คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
แม้อังกฤษจะมีแมกนา คาร์ตาแต่พระราชอำนาจก็ยังเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์เช่นเดิม แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปคือการเป็นกษัตริย์ต้องอยู่ใต้กรอบของกฎหมาย และเป็นการเพิ่มอำนาจให้สภาในการตรวจสอบพระราชอำนาจของกษัตริย์ด้วยในเวลาเดียวกัน ซึ่งเอาจริงๆ หลังจากยุคพระเจ้าจอห์นกษัตริย์อังกฤษพระองค์หลังๆ ก็มีพระราชอำนาจมากเช่นเดิมครับ แต่กษัตริย์ก็เกรงกลัวสภาด้วยในเวลาเดียวกัน กษัตริย์อังกฤษจึงไม่ค่อยเปิดสภาเลยแม้กระทั่งในสมัยเอลิซาเบธที่ 1 หรือยุคของเจมส์ที่ 1, ชาร์ลส์ที่ 1 ในฐานะที่ทรงเป็นกษัตริย์อังกฤษ ก็ทรงยุบสภาอยู่บ่อยครั้งเป็นระยะเวลาหลายสิบปี ซึ่งการยุบสภามีข้อเสียอย่างมากโดยเฉพาะเรื่องภาษี กษัตริย์ไม่สามารถเก็บภาษีเองได้หากไม่มีสภา พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 เลยฟื้นฟูภาษีโบราณที่ยกเลิกไปแล้วหลายร้อยปี เช่นภาษีราชาภิเษกสำหรับผู้ที่ไม่มาเข้าเฝ้า ซึ่งเป็นภาษีที่ยกเลิกไปก่อนหน้านี้แล้วราว 400 ปี
.
จุดเปลี่ยนสำคัญคือการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ในปี 1688 ครับ พระเจ้าเจมส์ที่ 2 สละราชสมบัติโดยไม่มีการนองเลือด เปิดทางให้พระเจ้าวิลเลียมที่ 3 และแมรีที่ 2 ขึ้นครองราชย์โดยคำทูลเชิญของรัฐสภา ทั้ง 2 พระองค์มีผลประโยชน์ต่อกันกับรัฐสภาจึงไม่แปลกที่อำนาจของกษัตริย์จะถูกริดรอนได้อย่างสันติครับ ที่สำคัญแม้ในยุคจอร์ชที่ 1 สมัยที่เป็นราชอาณาจักรบริเตนและกษัตริย์บริเตนก็ถือว่ามีพระราชอำนาจอยู่มากไม่ได้หายไปทีเดียว แม้วอลแตร์จะชื่นชมการปกครองของบริเตนว่ามีเสถียรภาพโดยที่กษัตริย์มีพระราชอำนาจน้อย แต่กษัตริย์สามารถแต่งตั้งหรือปลดนายกรัฐมนตรีจนถึงกลางยุคพระนางเจ้าวิคตอเรียเลยครับ ซึ่งนางเองก็เคยบ่นนะบอกว่าช่วงต้นรัชกาลอำนาจล้นฟ้าพออยู่ปลายรัชกาลอำนาจที่มีมาหายไปเกือบหมด โดยกษัตริย์ในสหราชอาณาจักรที่อยู่ใต้รัฐธรรมนูญจริงๆ คือในช่วงพระเจ้าจอร์ชที่ 5 ครับ
.
สมัยก่อนจอร์ชที่ 5 กษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรก็ไม่ต่างจากเจ้ายุโรปราชวงศ์อื่นเท่าใดนัก ซึ่ง UK. อาจจะโชคดีด้วยที่ร่วมมือกับฝรั่งเศสชนะสงครามโลกครั้งที่ 1 ราชวงศ์เลยไม่พลอยล่มสลายแบบเยอรมนีหรือออสเตรีย แต่ในขณะเดียวกันยุคนี้นี่แหละที่ราชวงศ์ปรับตัวมากๆ จอร์ชที่ 5 ทรงโปรดให้เปลี่ยนชื่อราชวงศ์และเจ้าเยอรมันในสหราชอาณาจักรออกทั้งหมด อีกทั้งคอยให้กำลังใจทหารในสงครามจนทำให้สหราชอาณาจักรรอดพ้นจากสงครามโลกครั้งที่ 1 และที่สำคัญคนอังกฤษพึ่งมานับถือกษัตริย์ในสมัยจอร์ชที่ 5 นี่เองครับ พระเจ้าจอร์ชที่ 5 จึงกลายเป็นเจ้าพระองค์แรกที่ปรับตัวอยู่ใต้รัฐธรรมนูญโดยแท้
.
