พ.ร.บ.คุม NGO ละเมิดสิทธิเสรีภาพ 'ฟอร์ติฟายไรต์' ร้องทางการถอนร่าง กม.ทันที
https://prachatai.com/journal/2024/11/111451
'ฟอร์ติฟายไรต์' เรียกร้องเพิกถอนร่าง พ.ร.บ.ควบคุมองค์กร NGO/มูลนิธิ โดยทันที ให้อำนาจรัฐกว้างขวาง สั่งถอนทะเบียนองค์กรด้วยคำที่คลุมเครือ ละเมิดเสรีภาพการรวมตัวชัดเจน
22 พ.ย. 2567 เว็บไซต์ Fortify Rights องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนสากล ออกแถลงการณ์วานนี้ (21 พ.ย.) เรียกร้องให้ทางการไทย เพิกถอนร่างพระราชบัญญัติสมาคมและมูลนิธิ (พ.ร.บ.องค์ไม่แสวงหาผลกำไร) เพราะว่าเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานที่ได้รับการคุ้มครองตามสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ หลังกระทรวงมหาดไทยเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวอย่างกะทันหัน และอยู่ในกระบวนการรับฟังความเห็นของประชาชนเป็นทางการ
"ร่างพระราชบัญญัตินี้จะนำมาซึ่งหายนะอย่างร้ายแรงทั้งต่อประชาชน และภาคประชาสังคมในประเทศไทย เพราะให้อำนาจกับเจ้าพนักงานของรัฐในการจำกัดสิทธิทางพลเรือนและสิทธิทางการเมือง ซึ่งมีความสำคัญยิ่งต่อการเติบโตของสังคมประชาธิปไตย
"รัฐบาลไทยควรดำเนินการเพื่อถอนร่างพระราชบัญญัตินี้ทันที และควรให้คำมั่นในการส่งเสริมและคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน เสรีภาพขั้นพื้นฐาน ตลอดจนสิทธิที่จะมีเสรีภาพในนการสมาคม" แมทธิว สมิธ ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหารฟอร์ติฟายไรต์ กล่าว
ฟอร์ติฟายไรต์ มองว่า ร่างพระราชบัญญัติองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร กำหนดให้สมาคมและมูลนิธิทุกแห่งต้องจดทะเบียนกับกระทรวงมหาดไทย เท่ากับเป็นการห้ามไม่ให้มีกลุ่มที่ไม่จดทะเบียน ทั้งยังมีข้อกำหนดการรายงานข้อมูลที่เข้มงวดโดยเฉพาะแหล่งทุนจากต่างประเทศ และให้อำนาจรัฐอย่างกว้างขวางในการสั่งเพิกถอนทะเบียนขององค์กร โดยกำหนดเหตุผลไว้อย่างกว้างๆ และขาดความชัดเจน เช่น กรณีที่พิจารณาว่ามีการดำเนินงานที่เป็นภยันตรายต่อ “
ความสงบเรียบร้อยของประชาชน” หรือ “
ศีลธรรมอันดีงามของประชาชน” หากมีการประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัตินี้ กระทรวงมหาดไทยจะมีอำนาจในการเข้าตรวจสอบสำนักงานของหน่วยงานไม่แสวงหากำไรโดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า รวมทั้งการตรวจสอบหลักฐานต่างๆ โดยไม่ต้องมีหมายจากศาล กำหนดให้ต้องรายงานข้อมูลที่มากจนเกินกว่าเหตุ และกลายเป็นภาระ ทั้งยังกำหนดบทลงโทษที่รุนแรง รวมทั้งโทษจำคุกกรณีที่ปฏิบัติตามกฎหมาย มาตรการเหล่านี้อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อคุกคาม และสั่งปิดองค์กรที่รัฐบาลไทยไม่ให้ความเห็นชอบ ซึ่งเป็นการทำลายความเป็นอิสระและประสิทธิภาพของหน่วยงานภาคประชาสังคม
ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 28 ต.ค. ถึง 26 พ.ย. 2567 กระทรวงมหาดไทยของประเทศไทยกำลังเปิดรับฟังความเห็นจากประชาชนที่มีต่อร่างพระราชบัญญัตินี้อย่างเป็นลายลักษณ์อักษรผ่านทางเว็บไซต์ หลังการพิจารณาข้อมูลที่ได้รับมาจากพระบวนการนี้แล้ว คณะรัฐมนตรีไทยจะพิจารณาว่าจะมีการเสนอร่างกฎหมายเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาหรือไม่ ซึ่งพลเมืองไทยและหน่วยงานภาคประชาสังคมสามารถร่วมแสดงความเห็นได้ผ่านแพลตฟอร์มของภาครัฐในช่วงเวลาดังกล่าว
