มุสตางค์ (Mustang) หรือ อัปเปอร์มุสตางค์ อยู่ในเขตการปกครองของ เนปาล ได้ชื่อว่าเป็นอาณาจักรที่ถูกชาวโลกหลงลืม แม้อดีตเคยเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่ยิ่งใหญ่ และมีความเจริญรุ่งเรืองทางอารยธรรมมาก เพราะเคยเป็นจุดเชื่อมต่อเส้นทางสายไหม
มุสตางค์ (ทิเบต: སྨོནཋང möntang; เนปาล: मुस्तांग Mustāṃg "ที่ราบอันอุดม") เดิมคือ อาณาจักรโล เป็นดินแดนอันโดดเดี่ยวและห่างไกล แถบเทือกเขาหิมาลัยของประเทศเนปาล ปัจจุบันพื้นที่ของอดีตอาณาจักรโล เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่ง ขึ้นกับอำเภอมุสตาง จังหวัดคัณฑกีประเทศ ประเทศเนปาล ปัจจุบันเรียก อัปเปอร์มุสตางค์ (อังกฤษ: Upper Mustang) แต่เดิมดินแดนแห่งนี้เป็นพื้นที่ปลอดทหาร จนกระทั่ง ค.ศ. 1992 ทำให้อัปเปอร์มุสตางค์ เป็นภูมิภาคที่คงลักษณะดั้งเดิมมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ประชากรส่วนใหญ่ใช้ภาษาทิเบตในการสื่อสาร ทั้งยังคงอนุรักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิมของทิเบตไว้ โดยตัดขาดกับโลกภายนอก
อัปเปอร์มุสตางค์ มีพื้นที่สองในสามของอำเภอมุสตาง สามอำเภอทางใต้เรียกว่า "ถัก" เป็นถิ่นที่อยู่ของชาวถกาลี (थकाली) ซึ่งมีวัฒนธรรมผสมผสานระหว่างทิเบตและเนปาล ระบบเศรษฐกิจของมุสตางค์ ขึ้นอยู่กับการท่องเที่ยว การเลี้ยงสัตว์ และการค้า
สถานการณ์ เป็นราชอาณาจักรของมุสตางค์ ซึ่งขึ้นกับเนปาล สิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 2008 หลังราชอาณาจักรเนปาล เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบสาธารณรัฐ อิทธิพลจากโลกภายนอก เริ่มเข้าสู่มุสตางค์มากขึ้น โดยเฉพาะจากจีน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ต่อวิถีชีวิตของชาวมุสตางค์
ในอดีต อัปเปอร์มุสตางค์ เคยเป็นรัฐอิสระเรียกว่า อาณาจักรโล ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 พวกเขามีวัฒนธรรมด้านภาษาและศาสนา ถอดแบบมาจากทิเบต ด้วยทำเลที่ตั้งของประเทศ ทำให้มุสตางค์ มีอำนาจควบคุมเส้นทางขนส่งสินค้า ระหว่างเทือกเขาหิมาลัย กับอนุทวีปอินเดีย ทว่าปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 อาณาจักรโลถูกผนวก และกลายเป็นเมืองขึ้นของราชอาณาจักรเนปาล ตั้งแต่ ค.ศ. 1795 เป็นต้นมา กระนั้น มุสตางค์ ยังคงมีการแต่งตั้งราชา (หรือกเยลโป) สืบราชสมบัติมาตลอด จนกระทั่งรัฐบาลเนปาล มีคำสั่งให้ยกเลิกตำแหน่งดังกล่าว เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 2008
