ธงอาณาจักรสิกขิม
สิกขิม (Sikkim) สำหรับคนไทย โดยเฉพาะผู้ที่ติดตามเรื่องราวและศึกษาเรื่องในประเทศอินเดียเป็นอย่างดี หรือแม้แต่ผู้ที่ต้องการไปเที่ยว จะรู้จักดีว่าเป็น 1 ในสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม เนื่องจากสภาพอากาศที่ดี แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ (โดยเฉพาะสายบุญ ที่ชื่นชอบแนวพุทธทิเบต) รวมไปถึงอาชญากรรมที่อยู่ในระดับต่ำของอินเดีย น่าจะเป็นสิ่งที่ดึงดูดให้คนทั่วโลกเข้ามาท่องเที่ยวกันที่นี้บ่อยครั้ง
+
อย่างไรก็ตาม หากเปรียบที่ครั้งหนึ่ง ไทยเคยมีลาวเป็นราชอาณาจักรเพื่อนบ้าน ภูฏานเองก็เคยมีราชอาณาจักรเพื่อนบ้านอยู่ด้วยเช่นกัน นั้นก็คือ สิกขิม นั้นเอง ซึ่งสิกขิมนั้น ถูกยุบเลิกสถาบันกษัตริย์และตามมาด้วยมติการรวมตัวเข้ากับประเทศอินเดีย กลายเป็นรัฐสิกขิมในปัจจุบัน
+
สิ่งที่น่าศึกษาอยู่เรื่องหนึ่งก็คือ แม้ชื่อรัฐจะชื่อสิกขิม แต่ประชากรส่วนใหญ่กลับกลายเป็นคนเชื้อสายเนปาล พูดภาษาเนปาล และนับถือศาสนาฮินดูกัน แตกต่างกับชนพื้นเมืองสิกขิม ที่มีเชื้อสาย Bhutia พูดภาษาสิกขิม (ภาษาใกล้เคียงกับภาษาทิเบต) และนับถือพระพุทธศาสนานิกายวัชรยาน ซึ่งเรื่องราวมันมีที่มาที่ไปค่อนข้างพิศวงพอสมควร
+
หลายศตวรรษก่อน บริเวณรัฐสิกขิมปัจจุบันเป็นที่อยู่ของชนเผ่า 3 ชนเผ่า คือ Lepcha, Limbu, Magar ซึ่งทั้งหมดล้วนพูดภาษาตระกูลทิเบต ต่อมา ชนเผ่า Bhutia จากทิเบต ได้ลี้ภัยลงมาที่สิกขิมเนื่องจากความขัดแย้งระหว่างนิกายหมวกเหลืองและหมวกแดง และได้เข้ามาโน้มน้ามให้ชาว Bhutia ละทิ้งศาสนาพื้นเมืองและนับถือพระพุทธศาสนาแทน จากนั้นจึงได้สถาปนาอาณาจักรขึ้น โดยให้ Phuntsog Namgyal ซึ่งเป็นเชื้อสายของ Guru Tashi เจ้าชายอาณาจักร Kham ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ (Chogyal) พระองค์แรกของอาณาจักรสิกขิม และหลังจากนั้น ชนเผ่า Bhutia จึงได้ยึดครองดินแดนสิกขิมตั้งแต่นั้น โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่ Yuksom
+
การปกครองโดยอาณาจักรนั้น ได้กำหนดให้มีเสนาบดีชาว Bhutia 12 คน เรียกว่า Kalon และแบ่งดินแดนย่อยเป็น 12 ดินแดนเรียกว่า Dzong และมีป้อมปราการประจำอยู่ โดยให้เผ่า Lepcha เป็นผู้ครองดินแดนย่อยเหล่านั้น โดยในแต่ละดินแดนจะมี Kazi และ Thikandar เป็นผู้ให้เช่าที่ดินในราคาที่สูง และให้ Mandal กับ Karbari เป็นผู้รวมรวบค่าเช่าและเกลี่ยไกล่ข้อพิพาท รายได้ทุก 104 ส่วนในการให้เช่าที่ดิน 61 ส่วนจะเป็นค่ากินของ Kazi และ Thikandar 5 ส่วนจะถวายให้กับวัด และ 15 ส่วนมอบให้กับ Chogyal เพื่อเป็นรายได้ส่วนพระองค์ เผ่า Limbu ยังสามารถปกครองบ้านเมืองได้อิสระภายใต้การปกครองของ Chogyal โดยมีผู้นำเรียกว่า Subba ทุกชนเผ่าต่างยอมอยู่ภายใต้การปกครองของ Bhutia ยกเว้นเผ่า Magar ซึ่งได้อพยพหนีไปภายหลังพ่ายแพ้สงคราม ชนเผ่าทั้งหมดที่มีอยู่ ได้ก่อตั้งสภา Lho-Mehn-Tsong หรือ สภาครอบครัว โดยยกให้ Chogyal เป็นพระบิดา ยกให้เผ่า Lepcha เป็นพระมารดา และ เผ่า Limbu คือลูก และได้ทำสัญญากันว่าจะไม่รบฆ่ากันซึ่งกันและกัน โดยในครั้งนั้น มีผู้นำเผ่า Bhutia 8 คน ผู้นำเผ่า Limbu 12 คน และ ผู้นำเผ่า Lepcha เป็นผู้ทำสัญญา
