 2 คนด้วยกัน
และทั้ง 2 คน
ต้องบริหารประเทศด้วยกันภายใต้กฎเกณฑ์
ที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้
ประธานาธิบดีแห่งรัฐ
ซึ่งเป็นตำแหน่งประมุขแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน
โดยมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 7 ปี
ฝรั่งเศสนับเป็นประเทศหนึ่งที่มีความสมบรูณ์
และเป็นต้นแบบของการปกครอง
ระบอบประชาธิปไตย
เป็นเรื่องที่กลุ่ม
นศ.ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ทราบดี
เพราะฉะนั้น
เมื่อบุคคลที่เป็นระดับถึงรัฐมนตรีของฝรั่งเศส
ออกมาพูดถึงข้อบกพร่องของการปกครอง
ในระบอบประชาธิปไตย
นศ.ทั้ง14คน
ก็ควรที่จะได้พิจารณาใช่หรือไม่ ?
ว่าสิ่งที่ตนเองกำลังมีความเชื่อมั่น
และเรียกร้องอยู่ ณ. ขณะนี้ ก็ไม่ใช่สูตรตายตัว
ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จทางด้านการปกครอง
ของประเทศเสมอไป
หรือในใจก็รู้อยู่แล้วว่า อะไรเป็นอะไร
แต่ต้องการปัจจัยอื่นๆ
นศ.ดาวดินไม่สนใจเลยว่าผลกระทบที่ได้นักการเมือง มาจากการเลือกตั้งได้สร้างความเสียหาย ต่อประเทศชาติ ?
นศ. ไม่สนใจเลยว่าผลกระทบที่ได้นักการเมือง
มาจากการเลือกตั้งได้สร้างความเสียหาย
ต่อประเทศชาติหรือไม่อย่างไร ?
คล้ายกับว่าอะไรก็ตามที่มาจากการเลือกตั้ง
ถือเป็นสูตรความสำเร็จที่ตายตัว
และสิ่งใดก็ตามที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งนั้น
ถือว่าเป็นสูตรความล้มเหลวที่ตายตัวเช่นกัน
ล่าสุดมีการนำเสนอข่าวชิ้นหนึ่งจากสื่อฝรั่งเศส
โดยอ้างถึงคำให้สัมภาษณ์ของรัฐมนตรีเศรษฐกิจ
ที่พูดถึงความล้มเหลวของการปกครอง
ในระบอบประชาธิปไตย
ก็น่าพิจารณาเป็นอย่างยิ่งว่า
สาระของการให้สัมภาษณ์ดังกล่าว
สะท้อนให้เห็นว่าประชาธิปไตยหรือการเลือกตั้ง
ไม่ใช่สูตรความสำเร็จที่ตายตัว
ซึ่งเป็นสิ่งที่นศ.กลุ่มประชาธิปไตยใหม่
จะได้นำไปพิจารณาเปรียบเทียบด้วยใช่หรือไม่ ?
เมื่อวันที่ 8 ก.ค.58 Sputnik news พาดหัวข่าว
เรื่องหนึ่งว่า “Long Live the King
French Minister Misses Monarchy,
Slams Democracy” แปลว่า
“ทีฆายุโก โหตุ มหาราชา ขอพระองค์
ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
รัฐมนตรีฝรั่งเศสคิดถึงระบอบกษัตริย์
จวกระบอบประชาธิปไตย”
นอกจากนี้สื่อฯรัสเซียพาดหัวข่าวรองว่า
“นาย Emmanuel Macron
รมว.กระทรวงเศรษฐกิจของฝรั่งเศส
ให้สำภาษณ์กับนิตยสาร Le 1 Hebdo
อ้างโดย
หนังสือพิมพ์รายวัน Le Figaro ของฝรั่งเศส
ว่าฝรั่งเศส
จำเป็นต้องหวนกลับไปใช้ระบอบการปกครอง
แบบกษัตริย์ (monarchy)
เนื่องจากระบบประชาธิปไตยไร้ความสามารถ
และนำพาประเทศดิ่งเหว”
นอกจากนี้รัฐมนตรี Emmanuel Macron
บอกว่ารู้สึกเสียใจที่ระบอบกษัตริย์หายไป
จากการเมืองของฝรั่งเศส
และหนังสือพิมพ์ Le Figaro อ้างคำพูดของเขา
ว่า “ประชาธิปไตยมักจะหมายถึง
ความไม่สมบูรณ์บางอย่าง
เนื่องจากมันไม่เพียงพอในตัวเอง”
Emmanuel Macron กล่าวต่อว่า
“ชีวิตทางการเมืองของฝรั่งเศส
กำลังสูญเสียภาพ ที่เข้มแข็งไป
คนบางคนที่มีความเด็ดเดี่ยวในการนำพาฝรั่งเศส
มันเป็นช่วงเวลาที่นโปเลียนใหม่จะปรากฏขึ้นมา”
ถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ปกติ
ที่รัฐมนตรีของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งขึ้นชื่อ
ว่าเป็นประเทศที่เป็นหนึ่งในต้นตำหรับ
ของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ได้ออกมาพูดถึงข้อบกพร่อง
ของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
แสดงให้เห็นว่าประชาธิปไตย
และการเลือกตั้งไม่ใช่สูตรสำเร็จ
ของการปกครองประเทศเสมอไปใช่หรือไม่ ?
