http://breakingnews.nationchannel.com/home/read.php?newsid=702831&lang=&cat=
นายเสรี สุวรรณภานนท์ อดีตรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญปี 50 กล่าวถึงอนาคตของ ส.ส.,ส.ว. ที่ลงชื่อเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มา ส.ว. และถูกยื่นถอดถอนต่อ ป.ป.ช. ว่า หากเกิดกรณีที่ ป.ป.ช. ไต่สวนไปแล้วและมีมติว่าข้อกล่าวหานั้นมีมูล ส.ส. , ส.ว. ที่ถูกกล่าวหาจะปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ ส.ส. ,ส.ว. เช่นลงคะแนนโหวตในสภาไม่ได้จนกว่าวุฒิสภาจะมีมติให้ถอนถอนหรือไม่ ทั้งนี้เป็นไปตามมาตรา 55 ของ พ.ร.บ. ป.ป.ช.
" และเมื่อเรื่องยื่นถอดถอนถูกส่งถึงวุฒิสภาเพื่อลงมติ ก็ต้องใช้เสียง 3 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา ซึ่งก็นับเอา ส.ว. จำนวน 50 คน ที่ถูก ป.ป.ช. ชี้ว่ามีมูลตามข้อกล่าวหาเข้าไปด้วย เนื่องจากไม่ได้พ้นสมาชิกภาพ ส.ว. เพียงแต่ปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้เท่านั้น ซึ่งวุฒิสภาก็ต้องใช้เสียง 90 เสียงขึ้นไปในการถอดถอนออกจากตำแหน่ง" นายเสรี กล่าว
อดีตประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงกรณีที่มีการยุบสภาฯจะทำให้ข้อกล่าวหาต่อ ส.ส. , ส.ว. ในเรื่องนี้ตกไปหรือไม่ หากได้รับเลือกตั้งกลับเข้ามาใหม่ ว่า ไม่ตกไป ทั้งนี้เป็นไปตามมาตรา 132 (3) ของรัฐธรรมนูญที่บัญญัติว่า ในกรณีที่มีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ให้วุฒิสภาพิจารณาและมีมติให้ถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งได้ ประกอบกับ พ.ร.บ. ป.ป.ช. มาตรา 55 และมาตรา 56 ที่ระบุว่า เมื่อ ป.ป.ช. มีมติว่าข้อกล่าวหามีมูล ให้ส่งเรื่องไปยังวุฒิสภาเพื่อลงมติว่าจะถอดถอนหรือไม่
" หากวุฒิสภาลงมติให้ถอดถอน ส.ส. หรือ ส.ว. คนใดในเรื่องนี้ ส.ส. หรือ ส.ว. คนนั้นจะลงสมัคร ส.ส. หรือ ส.ว. ไม่ได้อีกต่อไปตลอดชีวิต เนื่องจากขาดคุณสมบัติของบุคคลที่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 102 (14) และขาดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ว. ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 115 (8) " นายเสรี กล่าว
สส สว ที่ถูกถอดถอน ลงสมัครไม่ได้อีก / ต้องถอดถอนด้วย สว 90 เสียงขึ้นไป
นายเสรี สุวรรณภานนท์ อดีตรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญปี 50 กล่าวถึงอนาคตของ ส.ส.,ส.ว. ที่ลงชื่อเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มา ส.ว. และถูกยื่นถอดถอนต่อ ป.ป.ช. ว่า หากเกิดกรณีที่ ป.ป.ช. ไต่สวนไปแล้วและมีมติว่าข้อกล่าวหานั้นมีมูล ส.ส. , ส.ว. ที่ถูกกล่าวหาจะปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ ส.ส. ,ส.ว. เช่นลงคะแนนโหวตในสภาไม่ได้จนกว่าวุฒิสภาจะมีมติให้ถอนถอนหรือไม่ ทั้งนี้เป็นไปตามมาตรา 55 ของ พ.ร.บ. ป.ป.ช.
" และเมื่อเรื่องยื่นถอดถอนถูกส่งถึงวุฒิสภาเพื่อลงมติ ก็ต้องใช้เสียง 3 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา ซึ่งก็นับเอา ส.ว. จำนวน 50 คน ที่ถูก ป.ป.ช. ชี้ว่ามีมูลตามข้อกล่าวหาเข้าไปด้วย เนื่องจากไม่ได้พ้นสมาชิกภาพ ส.ว. เพียงแต่ปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้เท่านั้น ซึ่งวุฒิสภาก็ต้องใช้เสียง 90 เสียงขึ้นไปในการถอดถอนออกจากตำแหน่ง" นายเสรี กล่าว
อดีตประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงกรณีที่มีการยุบสภาฯจะทำให้ข้อกล่าวหาต่อ ส.ส. , ส.ว. ในเรื่องนี้ตกไปหรือไม่ หากได้รับเลือกตั้งกลับเข้ามาใหม่ ว่า ไม่ตกไป ทั้งนี้เป็นไปตามมาตรา 132 (3) ของรัฐธรรมนูญที่บัญญัติว่า ในกรณีที่มีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ให้วุฒิสภาพิจารณาและมีมติให้ถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งได้ ประกอบกับ พ.ร.บ. ป.ป.ช. มาตรา 55 และมาตรา 56 ที่ระบุว่า เมื่อ ป.ป.ช. มีมติว่าข้อกล่าวหามีมูล ให้ส่งเรื่องไปยังวุฒิสภาเพื่อลงมติว่าจะถอดถอนหรือไม่
" หากวุฒิสภาลงมติให้ถอดถอน ส.ส. หรือ ส.ว. คนใดในเรื่องนี้ ส.ส. หรือ ส.ว. คนนั้นจะลงสมัคร ส.ส. หรือ ส.ว. ไม่ได้อีกต่อไปตลอดชีวิต เนื่องจากขาดคุณสมบัติของบุคคลที่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 102 (14) และขาดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ว. ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 115 (8) " นายเสรี กล่าว