ราชา หรือกเยลโปคนสุดท้ายของมุสตางค์ คือจิกมี ดอร์เจ ปัลบาร์ บิสตา (Jigme Dorje Palbar Bista; 1930–2016) ผู้สืบสันดานมาจากอาเม ปัล (Ame Pal) นักรบผู้ก่อตั้งอาณาจักร ที่นับถือศาสนาพุทธตั้งแต่ ค.ศ. 1380 และเขาผู้นี้คือผู้สร้างเมืองโลมันถาง อันมีกำแพงรอบเมือง ปัจจุบันเมืองดังกล่าว แทบไม่มีความเปลี่ยนแปลงอันใดเลย ตั้งแต่ยุคแรกสร้าง
เมืองศูนย์กลางศาสนา และจุดเชื่อมต่อเส้นทางสายไหม หลายศตวรรษก่อน มุสตางค์ ที่ตั้งอยู่ในที่ราบอันอุดมสมบูรณ์ แถบเนปาลตอนเหนือ และที่ราบสูงทิเบต เป็นดินแดนที่เคยเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่ยิ่งใหญ่ ด้วยทำเลที่อยู่ระหว่างทิเบต เนปาล จีน และ อินเดีย สมัยอดีต มุสตางค์ จึงได้ชื่อว่า เป็นประตูที่เชื่อมต่อเส้นทางสายไหม เส้นทางการค้าขายของจี นไปสู่ภูมิภาคเอเชียใต้ โดยพวกเขาซึมซับวัฒนธรรมทิเบต เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต รวมถึงใช้ภาษาทิเบตเป็นภาษาหลัก ส่วนอิทธิพลทางการค้า ได้รับมาจากจีน
มุสตางค์ นอกจากจะเป็นชุมทางสำคัญ ของนักปราชญ์ในพุทธศาสนา และผู้จารึกแสวงบุญ ซึ่งเดินทางรอนแรม ระหว่างจีนอินเดียมาเนิ่นนาน ภายหลังยังถูกพัฒนาเป็นศูนย์กลางทางการอันคึกคัก ในที่สุด พุทธธรรม ก็หลอมรวมเข้ากับวิถีปฏิบัติทางความ เชื่อเกี่ยวกับภูตผีในภูมิภาค จนกลายเป็นพุทธศาสนาแบบทิเบต โดยมีวัดโลเกการ์ ทางตอนใต้ของโลมันทัง เป็นศาสนสถานที่มีชื่อเสียง
ช่วงศตวรรษที่สิบแปด นครรัฐต่างๆ ที่เรื่องอำนาจขึ้นรอบแดนมุสตางค์ ทำให้กษัตริย์โล เสด็จไปเฝ้ากษัตริย์เนปลา ที่เพิ่งรวมประเทศ พระองค์ถวายบรรณาการที่ประกอบไปด้วย นม เมล็ดมัสตาร์ด และดิน เพื่อแสดงว่า มุสตางค์ มีที่ดินและความมั่งคั่งจะแบ่งปัน กษัตริย์เนปาลทรงพอพระทัย และยินดีปกป้องมุสตางค์ เพื่อแลกกับการเก็บภาษีอันน้อยนิด และบรรณาการประจำปี สันถวไมตรีดังกล่าว ช่วยปกป้องมุสตางค์ จากการรุกรานของจีน ที่เข้ายึดครองทิเบต ในปี 1950 ขุมทรัพย์ทั้งปวงของมุสตางค์ จึงยังรอดปลอดภัย
ทว่าต่อมา มุสตางค์ เริ่มเสื่อมถอยทางเศรษฐกิจ เมื่อนักเดินทาง หันมาใช้เส้นทางอื่นในการค้าขายสินค้า ผู้คนเลือนหายไปเรื่อยๆ ดินแดนแห่งนี้ ค่อยๆ ลดขนาดลง ล่วงเข้าสู่ยุคสงครามเย็น กษัตริย์บิสตา เข้าร่วมในขบวนการกองโจรติดอาวุธต่อต้านจีน ที่ CIA ของสหรัฐอเมริกาหนุนหลัง เพื่อขับไล่จีนออกจากทิเบต หลังการลุกฮือต่อต้านของชาวทิเบตในปี 1959 แต่ประสบความล้มเหลว รัฐบาลเนปาลปลดอาวุธกองกำลังในพื้นที่เมื่อปี 1974 ผลกระทบในครั้งนั้น ทำให้เนปาลปิดตายภูมิภาคนี้ จากโลกภายนอกอย่างแน่นหนาและยาวนาน มุสตางค์ ถูกลดบทบาทลง จนกลายเป็นเพียงเมืองเล็กๆ ที่ตั้งอยู่ระหว่างพรมแดนจีน-เนปาล รวมถึงกลายสภาพเป็นดินแดนลึกลับบนแผนที่โลก
