เสนอทางออก ในการแก้ไขระบอบทักษิณ ขอเชิญร่วมอภิปราย

ระบอบทักษิน
ผมประเมินคร่าวๆ จากสถาณการณ์ และที่พูดกันปาวๆต่างๆนาๆว่า
มันคือการควบรวมอำนาจไว้เบ็ดเสร็จ ด้วยระบบอุปถัมภ์ครับ
(ซึ่งเมืองไทยจริงๆก็เจริญเติบโตมากับลำดับการปกครองแบบนี้)
ซึ่งทำให้ผู้ที่อยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ จำยอมที่จะไม่มีปากมีเสียง
จำยอมที่จะไม่แสดงความคิดต่างจากกระแสหลัก ด้วยเพราะทุกสิ่งอย่างต้องพึ่งพาการอุปถัมภ์

เพียงแต่ระบอบทักษินนั้น ใช้กฏกติกาทางประชาธิปไตยมาเป็นเครื่องมือเท่านั้น
ซึ่งเนื้อแท้แห่งเจตนาแล้ว ก็ไม่ได้ต่างอะไรกับระบอบจัดสรรอำนาจเก่าๆที่เราใช้กันมาเป็นร้อยปี
ทุกคนต้องจำยอมตกอยู่ใต้แนวความคิดและอำนาจการตัดสินใจของผู้นำทั้งหมด

ซึ่งกฏและกติกาต่างๆในระบอบประชาธิปไตยนั้น
เป็นสิ่งที่ตั้งขึ้นมาภา่ยหลังเพื่อตีกรอบแนวทางให้ตรงเจตนารมณ์
แต่ในปัจจุบันกลับกลายเป็นว่า เรายึดกับตัวกรอบ กฏ กติกา มากว่าที่จะมองเจตนารมณ์

ซึ่งผมก็อยากลองเสนอแนวคิดในการ ปรับทิศทาง กฏ และ กติกาบางจุดให้กลับมาสู่เจตนาเดิมของประชาธิปไตย
ซึ่งวิธีแก้ไข ดังกล่าวคือ

1.แก้กฏหมายให้ ผู้ที่มีสิทธิ์สมัคร สส ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรค

2.ในการโหวตกฏหมายหรือโหวตอภิปรายไม่ไว้วางใจ
ไม่ควรมีมติพรรคมากำหนดกรอบ(นี่คือการบังคับโดยระบบอุปถัมภ์อย่างหนึ่ง)
ยกเลิก สส ระบบบัญชีรายชื่อ(นี่ก็คือเนื้อในเผด็จการ การส่งต่ออำนาจ)
พรรคไม่มีสิทธิ วางตัวผู้สมัคร หรือมาริดรอน สิทธิหรือความต้องการของผู้สมัคร สส
ใน 1 เขต พรรคนั้นจะมี สส ลงสมัครกี่คนก็ได้ ตามความสมัครใจของผู้สมัคร

กำหนดให้พรรคมีสถานะเป็นองค์กรทางการเมืองในการร่วมมีอกัน
ในการร่างและสานต่อขึ้นโครงนโยบาย
ที่รับฟังมาจากเสียงและความต้องการของประชาชนเท่านั้น
พรรคมีสิทธิ์ กำหนด วางตัวผู้บริหาร ภายในพรรค เพื่อลำดับขั้นตอนการทำงาน ในการแจกแจงและประชาสัมพันธ์นโยบาย
รวมถึงเพื่อติดตาม ตรวจสอบ เก็บข้อมูล การดำเนินนโยบายชองฝ่ายบริหาร และส่งคณะบุคคลเข้าเป็นคณะกรรมการ
แต่ไม่มีสิทธิดำเนินการใดๆ หรือกำหนดกรอบใดๆกับผู้ที่ได้รับเลือกเป็น สส

