แนวทางแก้ปัญหาความขัดแย้งของรัฐสภากับศาล ควรเสนอให้ทำประชามติไปเลย

วันนี้ได้มีความขัดแย้งกันอย่างมากว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ ถ้าดูนักวิชาการหลายคนก็บอกว่าไม่มีอำนาจ แต่ใครจะเป็นคนบอก ก็มาตรา 3 ระบุชัดว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย ถ้าวันนี้มีการใช้อำนาจของ 2 ส่วนคือรัฐสภากับศาลรัฐธรรมนูญขัดแย้งกัน สิ่งนี้ย่อมกระทำต่อการทำงานและการปกครองประเทศทั้งสามส่วน รัฐบาลที่ส่วนที่เหลือควรและเป็นจำเลยด้วย เพราะไม่รู้จะบริหารงานอย่างไรต่อ ก็ควรให้ประชาชนตัดสิน เช่น ทำประชามติว่า "ศาลมีอำนาจวินิจฉัยร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่" เพราะต้องยอมว่า รัฐธรรมนูญไม่ได้มีมาตราให้ศาลใช้อำนาจวินิจฉัยได้ แต่ศาลได้หยิบยกว่ามีอำนาจ แต่ประชาชนคืออำนาจอธิปไตย ถ้าขัดแย้งกันก็ควรคืนให้ประชาชนตัดสิน

ต้นทุนการทำประชามติอาจแพงทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย แต่การทำให้ประเทศได้เดินต่อได้แบบที่ประชาชนคืออำนาจอธิปไตยได้ระบุไว้แล้ว ไม่แพงเลย และมาตรา 165 ระบุชัดในการทำประชามติว่า เรื่องที่เป็นเรื่องได้เสียของประชาชนและประเทศชาติ ต้องไม่ใช่เรื่องขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ และเรื่องตัวบุคคล แต่เรื่องนี้คือการชี้ขาดว่า อำนาจการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ใครมีอำนาจ เพื่อไม่ใช่ทั้งสองฝ่ายคือรัฐสภา และศาลใช้อำนาจก้าวก่ายกันในรัฐธรรมนูญที่มีอยู่นี้เอง

เชื่อว่าทั้งสองฝ่ายจะไม่ยอมรับอำนาจซึ่งกันและกัน หมายความว่า รัฐสภาจะไม่ยอมรับอำนาจศาลครั้งนี้ คือ ไม่ปฏิบัติตามศาล และการกระทำเกี่ยวเนื่อง เช่น การฟ้องร้องของ ปปช หรือศาลฎีกา เพราะรัฐสภาเขาถือว่ามีการใช้อำนาจไม่ชอบตามรัฐธรรมนูญ เขาก็อารยขัดขืน ให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ เขาก็ไม่หยุด ระบุว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญตัด สว สรรหา ถือว่าไม่เป็นประชาธิปไตย เขาก็ไม่เชื่อ (ส่วนนี้งงสุดว่า สว สรรหา เป็นประชาธิปไตยตรงไหน) เมื่อรัฐสภาคงไม่ปฏิบัติตามย่อมถือว่าเป็นสิทธิ เพราะเขาถือว่าศาลไม่มีอำนาจ

ส่วนศาลเอง รวมถึงองค์กรอื่น เช่น ปปช แน่นอนก็จะขยายเรื่องนี้จะทำให้รัฐสภาเป็นอัมพาต คือ สส สว ถุกหยุดปฏิบัติหน้าที่ การประชุม สส สว จะไม่ครบอองค์ประชุม เรื่องไม่ไว้วางใจก็ประชุมไม่ได้หรือประชุมก็ไม่มีประธานรัฐสภา หรือ 312 สส สว ประชุมต่อก็อาจอ้างว่าอารยขัดขืน ปปช ไม่มีอำนาจขยายความคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ แต่ประชาชน คนปฏิบัติงงหมดว่าใครมีอำนาจ ไม่มีอำนาจ แปลว่า อำนาจทั้งหมดจะตกแก่รัฐบาลในการออกพระราชกำหนดทั้งหมดแน่นอนแทนพระราชบัญญัติ หลายคนบอกว่าดี แต่ดีในส่วนเร่งด่วน เช่น พรบ สองล้านล้านอาจจะผ่านใช้ได้เลยถ้าศาลตีตก เพราะออกพระราชกำหนดแทนทันที หรือ พรบ งบประมาณ แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญก็จะทำไม่ได้ แล้วเมื่อถึงจุดหนึ่งก็เลือกตั้ง สส สว ใหม่ ก็กลับมาทะเลาะกันอีกว่าแก้รัฐธรรมนูญอย่างไร

ให้ประชาชนตัดสินดีสุด
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่