ในวันที่ 8 พ.ย. 2567 ที่ผ่านมา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้จัดการปรึกษาหารือสาธารณะเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัตินี้กับหน่วยงานภาคประชาสังคม ในการรับฟังความเห็น มีผู้แสดงความกังวลเกี่ยวกับเนื้อหาที่กำหนดขึ้นอย่างกว้างๆ และอาจเป็นเหตุให้มีการบังคับใช้โดยพลการต่อสมาคมและมูลนิธิ ยกตัวอย่าง ร่างพระราชบัญญัตินี้อนุญาตให้กระทรวงมหาดไทยเพิกถอนทะเบียนองค์กร หากมีการดำเนินงานที่พิจารณาว่า "
ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน" หรืออาจเป็น "
ภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชน หรือความมั่นคงของรัฐ" การใช้ภาษาที่คลุมเครือเช่นนี้ เปิดโอกาสอย่างมากให้เจ้าพนักงานอาจใช้อำนาจอย่างมิชอบ และอาจถูกใช้เพื่อปราบปรามผู้แสดงความเห็นต่าง และจำเป็นเสรีภาพการสมาคม
ย้อนไปในเดือน ม.ค. 2565 คณะรัฐมนตรีชุดที่แล้วได้เสนอร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการดำเนินงานขององค์กรไม่แสวงหารายได้ หรือกำไรมาแบ่งปันกัน พ.ศ. … ซึ่งเป็นร่าง พ.ร.บ. ฉบับก่อนที่จะเปลี่ยนโฉมมาเป็นร่าง พ.ร.บ. องค์กรไม่แสวงผลกำไรในปัจจุบัน นำมาซึ่งเสียงวิจารณ์อย่างมากจากภาคประชาสังคม และผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติหลายคน โดยร่างกฎหมายปี 2565 ก็ถูกวิจารณ์ในทำนองเดียวกันว่ามีเนื้อหาที่กว้างขวางเกินกว่าเหตุ กำหนดเงื่อนไขทางการเงิน และการรายงานข้อมูลที่สร้างภาระ มีข้อจำกัดต่อแหล่งทุนจากต่างประเทศ ตลอดจนการกำหนดบทลงโทษ
ในการรณรงค์เพื่อต่อต้านร่างกฎหมายฉบับก่อนหน้านี้ เมื่อ 23 มี.ค. 2565 ฟอร์ฟายไรต์ ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ของประเทศไทย ระบุถึงข้อกังวลสำคัญเกี่ยวกับร่างกฎหมายดังกล่าว นอกจากนั้น ฟอร์ติฟายไรต์ ยังได้จับมือกับหน่วยงานอีก 64 องค์กร ส่งจดหมายร่วมไปยังประธานาธิบดี โจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ กระตุ้นให้รัฐบาลของกดดันรัฐบาลไทยให้ถอนร่างพระราชบัญญัตินี้ และประกันว่าข้อบังคับในอนาคตมีเนื้อหาสอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
ภายหลังการรณรงค์กดดันอย่างต่อเนื่องจากหน่วยงานภาคประชาสังคม หน่วยงานสหประชาชาติ และผู้แทนทางการทูตที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย รัฐบาลไทยจึงได้ถอนร่าง พ.ร.บ.ฉบับก่อน อย่างไรก็ดี ความพยายามที่จะปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่สร้างปัญหา นำไปสู่การจัดทำร่างกฎหมายฉบับปัจจุบันที่มีการเสนอขึ้นมาเมื่อเดือน ต.ค. 2567 ทำให้เกิดข้อกังวลอย่างจริงจังเกี่ยวกับเนื้อหาของกฎหมายที่ละเมิดสิทธิ และยังไม่ได้รับการแก้ไขเป็นส่วนใหญ่ ร่างกฎหมายที่เสนอใหม่นี้ยังคงมีข้อบทที่สร้างปัญหา และจะเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานของหน่วยงานไม่แสวงหากำไร รวมถึงเป็นการจำกัดเสรีภาพในการสมาคม
ในฐานะรัฐภาคีของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง และตามปฏิณณาณแห่งสหประชาชาติว่าด้วยนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ประเทศไท มีพันธกรณีที่จะต้องคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน รวมทั้งสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก การชุมนุมอย่างสงบ และการสมาคม ร่าง พ.ร.บ.องค์กรไม่แสวงผลกำไรตามที่เสนอโดยกระทรวงมหาดไทยนั้นถือเป็นการละเมิดสิทธิเหล่านี้อย่างชัดเจน
กมธ.มั่นคงฯ เจอ ส.ส.พท.-ประชาชาติ แก้เกม ลุกขอถกอำนาจตัวเอง สอบ กรณีชั้น 14
https://www.matichon.co.th/politics/news_4913682
“โรม” สุดต้าน “เพื่อไทย” แก้เกม ดึงเช็งถกลับปมชั้น 14 บอกให้หารือขอบเขตอำนาจหน้าที่ กมธ.ก่อน หลัง “กรมราชทัณฑ์” ติงไร้อำนาจสอบ หวั่น ผิดจริยธรรมยกคณะ ทำ”ทวี”ต้องนั่งรอไปก่อน ขณะที่ไร้เงา”ทักษิณ” ลงรับหนังสือแต่ไม่ตอบกลับ
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 22 พฤศจิกายน ที่รัฐสภา ในการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐกิจการชายแดนไทยยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ที่มีนาย
รังสิมันต์ โรม ส.ส. บัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรคประชาชน เป็นประธานกมธ.ฯ มีวาระสำคัญคือพิจารณาเรื่องของนาย
ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่เข้าพักรักษาตัวชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ โดยไม่ได้ติดคุกแม้แต่วันเดียว ซึ่งวันนี้ได้เชิญนาย
ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มาชี้แจง โดยส่งหนังสือไปทางไปรษณีย์ และมีการลงรับในวันที่ 16 พฤศจิกายน แต่ปรากฏว่า ไม่ได้มีการแจงตอบรับเข้าร่วมประชุมหรือไม่ แต่ในส่วนที่ตอบรับมา คือ พ.ต.อ.
ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และ กรมราชทัณฑ์ ได้มอบหมายให้ ผู้อำนวยการกองทัณฑปฏิบัติ กลุ่มงานพักการลงโทษ มาชี้แจงแทน
โดยก่อนเข้าสู่วาระการประชุม กมธ.ฯ ซีกรัฐบาล อย่างส.ส.พรรคเพื่อไทย โดยนาย
ประยุทธ์ ศิริพานิช ส.ส.บัญชีรายชื่อ นาย
สุธรรม แสงประทุม ส.ส.บัญชีรายชื่อ และนาย
ซูการ์โน มะทา ส.ส.ยะลา พรรคประชาชาติ หารือว่า อยากให้มีการประชุมลับ เพื่อถกเถียงว่ากมธ.ฯ มีอำนาจในการพิจารณาเรื่องนี้หรือไม่ หลังกรมราชทัณฑ์ ได้ทำหนังสือท้วงติงว่า “
กรรมาธิการ” ไม่มีอำนาจ ทำให้กมธ.ฯหลายคน กังวลว่า จะขัดจริยธรรม เพราะคำว่าจริยธรรมสุ่มเสี่ยงอาจจะถูกฟ้องเรื่องจริยธรรมได้ จึงอยากให้พิจารณาก่อนว่าเหมาะสมหรือไม่ หากเดินหน้าพิจารณาเรื่องนี้ ควรจะมีการหารือกันเป็นการภายใน และหาก รมว.ยุติธรรมมารอ ก็คงต้องรอไปก่อน
ขณะที่นาย
ชุติพงศ์ พิภพภิญโญ ส.ส.ระยอง พรรคประชาชน ในฐานะเลขานุการ กมธ. โต้ว่า พิจารณาได้ภายใต้กมธ.ฯ และ อยากให้การทำงานของกมธ.ฯมีความโปร่งใสจึงอยากให้สื่อมวลชนและประชาชนทราบข้อมูล จึงควรที่จะเดินหน้าพิจารณาต่อ
ทั้งนี้ที่ประชุมยังคงโต้เถียงกันไปมา ทำให้นาย