+
พระราชวังเก่าในเมือง Rabdentse ที่มาของชื่อ 'สิกขิม'
Phuntsog Namgyal เสด็จสวรรคตในปี 1670 เจ้าชาย Tensung Namgyal ขึ้นครองราชย์ต่อมา และได้ย้ายเมืองหลวงจาก Yuksom ไป Rabdentse พระองค์มีพระมเหสี 3 พระองค์ องค์หนึ่งจากภูฎาน องค์หนึ่งจากทิเบต และ องค์หนึ่งเป็นชาว Limbu ซึ่งพระองค์ได้ตรัสถามชื่อพระราชวังกับพระนางชาว Limbu พระนางจึงตั้งชื่อพระราชวังว่า "Song Khim" ซึ่งภายหลังได้เพี้ยนมาเป็น Sukkim และกลายเป็น Sikkim หรือ สิกขิม ไปในที่สุด ภายหลังพระองค์ถูก เจ้าชาย Chakdor Namgyal บังคับสละราชบัลลังก์และขึ้นครองราชย์ในปี 1700 ทำให้ เจ้าหญิง Pendiongmu ซึ่งเป็นพระเชษฐภคินีต่างมารดาไม่พอพระทัยกับการกระทำดังกล่าว จึงได้ทรงไปที่ภูฏาน เพื่อขอให้ภูฏานทำการโค่นล้ม Chakdor Namgyal ทำให้สิกขิมเผชิญกับการรุกรานโดยภูฏานถึง 6 ปี จนกระทั่ง Chakdor Namgyal ทรงลี้ภัยไปที่ทิเบต แต่ทหารกูฏานยังไม่ละมือ จึงเข้าไปตีทิเบตและทำให้ชาวทิเบตต้องขับไล่ทหารภูฏานไปอยู่ตลอดจนกระทั่งสงบลง จากจึงขอให้ Chakdor Namgyal กลับไปครองบัลลังก์ที่สิกขิมจนเสด็จสวรรคตในปี 1717 จากนั้นเจ้าชาย Gyurmed Namgyal จึงได้ขึ้นครองราชย์ต่อมา
+
อย่างไรก็ตาม ในยุคของ Gyurmed Namgyal ก็ยังไม่พ้นสงคราม โดยครั้งนั้นได้เกิดสงครามระหว่างสิกขิมและเนปาลอยู่ต่อเนื่องจนกระทั่งสวรรคตในปี 1733 จากนั้น เจ้าชาย Phuntsog Namgyal II พระราชโอรส จึงได้ขึ้นครองราชย์ต่อ และยังเกิดสงครามอยู่กับเนปาลต่อโดยเนปาลได้ยกทัพเข้าตีเมือง Rabdentse พระองค์สวรรคตในปี 1780 และขึ้นครองราชย์ต่อโดย Tenzing Namgyal พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่อ่อนแอ จึงถูกเนปาลตีเมืองแตกและอพยพไปที่ทิเบตและสวรรคตที่นั้น ต่อมา Tshudpud Namgyal พระราชโอรส ได้กลับมาสิกขิมและพิจารณาเห็นว่า Rabdentse ใกล้กับเนปาลเกินไป จึงย้ายเมืองหลวงมาที่ Tumlong
+
ต่อมา อังกฤษได้เข้าเป็นพันธมิตรกับสิกขิม ทำให้เนปาลโกรธแค้นมาก เนื่องจากอังกฤษเองก็เป็นศัตรูกับเนปาลในขณะนั้นเช่นกัน จึงได้เข้าตีสิกขิมอีกครั้ง ทำให้อังกฤษตอบโต้ด้วยการทำสงครามกับเนปาล ผลการทำสงครามทำให้เนปาลพ่ายแพ้ และทำสนธิสัญญา Sugauli โดยการยกดินแดน 1/3 ให้กับอังกฤษ ขณะที่ทำสนธิสัญญา Titalia เพื่อยกดินแดนบางส่วนที่เนปาลเคยยึดครองกลับมาให้กับสิกขิม
+
