การกลับมาเกิดใหม่ (Reincarnation)
การกลับมาเกิดใหม่ หรือ การกลับชาติมาเกิด หมายถึง การกลับมาเกิดบนโลกใบนี้อีกครั้งของจิตวิญญาณ(Soul) ดวงเดิม คือเห็นว่าจิตวิญญาณหรือ “อาตมัน” เป็นของเที่ยงแท้ เป็นอมตะ การเวียนว่ายตายเกิดเป็นการเวียนว่ายตายเกิดของจิตวิญญาณดวงเดิม แต่เปลี่ยนร่างกายไปเรื่อยๆ เหมือนเปลี่ยนเสื้อผ้า ตามคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู ซึ่งสอนว่าจิตวิญญาณนั้นสามารถเวียนว่ายตายเกิดเป็นได้ทั้งมนุษย์ สัตว์ พืช และแร่ธาตุ ในรูปแบบต่างๆได้มากมายถึง ๘,๔๐๐,๐๐๐ รูปแบบ มนุษย์หรือสัตว์เมื่อตายไปแล้วสามารถกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ สัตว์ พืช หรือเป็นแร่ธาตุต่างๆ บนโลกนี้ได้อีก จนกว่าจะบรรลุโมกษะ (Moksha)กลับไปรวมกับกายพรหมหรือ “ปรมาตมัน” เป็นอมตะ และหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด เทพหรือเทพเจ้าสามารถอวตารหรือแบ่งภาคไปเกิดเป็นเทพหรือเทพเจ้าองค์อื่น หรืออวตารมาเกิดเป็นมนุษย์หรือสัตว์ได้ นี่คือความหมายตามคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู ซึ่งความเห็นว่าจิตวิญญาณเป็นของเที่ยง เป็นอมตะนั้น ในทางพุทธศาสนาถือว่าเป็นความเห็นไปในทาง “สัสสตทิฏฐิ” ซึ่งเป็นความเห็นผิด หรือเป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างหนึ่ง
https://sites.google.com/site/thaireincarnation/Home/16-cases-foreword/Words-and-meaning
ทฤษฎี การกลับมาเกิดใหม่ (Reincarnation) เป็นความเห็นผิด แล้วชาวพุทธไปเชื่อทำไมหละครับ ?
การกลับมาเกิดใหม่ หรือ การกลับชาติมาเกิด หมายถึง การกลับมาเกิดบนโลกใบนี้อีกครั้งของจิตวิญญาณ(Soul) ดวงเดิม คือเห็นว่าจิตวิญญาณหรือ “อาตมัน” เป็นของเที่ยงแท้ เป็นอมตะ การเวียนว่ายตายเกิดเป็นการเวียนว่ายตายเกิดของจิตวิญญาณดวงเดิม แต่เปลี่ยนร่างกายไปเรื่อยๆ เหมือนเปลี่ยนเสื้อผ้า ตามคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู ซึ่งสอนว่าจิตวิญญาณนั้นสามารถเวียนว่ายตายเกิดเป็นได้ทั้งมนุษย์ สัตว์ พืช และแร่ธาตุ ในรูปแบบต่างๆได้มากมายถึง ๘,๔๐๐,๐๐๐ รูปแบบ มนุษย์หรือสัตว์เมื่อตายไปแล้วสามารถกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ สัตว์ พืช หรือเป็นแร่ธาตุต่างๆ บนโลกนี้ได้อีก จนกว่าจะบรรลุโมกษะ (Moksha)กลับไปรวมกับกายพรหมหรือ “ปรมาตมัน” เป็นอมตะ และหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด เทพหรือเทพเจ้าสามารถอวตารหรือแบ่งภาคไปเกิดเป็นเทพหรือเทพเจ้าองค์อื่น หรืออวตารมาเกิดเป็นมนุษย์หรือสัตว์ได้ นี่คือความหมายตามคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู ซึ่งความเห็นว่าจิตวิญญาณเป็นของเที่ยง เป็นอมตะนั้น ในทางพุทธศาสนาถือว่าเป็นความเห็นไปในทาง “สัสสตทิฏฐิ” ซึ่งเป็นความเห็นผิด หรือเป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างหนึ่ง
https://sites.google.com/site/thaireincarnation/Home/16-cases-foreword/Words-and-meaning