รังสิมันต์ ชี้แจงยืนยันว่า กมธ.ฯมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญและข้อบังคับ และที่ผ่านมา ก่อนที่จะมีการประชุมสัปดาห์ถัดไป ทุกวันศุกร์ก็จะต้องทำหนังสือรายงานต่อประธานสภาว่า กมธ.ฯ จะประชุมเรื่องอะไรและเชิญใครบ้าง หากเรื่องใดที่ซ้ำซ้อนกับกรรมาธิการอื่น ประธานก็จะท้วงติง แต่ในเรื่องนี้ประธานไม่ได้มีการท้วงติงอะไร ดังนั้นตนจึงมองว่าให้ประชุมโดยเปิดเผยไปก่อนจนจบวาระนี้ ส่วนหลังจากนั้น ก็ยินดีที่จะให้เป็นการประชุมลับ
แต่ปรากฏว่ากมธ.ฯฟากพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาชาติ ไม่ยินยอม พร้อมยกเรื่องของการแถลงข่าวตอบโต้ระหว่างกมธ.ฯกับกรมราชทัณฑ์ขึ้นมา ในที่สุดนายรังสิมันต์ได้ตัดบท ว่า เมื่อทุกคนเห็นด้วยกับข้อเสนอของนายประยุทธ์ ก็ขอให้มีการประชุมลับ เป็นการภายในกรรมาธิการก่อน แล้วจะกลับเข้ามาประชุมตามวาระเรื่องของนายทักษิณในเวลา 11.00 น. ทำให้คนที่ไม่เกี่ยวข้องต้องออกมารอภายนอก รวมถึงพ.ต.อ.ทวี ที่มารออยู่แล้ว ต้องไปพักรออีกห้องหนึ่ง
น้ำมันโลกปรับขึ้นอีก 2% เหตุรัสเซียยิงขีปนาวุธตอบโต้ยูเครน กระทบราคาทองคำปรับขึ้นด้วย
https://ch3plus.com/news/economy/morning/425573
ราคาน้ำมันโลกปรับขึ้นเกือบ 2% หลังจากเกิดเหตุรัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปความเร็วเหนือเสียงใส่ยูเครน เพื่อตอบโต้ที่ยูเครนยิงขีปนาวุธวิสัยไกลจากสหรัฐฯก่อนหน้านี้ ส่งผลให้ราคาน้ำมันโลก มีดังนี้
- ตลาดไนเม็กซ์ นิวยอร์ก เพิ่มขึ้น 1.35 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ปิดที่ 70.10 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล
- ตลาดเบรนท์ ลอนดอน เพิ่มขึ้น 1.42 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ปิดที่ 74.23 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล
- น้ำมันกลั่นสำเร็จรูป สิงคโปร์ เพิ่มขึ้น 0.13 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ปิดที่ 89.21 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล
ขณะที่ราคาทองคำวานนี้ (21 พ.ย. 2567) ราคาทองคำ พุ่งขึ้น 600 บาท เปรียบเทียบกับราคาปิดเมื่อวานนี้ โดยราคาขายออกทองรูปพรรณ อยู่ที่ 44,200 บาท ตามข้อมูลล่าสุด จากเว็บไซต์ของสมาคมค้าทองคำ เมื่อเวลา 15.38 น.ที่ผ่านมา โดยทองคำแท่งมีราคารับซื้อในประเทศอยู่ที่บาทละ 43,600 บาท ขายออก 43,700 บาท ตามประกาศครั้งที่ 7 ของวันนี้ ขณะที่ทองรูปพรรณ 96.5% รับซื้ออยู่ที่บาทละ 42,811.84 บาท และขายออกที่ราคา 44,200 บาท
ส่วนราคาทองคำโลก หรือ Gold Spot เมื่อขึ้นที่ผ่านมาปรับขึ้น 0.8% อยู่ที่ 2,670.00 ดอลลาร์ต่อออนซ์
โดยฮั่วเซ่งเฮง คาดการณ์แนวโน้มราคาทองคำ (เช้า) ประจำวันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 ราคาทองคำปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 จากแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ซึ่งนักลงทุนยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับสงครามรัสเซียและยูเครนอาจรุนแรงขึ้น หลังจากยูเครนได้ยิงขีปนาวุธ “Storm Shadow” ซึ่งเป็นขีปนาวุธร่อนพิสัยไกลที่ผลิตโดยอังกฤษนั้น เข้าไปในดินแดนรัสเซีย
รับชมผ่านยูทูบได้ที่ :
https://youtu.be/rgsLL6H1ofk