ความสัมพันธ์ระหว่างอังกฤษกับสิกขิมอยู่ในฐานะที่ค่อนข้างดีในช่วงแรก อย่างไรก็ตาม เมื่อ Joseph Hooker นักพฤกษศาสตร์ และ Archibald Campbell ผู้ช่วย หลงเข้าไปในเขตหวงห้าม และถูกสิกขิมจับกุมในข้อหาสนับสนุน T.Namguey อดีตอัครเสนาบดีที่อยู่ฝ่ายทิเบต ทำให้อังกฤษไม่พอใจและพยายามจะยึดครองดินแดนนี้ สิกขิมแม้จะพยายามยกดินแดน Darjeeling และ Terai ให้กับอังกฤษ อังกฤษก็ยื่นคำขาดว่าต้องการให้สิกขิมเข้ามาอยู่ในอาณัติของตน สิกขิมจึงยอมลงนามในสนธิสัญญา Tumlong เข้าเป็นรัฐอารักขาของอังกฤษโดยพฤตินัยอย่างสมบูรณ์ โดยยังให้สิกขิมยังปกครองอาณาจักรอิสระได้ในระยะห่างจากเมืองหลวง 2,500 ตารางไมล์ อย่างไรก็ตาม Tsugphud Namgyal ถูกพระราชโอรสบังคับให้สละราชบัลลังก์ในปี 1862 และสวรรคตในปีต่อมา
+
Sidkeong Namgyal ได้ขึ้นครองราชย์จนถึงปี 1874 จึงสวรรคต จากนั้น Thutob Namgyal พระอนุชาต่างพระมารดา จึงได้ขึ้นครองราชย์ต่อมา ในเวลานั้น อังกฤษเริ่มสนใจจะทำการค้ากับทิเบต และพยายามทำการขยายดินแดนเข้ามาในสิกขิม ทำให้ทิเบตเข้ามายึดครองป้อมทางตอนเหนือของสิกขิม และทำให้ Thutob Namgyal ถูกจับกุมพร้อมกับพระมเหสีขณะที่ทำการเจรจากับอังกฤษที่เมือง Calcutta อย่างไรก็ตาม เมื่อทิเบตพ่ายแพ้ต่ออังกฤษ จึงได้ปล่อยตัวพระองค์ไปก่อนที่จะจับกุมพระองค์อีกครั้ง และได้ย้ายเมืองหลวงมาที่ Gangtok จนถึงทุกวันนี้
+
Sidkeong Tulku Namgyal กษัตริย์นักปฏิรูปผู้มีพระชนมายุและระยะเวลาครองราชย์แสนสั้น
ปี 1895 Thutob Namgyal ทรงถูกปล่อยตัวอีกครั้ง และได้ทำสนธิสัญญา 10 ข้อ เพื่อพยายามเอาอำนาจการปกครองคืนให้กับสิกขิม แต่ผู้ว่าการของอินเดียในขณะนั้นไม่เห็นด้วย โดย John Claude White ยินยอมให้พระองค์มีเพียงแค่อำนาจทางตุลาการเท่านั้น ต่อมา ปี 1905 เจ้าชายแห่ง Wales หรือต่อมาคือ พระเจ้า George ที่ 5 เสด็จเยือนอินเดีย และได้พบกับ Thutob Namgyal และได้ให้เจ้าชาย Sidkeong Tulku Namgyal ไปศึกษาต่อที่อังกฤษ ต่อมาปี 1914 Thutob Namgyal เสด็จสวรรคต เจ้าชาย Sidkeong Tulku Namgyal ทรงขึ้นครองราชย์ต่อมา โดยเชื่อกันว่าพระองค์คือ Sidkeong Namgyal กลับชาติมาเกิด จึงได้ทำนุบำรุงวัด Phodong ที่พระปิตุลาเป็นผู้อุปถัมภ์ พระองค์ยังเป็นหนึ่งในพระมหากษัตริย์นักปฏิรูป ทรงนำเอาหลักการปกครองจากอังกฤษมาพัฒนาสิกขิมจนเจริญในระดับหนึ่ง และทรงมีกำหนดหมายหมั่นจะอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิง Hteiktin Ma Lat ซึ่งเป็นพระนัดดาของเจ้าชายกะนองเมงสา อดีตพระมหาอุปราชาแห่งเมียนมาร์ แต่ทว่าพระองค์กลับเสด็จสวรรคตเสียก่อนในปี 1914 ด้วยโรคพระหทัยวาย สิริพระชนมายุเพียง 35 พรรษา
+