ส่วนฝรั่งเศสนั้นการจะโทษพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ส่วนตัวมองว่าก็ไม่ถูกเสียทีเดียวครับ แต่ปัญหาทั้งหมดมาจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 มากกว่า ช่วงต้นรัชกาลเป็นไปได้ด้วยดีเพราะมีผู้มีความสามารถถวายคำปรึกษา จนกระทั่งช่วงกลางรัชกาลผู้มีความสามารถในช่วงต้นรัชกาลทยอยหายไป เหล่าเสนาบดีก็ยกพระราชพินัยกรรมของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ไม่ให้หลุยส์ที่ 15 แต่งตั้งผู้ปรึกษาใหม่อีก ในช่วงนี้เป็นช่วงที่ฝรั่งเศสเสียเปรียบอย่างมาก โดยเฉพาะพ่ายแพ้ให้กับบริเตนในปี 1763 ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญมากต่อสถานะของฝรั่งเศสในเวทีโลก หลายคนนับว่ายุคสันติภาพบริตานเนียหรือ Pax Britannica คือในช่วงปี 1763-1914 แต่ส่วนมากจะนับหลังปี 1815-1914 หลังจากการพ่ายแพ้ของจักรพรรดินโปเลียนแห่งฝรั่งเศส ถือเป็นยุคที่โลกกลายเป็นบริเตนจริงๆ
.
การกดขี่ในฝรั่งเศสนั้นถือว่ารุนแรงค่อนข้างมาก ประกอบกับเกิดยุคเรืองปัญญา นักปราชญ์หลายท่านเริ่มวิพากษ์วิจารณ์การปกครองของฝรั่งเศสอย่างจริงจัง หนังสือหลายเล่มถูกราชสำนักแบน ต่างจากเจ้ายุโรปราชวงศ์อื่น โดยรัฐมหาอำนาจยุโรปที่มีเสรีภาพที่สุดในเวลานั้นมีอยู่ 2 รัฐหลักๆ คือ บริเตนและออสเตรีย โดยในออสเตรียหนังสือพิมพ์หลายฉบับวิจารณ์ราชวงศ์ฮับส์บวร์กแรงมาก อย่างเช่นการวิจารณ์พระเจ้าโยเซฟที่ 2 ว่า “เจ้าลิงอายุ 42 ปี” ก็มี โดยหนังสือพิมพ์เหล่านี้ไม่ถูกแบนแต่อย่างใด ประกอบกับเหตุปัจจัยหลายๆ อย่างซึ่งท่านเจ้าของกระทู้น่าจะทราบดี ผลพวงปัญหาทั้งหมดจึงไปตกแก่พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ประกอบกับกระแสการต่อต้านพระนางมารี อองตัวเนตต์ผู้เป็นพระมเหสีในพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทำให้ความนิยมในราชวงศ์ตกต่ำเป็นอย่างมาก
.
แม้จะมีการปฏิวัติฝรั่งเศสแต่สถานการณ์เป็นไปได้ด้วยดีและพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงประพฤติพระองค์เฉกเช่นเดียวกับกษัตริย์ในสหราชอาณาจักร คือการไม่ถือพระราชอำนาจจนมากเกินไปและถือเป็นการนำพาฝรั่งเศสพ้นจากยุคอองเซียง เรฌีม แต่สถานการณ์ที่กำลังเป็นไปได้ด้วยดีกลับตาลปัตร เมื่อสถานการณ์การเมืองในฝรั่งเศสวุ่นวาย เป็นเหตุให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ต้องหนีไปพึ่งต่างชาติ และโดนจับได้เป็นเหตุให้พระองค์ทรงถูกสำเร็จโทษครับ
.
แต่ผู้ที่ภักดีในพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 จริงๆ ยังมีอยู่มาก โดยเฉพาะคนในชนบทที่ไม่ได้รับความเดือดร้อนอะไรในระบบการปกครอง จึงเกิดกบฏวองเดต่อต้านการปฏิวัติฝรั่งเศสขึ้นมา สถานการณ์พลิกผันไปหลายครั้ง จนกระทั่งการรบแพ้ปรัสเซียในปี 1871 เป็นเหตุให้ระบอบ Monarchy ถูกปลิดทิ้งอย่างถาวร ซึ่งเอาจริงๆ เป็นความบังเอิญนะครับ เพราะหลังจากสงครามครั้งนี้ฝ่ายนิยมเจ้ายังมีอยู่เยอะมากจนกล่าวติดตลกว่า “สาธารณรัฐที่มีแต่พวกนิยมกษัตริย์” และทางรัฐบาลฝรั่งเศสต้องการนำราชวงศ์มาปกครองต่อแต่สุดท้ายไม่เป็นผล อีกทั้งเมื่อฝรั่งเศสกลายเป็นระบบสาธารณรัฐเป็นเวลาหลายสิบปี เมื่อระบบการปกครองที่มีเสถียรภาพลงตัวดีแล้ว จึงไม่หวนกลับคืนสู่ระบอบกษัตริย์อีกเลยครับ
.