JJNY : 'ฟอร์ติฟายไรต์' ร้องถอนร่าง│กมธ.มั่นคงฯ เจอส.ส.พท.-ประชาชาติแก้เกม│น้ำมันโลกปรับขึ้นอีก 2%│โวยหมีขาว ถล่มดนีโปร
https://prachatai.com/journal/2024/11/111451
'ฟอร์ติฟายไรต์' เรียกร้องเพิกถอนร่าง พ.ร.บ.ควบคุมองค์กร NGO/มูลนิธิ โดยทันที ให้อำนาจรัฐกว้างขวาง สั่งถอนทะเบียนองค์กรด้วยคำที่คลุมเครือ ละเมิดเสรีภาพการรวมตัวชัดเจน
22 พ.ย. 2567 เว็บไซต์ Fortify Rights องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนสากล ออกแถลงการณ์วานนี้ (21 พ.ย.) เรียกร้องให้ทางการไทย เพิกถอนร่างพระราชบัญญัติสมาคมและมูลนิธิ (พ.ร.บ.องค์ไม่แสวงหาผลกำไร) เพราะว่าเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานที่ได้รับการคุ้มครองตามสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ หลังกระทรวงมหาดไทยเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวอย่างกะทันหัน และอยู่ในกระบวนการรับฟังความเห็นของประชาชนเป็นทางการ
"ร่างพระราชบัญญัตินี้จะนำมาซึ่งหายนะอย่างร้ายแรงทั้งต่อประชาชน และภาคประชาสังคมในประเทศไทย เพราะให้อำนาจกับเจ้าพนักงานของรัฐในการจำกัดสิทธิทางพลเรือนและสิทธิทางการเมือง ซึ่งมีความสำคัญยิ่งต่อการเติบโตของสังคมประชาธิปไตย
"รัฐบาลไทยควรดำเนินการเพื่อถอนร่างพระราชบัญญัตินี้ทันที และควรให้คำมั่นในการส่งเสริมและคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน เสรีภาพขั้นพื้นฐาน ตลอดจนสิทธิที่จะมีเสรีภาพในนการสมาคม" แมทธิว สมิธ ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหารฟอร์ติฟายไรต์ กล่าว
ฟอร์ติฟายไรต์ มองว่า ร่างพระราชบัญญัติองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร กำหนดให้สมาคมและมูลนิธิทุกแห่งต้องจดทะเบียนกับกระทรวงมหาดไทย เท่ากับเป็นการห้ามไม่ให้มีกลุ่มที่ไม่จดทะเบียน ทั้งยังมีข้อกำหนดการรายงานข้อมูลที่เข้มงวดโดยเฉพาะแหล่งทุนจากต่างประเทศ และให้อำนาจรัฐอย่างกว้างขวางในการสั่งเพิกถอนทะเบียนขององค์กร โดยกำหนดเหตุผลไว้อย่างกว้างๆ และขาดความชัดเจน เช่น กรณีที่พิจารณาว่ามีการดำเนินงานที่เป็นภยันตรายต่อ “ความสงบเรียบร้อยของประชาชน” หรือ “ศีลธรรมอันดีงามของประชาชน” หากมีการประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัตินี้ กระทรวงมหาดไทยจะมีอำนาจในการเข้าตรวจสอบสำนักงานของหน่วยงานไม่แสวงหากำไรโดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า รวมทั้งการตรวจสอบหลักฐานต่างๆ โดยไม่ต้องมีหมายจากศาล กำหนดให้ต้องรายงานข้อมูลที่มากจนเกินกว่าเหตุ และกลายเป็นภาระ ทั้งยังกำหนดบทลงโทษที่รุนแรง รวมทั้งโทษจำคุกกรณีที่ปฏิบัติตามกฎหมาย มาตรการเหล่านี้อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อคุกคาม และสั่งปิดองค์กรที่รัฐบาลไทยไม่ให้ความเห็นชอบ ซึ่งเป็นการทำลายความเป็นอิสระและประสิทธิภาพของหน่วยงานภาคประชาสังคม
ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 28 ต.ค. ถึง 26 พ.ย. 2567 กระทรวงมหาดไทยของประเทศไทยกำลังเปิดรับฟังความเห็นจากประชาชนที่มีต่อร่างพระราชบัญญัตินี้อย่างเป็นลายลักษณ์อักษรผ่านทางเว็บไซต์ หลังการพิจารณาข้อมูลที่ได้รับมาจากพระบวนการนี้แล้ว คณะรัฐมนตรีไทยจะพิจารณาว่าจะมีการเสนอร่างกฎหมายเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาหรือไม่ ซึ่งพลเมืองไทยและหน่วยงานภาคประชาสังคมสามารถร่วมแสดงความเห็นได้ผ่านแพลตฟอร์มของภาครัฐในช่วงเวลาดังกล่าว