Tashi Namgyal พระราชอนุชา ขึ้นครองราชย์ต่อมา ยุคสมัยของพระองค์ยังคงมีการปฏิรูปภายในบ้านเมืองต่อเนื่อง ทั้งด้านการปกครองบ้านเมือง ด้านสังคม ตลอดจนการปฏิรูปทั้งหลาย จนกระทั่งปี 1947 อินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษ สิกขิมได้จัดการเลือกให้อยู่กับอินเดียหรือดำรงอิสระ ซึ่งชาวสิกขิมตกลงที่จะยังเป็นอิสระอยู่ นายกรัฐมนตรี Jawaharlal Nehru ประกาศว่าสิกขิมอยู่ในฐานะรัฐพิเศษ และมีโอกาสแยกตัวออกจากอินเดียได้ในอนาคต
+
Palden Thondup Namgyal กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งสิกขิม
อย่างไรก็ตาม เมื่อ Tashi Namgyal เสด็จสวรรคตในปี 1963 เมื่อพระราชโอรส คือ Palden Thondup Namgyal ขึ้นครองราชย์ กลุ่มพรรค Congress สิกขิม (Sikkim National Congress) ซึ่งเป็นกลุ่มชาวเนปาลในสิกขิม ได้เรียกร้องให้มีการล้มล้างระบอบราชาธิปไตยและทำการรวมเข้ากับอินเดีย ความขัดแย้งนี้มีอยู่เป็นหลายสิบปี จนกระทั่งรัฐบาลสิกขิมประกาศเลือกตั้งและผลปรากฎว่า มีความต้องการให้ล้มล้างระบอบราชาธิปไตยและยุบเข้ากับอินเดียถึง 59,637 เสียง หรือประมาณ 97.55% ขณะที่มีผู้ไม่เห็นด้วยมีประมาณ 1,496 เสียง หรือ 2.45% ขณะที่ผู้มีสิทธิที่ไม่ได้ลงคะแนน มีมากถึง 97,000 เสียง หรือประมาณ 63.02% ของผู้มีเสียงทั้งหมด ซึ่งผลการเลือกตั้ง ทำให้ระบอบราชาธิปไตยของสิกขิมถูกล้มล้าง และถูกรวมเข้ากับอินเดีย จีนและปากีสถานต่างแสดงความเห็นว่าการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นเรื่องตลก และเชื่อว่าอินเดียอยู่เบื้องหลังเพื่อต้องการใช้เป็นฐานในการคานอำนาจกับจีน ขณะที่ Palden Thondup Namgyal กล่าวว่า เป็นการเลือกตั้งที่ผิดกฎหมายและไม่เป็นรัฐธรรมนูญ หลังจากการล้มล้าง สิกขิมได้มีการเลือกตั้งมุขมนตรี โดยปัจจุบัน มุขมนตรีคนปัจจุบัน Pawan Kumar Chamling เป็นมุขมนตรีที่อยู่อย่างยาวนานที่สุดนับตั้งแต่การยุบเข้ากับอินเดีย และยังเป็นมุขมนตรีที่อยู่นานที่สุดของอินเดียในปัจจุบัน
+
Pawan Kumar Chamling มุขมนตรีคนปัจจุบันของสิกขิม ปัจจุบันอยู่ในอำนาจมา 24 ปีแล้ว
ปัจจุบัน ประชากรส่วนใหญ่ของสิกขิม เป็นชาวเนปาล นับถือศาสนาฮินดู และส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นชนพื้นเมือง อันเนื่องมาจากการที่สิกขิมเคยถูกเนปาลปกครอง และยังมีประชากรจากประเทศเนปาลอพยพเข้าไปอยู่สิกขิมมาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 18 ซึ่งหากจะมองว่า การโค่นล้มอำนาจสถาบันพระมหากษัตริย์ของชาวเนปาลในสิกขิม อาจจะเป็นการแก้แค้นจากแผลเก่าครั้งที่เนปาลเคยถูกอังกฤษเข้าตีแล้วยึดดินแดนตัวเองคืนให้กับสิกขิม ก็อาจจะไม่ผิดนัก เพราะในประวัติศาสตร์ระหว่าง 2 ชาตินี้ ยังเต็มไปด้วยความแค้น และปัจจุบัน ก็ยังน่าจะเป็นชัยชนะของชาวเนปาลอยู่
พระเจ้า Jigme Singye Wangchuck พระราชชนกของ พระเจ้า Jigme Khesar Namgyel Wangchuck พระมหากษัตริย์ภูฏานองค์ปัจจุบัน กับ Palden Thondup Namgyal ขณะทรงกำลังยิงธนู