3.ให้ประชาชนโหวตเลือกนายกโดยตรง
คือให้มีการเลือกตั้งครั้งที่ 2 โดยเลือกจาก สส ที่ได้รับเลือก
โดยผู้เสนอชื่อต้องมีผู้รับรอง โดยเลือกตั้งอีกครั้งภายใน 30 วัน
โดยนับจากวันที่ กกต ประกาศรับรอง สส ในสภามากกว่า 95 % ขึ้นไป

และระหว่างนั้น 30 วันคือการหาเสียงอีกครั้งโดยนโยบายล้วนๆ
ซึ่งใครจะไปรวมกับใคร ใช้ความคิดหรือนโยบายของพรรคไหนมา สนับสนุนตนก็ได้
(ซึ่งแน่นนอนว่า คนที่มีพรรคและนโยบายชัดเจนตั้งแต่ต้นย่อมได้เปรียบในเรื่องความไว้วางใจ)

4.รัฐบาลไม่จำเป็นต้องเป็นเสียงข้างมาก
ให้เป็นสิทธิของนายก โดยถือเอาจากพรรคที่ร่วมทิศทางในนโยบายเป็นหลัก


ผมลองประเมิณข้อดี ข้อเสียได้ดังนี้
ข้อดี
1.สส มีความเข้มแข็งขึ้น มีเอกสิทธิสมบูรณ์ อยู่ได้เพราะเสียงของประชาชน ไม่ถูกบีบโดยพรรค
2.เรามีทางเลือกใหม่ๆ มากขึ้นเพราะผู้ลงสมัคร ไม่ได้ถูกจัดสรรโดยพรรค
3.ศูนย์อำนาจ อยู่ที่นายก ไม่ได้อยู่ที่พรรค หรือนายทุนเจ้าของพรรค
เพราะใครจะเป็นนายกก็ได้ พรรคเล็กก็เป็นได้ เราจึงได้ผู้นำที่เป็นผู้นำจริงๆ ไม่ใช่หุ่นเชิด
4.การตรวจสอบโดยกระบวการทางรัฐสภา มีความรัดกุมขึ้น การอภิปรายมีเป้าหมายที่หลากหลาย มากขึ้น
5.การรวมอำนาจเบ็ดเสร็จ เกิดขึ้นได้ยาก

ข้อเสีย
1.รัฐบาลไม่มีเอกภาพ เกิดการล้อบบี้แลกผลประโยชน์กับเสียงโหวต
เกิดงูเห่า เสียงพลิกได้ตลอดเวลา คาการทิศทางทางการเืมืองยากขึ้น
2.พรรคไม่มีอำนาจ นโยบายไม่เป็นเอกภาพ ไม่บูรณาการต่อเนื่อง การดำเนินนโยบายล่าช้า
3.รัฐบาลอาจไม่มีเสถียรภาพพอ ไม่ได้รับความร่วมมือจากสภาเท่าที่ควร(ถ้าถ่ายน้ำเสียของยุคนี้ยังไม่หมด)
4.เปลืองงบประมาณหาเสียงและเลือกตั้งเพิ่มขึ้น


ลองคิดดูครับ ว่ายังมีข้อดีข้อเสียใดๆอีกบ้าง
และวิธีนี้จะช่วยลดอำนาจของเครือข่ายทักษิน
และลดความป่วนในแกงค์ไอติมของ ปชปได้มั้ย ลองคิดและอภิปรายดูครับ


แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ผมมองว่ารัฐบาลจะได้รับการยอมรับ จะมีเสถียรภาพ เป็นเอกภาพหรือไม่
ก็ล้วนมาจากการปฏิบัติงานอันเป็นตัวสร้างบารมีของรัฐบาลเอง มิได้เกิดจากเสียงของ สส แต่อย่างใด
ถ้าเข้ามาแล้วทำไม่ดี ไม่มีมติพรรคมาช่วยแล้วนะครับ
ปล.หรือสุดท้ายไม่ต้องมี สส เลย เราใช้เสียงใช้สิทธิของเราโดยตรงเลย จบข่าว...
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่