ในวันที่ 8 พ.ย. 2567 ที่ผ่านมา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้จัดการปรึกษาหารือสาธารณะเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัตินี้กับหน่วยงานภาคประชาสังคม ในการรับฟังความเห็น มีผู้แสดงความกังวลเกี่ยวกับเนื้อหาที่กำหนดขึ้นอย่างกว้างๆ และอาจเป็นเหตุให้มีการบังคับใช้โดยพลการต่อสมาคมและมูลนิธิ ยกตัวอย่าง ร่างพระราชบัญญัตินี้อนุญาตให้กระทรวงมหาดไทยเพิกถอนทะเบียนองค์กร หากมีการดำเนินงานที่พิจารณาว่า "ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน" หรืออาจเป็น "ภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชน หรือความมั่นคงของรัฐ" การใช้ภาษาที่คลุมเครือเช่นนี้ เปิดโอกาสอย่างมากให้เจ้าพนักงานอาจใช้อำนาจอย่างมิชอบ และอาจถูกใช้เพื่อปราบปรามผู้แสดงความเห็นต่าง และจำเป็นเสรีภาพการสมาคม
ย้อนไปในเดือน ม.ค. 2565 คณะรัฐมนตรีชุดที่แล้วได้เสนอร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการดำเนินงานขององค์กรไม่แสวงหารายได้ หรือกำไรมาแบ่งปันกัน พ.ศ. … ซึ่งเป็นร่าง พ.ร.บ. ฉบับก่อนที่จะเปลี่ยนโฉมมาเป็นร่าง พ.ร.บ. องค์กรไม่แสวงผลกำไรในปัจจุบัน นำมาซึ่งเสียงวิจารณ์อย่างมากจากภาคประชาสังคม และผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติหลายคน โดยร่างกฎหมายปี 2565 ก็ถูกวิจารณ์ในทำนองเดียวกันว่ามีเนื้อหาที่กว้างขวางเกินกว่าเหตุ กำหนดเงื่อนไขทางการเงิน และการรายงานข้อมูลที่สร้างภาระ มีข้อจำกัดต่อแหล่งทุนจากต่างประเทศ ตลอดจนการกำหนดบทลงโทษ
ในการรณรงค์เพื่อต่อต้านร่างกฎหมายฉบับก่อนหน้านี้ เมื่อ 23 มี.ค. 2565 ฟอร์ฟายไรต์ ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ของประเทศไทย ระบุถึงข้อกังวลสำคัญเกี่ยวกับร่างกฎหมายดังกล่าว นอกจากนั้น ฟอร์ติฟายไรต์ ยังได้จับมือกับหน่วยงานอีก 64 องค์กร ส่งจดหมายร่วมไปยังประธานาธิบดี โจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ กระตุ้นให้รัฐบาลของกดดันรัฐบาลไทยให้ถอนร่างพระราชบัญญัตินี้ และประกันว่าข้อบังคับในอนาคตมีเนื้อหาสอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
ภายหลังการรณรงค์กดดันอย่างต่อเนื่องจากหน่วยงานภาคประชาสังคม หน่วยงานสหประชาชาติ และผู้แทนทางการทูตที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย รัฐบาลไทยจึงได้ถอนร่าง พ.ร.บ.ฉบับก่อน อย่างไรก็ดี ความพยายามที่จะปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่สร้างปัญหา นำไปสู่การจัดทำร่างกฎหมายฉบับปัจจุบันที่มีการเสนอขึ้นมาเมื่อเดือน ต.ค. 2567 ทำให้เกิดข้อกังวลอย่างจริงจังเกี่ยวกับเนื้อหาของกฎหมายที่ละเมิดสิทธิ และยังไม่ได้รับการแก้ไขเป็นส่วนใหญ่ ร่างกฎหมายที่เสนอใหม่นี้ยังคงมีข้อบทที่สร้างปัญหา และจะเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานของหน่วยงานไม่แสวงหากำไร รวมถึงเป็นการจำกัดเสรีภาพในการสมาคม
ในฐานะรัฐภาคีของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง และตามปฏิณณาณแห่งสหประชาชาติว่าด้วยนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ประเทศไท มีพันธกรณีที่จะต้องคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน รวมทั้งสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก การชุมนุมอย่างสงบ และการสมาคม ร่าง พ.ร.บ.องค์กรไม่แสวงผลกำไรตามที่เสนอโดยกระทรวงมหาดไทยนั้นถือเป็นการละเมิดสิทธิเหล่านี้อย่างชัดเจน
กมธ.มั่นคงฯ เจอ ส.ส.พท.-ประชาชาติ แก้เกม ลุกขอถกอำนาจตัวเอง สอบ กรณีชั้น 14
https://www.matichon.co.th/politics/news_4913682
“โรม” สุดต้าน “เพื่อไทย” แก้เกม ดึงเช็งถกลับปมชั้น 14 บอกให้หารือขอบเขตอำนาจหน้าที่ กมธ.ก่อน หลัง “กรมราชทัณฑ์” ติงไร้อำนาจสอบ หวั่น ผิดจริยธรรมยกคณะ ทำ”ทวี”ต้องนั่งรอไปก่อน ขณะที่ไร้เงา”ทักษิณ” ลงรับหนังสือแต่ไม่ตอบกลับ
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 22 พฤศจิกายน ที่รัฐสภา ในการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐกิจการชายแดนไทยยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายรังสิมันต์ โรม ส.ส. บัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรคประชาชน เป็นประธานกมธ.ฯ มีวาระสำคัญคือพิจารณาเรื่องของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่เข้าพักรักษาตัวชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ โดยไม่ได้ติดคุกแม้แต่วันเดียว ซึ่งวันนี้ได้เชิญนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มาชี้แจง โดยส่งหนังสือไปทางไปรษณีย์ และมีการลงรับในวันที่ 16 พฤศจิกายน แต่ปรากฏว่า ไม่ได้มีการแจงตอบรับเข้าร่วมประชุมหรือไม่ แต่ในส่วนที่ตอบรับมา คือ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และ กรมราชทัณฑ์ ได้มอบหมายให้ ผู้อำนวยการกองทัณฑปฏิบัติ กลุ่มงานพักการลงโทษ มาชี้แจงแทน
โดยก่อนเข้าสู่วาระการประชุม กมธ.ฯ ซีกรัฐบาล อย่างส.ส.พรรคเพื่อไทย โดยนายประยุทธ์ ศิริพานิช ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายสุธรรม แสงประทุม ส.ส.บัญชีรายชื่อ และนายซูการ์โน มะทา ส.ส.ยะลา พรรคประชาชาติ หารือว่า อยากให้มีการประชุมลับ เพื่อถกเถียงว่ากมธ.ฯ มีอำนาจในการพิจารณาเรื่องนี้หรือไม่ หลังกรมราชทัณฑ์ ได้ทำหนังสือท้วงติงว่า “กรรมาธิการ” ไม่มีอำนาจ ทำให้กมธ.ฯหลายคน กังวลว่า จะขัดจริยธรรม เพราะคำว่าจริยธรรมสุ่มเสี่ยงอาจจะถูกฟ้องเรื่องจริยธรรมได้ จึงอยากให้พิจารณาก่อนว่าเหมาะสมหรือไม่ หากเดินหน้าพิจารณาเรื่องนี้ ควรจะมีการหารือกันเป็นการภายใน และหาก รมว.ยุติธรรมมารอ ก็คงต้องรอไปก่อน
ขณะที่นายชุติพงศ์ พิภพภิญโญ ส.ส.ระยอง พรรคประชาชน ในฐานะเลขานุการ กมธ. โต้ว่า พิจารณาได้ภายใต้กมธ.ฯ และ อยากให้การทำงานของกมธ.ฯมีความโปร่งใสจึงอยากให้สื่อมวลชนและประชาชนทราบข้อมูล จึงควรที่จะเดินหน้าพิจารณาต่อ