สิกขิม อาณาจักรที่โลกลืม
ธงอาณาจักรสิกขิม
สิกขิม (Sikkim) สำหรับคนไทย โดยเฉพาะผู้ที่ติดตามเรื่องราวและศึกษาเรื่องในประเทศอินเดียเป็นอย่างดี หรือแม้แต่ผู้ที่ต้องการไปเที่ยว จะรู้จักดีว่าเป็น 1 ในสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม เนื่องจากสภาพอากาศที่ดี แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ (โดยเฉพาะสายบุญ ที่ชื่นชอบแนวพุทธทิเบต) รวมไปถึงอาชญากรรมที่อยู่ในระดับต่ำของอินเดีย น่าจะเป็นสิ่งที่ดึงดูดให้คนทั่วโลกเข้ามาท่องเที่ยวกันที่นี้บ่อยครั้ง
+
อย่างไรก็ตาม หากเปรียบที่ครั้งหนึ่ง ไทยเคยมีลาวเป็นราชอาณาจักรเพื่อนบ้าน ภูฏานเองก็เคยมีราชอาณาจักรเพื่อนบ้านอยู่ด้วยเช่นกัน นั้นก็คือ สิกขิม นั้นเอง ซึ่งสิกขิมนั้น ถูกยุบเลิกสถาบันกษัตริย์และตามมาด้วยมติการรวมตัวเข้ากับประเทศอินเดีย กลายเป็นรัฐสิกขิมในปัจจุบัน
+
สิ่งที่น่าศึกษาอยู่เรื่องหนึ่งก็คือ แม้ชื่อรัฐจะชื่อสิกขิม แต่ประชากรส่วนใหญ่กลับกลายเป็นคนเชื้อสายเนปาล พูดภาษาเนปาล และนับถือศาสนาฮินดูกัน แตกต่างกับชนพื้นเมืองสิกขิม ที่มีเชื้อสาย Bhutia พูดภาษาสิกขิม (ภาษาใกล้เคียงกับภาษาทิเบต) และนับถือพระพุทธศาสนานิกายวัชรยาน ซึ่งเรื่องราวมันมีที่มาที่ไปค่อนข้างพิศวงพอสมควร
+
หลายศตวรรษก่อน บริเวณรัฐสิกขิมปัจจุบันเป็นที่อยู่ของชนเผ่า 3 ชนเผ่า คือ Lepcha, Limbu, Magar ซึ่งทั้งหมดล้วนพูดภาษาตระกูลทิเบต ต่อมา ชนเผ่า Bhutia จากทิเบต ได้ลี้ภัยลงมาที่สิกขิมเนื่องจากความขัดแย้งระหว่างนิกายหมวกเหลืองและหมวกแดง และได้เข้ามาโน้มน้ามให้ชาว Bhutia ละทิ้งศาสนาพื้นเมืองและนับถือพระพุทธศาสนาแทน จากนั้นจึงได้สถาปนาอาณาจักรขึ้น โดยให้ Phuntsog Namgyal ซึ่งเป็นเชื้อสายของ Guru Tashi เจ้าชายอาณาจักร Kham ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ (Chogyal) พระองค์แรกของอาณาจักรสิกขิม และหลังจากนั้น ชนเผ่า Bhutia จึงได้ยึดครองดินแดนสิกขิมตั้งแต่นั้น โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่ Yuksom
+
การปกครองโดยอาณาจักรนั้น ได้กำหนดให้มีเสนาบดีชาว Bhutia 12 คน เรียกว่า Kalon และแบ่งดินแดนย่อยเป็น 12 ดินแดนเรียกว่า Dzong และมีป้อมปราการประจำอยู่ โดยให้เผ่า Lepcha เป็นผู้ครองดินแดนย่อยเหล่านั้น โดยในแต่ละดินแดนจะมี Kazi และ Thikandar เป็นผู้ให้เช่าที่ดินในราคาที่สูง และให้ Mandal กับ Karbari เป็นผู้รวมรวบค่าเช่าและเกลี่ยไกล่ข้อพิพาท รายได้ทุก 104 ส่วนในการให้เช่าที่ดิน 61 ส่วนจะเป็นค่ากินของ Kazi และ Thikandar 5 ส่วนจะถวายให้กับวัด และ 15 ส่วนมอบให้กับ Chogyal เพื่อเป็นรายได้ส่วนพระองค์ เผ่า Limbu ยังสามารถปกครองบ้านเมืองได้อิสระภายใต้การปกครองของ Chogyal โดยมีผู้นำเรียกว่า Subba ทุกชนเผ่าต่างยอมอยู่ภายใต้การปกครองของ Bhutia ยกเว้นเผ่า Magar ซึ่งได้อพยพหนีไปภายหลังพ่ายแพ้สงคราม ชนเผ่าทั้งหมดที่มีอยู่ ได้ก่อตั้งสภา Lho-Mehn-Tsong หรือ สภาครอบครัว โดยยกให้ Chogyal เป็นพระบิดา ยกให้เผ่า Lepcha เป็นพระมารดา และ เผ่า Limbu คือลูก และได้ทำสัญญากันว่าจะไม่รบฆ่ากันซึ่งกันและกัน โดยในครั้งนั้น มีผู้นำเผ่า Bhutia 8 คน ผู้นำเผ่า Limbu 12 คน และ ผู้นำเผ่า Lepcha เป็นผู้ทำสัญญา
