คำถาม
๑. ผู้เห็นว่าปฏิจจสมุปบาทในขณะจิต เห็นว่าการเวียนว่ายตายเกิดไม่มีหรือ? หรือเห็นว่าการเวียนว่ายตายเกิดในเชิงกายภาพมีอยู่ แต่พระพุทธเจ้าหมายเอาปฏิจจสมุปบาทที่แสดงไว้เป็นขณะจิต ไม่ใช่ข้ามภพ
๒. ผู้เห็นว่าปฏิจจสมุปบาท ท่านหมายเอาข้ามภพ และยังเห็นว่าปฏิจจสมุปบาทในขณะจิตมีอยู่
๖๒. คัพภวีสูปสัมปทานุชานนา
ว่าด้วยทรงอนุญาต
อุปสมบทให้กุลบุตรโดยนับอายุ ๒๐ ปีทั้งอยู่ในครรภ์
เรื่องพระกุมารกัสสปะ
[๑๒๔] สมัยนั้น ท่านพระกุมารกัสสปะมีอายุครบ ๒๐ ปีนับทั้งอยู่ในครรภ์
ได้อุปสมบทแล้ว ต่อมา ท่านมีความดำริว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า
‘บุคคลมีอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี สงฆ์ไม่พึงให้อุปสมบท’ แต่เรามีอายุครบ ๒๐ ปี
นับทั้งอยู่ในครรภ์อุปสมบทแล้ว จะเป็นอันได้อุปสมบทหรือไม่หนอ”
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย สัตว์เกิดนับตั้งแต่จิตดวงแรก
วิญญาณดวงแรกเกิดปรากฏขึ้นในครรภ์ของมารดา ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
อุปสมบทให้กุลบุตรมีอายุครบ ๒๐ นับทั้งอยู่ในครรภ์ได้”
๓. ทุกขนิโรธสูตร
[๑๖๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ
บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราจักแสดงเหตุเกิดแห่งทุกข์ และความดับแห่งทุกข์ ท่านทั้งหลายจงฟัง จงทำไว้
ในใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ฯ
[๑๖๒] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความเกิด
ขึ้นแห่งทุกข์เป็นไฉน เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประชุม
แห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะ
เวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์
เพราะอาศัยหูและเสียง ... เพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ... เพราะอาศัยลิ้นและรส ...
เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ ... เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ
ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความเกิดขึ้นแห่ง
ทุกข์ ฯ
[๑๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งทุกข์เป็นไฉน เพราะอาศัย
จักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา
เพราะตัณหานั้นเทียวดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ
ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและมรณะ โสกปริเทว-
*ทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ
อย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความดับแห่งทุกข์ เพราะอาศัยหูและเสียง ...
เพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ... เพราะอาศัยลิ้นและรส ... เพราะอาศัยกายและ
โผฏฐัพพะ ... เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ ความประชุมแห่ง
ธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นเทียวดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ
อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะ
ชาติดับ ชราและมรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่ง
กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความดับ
แห่งทุกข์ ฯ
๔. ภิกขุสูตรที่ ๒
ว่าด้วยเหตุได้ชื่อว่าเป็นผู้กำหนัดขัดเคือง
และลุ่มหลง
[๗๗] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ขอประทานวโรกาส พระเจ้าข้า ขอพระผู้
มีพระภาค ทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์ฟังแล้วพึงเป็นผู้ๆ เดียว หลีก
ออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจมั่นคงอยู่เถิด.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ บุคคลครุ่นคิดถึงสิ่งใด ย่อมหมกมุ่นสิ่งนั้น หมก
มุ่นสิ่งใด ย่อมถึงการนับเพราะสิ่งนั้น ไม่ครุ่นคิดถึงสิ่งใด ย่อมไม่หมกมุ่นสิ่งนั้น ไม่หมกมุ่น
สิ่งใด ย่อมไม่ถึงการนับเพราะสิ่งนั้น.
ภิ. ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว.
พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวโดยย่อได้ โดยพิสดารอย่างไร?
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าบุคคลครุ่นคิดถึงรูป ย่อมหมกมุ่นรูปใด ย่อมถึงการนับ
เพราะรูปนั้น ถ้าครุ่นคิดถึงเวทนา ฯลฯ ถ้าครุ่นคิดถึงสัญญา ฯลฯ ถ้าครุ่นคิดถึงสังขาร ฯลฯ ถ้า
ครุ่นคิดถึงวิญญาณ ย่อมหมกมุ่นวิญญาณนั้น หมกมุ่นวิญญาณใด ย่อมถึงการนับเพราะวิญญาณ
นั้น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าบุคคลไม่ครุ่นคิดถึงรูป ย่อมไม่หมกมุ่นรูปนั้น ไม่หมกมุ่นรูปใด.
