การเกิดใหม่
คำว่า “ การเกิดใหม่” นี้ ในหลักพุทธธรรมขั้นปรมัตถ์ไม่มี แต่มีในการสื่อความหมายของคนทั่วไป เพราะหากมีการเกิดใหม่ ก็จะต้องมีการตาย จึงมีคำถามว่า คำว่า คนตายหมายถึงอะไรตาย? คนตายแล้วเกิดหรือไม่? ถ้าตอบว่าไม่เกิด (ขาดสูญ) ก็จบลงแค่นั้น แต่ถ้าตอบว่า คนตายแล้วเกิด จึงถามต่อไปอีกว่า อะไรไปเกิด? ฯลฯ
การตอบคำถามที่ยกมาข้างต้น หากตอบตามหลักพุทธธรรมก็ตอบได้หลายนัย
คือ ตายแล้วเกิด หมายถึง กระบวนการที่มีการอิงอาศัยกันเกิดของเหตุปัจจัยตามหลักปฏิจจสมุปบาทเมื่อไม่มีการดับเหตุปัจจัยตัวใดตัวหนึ่ง มันก็จะหมุนเวียนกันไปเป็นวงจรหรือวงเวียน เรียกว่า
“วัฏฏะ 3” คือ เมื่อกิเลส ก็เป็นปัจจัยให้เกิดกรรม เมื่อเกิดกรรม (การกระทำ) ก็จะต้องมีผลของกรรม ครั้งครบหนึ่งรอบก็จะหมุนต่อไป คือ วิบาก (ผลของกรรม) ก็จะเป็นปัจจัยให้เกิดกิเลสอีก เป็นการเกิดใหม่ ในหลักพุทธธรรมที่แท้นั้นมิใช่วิญญาณล่องลอยจากร่างกายที่ตายแล้วไปเกิดในร่างใหม่ ซึ่งหมายถึงชาติใหม่ แต่วิญญาณในพุทธธรรมนั้นเป็นสิ่งที่เกิดดับได้ ซึ่งมันเป็นอนัตตา คือ วิญญาณ ก็มิใช่ตัวตนที่ถาวร หรือไม่มีตัวตนเที่ยงแท้
การเกิดใหม่จึงมิใช่วิญญาณเดิมที่ออกจากร่างเก่าแล้วไปอาศัยร่างใหม่ในชาติใหม่ แต่หมายถึง วิญญาณมีการสืบต่อจากวิญญาณดวงหนึ่งไปเป็นวิญญาณอีกดวงหนึ่ง เปรียบได้กับดวงเทียนเล่มหนึ่งมีเปลวไฟลุกอยู่ ต่อมาก็เอาเทียนอีกเล่มหนึ่งมาจุดไฟจากเทียนเล่มแรก ไฟที่ได้มาจากเล่มเก่านั้นจะ เรียกว่า เป็นไฟดวงเก่าไม่ได้ มันก็เป็นไฟดวงใหม่ แต่อาศัยไฟดวงเก่า แสงเทียนจากเล่มเก่ามาสู่เล่มใหม่
ก็เหมือนกับวิญญาณที่มีการสืบต่อจากเดิมไปสู่วิญญาณดวงใหม่ เหมือนกับพ่อแม่สร้างบุตรธิดา พ่อแม่ก็ต้องให้เลือดเนื้ออันเป็นร่างกายและให้วิญญาณอันเป็นส่วนของจิตใจจึงเป็นไปตามหลักแห่งปฏิจจสมุปบาท หรือหลักวัฏฏะ 3 คือ กิเลส กรรม วิบาก
ดังนั้น การเกิด หรือการตาย (ดับ) นั้นก็อยู่กับเหตุปัจจัย เมื่อยังมีเหตุมีปัจจัยก็มีการเกิด ครั้นสิ้นเหตุปัจจัยก็ตายหรือดับไป เช่น หากสามารถดับกิเลสได้อย่างสิ้นเชิง ก็จะไม่มีกรรม เมื่อไม่มีกรรมก็ไม่มี วิบาก (คือผลของกรรม) เพราะปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งดับ ปัจจัยอื่นก็ดับ เปรียบได้กับกองไฟการที่จะเกิดเป็นกองไฟที่ลุกโซนได้ก็ต้องอาศัยปัจจัย 3 ประการ คือ (1) เชื้อเพลิง (2) ออกซิเจน และ (3) ความร้อน ถ้าปัจจัยทั้ง 3 นี้มารวมกันเมื่อใด ก็เกิดเป็นกองไฟได้ และก็จะต้องลุกไหม้ต่อไป หากปัจจัยทั้ง 3 ยังมีอยู่ ถ้าต้องการที่จะดับไฟก็ต้องกำจัดหรือตัดปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งออกไป เช่น ไม่ใส่เชื้อเพลิงเพิ่ม หรือเอาถังมาครอบกองไฟเพื่อไม่ให้มีออกซิเจน เมื่อแยกเอาปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งหรือปัจจัยทั้งสามออกจากกัน ก็จะไม่มีไฟลุกไหม้อีกต่อไป
ในเรื่องการเกิดหรือการตายของชีวิตมนุษย์ก็เช่นเดียวกับกองไฟนี้ เมื่อมีการประกอบกันของส่วนประกอบสำคัญ 5 ส่วน คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ก็จะเรียกชีวิตหรือ คน เราใช้ภาษาเป็นสื่อให้เข้าใจกันว่า
“เกิด” เมื่อส่วนประกอบทั้ง 5 ส่วนเหล่านี้ประกอบกันเข้าแล้ว ก็ทำหน้าที่ควบคุมกันไปได้ระยะหนึ่งเท่านั้น ในที่สุดส่วนประกอบเหล่านั้นก็จะแยกออกจากกัน ไม่มีตัวตนเหลือให้เห็นต่อไป ซึ่งเราใช้ภาษาเป็นสื่อให้เข้าใจว่า คือ
“ตาย”
ดังนั้น คำตอบที่ว่าตายแล้วเกิด จึงหมายเอากระบวนการช่วงหนึ่งที่มีการสืบต่อกันไปเหมือนกับไฟที่ยังไม่สิ้นเชื้อ ก็จะลุกไหม้ต่อไป คำตอบอีกอย่างหนึ่งคือตายแล้วไม่เกิดอีก ก็หมายถึง การตัดวงจรคือตัดเหตุปัจจัยช่วงใดช่วงหนึ่งได้อย่างสิ้นเชิง ก็จะไม่มีเหตุปัจจัยที่จะสืบต่ออีกต่อไป เช่น ตัดกิเลสได้อย่างสิ้นเชิง ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยช่วงหนึ่งเสีย กรรมก็จะไม่มี ไม่เกิดขึ้น หรืออีกนัยหนึ่ง หยุดไว้แค่ผัสสะ (การสัมผัส) ไม่ให้เวทนา (ความรู้สึก) เกิดขึ้น ก็จะไม่เกิดเหตุปัจจัย ตัวอื่น ๆ ต่อไป เมื่อตัดได้แล้วจิตก็เป็นสมาธิ เมื่อจิตสงบก็สามารถจะพิจารณาสิ่งต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดปัญญา เมื่อจิตสงบจากกิเลส ตัณหา อวิชชา อุปาทานแล้วก็เข้าสู่ภาวะแห่งนิพพาน คือ ดับสนิท หมายถึง ดับเพลิงกิเลส อันเป็นกองทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิงไม่เกิดอีก เปรียบได้กับไฟที่สิ้นเชื้อ(เพลิง) แล้วก็ดับลง
จึงสรุปได้ว่า การเกิดใหม่ คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงติดต่อกันไปเรื่อย ๆ แห่งปรากฏการณ์ของนามรูป การตาย คือ การยุติกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ติดต่อกันแห่งปรากฏการณ์ของนามรูป
การเกิดใหม่ อธิบายอย่างไร..?