+
พระราชวังเก่าในเมือง Rabdentse ที่มาของชื่อ 'สิกขิม'
Phuntsog Namgyal เสด็จสวรรคตในปี 1670 เจ้าชาย Tensung Namgyal ขึ้นครองราชย์ต่อมา และได้ย้ายเมืองหลวงจาก Yuksom ไป Rabdentse พระองค์มีพระมเหสี 3 พระองค์ องค์หนึ่งจากภูฎาน องค์หนึ่งจากทิเบต และ องค์หนึ่งเป็นชาว Limbu ซึ่งพระองค์ได้ตรัสถามชื่อพระราชวังกับพระนางชาว Limbu พระนางจึงตั้งชื่อพระราชวังว่า "Song Khim" ซึ่งภายหลังได้เพี้ยนมาเป็น Sukkim และกลายเป็น Sikkim หรือ สิกขิม ไปในที่สุด ภายหลังพระองค์ถูก เจ้าชาย Chakdor Namgyal บังคับสละราชบัลลังก์และขึ้นครองราชย์ในปี 1700 ทำให้ เจ้าหญิง Pendiongmu ซึ่งเป็นพระเชษฐภคินีต่างมารดาไม่พอพระทัยกับการกระทำดังกล่าว จึงได้ทรงไปที่ภูฏาน เพื่อขอให้ภูฏานทำการโค่นล้ม Chakdor Namgyal ทำให้สิกขิมเผชิญกับการรุกรานโดยภูฏานถึง 6 ปี จนกระทั่ง Chakdor Namgyal ทรงลี้ภัยไปที่ทิเบต แต่ทหารกูฏานยังไม่ละมือ จึงเข้าไปตีทิเบตและทำให้ชาวทิเบตต้องขับไล่ทหารภูฏานไปอยู่ตลอดจนกระทั่งสงบลง จากจึงขอให้ Chakdor Namgyal กลับไปครองบัลลังก์ที่สิกขิมจนเสด็จสวรรคตในปี 1717 จากนั้นเจ้าชาย Gyurmed Namgyal จึงได้ขึ้นครองราชย์ต่อมา
+
อย่างไรก็ตาม ในยุคของ Gyurmed Namgyal ก็ยังไม่พ้นสงคราม โดยครั้งนั้นได้เกิดสงครามระหว่างสิกขิมและเนปาลอยู่ต่อเนื่องจนกระทั่งสวรรคตในปี 1733 จากนั้น เจ้าชาย Phuntsog Namgyal II พระราชโอรส จึงได้ขึ้นครองราชย์ต่อ และยังเกิดสงครามอยู่กับเนปาลต่อโดยเนปาลได้ยกทัพเข้าตีเมือง Rabdentse พระองค์สวรรคตในปี 1780 และขึ้นครองราชย์ต่อโดย Tenzing Namgyal พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่อ่อนแอ จึงถูกเนปาลตีเมืองแตกและอพยพไปที่ทิเบตและสวรรคตที่นั้น ต่อมา Tshudpud Namgyal พระราชโอรส ได้กลับมาสิกขิมและพิจารณาเห็นว่า Rabdentse ใกล้กับเนปาลเกินไป จึงย้ายเมืองหลวงมาที่ Tumlong
+
ต่อมา อังกฤษได้เข้าเป็นพันธมิตรกับสิกขิม ทำให้เนปาลโกรธแค้นมาก เนื่องจากอังกฤษเองก็เป็นศัตรูกับเนปาลในขณะนั้นเช่นกัน จึงได้เข้าตีสิกขิมอีกครั้ง ทำให้อังกฤษตอบโต้ด้วยการทำสงครามกับเนปาล ผลการทำสงครามทำให้เนปาลพ่ายแพ้ และทำสนธิสัญญา Sugauli โดยการยกดินแดน 1/3 ให้กับอังกฤษ ขณะที่ทำสนธิสัญญา Titalia เพื่อยกดินแดนบางส่วนที่เนปาลเคยยึดครองกลับมาให้กับสิกขิม
+
