สมชาย ปรีชาศิลปกุล
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การให้มีนายกฯพระราชทานตามรัฐธรรมนูญมาตรา 7 เป็นข้อเสนอที่เคยเกิดขึ้นสมัยที่กลุ่มพันธ มิตรชุมนุมต่อต้านรัฐบาลขณะนั้นเมื่อปี 2549
และก็เป็นที่ปรากฏและยอมรับในสังคมแล้วว่า ข้อเสนอนี้เป็น ไปไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญฉบับที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
นายกฯพระราชทานเคยเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในประวัติ ศาสตร์การเมืองไทย คือ การแต่งตั้งนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ภายหลังที่จอมพลถนอม กิตติขจร ลาออกจากตำแหน่งเมื่อปี 2516
และที่ต้องมีการพระราชทานนายกฯนั้น เพราะการเมืองไทยไม่มีสมาชิกรัฐสภา เป็นการปกครองโดยระบอบเผด็จการทหารและไม่มีรัฐธรรมนูญ
ดังนั้นข้ออ้างที่ระบุว่าการมีนายกฯพระราชทานเป็นประเพณีที่เคยปฏิบัติสืบต่อกันมา จึงไม่มีน้ำหนักเพียงพอ เพราะเหตุการณ์นั้นผ่านมาแล้ว 80 ปี และเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว จะมีก็แต่การทำรัฐประหารที่มักเกิดขึ้น
ข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมคือพยายามตีความมาตรา 7 ให้กว้าง แต่ตัวรัฐธรรมนูญไม่ได้เปิดช่องให้มีการใช้มาตรานี้ เพราะขณะนี้ก็มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และมีเสียงข้างมากเสียงข้างน้อย อีกทั้ง ยังมีรัฐธรรมนูญที่คอยรองรับ
ฉะนั้นข้อเสนอนายกฯพระราชทานจึงขัดกับรัฐธรรมนูญ ในหลายมาตรา และตามกฎหมายข้อเสนอดังกล่าวนี้ย่อมขัดกับมาตรา 7 โดยตรงอยู่แล้ว
เนื่องจากมาตรา 7 ระบุว่า ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
สำหรับเรื่องการจัดตั้งสภาประชาชนนั้น เป็นข้อเสนอที่สามารถกระทำได้ โดยเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับสภาประชาชนเข้าไป หากคนส่วนใหญ่ยอมรับก็เป็นเรื่องที่ทำได้
ดีกว่าจัดตั้งองค์กรที่ไม่เป็นที่รองรับของรัฐธรรมนูญ มิเช่นนั้นจะเกิดข้อสงสัยมากมายเกี่ยวกับกระบวนการและวิธีการ จัดตั้งขององค์กร
ส่วนที่บอกว่าให้รัฐบาลยุบสภา นายกฯ และคณะรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง ในแนวทางของกฎหมายแม้จะมีรัฐบาลรักษาการ สุดท้ายก็ต้องนำไปสู่การเลือกตั้ง ให้ประชาชนเสียงข้างมากเลือกผู้แทนเข้ามาบริหารตามระบอบประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญ
แต่ไม่มีช่องว่างใดที่จะทำให้มีนายกฯพระราชทานได้เลย
นายก มาตรา 7
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การให้มีนายกฯพระราชทานตามรัฐธรรมนูญมาตรา 7 เป็นข้อเสนอที่เคยเกิดขึ้นสมัยที่กลุ่มพันธ มิตรชุมนุมต่อต้านรัฐบาลขณะนั้นเมื่อปี 2549
และก็เป็นที่ปรากฏและยอมรับในสังคมแล้วว่า ข้อเสนอนี้เป็น ไปไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญฉบับที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
นายกฯพระราชทานเคยเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในประวัติ ศาสตร์การเมืองไทย คือ การแต่งตั้งนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ภายหลังที่จอมพลถนอม กิตติขจร ลาออกจากตำแหน่งเมื่อปี 2516
และที่ต้องมีการพระราชทานนายกฯนั้น เพราะการเมืองไทยไม่มีสมาชิกรัฐสภา เป็นการปกครองโดยระบอบเผด็จการทหารและไม่มีรัฐธรรมนูญ
ดังนั้นข้ออ้างที่ระบุว่าการมีนายกฯพระราชทานเป็นประเพณีที่เคยปฏิบัติสืบต่อกันมา จึงไม่มีน้ำหนักเพียงพอ เพราะเหตุการณ์นั้นผ่านมาแล้ว 80 ปี และเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว จะมีก็แต่การทำรัฐประหารที่มักเกิดขึ้น
ข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมคือพยายามตีความมาตรา 7 ให้กว้าง แต่ตัวรัฐธรรมนูญไม่ได้เปิดช่องให้มีการใช้มาตรานี้ เพราะขณะนี้ก็มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และมีเสียงข้างมากเสียงข้างน้อย อีกทั้ง ยังมีรัฐธรรมนูญที่คอยรองรับ
ฉะนั้นข้อเสนอนายกฯพระราชทานจึงขัดกับรัฐธรรมนูญ ในหลายมาตรา และตามกฎหมายข้อเสนอดังกล่าวนี้ย่อมขัดกับมาตรา 7 โดยตรงอยู่แล้ว
เนื่องจากมาตรา 7 ระบุว่า ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
สำหรับเรื่องการจัดตั้งสภาประชาชนนั้น เป็นข้อเสนอที่สามารถกระทำได้ โดยเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับสภาประชาชนเข้าไป หากคนส่วนใหญ่ยอมรับก็เป็นเรื่องที่ทำได้
ดีกว่าจัดตั้งองค์กรที่ไม่เป็นที่รองรับของรัฐธรรมนูญ มิเช่นนั้นจะเกิดข้อสงสัยมากมายเกี่ยวกับกระบวนการและวิธีการ จัดตั้งขององค์กร
ส่วนที่บอกว่าให้รัฐบาลยุบสภา นายกฯ และคณะรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง ในแนวทางของกฎหมายแม้จะมีรัฐบาลรักษาการ สุดท้ายก็ต้องนำไปสู่การเลือกตั้ง ให้ประชาชนเสียงข้างมากเลือกผู้แทนเข้ามาบริหารตามระบอบประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญ
แต่ไม่มีช่องว่างใดที่จะทำให้มีนายกฯพระราชทานได้เลย