กระทั่งเข้าสู่ยุคแห่งการท่องเที่ยว ปลายยอดเอเวอเรสต์ บนเทือกเขาหิมาลัย กลายเป็นจุดหมายสำคัญของนักปีนเขาทั่วโลก ระหว่างนั้น ทำให้หลายคนค้นพบว่า ในจุดสุดแดนของเขตอนุรักษ์อันนะปุรณะมีอาณาจักรมุสตางค์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของเขตอารยธรรมทิเบตซุกซ่อนอยู่
ต่อมาในปี 1990 นักโบราณคดี ค้นพบโครงกระดูกมนุษย์ อายุไม่ตํ่ากว่า 2,000 ปี จากการเข้าไปสำรวจถ้ำ รอบๆ อาณาจักรโบราณแห่งนี้ พบสิ่งของและเครื่องประดับเก่าแก่ และภาพวาดบนผนังถ้ำเป็นจำนวนมาก ปริศนาทางโบราณคดีมากมาย ทำให้นักสำรวจจำนวนหนึ่ง หันมาสนใจ มุสตางค์ อีกครั้ง
ราชอาณาจักรมุสตางค์ แห่งเทือกเขาหิมาลัย ที่ไม่เคยต้อนรับคนภายนอก กำลังเปิดประตูให้โลกได้ยล ลึกเข้าไปในเขตที่สูงแห้งแล้ง ทางเหนือของเนปาล สถูปในพระพุทธศาสนา เตือนให้เหล่านักเดินทางนึกถึงความเป็นไปได้ในการบรรลุธรรม ขณะที่ถนนสายใหม่ พาโลกภายนอกเข้าสู่ มุสตางค์ ผู้นำอย่างไม่เป็นทาการ ของอดีตราชอาณาจักรแห่งนี้ทรงวิตกว่า พสกนิกรของพระองค์ อาจสูญเสียวิถีชีวิตอย่างที่เคยเป็นมา ทว่าวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ และขุมทรัพย์จากทิเบต จะรอดพ้นความเปลี่ยนแปลงได้ละหรือ
นักท่องเที่ยวกลุ่มแรก ได้รับการอนุญาตให้มาเยือนมุสตางค์ เมื่อปี 1992 ดินแดงแห่งนี้ ไม่เพียงมีภูมิทัศน์งดงาม แต่ยังเป็นหน้าต่างสู่วัฒนธรรมทิเบต ซึ่งเลือนหายไปมากแล้วในที่อื่นๆ โลมันทัง เมืองใหญ่ที่อยู่ไม่ไกลจากมุสตางค์ มีโรงแรมหลายสิบแห่ง แม้ว่าจะมีประชากรอยู่เพียง 1,300 คน
จิกเม ซิงกี ปัลบาร์ บิสตา คือพระนามเต็มของกษัตริย์แห่งมุสตางค์ โดยพระบิดาของพระองค์คือ จิกเม ดอร์เจ ปัลบาร์ บิสตา กษัตริย์องค์สุดท้ายของอดีตราชอาณาจักรโล ทรงเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2016 สิริพระชนมายุ 86 เดิมกษัตริย์บิสตาประทับที่เมืองหลวงโลมันทังเป็นส่วนใหญ่ ในฐานะผู้นำทางจิตวิญญาณ ของดินแดนมุสตางค์ ก่อนที่จะย้ายมาประทับยังกรุงกาฐมาณฑุ และเสด็จสวรรคต
กษัตริย์จิกเม ทรงขึ้นเป็นกษัตริย์ลำดับที่ 26 ของราชวงศ์จนถึงปัจจุบัน แม้พระราชวังของพระองค์ในหมู่บ้านซารังจะทรุดโทรม เพราะได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวใหญ่ในปี 2015 แต่ก็ได้รับการปรับปรุงและดูแลรักษาอย่างดี ภายในเต็มไปด้วยปาติมากรรมและรูปหล่อโบราณ ถือเป็นสมบัติตกทอดทางศาสนาที่ลํ้าค่าซึ่งปลอดภัยจากมือของหัวขโมยและพ่อค้าวัตถุโบราณมานานหลายศตวรรษ แต่เมื่อโลกภายนอกแผ่อิทธิพลมาถึง ทั้งการท่องเที่ยวและถนนสายใหม่ที่ตัดผ่านเข้ามา โจรขโมยศิลปะก็กลายเป็นอีกหนึ่งในสารพัดสิ่งใหม่ที่พระองค์ทรงกังวล