จุดเปลี่ยนสำคัญคือการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ในปี 1688 ครับ พระเจ้าเจมส์ที่ 2 สละราชสมบัติโดยไม่มีการนองเลือด เปิดทางให้พระเจ้าวิลเลียมที่ 3 และแมรีที่ 2 ขึ้นครองราชย์โดยคำทูลเชิญของรัฐสภา ทั้ง 2 พระองค์มีผลประโยชน์ต่อกันกับรัฐสภาจึงไม่แปลกที่อำนาจของกษัตริย์จะถูกริดรอนได้อย่างสันติครับ ที่สำคัญแม้ในยุคจอร์ชที่ 1 สมัยที่เป็นราชอาณาจักรบริเตนและกษัตริย์บริเตนก็ถือว่ามีพระราชอำนาจอยู่มากไม่ได้หายไปทีเดียว แม้วอลแตร์จะชื่นชมการปกครองของบริเตนว่ามีเสถียรภาพโดยที่กษัตริย์มีพระราชอำนาจน้อย แต่กษัตริย์สามารถแต่งตั้งหรือปลดนายกรัฐมนตรีจนถึงกลางยุคพระนางเจ้าวิคตอเรียเลยครับ ซึ่งนางเองก็เคยบ่นนะบอกว่าช่วงต้นรัชกาลอำนาจล้นฟ้าพออยู่ปลายรัชกาลอำนาจที่มีมาหายไปเกือบหมด โดยกษัตริย์ในสหราชอาณาจักรที่อยู่ใต้รัฐธรรมนูญจริงๆ คือในช่วงพระเจ้าจอร์ชที่ 5 ครับ
.
สมัยก่อนจอร์ชที่ 5 กษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรก็ไม่ต่างจากเจ้ายุโรปราชวงศ์อื่นเท่าใดนัก ซึ่ง UK. อาจจะโชคดีด้วยที่ร่วมมือกับฝรั่งเศสชนะสงครามโลกครั้งที่ 1 ราชวงศ์เลยไม่พลอยล่มสลายแบบเยอรมนีหรือออสเตรีย แต่ในขณะเดียวกันยุคนี้นี่แหละที่ราชวงศ์ปรับตัวมากๆ จอร์ชที่ 5 ทรงโปรดให้เปลี่ยนชื่อราชวงศ์และเจ้าเยอรมันในสหราชอาณาจักรออกทั้งหมด อีกทั้งคอยให้กำลังใจทหารในสงครามจนทำให้สหราชอาณาจักรรอดพ้นจากสงครามโลกครั้งที่ 1 และที่สำคัญคนอังกฤษพึ่งมานับถือกษัตริย์ในสมัยจอร์ชที่ 5 นี่เองครับ พระเจ้าจอร์ชที่ 5 จึงกลายเป็นเจ้าพระองค์แรกที่ปรับตัวอยู่ใต้รัฐธรรมนูญโดยแท้
.
ส่วนฝรั่งเศสนั้นการจะโทษพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ส่วนตัวมองว่าก็ไม่ถูกเสียทีเดียวครับ แต่ปัญหาทั้งหมดมาจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 มากกว่า ช่วงต้นรัชกาลเป็นไปได้ด้วยดีเพราะมีผู้มีความสามารถถวายคำปรึกษา จนกระทั่งช่วงกลางรัชกาลผู้มีความสามารถในช่วงต้นรัชกาลทยอยหายไป เหล่าเสนาบดีก็ยกพระราชพินัยกรรมของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ไม่ให้หลุยส์ที่ 15 แต่งตั้งผู้ปรึกษาใหม่อีก ในช่วงนี้เป็นช่วงที่ฝรั่งเศสเสียเปรียบอย่างมาก โดยเฉพาะพ่ายแพ้ให้กับบริเตนในปี 1763 ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญมากต่อสถานะของฝรั่งเศสในเวทีโลก หลายคนนับว่ายุคสันติภาพบริตานเนียหรือ Pax Britannica คือในช่วงปี 1763-1914 แต่ส่วนมากจะนับหลังปี 1815-1914 หลังจากการพ่ายแพ้ของจักรพรรดินโปเลียนแห่งฝรั่งเศส ถือเป็นยุคที่โลกกลายเป็นบริเตนจริงๆ
.