ความสัมพันธ์ระหว่างอังกฤษกับสิกขิมอยู่ในฐานะที่ค่อนข้างดีในช่วงแรก อย่างไรก็ตาม เมื่อ Joseph Hooker นักพฤกษศาสตร์ และ Archibald Campbell ผู้ช่วย หลงเข้าไปในเขตหวงห้าม และถูกสิกขิมจับกุมในข้อหาสนับสนุน T.Namguey อดีตอัครเสนาบดีที่อยู่ฝ่ายทิเบต ทำให้อังกฤษไม่พอใจและพยายามจะยึดครองดินแดนนี้ สิกขิมแม้จะพยายามยกดินแดน Darjeeling และ Terai ให้กับอังกฤษ อังกฤษก็ยื่นคำขาดว่าต้องการให้สิกขิมเข้ามาอยู่ในอาณัติของตน สิกขิมจึงยอมลงนามในสนธิสัญญา Tumlong เข้าเป็นรัฐอารักขาของอังกฤษโดยพฤตินัยอย่างสมบูรณ์ โดยยังให้สิกขิมยังปกครองอาณาจักรอิสระได้ในระยะห่างจากเมืองหลวง 2,500 ตารางไมล์ อย่างไรก็ตาม Tsugphud Namgyal ถูกพระราชโอรสบังคับให้สละราชบัลลังก์ในปี 1862 และสวรรคตในปีต่อมา
+
Sidkeong Namgyal ได้ขึ้นครองราชย์จนถึงปี 1874 จึงสวรรคต จากนั้น Thutob Namgyal พระอนุชาต่างพระมารดา จึงได้ขึ้นครองราชย์ต่อมา ในเวลานั้น อังกฤษเริ่มสนใจจะทำการค้ากับทิเบต และพยายามทำการขยายดินแดนเข้ามาในสิกขิม ทำให้ทิเบตเข้ามายึดครองป้อมทางตอนเหนือของสิกขิม และทำให้ Thutob Namgyal ถูกจับกุมพร้อมกับพระมเหสีขณะที่ทำการเจรจากับอังกฤษที่เมือง Calcutta อย่างไรก็ตาม เมื่อทิเบตพ่ายแพ้ต่ออังกฤษ จึงได้ปล่อยตัวพระองค์ไปก่อนที่จะจับกุมพระองค์อีกครั้ง และได้ย้ายเมืองหลวงมาที่ Gangtok จนถึงทุกวันนี้
+
Sidkeong Tulku Namgyal กษัตริย์นักปฏิรูปผู้มีพระชนมายุและระยะเวลาครองราชย์แสนสั้น
ปี 1895 Thutob Namgyal ทรงถูกปล่อยตัวอีกครั้ง และได้ทำสนธิสัญญา 10 ข้อ เพื่อพยายามเอาอำนาจการปกครองคืนให้กับสิกขิม แต่ผู้ว่าการของอินเดียในขณะนั้นไม่เห็นด้วย โดย John Claude White ยินยอมให้พระองค์มีเพียงแค่อำนาจทางตุลาการเท่านั้น ต่อมา ปี 1905 เจ้าชายแห่ง Wales หรือต่อมาคือ พระเจ้า George ที่ 5 เสด็จเยือนอินเดีย และได้พบกับ Thutob Namgyal และได้ให้เจ้าชาย Sidkeong Tulku Namgyal ไปศึกษาต่อที่อังกฤษ ต่อมาปี 1914 Thutob Namgyal เสด็จสวรรคต เจ้าชาย Sidkeong Tulku Namgyal ทรงขึ้นครองราชย์ต่อมา โดยเชื่อกันว่าพระองค์คือ Sidkeong Namgyal กลับชาติมาเกิด จึงได้ทำนุบำรุงวัด Phodong ที่พระปิตุลาเป็นผู้อุปถัมภ์ พระองค์ยังเป็นหนึ่งในพระมหากษัตริย์นักปฏิรูป ทรงนำเอาหลักการปกครองจากอังกฤษมาพัฒนาสิกขิมจนเจริญในระดับหนึ่ง และทรงมีกำหนดหมายหมั่นจะอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิง Hteiktin Ma Lat ซึ่งเป็นพระนัดดาของเจ้าชายกะนองเมงสา อดีตพระมหาอุปราชาแห่งเมียนมาร์ แต่ทว่าพระองค์กลับเสด็จสวรรคตเสียก่อนในปี 1914 ด้วยโรคพระหทัยวาย สิริพระชนมายุเพียง 35 พรรษา
+