ปิดฉากยุคแห่งการโดดเดี่ยว อาณาจักรโบราณที่ยังมีลมหายใจ ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมาอาณาจักรหิมาลัยโบราณแห่งนี้ ถูกแยกออกจากโลก แต่จวบจนปัจจุบัน การเดินทางสู่ มุสตางค์ สะดวกขึ้นด้วยการปรับปรุงถนนสายใหม่ๆ จากระยะทาง 450 กิโลเมตรจาก กรุงกาฐมาณฑุ ที่เคยต้องใช้เวลาเดินเท้า ขี่ม้าหรือจามรีนานหลายสัปดาห์ มุสตางค์ จึงคล้ายกับเป็นดินแดนที่ถูกโดดเดี่ยวจากชาวโลก มานานหลายสิบปี
ตอนนี้ นักเดินทางสามารถขับรถจากเมืองหลวงของเนปาล มาถึง มุสตางค์ โดยใช้เวลาสามวันด้วยถนนดินลูกรักที่สร้างขึ้น ตลอดจนผ่านการซ่อมแซม ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา แม้เหตุนํ้าท่วมถนน ดินถล่ม และทางน่าหวาดเสียว (ถนนขรุขระ แคบ หักศอก คดเคี้ยว เหมาะกับรถโฟร์วีล) มักทำให้เกิดความล่าช้าบ้างก็ตาม แต่ก็มีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
แม้ว่า มุสตางค์ จะได้ชื่อว่า เป็นหนึ่งในอาณาจักรโบราณ ที่ยังมีลมหายใจของโลก แต่ก็อาจเป็นลมหายใจที่รวยริน บนถนนสายใหม่ ที่นำพาชาวต่างชาติเข้ามา เป็นถนนเส้นเดียว กับที่พาผู้คนจากไป คนหนุ่มสาวจำนวนมาก เลือกเดินทางออกจากเมืองไปยังกาฐมาณฑุและต่างประเทศ มากกว่าจะอยู่กับฝูงแกะหรือจามรี เศรษฐกิจในมุสตางค์ถดถอยลง จนกษัตริย์จิกเม อาจต้องหวังพึ่งพาการท่องเที่ยว ที่อาจชุบชีวิตดินแดงมุสตางค์ ให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง แต่ด้วยอากาศที่หนาวเย็นจัด ทำให้มุสตางค์ จำกัดให้การท่องเที่ยว เป็นกิจกรรมที่ทำได้ปีละหกเดือนเท่านั้น ในส่วนของการท่องเที่ยว กษัตริย์จิกเม มีโรงแรมส่วนตัวของพระองค์หนึ่งแห่งในมุสตางค์ ซึ่งไม่ใกล้ไม่ไกลจากโรงแรมมีสมบัติของราชวงศ์ ที่พระองค์ทรงเก็บรักษาเอาไว้
ในอนาคตไม่ช้า สินค้าและผู้คน จะไหลรินมาเป็นสาย ถึงดินแดนแห่งนี้ ผ่านถนนสายใหม่สู่จีน โดยทางเหนือนั้น จีนกำลังสร้างเส้นทางการค้า ที่คาดว่าจะกำไรงาม และรอให้ถนนลาดยางสายใหม่ เชื่อมพรมแดนฝั่งนี้ กับทางหลวงที่จะทอดยาวไปได้ถึงกรุงปักกิ่ง ส่วนที่เหลือ ก็คือการเชื่อมถนนต่างๆ เข้าด้วยกัน เมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้ว ยุคใหม่ทางการค้าอาจจะเริ่มขึ้น ในซอกมุมที่เป็นตำนานของหลังคาโลกแห่งนี้
กว่าจะถึงช่วงเวลานั้น คำถามสำหรับกษัตริย์จิกเม และประชาชนในมุสตางค์ก็คือ พวกเขาจะอนุรักษ์บางส่วนของราชอาณาจักรเล็กๆ ที่กาลเวลาหลายศตวรรษ ทำให้กลายเป็นดินแดนสุดพิเศษนี้ ไว้ได้หรือไม่
ดินแดนมุสตางค์แห่งเนปาล ร่องรอยอาณาจักรโบราณที่เคยยิ่งใหญ่
มุสตางค์ (ทิเบต: སྨོནཋང möntang; เนปาล: मुस्तांग Mustāṃg "ที่ราบอันอุดม") เดิมคือ อาณาจักรโล เป็นดินแดนอันโดดเดี่ยวและห่างไกล แถบเทือกเขาหิมาลัยของประเทศเนปาล ปัจจุบันพื้นที่ของอดีตอาณาจักรโล เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่ง ขึ้นกับอำเภอมุสตาง จังหวัดคัณฑกีประเทศ ประเทศเนปาล ปัจจุบันเรียก อัปเปอร์มุสตางค์ (อังกฤษ: Upper Mustang) แต่เดิมดินแดนแห่งนี้เป็นพื้นที่ปลอดทหาร จนกระทั่ง ค.ศ. 1992 ทำให้อัปเปอร์มุสตางค์ เป็นภูมิภาคที่คงลักษณะดั้งเดิมมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ประชากรส่วนใหญ่ใช้ภาษาทิเบตในการสื่อสาร ทั้งยังคงอนุรักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิมของทิเบตไว้ โดยตัดขาดกับโลกภายนอก
อัปเปอร์มุสตางค์ มีพื้นที่สองในสามของอำเภอมุสตาง สามอำเภอทางใต้เรียกว่า "ถัก" เป็นถิ่นที่อยู่ของชาวถกาลี (थकाली) ซึ่งมีวัฒนธรรมผสมผสานระหว่างทิเบตและเนปาล ระบบเศรษฐกิจของมุสตางค์ ขึ้นอยู่กับการท่องเที่ยว การเลี้ยงสัตว์ และการค้า
สถานการณ์ เป็นราชอาณาจักรของมุสตางค์ ซึ่งขึ้นกับเนปาล สิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 2008 หลังราชอาณาจักรเนปาล เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบสาธารณรัฐ อิทธิพลจากโลกภายนอก เริ่มเข้าสู่มุสตางค์มากขึ้น โดยเฉพาะจากจีน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ต่อวิถีชีวิตของชาวมุสตางค์
ในอดีต อัปเปอร์มุสตางค์ เคยเป็นรัฐอิสระเรียกว่า อาณาจักรโล ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 พวกเขามีวัฒนธรรมด้านภาษาและศาสนา ถอดแบบมาจากทิเบต ด้วยทำเลที่ตั้งของประเทศ ทำให้มุสตางค์ มีอำนาจควบคุมเส้นทางขนส่งสินค้า ระหว่างเทือกเขาหิมาลัย กับอนุทวีปอินเดีย ทว่าปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 อาณาจักรโลถูกผนวก และกลายเป็นเมืองขึ้นของราชอาณาจักรเนปาล ตั้งแต่ ค.ศ. 1795 เป็นต้นมา กระนั้น มุสตางค์ ยังคงมีการแต่งตั้งราชา (หรือกเยลโป) สืบราชสมบัติมาตลอด จนกระทั่งรัฐบาลเนปาล มีคำสั่งให้ยกเลิกตำแหน่งดังกล่าว เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 2008