ทั้งนี้ที่ประชุมยังคงโต้เถียงกันไปมา ทำให้นายรังสิมันต์ ชี้แจงยืนยันว่า กมธ.ฯมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญและข้อบังคับ และที่ผ่านมา ก่อนที่จะมีการประชุมสัปดาห์ถัดไป ทุกวันศุกร์ก็จะต้องทำหนังสือรายงานต่อประธานสภาว่า กมธ.ฯ จะประชุมเรื่องอะไรและเชิญใครบ้าง หากเรื่องใดที่ซ้ำซ้อนกับกรรมาธิการอื่น ประธานก็จะท้วงติง แต่ในเรื่องนี้ประธานไม่ได้มีการท้วงติงอะไร ดังนั้นตนจึงมองว่าให้ประชุมโดยเปิดเผยไปก่อนจนจบวาระนี้ ส่วนหลังจากนั้น ก็ยินดีที่จะให้เป็นการประชุมลับ
แต่ปรากฏว่ากมธ.ฯฟากพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาชาติ ไม่ยินยอม พร้อมยกเรื่องของการแถลงข่าวตอบโต้ระหว่างกมธ.ฯกับกรมราชทัณฑ์ขึ้นมา ในที่สุดนายรังสิมันต์ได้ตัดบท ว่า เมื่อทุกคนเห็นด้วยกับข้อเสนอของนายประยุทธ์ ก็ขอให้มีการประชุมลับ เป็นการภายในกรรมาธิการก่อน แล้วจะกลับเข้ามาประชุมตามวาระเรื่องของนายทักษิณในเวลา 11.00 น. ทำให้คนที่ไม่เกี่ยวข้องต้องออกมารอภายนอก รวมถึงพ.ต.อ.ทวี ที่มารออยู่แล้ว ต้องไปพักรออีกห้องหนึ่ง
น้ำมันโลกปรับขึ้นอีก 2% เหตุรัสเซียยิงขีปนาวุธตอบโต้ยูเครน กระทบราคาทองคำปรับขึ้นด้วย
https://ch3plus.com/news/economy/morning/425573
ราคาน้ำมันโลกปรับขึ้นเกือบ 2% หลังจากเกิดเหตุรัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปความเร็วเหนือเสียงใส่ยูเครน เพื่อตอบโต้ที่ยูเครนยิงขีปนาวุธวิสัยไกลจากสหรัฐฯก่อนหน้านี้ ส่งผลให้ราคาน้ำมันโลก มีดังนี้
- ตลาดไนเม็กซ์ นิวยอร์ก เพิ่มขึ้น 1.35 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ปิดที่ 70.10 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล
- ตลาดเบรนท์ ลอนดอน เพิ่มขึ้น 1.42 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ปิดที่ 74.23 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล
- น้ำมันกลั่นสำเร็จรูป สิงคโปร์ เพิ่มขึ้น 0.13 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ปิดที่ 89.21 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล
ขณะที่ราคาทองคำวานนี้ (21 พ.ย. 2567) ราคาทองคำ พุ่งขึ้น 600 บาท เปรียบเทียบกับราคาปิดเมื่อวานนี้ โดยราคาขายออกทองรูปพรรณ อยู่ที่ 44,200 บาท ตามข้อมูลล่าสุด จากเว็บไซต์ของสมาคมค้าทองคำ เมื่อเวลา 15.38 น.ที่ผ่านมา โดยทองคำแท่งมีราคารับซื้อในประเทศอยู่ที่บาทละ 43,600 บาท ขายออก 43,700 บาท ตามประกาศครั้งที่ 7 ของวันนี้ ขณะที่ทองรูปพรรณ 96.5% รับซื้ออยู่ที่บาทละ 42,811.84 บาท และขายออกที่ราคา 44,200 บาท
ส่วนราคาทองคำโลก หรือ Gold Spot เมื่อขึ้นที่ผ่านมาปรับขึ้น 0.8% อยู่ที่ 2,670.00 ดอลลาร์ต่อออนซ์
โดยฮั่วเซ่งเฮง คาดการณ์แนวโน้มราคาทองคำ (เช้า) ประจำวันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 ราคาทองคำปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 จากแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ซึ่งนักลงทุนยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับสงครามรัสเซียและยูเครนอาจรุนแรงขึ้น หลังจากยูเครนได้ยิงขีปนาวุธ “Storm Shadow” ซึ่งเป็นขีปนาวุธร่อนพิสัยไกลที่ผลิตโดยอังกฤษนั้น เข้าไปในดินแดนรัสเซีย
รับชมผ่านยูทูบได้ที่ : https://youtu.be/rgsLL6H1ofk