การกดขี่ในฝรั่งเศสนั้นถือว่ารุนแรงค่อนข้างมาก ประกอบกับเกิดยุคเรืองปัญญา นักปราชญ์หลายท่านเริ่มวิพากษ์วิจารณ์การปกครองของฝรั่งเศสอย่างจริงจัง หนังสือหลายเล่มถูกราชสำนักแบน ต่างจากเจ้ายุโรปราชวงศ์อื่น โดยรัฐมหาอำนาจยุโรปที่มีเสรีภาพที่สุดในเวลานั้นมีอยู่ 2 รัฐหลักๆ คือ บริเตนและออสเตรีย โดยในออสเตรียหนังสือพิมพ์หลายฉบับวิจารณ์ราชวงศ์ฮับส์บวร์กแรงมาก อย่างเช่นการวิจารณ์พระเจ้าโยเซฟที่ 2 ว่า “เจ้าลิงอายุ 42 ปี” ก็มี โดยหนังสือพิมพ์เหล่านี้ไม่ถูกแบนแต่อย่างใด ประกอบกับเหตุปัจจัยหลายๆ อย่างซึ่งท่านเจ้าของกระทู้น่าจะทราบดี ผลพวงปัญหาทั้งหมดจึงไปตกแก่พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ประกอบกับกระแสการต่อต้านพระนางมารี อองตัวเนตต์ผู้เป็นพระมเหสีในพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทำให้ความนิยมในราชวงศ์ตกต่ำเป็นอย่างมาก
.
แม้จะมีการปฏิวัติฝรั่งเศสแต่สถานการณ์เป็นไปได้ด้วยดีและพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงประพฤติพระองค์เฉกเช่นเดียวกับกษัตริย์ในสหราชอาณาจักร คือการไม่ถือพระราชอำนาจจนมากเกินไปและถือเป็นการนำพาฝรั่งเศสพ้นจากยุคอองเซียง เรฌีม แต่สถานการณ์ที่กำลังเป็นไปได้ด้วยดีกลับตาลปัตร เมื่อสถานการณ์การเมืองในฝรั่งเศสวุ่นวาย เป็นเหตุให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ต้องหนีไปพึ่งต่างชาติ และโดนจับได้เป็นเหตุให้พระองค์ทรงถูกสำเร็จโทษครับ
.
แต่ผู้ที่ภักดีในพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 จริงๆ ยังมีอยู่มาก โดยเฉพาะคนในชนบทที่ไม่ได้รับความเดือดร้อนอะไรในระบบการปกครอง จึงเกิดกบฏวองเดต่อต้านการปฏิวัติฝรั่งเศสขึ้นมา สถานการณ์พลิกผันไปหลายครั้ง จนกระทั่งการรบแพ้ปรัสเซียในปี 1871 เป็นเหตุให้ระบอบ Monarchy ถูกปลิดทิ้งอย่างถาวร ซึ่งเอาจริงๆ เป็นความบังเอิญนะครับ เพราะหลังจากสงครามครั้งนี้ฝ่ายนิยมเจ้ายังมีอยู่เยอะมากจนกล่าวติดตลกว่า “สาธารณรัฐที่มีแต่พวกนิยมกษัตริย์” และทางรัฐบาลฝรั่งเศสต้องการนำราชวงศ์มาปกครองต่อแต่สุดท้ายไม่เป็นผล อีกทั้งเมื่อฝรั่งเศสกลายเป็นระบบสาธารณรัฐเป็นเวลาหลายสิบปี เมื่อระบบการปกครองที่มีเสถียรภาพลงตัวดีแล้ว จึงไม่หวนกลับคืนสู่ระบอบกษัตริย์อีกเลยครับ
แสดงความคิดเห็น
สาเหตุ ปัจจัยอะไรที่ทำให้ ราชวงศ์กษัตริย์แห่งอังกฤษ ถึงอยู่รอดแตกต่างจาก ฝรั่งเศส ครับ?
หากเกิดการบริหารผิดพลาด ปฏิรูปล้มเหลว หรือเกิดอะไรขึ้นประชาชนจะกล่าวโทษสภาไว้ก่อน อารมณ์เหมือนประเทศญี่ปุ่นที่จะโทษ หรือชิงอำนาจ ก็ต้อง โชกุน ไม่ใช่จักรพรรดิญี่ปุ่น เพราะโชกุนมีอำนาจเต็มที่แท้จริงในการบริหาร ขณะที่จักรพรรดิญี่ปุ่นไม่มีอำนาจใดๆ ลอยตัว จึงไม่ถูกเพ่งเล็งมากเท่า ทำให้ราชวงศ์ญี่ปุ่นอยู่รอดได้มาอย่างยาวนานหากเทียบกับทางฝั่งยุโรป
ทางฝรั่งเศสที่กษัตริย์มีอำนาจเต็ม บริหารเอง เมื่อบริหารผิดพลาด หรือเกิดภัยพิบัติใดๆ และแก้ไขปัญหาไม่ได้ประชาชนจะกล่าวโทษกษัตริย์ และหากปัญหาไม่ได้รับการแก้ไข ประชาชนจะเหลือทน และเกิดการปฏิวัติฝรั่งเศสอะไรทำนองนี้รึเปล่าครับ?