ราชา หรือกเยลโปคนสุดท้ายของมุสตางค์ คือจิกมี ดอร์เจ ปัลบาร์ บิสตา (Jigme Dorje Palbar Bista; 1930–2016) ผู้สืบสันดานมาจากอาเม ปัล (Ame Pal) นักรบผู้ก่อตั้งอาณาจักร ที่นับถือศาสนาพุทธตั้งแต่ ค.ศ. 1380 และเขาผู้นี้คือผู้สร้างเมืองโลมันถาง อันมีกำแพงรอบเมือง ปัจจุบันเมืองดังกล่าว แทบไม่มีความเปลี่ยนแปลงอันใดเลย ตั้งแต่ยุคแรกสร้าง
เมืองศูนย์กลางศาสนา และจุดเชื่อมต่อเส้นทางสายไหม หลายศตวรรษก่อน มุสตางค์ ที่ตั้งอยู่ในที่ราบอันอุดมสมบูรณ์ แถบเนปาลตอนเหนือ และที่ราบสูงทิเบต เป็นดินแดนที่เคยเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่ยิ่งใหญ่ ด้วยทำเลที่อยู่ระหว่างทิเบต เนปาล จีน และ อินเดีย สมัยอดีต มุสตางค์ จึงได้ชื่อว่า เป็นประตูที่เชื่อมต่อเส้นทางสายไหม เส้นทางการค้าขายของจี นไปสู่ภูมิภาคเอเชียใต้ โดยพวกเขาซึมซับวัฒนธรรมทิเบต เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต รวมถึงใช้ภาษาทิเบตเป็นภาษาหลัก ส่วนอิทธิพลทางการค้า ได้รับมาจากจีน
มุสตางค์ นอกจากจะเป็นชุมทางสำคัญ ของนักปราชญ์ในพุทธศาสนา และผู้จารึกแสวงบุญ ซึ่งเดินทางรอนแรม ระหว่างจีนอินเดียมาเนิ่นนาน ภายหลังยังถูกพัฒนาเป็นศูนย์กลางทางการอันคึกคัก ในที่สุด พุทธธรรม ก็หลอมรวมเข้ากับวิถีปฏิบัติทางความ เชื่อเกี่ยวกับภูตผีในภูมิภาค จนกลายเป็นพุทธศาสนาแบบทิเบต โดยมีวัดโลเกการ์ ทางตอนใต้ของโลมันทัง เป็นศาสนสถานที่มีชื่อเสียง
ช่วงศตวรรษที่สิบแปด นครรัฐต่างๆ ที่เรื่องอำนาจขึ้นรอบแดนมุสตางค์ ทำให้กษัตริย์โล เสด็จไปเฝ้ากษัตริย์เนปลา ที่เพิ่งรวมประเทศ พระองค์ถวายบรรณาการที่ประกอบไปด้วย นม เมล็ดมัสตาร์ด และดิน เพื่อแสดงว่า มุสตางค์ มีที่ดินและความมั่งคั่งจะแบ่งปัน กษัตริย์เนปาลทรงพอพระทัย และยินดีปกป้องมุสตางค์ เพื่อแลกกับการเก็บภาษีอันน้อยนิด และบรรณาการประจำปี สันถวไมตรีดังกล่าว ช่วยปกป้องมุสตางค์ จากการรุกรานของจีน ที่เข้ายึดครองทิเบต ในปี 1950 ขุมทรัพย์ทั้งปวงของมุสตางค์ จึงยังรอดปลอดภัย
ทว่าต่อมา มุสตางค์ เริ่มเสื่อมถอยทางเศรษฐกิจ เมื่อนักเดินทาง หันมาใช้เส้นทางอื่นในการค้าขายสินค้า ผู้คนเลือนหายไปเรื่อยๆ ดินแดนแห่งนี้ ค่อยๆ ลดขนาดลง ล่วงเข้าสู่ยุคสงครามเย็น กษัตริย์บิสตา เข้าร่วมในขบวนการกองโจรติดอาวุธต่อต้านจีน ที่ CIA ของสหรัฐอเมริกาหนุนหลัง เพื่อขับไล่จีนออกจากทิเบต หลังการลุกฮือต่อต้านของชาวทิเบตในปี 1959 แต่ประสบความล้มเหลว รัฐบาลเนปาลปลดอาวุธกองกำลังในพื้นที่เมื่อปี 1974 ผลกระทบในครั้งนั้น ทำให้เนปาลปิดตายภูมิภาคนี้ จากโลกภายนอกอย่างแน่นหนาและยาวนาน มุสตางค์ ถูกลดบทบาทลง จนกลายเป็นเพียงเมืองเล็กๆ ที่ตั้งอยู่ระหว่างพรมแดนจีน-เนปาล รวมถึงกลายสภาพเป็นดินแดนลึกลับบนแผนที่โลก