ย่อมไม่ถึงการนับเพราะรูปนั้น. ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงเวทนา ฯลฯ ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสัญญา ฯลฯ ถ้าไม่
ครุ่นคิดถึงสังขาร ฯลฯ ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงวิญญาณ ย่อมไม่หมกมุ่นวิญญาณนั้น ไม่หมกมุ่นวิญญาณ
ใด ย่อมไม่ถึงการนับเพราะวิญญาณนั้น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความแห่ง
พระภาษิต ที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยย่อได้ โดยพิสดารอย่างนี้แล.
[๗๘] พ. ถูกแล้ว ถูกแล้ว ภิกษุ เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าว โดยย่อได้
โดยพิสดารดีนักแล. ดูกรภิกษุ ถ้าบุคคลครุ่นคิดถึงรูป ย่อมหมกมุ่นรูปนั้น หมกมุ่นรูปใด
ย่อมถึงการนับเพราะรูปนั้น. ถ้าครุ่นคิดถึงเวทนา ฯลฯ ถ้าครุ่นคิดถึงสัญญา ฯลฯ ถ้าครุ่นคิดถึง
สังขาร ฯลฯ ถ้าครุ่นคิดถึงวิญญาณ ย่อมหมกมุ่นวิญญาณนั้น หมกมุ่นวิญญาณใด ย่อมถึงการ
นับเพราะวิญญาณนั้น. ดูกรภิกษุ ถ้าบุคคลไม่ครุ่นคิดถึงรูป ย่อมไม่หมกมุ่นรูปนั้น ไม่หมกมุ่น
รูปใด ย่อมไม่ถึงการนับเพราะรูปนั้น. ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงเวทนา ฯลฯ ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสัญญา ฯลฯ
ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสังขาร ฯลฯ ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงวิญญาณ ย่อมไม่หมกมุ่นวิญญาณนั้น ไม่หมกมุ่น
วิญญาณใด ย่อมไม่ถึงการนับเพราะวิญญาณนั้น. ดูกรภิกษุ เธอพึงเข้าใจเนื้อความแห่งคำนี้ที่เรา
กล่าวแล้วโดยย่อ โดยพิสดารอย่างนี้ ฯลฯ ก็ภิกษุรูปนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวน
พระอรหันต์ทั้งหลาย.
ปฏิจจสมุปบาทในขณะจิตหรือข้ามภพ?
๑. ผู้เห็นว่าปฏิจจสมุปบาทในขณะจิต เห็นว่าการเวียนว่ายตายเกิดไม่มีหรือ? หรือเห็นว่าการเวียนว่ายตายเกิดในเชิงกายภาพมีอยู่ แต่พระพุทธเจ้าหมายเอาปฏิจจสมุปบาทที่แสดงไว้เป็นขณะจิต ไม่ใช่ข้ามภพ
๒. ผู้เห็นว่าปฏิจจสมุปบาท ท่านหมายเอาข้ามภพ และยังเห็นว่าปฏิจจสมุปบาทในขณะจิตมีอยู่
๖๒. คัพภวีสูปสัมปทานุชานนา
ว่าด้วยทรงอนุญาต
อุปสมบทให้กุลบุตรโดยนับอายุ ๒๐ ปีทั้งอยู่ในครรภ์
เรื่องพระกุมารกัสสปะ
[๑๒๔] สมัยนั้น ท่านพระกุมารกัสสปะมีอายุครบ ๒๐ ปีนับทั้งอยู่ในครรภ์
ได้อุปสมบทแล้ว ต่อมา ท่านมีความดำริว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า
‘บุคคลมีอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี สงฆ์ไม่พึงให้อุปสมบท’ แต่เรามีอายุครบ ๒๐ ปี
นับทั้งอยู่ในครรภ์อุปสมบทแล้ว จะเป็นอันได้อุปสมบทหรือไม่หนอ”
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย สัตว์เกิดนับตั้งแต่จิตดวงแรก
วิญญาณดวงแรกเกิดปรากฏขึ้นในครรภ์ของมารดา ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
อุปสมบทให้กุลบุตรมีอายุครบ ๒๐ นับทั้งอยู่ในครรภ์ได้”
๓. ทุกขนิโรธสูตร
[๑๖๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ
บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราจักแสดงเหตุเกิดแห่งทุกข์ และความดับแห่งทุกข์ ท่านทั้งหลายจงฟัง จงทำไว้
ในใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ฯ
[๑๖๒] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความเกิด
ขึ้นแห่งทุกข์เป็นไฉน เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประชุม
แห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะ
เวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์
เพราะอาศัยหูและเสียง ... เพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ... เพราะอาศัยลิ้นและรส ...
เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ ... เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ
ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความเกิดขึ้นแห่ง
ทุกข์ ฯ
[๑๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งทุกข์เป็นไฉน เพราะอาศัย
จักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา
เพราะตัณหานั้นเทียวดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ
ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและมรณะ โสกปริเทว-
*ทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ
อย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความดับแห่งทุกข์ เพราะอาศัยหูและเสียง ...
เพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ... เพราะอาศัยลิ้นและรส ... เพราะอาศัยกายและ
โผฏฐัพพะ ... เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ ความประชุมแห่ง
ธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นเทียวดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ
อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะ
ชาติดับ ชราและมรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่ง
กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความดับ
แห่งทุกข์ ฯ
๔. ภิกขุสูตรที่ ๒
ว่าด้วยเหตุได้ชื่อว่าเป็นผู้กำหนัดขัดเคือง
และลุ่มหลง
[๗๗] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ขอประทานวโรกาส พระเจ้าข้า ขอพระผู้
มีพระภาค ทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์ฟังแล้วพึงเป็นผู้ๆ เดียว หลีก
ออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจมั่นคงอยู่เถิด.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ บุคคลครุ่นคิดถึงสิ่งใด ย่อมหมกมุ่นสิ่งนั้น หมก
มุ่นสิ่งใด ย่อมถึงการนับเพราะสิ่งนั้น ไม่ครุ่นคิดถึงสิ่งใด ย่อมไม่หมกมุ่นสิ่งนั้น ไม่หมกมุ่น
สิ่งใด ย่อมไม่ถึงการนับเพราะสิ่งนั้น.
ภิ. ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว.
พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวโดยย่อได้ โดยพิสดารอย่างไร?
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าบุคคลครุ่นคิดถึงรูป ย่อมหมกมุ่นรูปใด ย่อมถึงการนับ
เพราะรูปนั้น ถ้าครุ่นคิดถึงเวทนา ฯลฯ ถ้าครุ่นคิดถึงสัญญา ฯลฯ ถ้าครุ่นคิดถึงสังขาร ฯลฯ ถ้า
ครุ่นคิดถึงวิญญาณ ย่อมหมกมุ่นวิญญาณนั้น หมกมุ่นวิญญาณใด ย่อมถึงการนับเพราะวิญญาณ
นั้น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าบุคคลไม่ครุ่นคิดถึงรูป ย่อมไม่หมกมุ่นรูปนั้น ไม่หมกมุ่นรูปใด.
ย่อมไม่ถึงการนับเพราะรูปนั้น. ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงเวทนา ฯลฯ ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสัญญา ฯลฯ ถ้าไม่
ครุ่นคิดถึงสังขาร ฯลฯ ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงวิญญาณ ย่อมไม่หมกมุ่นวิญญาณนั้น ไม่หมกมุ่นวิญญาณ
ใด ย่อมไม่ถึงการนับเพราะวิญญาณนั้น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความแห่ง
พระภาษิต ที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยย่อได้ โดยพิสดารอย่างนี้แล.
[๗๘] พ. ถูกแล้ว ถูกแล้ว ภิกษุ เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าว โดยย่อได้
โดยพิสดารดีนักแล. ดูกรภิกษุ ถ้าบุคคลครุ่นคิดถึงรูป ย่อมหมกมุ่นรูปนั้น หมกมุ่นรูปใด
ย่อมถึงการนับเพราะรูปนั้น. ถ้าครุ่นคิดถึงเวทนา ฯลฯ ถ้าครุ่นคิดถึงสัญญา ฯลฯ ถ้าครุ่นคิดถึง
สังขาร ฯลฯ ถ้าครุ่นคิดถึงวิญญาณ ย่อมหมกมุ่นวิญญาณนั้น หมกมุ่นวิญญาณใด ย่อมถึงการ
นับเพราะวิญญาณนั้น. ดูกรภิกษุ ถ้าบุคคลไม่ครุ่นคิดถึงรูป ย่อมไม่หมกมุ่นรูปนั้น ไม่หมกมุ่น
รูปใด ย่อมไม่ถึงการนับเพราะรูปนั้น. ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงเวทนา ฯลฯ ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสัญญา ฯลฯ
ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสังขาร ฯลฯ ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงวิญญาณ ย่อมไม่หมกมุ่นวิญญาณนั้น ไม่หมกมุ่น
วิญญาณใด ย่อมไม่ถึงการนับเพราะวิญญาณนั้น. ดูกรภิกษุ เธอพึงเข้าใจเนื้อความแห่งคำนี้ที่เรา
กล่าวแล้วโดยย่อ โดยพิสดารอย่างนี้ ฯลฯ ก็ภิกษุรูปนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวน
พระอรหันต์ทั้งหลาย.