Tashi Namgyal พระราชอนุชา ขึ้นครองราชย์ต่อมา ยุคสมัยของพระองค์ยังคงมีการปฏิรูปภายในบ้านเมืองต่อเนื่อง ทั้งด้านการปกครองบ้านเมือง ด้านสังคม ตลอดจนการปฏิรูปทั้งหลาย จนกระทั่งปี 1947 อินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษ สิกขิมได้จัดการเลือกให้อยู่กับอินเดียหรือดำรงอิสระ ซึ่งชาวสิกขิมตกลงที่จะยังเป็นอิสระอยู่ นายกรัฐมนตรี Jawaharlal Nehru ประกาศว่าสิกขิมอยู่ในฐานะรัฐพิเศษ และมีโอกาสแยกตัวออกจากอินเดียได้ในอนาคต
+
Palden Thondup Namgyal กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งสิกขิม
อย่างไรก็ตาม เมื่อ Tashi Namgyal เสด็จสวรรคตในปี 1963 เมื่อพระราชโอรส คือ Palden Thondup Namgyal ขึ้นครองราชย์ กลุ่มพรรค Congress สิกขิม (Sikkim National Congress) ซึ่งเป็นกลุ่มชาวเนปาลในสิกขิม ได้เรียกร้องให้มีการล้มล้างระบอบราชาธิปไตยและทำการรวมเข้ากับอินเดีย ความขัดแย้งนี้มีอยู่เป็นหลายสิบปี จนกระทั่งรัฐบาลสิกขิมประกาศเลือกตั้งและผลปรากฎว่า มีความต้องการให้ล้มล้างระบอบราชาธิปไตยและยุบเข้ากับอินเดียถึง 59,637 เสียง หรือประมาณ 97.55% ขณะที่มีผู้ไม่เห็นด้วยมีประมาณ 1,496 เสียง หรือ 2.45% ขณะที่ผู้มีสิทธิที่ไม่ได้ลงคะแนน มีมากถึง 97,000 เสียง หรือประมาณ 63.02% ของผู้มีเสียงทั้งหมด ซึ่งผลการเลือกตั้ง ทำให้ระบอบราชาธิปไตยของสิกขิมถูกล้มล้าง และถูกรวมเข้ากับอินเดีย จีนและปากีสถานต่างแสดงความเห็นว่าการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นเรื่องตลก และเชื่อว่าอินเดียอยู่เบื้องหลังเพื่อต้องการใช้เป็นฐานในการคานอำนาจกับจีน ขณะที่ Palden Thondup Namgyal กล่าวว่า เป็นการเลือกตั้งที่ผิดกฎหมายและไม่เป็นรัฐธรรมนูญ หลังจากการล้มล้าง สิกขิมได้มีการเลือกตั้งมุขมนตรี โดยปัจจุบัน มุขมนตรีคนปัจจุบัน Pawan Kumar Chamling เป็นมุขมนตรีที่อยู่อย่างยาวนานที่สุดนับตั้งแต่การยุบเข้ากับอินเดีย และยังเป็นมุขมนตรีที่อยู่นานที่สุดของอินเดียในปัจจุบัน
+
Pawan Kumar Chamling มุขมนตรีคนปัจจุบันของสิกขิม ปัจจุบันอยู่ในอำนาจมา 24 ปีแล้ว
ปัจจุบัน ประชากรส่วนใหญ่ของสิกขิม เป็นชาวเนปาล นับถือศาสนาฮินดู และส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นชนพื้นเมือง อันเนื่องมาจากการที่สิกขิมเคยถูกเนปาลปกครอง และยังมีประชากรจากประเทศเนปาลอพยพเข้าไปอยู่สิกขิมมาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 18 ซึ่งหากจะมองว่า การโค่นล้มอำนาจสถาบันพระมหากษัตริย์ของชาวเนปาลในสิกขิม อาจจะเป็นการแก้แค้นจากแผลเก่าครั้งที่เนปาลเคยถูกอังกฤษเข้าตีแล้วยึดดินแดนตัวเองคืนให้กับสิกขิม ก็อาจจะไม่ผิดนัก เพราะในประวัติศาสตร์ระหว่าง 2 ชาตินี้ ยังเต็มไปด้วยความแค้น และปัจจุบัน ก็ยังน่าจะเป็นชัยชนะของชาวเนปาลอยู่
พระเจ้า Jigme Singye Wangchuck พระราชชนกของ พระเจ้า Jigme Khesar Namgyel Wangchuck พระมหากษัตริย์ภูฏานองค์ปัจจุบัน กับ Palden Thondup Namgyal ขณะทรงกำลังยิงธนู