กระทั่งเข้าสู่ยุคแห่งการท่องเที่ยว ปลายยอดเอเวอเรสต์ บนเทือกเขาหิมาลัย กลายเป็นจุดหมายสำคัญของนักปีนเขาทั่วโลก ระหว่างนั้น ทำให้หลายคนค้นพบว่า ในจุดสุดแดนของเขตอนุรักษ์อันนะปุรณะมีอาณาจักรมุสตางค์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของเขตอารยธรรมทิเบตซุกซ่อนอยู่
ต่อมาในปี 1990 นักโบราณคดี ค้นพบโครงกระดูกมนุษย์ อายุไม่ตํ่ากว่า 2,000 ปี จากการเข้าไปสำรวจถ้ำ รอบๆ อาณาจักรโบราณแห่งนี้ พบสิ่งของและเครื่องประดับเก่าแก่ และภาพวาดบนผนังถ้ำเป็นจำนวนมาก ปริศนาทางโบราณคดีมากมาย ทำให้นักสำรวจจำนวนหนึ่ง หันมาสนใจ มุสตางค์ อีกครั้ง
ราชอาณาจักรมุสตางค์ แห่งเทือกเขาหิมาลัย ที่ไม่เคยต้อนรับคนภายนอก กำลังเปิดประตูให้โลกได้ยล ลึกเข้าไปในเขตที่สูงแห้งแล้ง ทางเหนือของเนปาล สถูปในพระพุทธศาสนา เตือนให้เหล่านักเดินทางนึกถึงความเป็นไปได้ในการบรรลุธรรม ขณะที่ถนนสายใหม่ พาโลกภายนอกเข้าสู่ มุสตางค์ ผู้นำอย่างไม่เป็นทาการ ของอดีตราชอาณาจักรแห่งนี้ทรงวิตกว่า พสกนิกรของพระองค์ อาจสูญเสียวิถีชีวิตอย่างที่เคยเป็นมา ทว่าวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ และขุมทรัพย์จากทิเบต จะรอดพ้นความเปลี่ยนแปลงได้ละหรือ
นักท่องเที่ยวกลุ่มแรก ได้รับการอนุญาตให้มาเยือนมุสตางค์ เมื่อปี 1992 ดินแดงแห่งนี้ ไม่เพียงมีภูมิทัศน์งดงาม แต่ยังเป็นหน้าต่างสู่วัฒนธรรมทิเบต ซึ่งเลือนหายไปมากแล้วในที่อื่นๆ โลมันทัง เมืองใหญ่ที่อยู่ไม่ไกลจากมุสตางค์ มีโรงแรมหลายสิบแห่ง แม้ว่าจะมีประชากรอยู่เพียง 1,300 คน
จิกเม ซิงกี ปัลบาร์ บิสตา คือพระนามเต็มของกษัตริย์แห่งมุสตางค์ โดยพระบิดาของพระองค์คือ จิกเม ดอร์เจ ปัลบาร์ บิสตา กษัตริย์องค์สุดท้ายของอดีตราชอาณาจักรโล ทรงเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2016 สิริพระชนมายุ 86 เดิมกษัตริย์บิสตาประทับที่เมืองหลวงโลมันทังเป็นส่วนใหญ่ ในฐานะผู้นำทางจิตวิญญาณ ของดินแดนมุสตางค์ ก่อนที่จะย้ายมาประทับยังกรุงกาฐมาณฑุ และเสด็จสวรรคต
กษัตริย์จิกเม ทรงขึ้นเป็นกษัตริย์ลำดับที่ 26 ของราชวงศ์จนถึงปัจจุบัน แม้พระราชวังของพระองค์ในหมู่บ้านซารังจะทรุดโทรม เพราะได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวใหญ่ในปี 2015 แต่ก็ได้รับการปรับปรุงและดูแลรักษาอย่างดี ภายในเต็มไปด้วยปาติมากรรมและรูปหล่อโบราณ ถือเป็นสมบัติตกทอดทางศาสนาที่ลํ้าค่าซึ่งปลอดภัยจากมือของหัวขโมยและพ่อค้าวัตถุโบราณมานานหลายศตวรรษ แต่เมื่อโลกภายนอกแผ่อิทธิพลมาถึง ทั้งการท่องเที่ยวและถนนสายใหม่ที่ตัดผ่านเข้ามา โจรขโมยศิลปะก็กลายเป็นอีกหนึ่งในสารพัดสิ่งใหม่ที่พระองค์ทรงกังวล
