สภา นอกจากจะมีอำนาจนิติบัญญัติแล้ว ยังได้อำนาจในการก่อตั้งรัฐธรรมนูญ มาจากอธิปไตยของประชาชนด้วย

กระทู้สนทนา
.          อำนาจนิติบัญญัติเป็นอำนาจที่ใช้ตรากฏหมาย เช่น พรบ ประกอบ รธน , พรบ , พรบ เกี่ยวด้วยการเงิน
ซึ่งเนื้อหาของพระราชบัญญัตินั้น จะต้องไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญทั่วไป
เรียกว่า ประเพณีการปกครองของประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
นอกจากนี้ เนื้อหาของพระราชบัญญัติยังมีลักษณะกำหนดกฎเกณฑ์เป็นการทั่วไปในการก่อตั้ง
เปลี่ยนแปลงกำหนดขอบเขตแห่งสิทธิและหน้าที่ของบุคคล ตลอดจนจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลได้ตามที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้

           ซึ่งอำนาจในข้างต้นนั้น แตกต่างจาก อำนาจในการก่อตั้งรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นอำนาจอธิไตยที่ประชาชนมอบหมาย
ให้เริ่มก่อร่างสร้างกติกาในรัฐนั้น ๆ ก่อนที่องค์กรณ์ใด ๆ จะถือกำเนิดขึ้นมา แล้วจึงนำกติกานี้มากำหนดว่า ใครจะเป็นอะไร
มีอำนาจแค่ไหน อยู่ในตำแหน่งหน้าที่ใด ซึ่งเราเรียกกติกาอันนี้ว่า "รัฐธรรมนูญ"  และการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
ก็ใช้อำนาจในการก่อตั้งรัฐธรรมนูญนี้ มาใช้ในการแก้ไขเพิ่มเติมนั่นเอง

           หลายคนอาจจะมีคำถามว่า ทำไมถึงไม่ใช้อำนาจนิติบัญญัติ มาแก้ไขเพิ่มเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
ก็ต้องขอตอบว่า จากเหตุที่อำนาจนิติบัญญัตินั้น จะมีเนื้อหาไปขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมไม่ได้
จึงทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่ต้องมีเนื้อหาขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญนั้น กระทำไม่ได้ตามไปด้วยค่ะ

ปล.พยายามไม่ใช้ภาษากฏหมายให้มาก ย่อให้สั้น ๆ โดยหวังเอาไว้ว่าจะเข้าใจได้ง่ายขึ้นค่ะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่