รูปแบบของรัฐบาลในระบอบการปกครอง
แบบประชาธิปไตย แบ่งออกเป็น 3 ระบอบ คือ
1.ระบบการปกครองแบบรัฐสภา
2.ระบบการปกครองแบบประธานาธิบดี
3.ระบบการปกครองแบบกึ่งประธานาธิบดี
ประเทศฝรั่งเศส
เป็นประเทศที่ยึดระบบของกฎหมายตามรูปแบบ
ของระบบกฎหมายแบบโรมาโน-เยอรมันนิค
(Romano Germanic) หรือที่รู้จักกันนามของ
Civil Law กฎหมายรูปแบบนี้ คือ
มีลักษณะพิเศษ มีการเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร
เดิมทีประเทศฝรั่งเศส
ปกครองในระบบสมบูรณาญาสิทธิราช
โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ประวัติศาสตร์ของรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส
เริ่มต้นจากที่ฝรั่งเศสทำสงครามกับอังกฤษ
ในปี (ค.ศ 1396 – 1454) หรือที่เรียกว่า
สงครามร้อยปี ( Hundred Years Wars)
โดยสงครามร้อยปี ( Hundred Years Wars)
ทำให้ดินแดนฝรั่งเศสที่เคยเป็นของอังกฤษ
กลับมาเป็นของฝรั่งเศสอย่างแท้จริง
ผลของสงครามร้อยปี ทำให้พระราชอำนาจ
ของพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสมีมากขึ้น
ขุนนางฝรั่งเศสจึงมอบความไว้วางใจในด้านต่างๆ
เช่น การเก็บภาษี
กษัตริย์ฝรั่งเศส
ไม่ต้องขออนุมัติจากสภาฐานันดร
(Estate General)
ไม่มีการเรียกร้องให้กษัตริย์
เปิดการประชุมสภานับเป็นเวลากว่าร้อยปี
สภาวะการณ์เช่นนี้ทำให้พระราชอำนาจ
ของพระมหากษัตริย์เพิ่มสูงยิ่งขึ้น
จนสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
แห่ง ราชวงศ์บูรบง สถาบันกษัตริย์ของฝรั่งเศส
ก้าวเข้าสู่ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชอย่างแท้จริง
โดยคำกล่าวของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
ที่ว่า “I am the state”
สภาพสมบูรณาญาสิทธิราชในฝรั่งเศส
ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งในยุคต่อมาอย่างรุนแรง
เมื่อถึงสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16
เกิดการปฏิวัติใหญ่ในเดือน สิงหาคม 1789
ภายหลังการปฏิวิติใหญ่
ประเทศฝรั่งเศส
ได้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ขึ้นมา
ฝรั่งเศสได้ก้าวเข้าสู่ยุคแห่งสิทธิเสรีภาพ
หลังจากนั้น
ได้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญอีกหลายฉบับ
ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ที่เกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้ง
และในการเปลี่ยนแปลงการปกครองแต่ละครั้ง
ก็จะมีรัฐธรรมนูญใหม่เกิดขึ้น จนกระทั่งปัจจุบัน
รัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ คือ
รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณฝรั่งเศส ปี ค.ศ 1958
โดยจัดทำขึ้นในสมัย
ประธานาธิบดี ชาล์ล เดอ โกล
เนื้อหาสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญของฝรั่งเศส
คือ การบัญญัติเกี่ยวกับโครงสร้างอำนาจ
และการปกครองของประเทศฝรั่งเศส
ซึ่งสามารถกล่าวโดยสังเขปได้ ดังต่อไปนี้
ส่วนโครงสร้างอำนาจและการปกครอง
ในรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส
มีบทบัญญัติทั้งสิ้น 89 มาตรา
โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 17 หมวด
ได้มีการกล่าวถึงโครงสร้างการปกครอง
ของประเทศฝรั่งเศสไว้ดังต่อไปนี้
- รูปแบบของรัฐและรูปแบบการปกครอง
ประเทศฝรั่งเศสปกครองในรูปแบบของสาธารณรัฐ
มีลักษณะเป็นรัฐเดี่ยวไม่สามารถแบ่งแยกได้
มีภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาประจำชาติ
มีเพลง ลา มาร์ซัยแยส เป็นเพลงประจำชาติ
มีธงสามสี คือ สีน้ำเงิน สีขาวและสีแดง
เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ
คติของรัฐ คือ เสรีภาพ เสมอภาคและภราดรภาพ
นอกจากนี้ฝรั่งเศสยังมีหลักการของชาติ
ซึ่งได้แก่ รัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน
และเพื่อประชาชน
ในส่วนของรูปแบบการปกครอง
ของประเทศฝรั่งเศสนั้น
มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ในระบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี
กล่าวคือ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข
หรือผู้นำของสาธารณรัฐ
และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายรัฐบาล
ซึ่งนายกรัฐมนตรี
มาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดี
โดยการปกครองของฝรั่งเศสนั้น
เน้นตามคติของชาติ
คือ เสรีภาพ เสมอภาคและภราดรภาพ เป็นหลัก
สาธารณรัฐรับรองความเสมอภาคของประชาชน
ตามกฎหมายโดยไม่แบ่งแยกแหล่งกำเนิด
เชื้อชาติ และศาสนา และเคารพในความเชื่อ
ของทุกนิกาย
โดยหลักการปกครอง
ของประเทศฝรั่งเศส ได้ยึดหลัก
ที่ว่าด้วยอำนาจอธิปไตย
คือ อำนาจอธิปไตยของชาติเป็นของประชาชน
ซึ่งเป็นการผสมผสานกันระหว่างทฤษฎี
ว่าด้วยอำนาจอธิปไตยของ ซีเอเยส
ซึ่งกล่าวว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ
และทฤษฎีของ ฌอง ฌาคส์ รุสโซ ที่ว่า
อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน
สถาบันที่ใช้อำนาจอธิปไตย
สามารถแบ่งได้ออกเป็น 3 สถาบัน คือ
สถาบันนิติบัญญัติ
สถาบันบริหาร
และสถาบันตุลาการ
สถาบันนิติบัญญัติ
หรือรัฐสภาของฝรั่งเศส ตามรัฐธรรมนูญ
ของประเทศได้บัญญัติไว้ว่า รัฐสภาของฝรั่งเศส
เป็นแบบสภาคู่
ซึ่งประกอบด้วย 2 สภา คือ
สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรง
ของประชาชน และวุฒิสภา ซึ่งเป็นตัวแทน
ขององค์กรปกครองท้องถิ่นในสาธารณรัฐ
ได้มาจากการเลือกตั้งโดยอ้อม
ทั้งนี้ประชาชนชาวฝรั่งเศส
ที่อยู่นอกราชอาณาจักรต้องมีผู้แทนในวุฒิสภาด้วย
ในส่วนของสภาผู้แทนราษฎรนั้น
ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนทั้งสิ้น 570 คน
และดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี
ส่วนวุฒิสภามีสมาชิกทั้งสิ้น 304 คน
โดยดำรงตำแหน่งได้คราวละ 9 ปี
สถาบันบริหาร
หรือรัฐบาลหรือรัฐธรรมนูญกำหนดว่า
อำนาจหน้าที่ของรัฐบาลเป็นการแบ่งกัน
ระหว่างประธานาธิบดีในฐานะผู้นำประเทศ
ของนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล
เรียกว่า ทวิภาคของฝ่ายบริหาร
ซึ่งหมายถึงการที่ฝ่ายบริหาร
มีผู้มีอำนาจสั่งการ 2 คนด้วยกัน
และทั้ง 2 คน
ต้องบริหารประเทศด้วยกันภายใต้กฎเกณฑ์
ที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้
ประธานาธิบดีแห่งรัฐ
ซึ่งเป็นตำแหน่งประมุขแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน
โดยมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 7 ปี
ฝรั่งเศสนับเป็นประเทศหนึ่งที่มีความสมบรูณ์
และเป็นต้นแบบของการปกครอง
ระบอบประชาธิปไตย
เป็นเรื่องที่กลุ่ม
นศ.ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ทราบดี
เพราะฉะนั้น
เมื่อบุคคลที่เป็นระดับถึงรัฐมนตรีของฝรั่งเศส
ออกมาพูดถึงข้อบกพร่องของการปกครอง
ในระบอบประชาธิปไตย
นศ.ทั้ง14คน
ก็ควรที่จะได้พิจารณาใช่หรือไม่ ?
ว่าสิ่งที่ตนเองกำลังมีความเชื่อมั่น
และเรียกร้องอยู่ ณ. ขณะนี้ ก็ไม่ใช่สูตรตายตัว
ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จทางด้านการปกครอง
ของประเทศเสมอไป
หรือในใจก็รู้อยู่แล้วว่า อะไรเป็นอะไร
แต่ต้องการปัจจัยอื่นๆ