ปิดฉากยุคแห่งการโดดเดี่ยว อาณาจักรโบราณที่ยังมีลมหายใจ ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมาอาณาจักรหิมาลัยโบราณแห่งนี้ ถูกแยกออกจากโลก แต่จวบจนปัจจุบัน การเดินทางสู่ มุสตางค์ สะดวกขึ้นด้วยการปรับปรุงถนนสายใหม่ๆ จากระยะทาง 450 กิโลเมตรจาก กรุงกาฐมาณฑุ ที่เคยต้องใช้เวลาเดินเท้า ขี่ม้าหรือจามรีนานหลายสัปดาห์ มุสตางค์ จึงคล้ายกับเป็นดินแดนที่ถูกโดดเดี่ยวจากชาวโลก มานานหลายสิบปี
ตอนนี้ นักเดินทางสามารถขับรถจากเมืองหลวงของเนปาล มาถึง มุสตางค์ โดยใช้เวลาสามวันด้วยถนนดินลูกรักที่สร้างขึ้น ตลอดจนผ่านการซ่อมแซม ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา แม้เหตุนํ้าท่วมถนน ดินถล่ม และทางน่าหวาดเสียว (ถนนขรุขระ แคบ หักศอก คดเคี้ยว เหมาะกับรถโฟร์วีล) มักทำให้เกิดความล่าช้าบ้างก็ตาม แต่ก็มีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
แม้ว่า มุสตางค์ จะได้ชื่อว่า เป็นหนึ่งในอาณาจักรโบราณ ที่ยังมีลมหายใจของโลก แต่ก็อาจเป็นลมหายใจที่รวยริน บนถนนสายใหม่ ที่นำพาชาวต่างชาติเข้ามา เป็นถนนเส้นเดียว กับที่พาผู้คนจากไป คนหนุ่มสาวจำนวนมาก เลือกเดินทางออกจากเมืองไปยังกาฐมาณฑุและต่างประเทศ มากกว่าจะอยู่กับฝูงแกะหรือจามรี เศรษฐกิจในมุสตางค์ถดถอยลง จนกษัตริย์จิกเม อาจต้องหวังพึ่งพาการท่องเที่ยว ที่อาจชุบชีวิตดินแดงมุสตางค์ ให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง แต่ด้วยอากาศที่หนาวเย็นจัด ทำให้มุสตางค์ จำกัดให้การท่องเที่ยว เป็นกิจกรรมที่ทำได้ปีละหกเดือนเท่านั้น ในส่วนของการท่องเที่ยว กษัตริย์จิกเม มีโรงแรมส่วนตัวของพระองค์หนึ่งแห่งในมุสตางค์ ซึ่งไม่ใกล้ไม่ไกลจากโรงแรมมีสมบัติของราชวงศ์ ที่พระองค์ทรงเก็บรักษาเอาไว้
ในอนาคตไม่ช้า สินค้าและผู้คน จะไหลรินมาเป็นสาย ถึงดินแดนแห่งนี้ ผ่านถนนสายใหม่สู่จีน โดยทางเหนือนั้น จีนกำลังสร้างเส้นทางการค้า ที่คาดว่าจะกำไรงาม และรอให้ถนนลาดยางสายใหม่ เชื่อมพรมแดนฝั่งนี้ กับทางหลวงที่จะทอดยาวไปได้ถึงกรุงปักกิ่ง ส่วนที่เหลือ ก็คือการเชื่อมถนนต่างๆ เข้าด้วยกัน เมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้ว ยุคใหม่ทางการค้าอาจจะเริ่มขึ้น ในซอกมุมที่เป็นตำนานของหลังคาโลกแห่งนี้
กว่าจะถึงช่วงเวลานั้น คำถามสำหรับกษัตริย์จิกเม และประชาชนในมุสตางค์ก็คือ พวกเขาจะอนุรักษ์บางส่วนของราชอาณาจักรเล็กๆ ที่กาลเวลาหลายศตวรรษ ทำให้กลายเป็นดินแดนสุดพิเศษนี้ ไว้ได้หรือไม่