การเกิดใหม่
คำว่า “ การเกิดใหม่” นี้ ในหลักพุทธธรรมขั้นปรมัตถ์ไม่มี แต่มีในการสื่อความหมายของคนทั่วไป เพราะหากมีการเกิดใหม่ ก็จะต้องมีการตาย จึงมีคำถามว่า คำว่า คนตายหมายถึงอะไรตาย? คนตายแล้วเกิดหรือไม่? ถ้าตอบว่าไม่เกิด (ขาดสูญ) ก็จบลงแค่นั้น แต่ถ้าตอบว่า คนตายแล้วเกิด จึงถามต่อไปอีกว่า อะไรไปเกิด? ฯลฯ
การตอบคำถามที่ยกมาข้างต้น หากตอบตามหลักพุทธธรรมก็ตอบได้หลายนัย
คือ ตายแล้วเกิด หมายถึง กระบวนการที่มีการอิงอาศัยกันเกิดของเหตุปัจจัยตามหลักปฏิจจสมุปบาทเมื่อไม่มีการดับเหตุปัจจัยตัวใดตัวหนึ่ง มันก็จะหมุนเวียนกันไปเป็นวงจรหรือวงเวียน เรียกว่า “วัฏฏะ 3” คือ เมื่อกิเลส ก็เป็นปัจจัยให้เกิดกรรม เมื่อเกิดกรรม (การกระทำ) ก็จะต้องมีผลของกรรม ครั้งครบหนึ่งรอบก็จะหมุนต่อไป คือ วิบาก (ผลของกรรม) ก็จะเป็นปัจจัยให้เกิดกิเลสอีก เป็นการเกิดใหม่ ในหลักพุทธธรรมที่แท้นั้นมิใช่วิญญาณล่องลอยจากร่างกายที่ตายแล้วไปเกิดในร่างใหม่ ซึ่งหมายถึงชาติใหม่ แต่วิญญาณในพุทธธรรมนั้นเป็นสิ่งที่เกิดดับได้ ซึ่งมันเป็นอนัตตา คือ วิญญาณ ก็มิใช่ตัวตนที่ถาวร หรือไม่มีตัวตนเที่ยงแท้
การเกิดใหม่จึงมิใช่วิญญาณเดิมที่ออกจากร่างเก่าแล้วไปอาศัยร่างใหม่ในชาติใหม่ แต่หมายถึง วิญญาณมีการสืบต่อจากวิญญาณดวงหนึ่งไปเป็นวิญญาณอีกดวงหนึ่ง เปรียบได้กับดวงเทียนเล่มหนึ่งมีเปลวไฟลุกอยู่ ต่อมาก็เอาเทียนอีกเล่มหนึ่งมาจุดไฟจากเทียนเล่มแรก ไฟที่ได้มาจากเล่มเก่านั้นจะ เรียกว่า เป็นไฟดวงเก่าไม่ได้ มันก็เป็นไฟดวงใหม่ แต่อาศัยไฟดวงเก่า แสงเทียนจากเล่มเก่ามาสู่เล่มใหม่
ก็เหมือนกับวิญญาณที่มีการสืบต่อจากเดิมไปสู่วิญญาณดวงใหม่ เหมือนกับพ่อแม่สร้างบุตรธิดา พ่อแม่ก็ต้องให้เลือดเนื้ออันเป็นร่างกายและให้วิญญาณอันเป็นส่วนของจิตใจจึงเป็นไปตามหลักแห่งปฏิจจสมุปบาท หรือหลักวัฏฏะ 3 คือ กิเลส กรรม วิบาก
ดังนั้น การเกิด หรือการตาย (ดับ) นั้นก็อยู่กับเหตุปัจจัย เมื่อยังมีเหตุมีปัจจัยก็มีการเกิด ครั้นสิ้นเหตุปัจจัยก็ตายหรือดับไป เช่น หากสามารถดับกิเลสได้อย่างสิ้นเชิง ก็จะไม่มีกรรม เมื่อไม่มีกรรมก็ไม่มี วิบาก (คือผลของกรรม) เพราะปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งดับ ปัจจัยอื่นก็ดับ เปรียบได้กับกองไฟการที่จะเกิดเป็นกองไฟที่ลุกโซนได้ก็ต้องอาศัยปัจจัย 3 ประการ คือ (1) เชื้อเพลิง (2) ออกซิเจน และ (3) ความร้อน ถ้าปัจจัยทั้ง 3 นี้มารวมกันเมื่อใด ก็เกิดเป็นกองไฟได้ และก็จะต้องลุกไหม้ต่อไป หากปัจจัยทั้ง 3 ยังมีอยู่ ถ้าต้องการที่จะดับไฟก็ต้องกำจัดหรือตัดปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งออกไป เช่น ไม่ใส่เชื้อเพลิงเพิ่ม หรือเอาถังมาครอบกองไฟเพื่อไม่ให้มีออกซิเจน เมื่อแยกเอาปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งหรือปัจจัยทั้งสามออกจากกัน ก็จะไม่มีไฟลุกไหม้อีกต่อไป
ในเรื่องการเกิดหรือการตายของชีวิตมนุษย์ก็เช่นเดียวกับกองไฟนี้ เมื่อมีการประกอบกันของส่วนประกอบสำคัญ 5 ส่วน คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ก็จะเรียกชีวิตหรือ คน เราใช้ภาษาเป็นสื่อให้เข้าใจกันว่า “เกิด” เมื่อส่วนประกอบทั้ง 5 ส่วนเหล่านี้ประกอบกันเข้าแล้ว ก็ทำหน้าที่ควบคุมกันไปได้ระยะหนึ่งเท่านั้น ในที่สุดส่วนประกอบเหล่านั้นก็จะแยกออกจากกัน ไม่มีตัวตนเหลือให้เห็นต่อไป ซึ่งเราใช้ภาษาเป็นสื่อให้เข้าใจว่า คือ “ตาย”
ดังนั้น คำตอบที่ว่าตายแล้วเกิด จึงหมายเอากระบวนการช่วงหนึ่งที่มีการสืบต่อกันไปเหมือนกับไฟที่ยังไม่สิ้นเชื้อ ก็จะลุกไหม้ต่อไป คำตอบอีกอย่างหนึ่งคือตายแล้วไม่เกิดอีก ก็หมายถึง การตัดวงจรคือตัดเหตุปัจจัยช่วงใดช่วงหนึ่งได้อย่างสิ้นเชิง ก็จะไม่มีเหตุปัจจัยที่จะสืบต่ออีกต่อไป เช่น ตัดกิเลสได้อย่างสิ้นเชิง ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยช่วงหนึ่งเสีย กรรมก็จะไม่มี ไม่เกิดขึ้น หรืออีกนัยหนึ่ง หยุดไว้แค่ผัสสะ (การสัมผัส) ไม่ให้เวทนา (ความรู้สึก) เกิดขึ้น ก็จะไม่เกิดเหตุปัจจัย ตัวอื่น ๆ ต่อไป เมื่อตัดได้แล้วจิตก็เป็นสมาธิ เมื่อจิตสงบก็สามารถจะพิจารณาสิ่งต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดปัญญา เมื่อจิตสงบจากกิเลส ตัณหา อวิชชา อุปาทานแล้วก็เข้าสู่ภาวะแห่งนิพพาน คือ ดับสนิท หมายถึง ดับเพลิงกิเลส อันเป็นกองทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิงไม่เกิดอีก เปรียบได้กับไฟที่สิ้นเชื้อ(เพลิง) แล้วก็ดับลง
จึงสรุปได้ว่า การเกิดใหม่ คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงติดต่อกันไปเรื่อย ๆ แห่งปรากฏการณ์ของนามรูป การตาย คือ การยุติกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ติดต่อกันแห่งปรากฏการณ์ของนามรูป