ตายแล้ว ไปเกิดใหม่ได้อย่างไร? #อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์

ตายแล้ว ไปเกิดใหม่ได้อย่างไร?

  เราตาย ดวงจิตจุติจิตจะเป็นเหตุให้เราไปเกิดใหม่ จุติจิตนี้ดวงนี้คือ เหตุแห่งปัจจัยวิบากกรรมที่สุดท้ายที่จะส่งตามแรงกรรม ไปเกิดใหม่ เราเปลี่ยนสังขารจากนี้ไปเปลี่ยนอีกสังขารหนึ่ง ไปปรุงแต่งต่อ

  ทำไมมีการติดขัด มีกุศลแต่ไปเกิดในที่ไม่ดี เพราะว่าเรามีวาสนาแห่งกรรมไม่ครบเอง สมมติว่าเรามีกรรม ๑๐ แต่ถ้าหากว่ามีมหาวิบากกรรมแรง ๑๐ ตัว แต่มีกรรมดีกี่ตัวแล้วหล่นไป ผลก็ต้องต่างกัน เราก็ไปเก็บได้ ผลก็จะต่างกัน แล้วยังอยู่ในธรรมไหม? ก็อยู่ในธรรม แต่ว่าไม่ได้มารวมในเหตุปัจจัยตรงนี้ จึงไม่สามารถชั่งเป็นปฏิเวธขึ้นมาได้ จะต้องไปเป็นอย่างนั้นก่อน แล้วค่อยไปเก็บมา แล้วค่อยไปตามเหตุปัจจัยแห่งวิบากกรรม

  ทำไมวิญญาณเราไปเกิดไม่ได้?

  ถ้าหากว่าเราเป็นผี เราไปตามเหตุปัจจัยวิบากกรรมแล้ว ไปแล้วกลายเป็นผี ยกตัวอย่าง กลายเป็นแม่นาค แม่นาคพระโขนง พอหมดจากแม่นาค ก็กลายเป็นแม่นาคที่เป็นเทวดาไปแล้ว ไปอยู่ แต่ไปแรงกรรมอีก ว่าจะต้องเป็นผีต่อ แต่เป็นผีเทวดา อาจจะตกหล่น เพราะเป็นไปตามแรงแห่งวิบากกรรมแห่งบาป แต่วิบากกรรมแห่งบุญ ส่งเสริมก็กลายเป็นแม่นาคที่เขานับถือแล้ว

  แรกๆ มีแต่บาปเลยกลายเป็นผีร้าย พอมาทีหลังได้สร้างกุศลไว้ ที่ตกหล่น ก็เก็บมาใส่เข้าไปแล้วก็กลายเป็นเทวดา 

  เรียกว่า ภพภูมิแห่งวิบากกรรม ย่อมประกอบด้วยปัญญาและสิ่งต่างๆ ย่อมมีอวิชชาและวิชชา 

  ฉะนั้น ผู้ที่บอกว่า ตายแล้ววิญญาณออกไปผุดไปเกิด อย่างนี้ผิด

  ตัว "เหตุปัจจัยแห่งวิบากกรรม" นี่แหละทำให้เราไปเกิดใหม่ เป็นจุติจิตสุดท้ายนี่แหละ

  จุติจิตนี้จะรวบรวมแรงกรรม แล้วก็เดินทางเป็นจุติจิต แป๊บเดียว ก็เกิดแล้ว เป็นอะไรก็สุดแล้วแต่ธรรม

  ปฏิสนธิ เร็วกว่าคำว่าเกิด ปฏิสนธิแต่ยังไม่เป็นรูปร่าง แต่ยังใช้เวลาต่อเนื่องให้เป็นรูปร่าง ยังไม่ครบสมบูรณ์ ปฏิสนธิทางนาม แล้วก็ออกมาเป็นรูป
  

ดังในพระเรื่องพระภิกษุสาติสอบถามพระพุทธเจ้าเรื่องเกี่ยวกับวิญญาณ ดังนี้

พุทธพจน์ปฏิเสธความเข้าใจผิดว่า วิญญาณออกจากร่างไปเกิด เป็นเรื่องน่าสนใจสำหรับผู้ชอบศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการเกิดใหม่โดยทั่วไป แม้จะไม่เกี่ยวกับเรื่องนิพพานโดยตรง แต่เป็นความรู้พื้นฐานอย่างหนึ่ง ที่อาจเอามาประกอบการพิจารณาได้บางแง่

  ครั้งหนึ่ง ภิกษุชื่อสาติ เป็นบุตรชาวประมง มีความเห็นผิดว่า พระพุทธเจ้าสอนว่า วิญญาณดวงเดียวกันนี้ ท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏฏ์ ภิกษุทั้งหลายพยายามเปลื้องความเห็นผิดของเธอ แต่ไม่สำเร็จ จึงพากันไปกราบทูลพระพุทธเจ้า พระองค์จึงตรัสเรียกพระสาติมา และทรงสอบถาม ดังความว่า
พระพุทธเจ้า: เป็นความจริงหรือ สาติ มีข่าวว่า เธอเกิดความเห็นชั่วร้ายอย่างนี้ว่า        

 “ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ว่า วิญญาณนี้นั่นเอง ย่อมวิ่งแล่น ย่อมท่องเที่ยวไป มิใช่อื่น” ?

พระสาติ:   ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นอย่างนั้น ฯลฯ

พระพุทธเจ้า: นี่แน่ะสาติ วิญญาณนั้น เป็นอย่างไร?

พระสาติ: ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ (วิญญาณนั้น) คือ ตัวอันนี้ ที่เป็นผู้พูด เป็นผู้รู้ เสวยวิบากของกรรมทั้งหลาย ทั้งดีและชั่ว ในที่นั้นๆ

พระพุทธเจ้า: ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ แก่ใครหนอ;     เรากล่าวไว้โดยอเนกปริยายมิใช่หรือว่า วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกัน เกิดขึ้น (ปฏิจจสมุปบัน), เว้นจากปัจจัยเสีย การเกิดแห่งวิญญาณย่อมไม่มี ก็แล ด้วยความเห็นที่ตนเองถือเอาไว้ผิด เธอย่อมกล่าวตู่เรา ย่อมขุดตนเอง และประสบสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก, ความเห็นนั้นแหละ จักเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เธอ ตลอดกาลนาน”

  จากนั้น ได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า

  “ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณอาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้น ก็ถึงความนับไปตามปัจจัยนั้นๆ นั่นแหละ, (กล่าวคือ) วิญญาณอาศัยจักษุและรูปเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าจักขุวิญญาณ, วิญญาณอาศัยโสตและเสียงเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าโสตวิญญาณ, วิญญาณอาศัยฆานะและกลิ่นเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าฆานวิญญาณ, วิญญาณอาศัยชิวหาและรสเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าชิวหาวิญญาณ, วิญญาณอาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่ากายวิญญาณ, วิญญาณอาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่ามโนวิญญาณ;

  "เปรียบเหมือนไฟอาศัยเชื้อใดๆ ติดขึ้น ก็ถึงความนับไปตามเชื้อนั้นๆ...ว่าไฟไม้...ว่าไฟเศษของ...ว่าไฟหญ้า...ว่าไฟโคมัย...ว่าไฟแกลบ...ว่าไฟหยากเยื่อ...ฯลฯ” (พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย หน้า ๕๐๖)

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่