เกรินนำ.... ผมเป็นผู้หนึ่งที่ชอบท่านพุทธทาสมาก แต่เมื่อกล่าวตามธรรมศึกษา ก็ต้องยกมาทุกด้าน ไม่ควรติดอยู่กับเพียงตัวบุคคล
ข้อแนะนำ... แม้เราจะชอบ หรือรัก หรือศรัทธา ในตัวบุคคล แต่เมื่อกล่าวถึงธรรมศึกษาแล้ว ก็ต้องยกบุคคลนั้นออกไป
และแม้เราจะศรัทธาในพุทธพจน์ แต่เมื่อเป็นธรรมปฏิบัติถึงที่สุดแล้วก็ต้องเพิกพุทธพจน์นั้นไป ปรากฏสภาวะธรรมตามความเป็นจริงที่ถึงที่สุด ย่อมเป็น ปัจจตัง เวทิตับโป วิญญูเหติ ตามสัจธรรมนั้นๆ
มาเข้าเรื่อง ปฏิสนธิวิญญาณ ตามพระอรรถกถา ต่อไปดังนี้. จากพระอรรถกถา เล่มที่ 77
ลทฺธปฺปจฺจยมิติ ธมฺม มตฺตเมตํ ภวนฺตรมุเปติ
นาสฺส ตโต สงฺกนฺติ น ตโต เหตุ วินา โหติ
วิญญาณนี้ เป็นเพียงธรรมที่มีปัจจัย
อันได้แล้ว ย่อมเข้าถึงภพอื่น ด้วยประการ
ฉะนี้ วิญญาณนั้น จึงไม่มีการเคลื่อนไปจาก
ภพนี้ เว้นเหตุแต่ภพอดีตแล้ว วิญญาณก็หา
ปรากฏไม่.
จริงอยู่ วิญญาณนี้ มีปัจจัยอันได้แล้ว สักว่าเป็นธรรมอาศัยรูปและ
อรูปเมื่อเกิดขึ้นอยู่ เรียกว่า ย่อมเข้าถึงภพอื่น วิญญาณนี้ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่
ชีวะ วิญญาณนั้น จึงไม่มีการก้าวจากภพอดีตมาในภพนี้ เว้นเหตุแต่ภพอดีต
แล้ววิญญาณนั้นก็ไม่ปรากฏในภพนี้. ข้าพเจ้าจักประกาศวิญญาณนี้ โดยลำดับ
แห่งจุติและปฏิสนธิของมนุษย์ ตามที่ปรากฏต่อไป.
ว่าด้วยจุติวิญญาณและปฏิสนธิวิญญาณ
ความจริง เมื่อสัตว์ใกล้ต่อความตาย โดยสภาวะตามปรกติ หรือ
โดยความพยายามในภพอดีต อดทนไม่ได้ซึ่งกลุ้มรุมแห่งศัสตรา ซึ่งมีเวทนา
อันใกล้ต่อความตาย อันตัดซึ่งเส้นเอ็นอันเป็นข้อต่อแห่งอวัยวะน้อยใหญ่ทั้งปวง
ซึ่งใคร ๆ ก็ทนไม่ได้ เมื่อสรีระซูบซีดโดยลำดับดุจใบตาลสดที่ตากไว้กลางแดด
เมื่ออินทรีย์มีจักขุเป็นต้นดับแล้ว เมื่อกายินทรีย์ มนินทรีย์ และชีวิตินทรีย์
อันดำรงอยู่ในฐานะสักว่าหทยวัตถุ วิญญาณอาศัยหทยวัตถุที่ยังเหลือในขณะนั้น
ปรารภกรรมกล่าวคือสังขารมีปัจจัยที่ยังเหลือได้แล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดา
ครุกรรม อาจิณณกรรม อาสันนกรรม และกรรมที่ทำไว้ก่อน หรือปรารภ
อารมณ์กล่าวคือกรรม กรรมนิมิต คตินิมิต ที่เข้าไปปรากฏแล้วนั้น เป็นไป
วิญญาณนั้นนั่นแหละ เมื่อเป็นไป เพราะละตัณหาและอวิชชายังไม่ได้ จึงถูกตัณ-
หาให้น้อมไป สังขารอันเป็นสหชาตธรรมย่อมซัดไปในอารมณ์นั้นอันเป็นโทษ
อันอวิชชาปกปิดแล้วนั้น วิญญาณนั้นถูกตัณหาให้น้อมไป อันสังขารทั้งหลาย
ซัดไปอยู่ ด้วยอำนาจการสืบต่อ ย่อมละหทัยที่อาศัยอันมีมาก่อน จะยินดีอยู่
ก็ตาม ไม่ยินดีอยู่ก็ตามซึ่งหทัยอันเป็นที่อาศัยอันกรรมให้ตั้งขึ้นอื่นอีก ย่อม
เป็นไปด้วยปัจจัยทั้งหลายมีอารมณ์เป็นต้นทีเดียว เหมือนบุรุษเหนี่ยวเชือกที่
ผูกกับต้นไม้ฝั่งนี้ข้ามเหมืองไปฉะนั้น.
อนึ่ง ในวิญญาณทั้งหลายเหล่านี้ วิญญาณดวงก่อน เรียกว่า จุติ
เพราะเคลื่อนไป ดวงหลัง เรียกว่า ปฏิสนธิ เพราะสืบต่อภพอื่นเป็นต้น
ปฏิสนธิวิญญาณนี้นั้น บัณฑิตพึงทราบว่า มิใช่จากภพก่อนมาในภพนี้ แม้เว้น
เหตุมีกรรม สังขาร คติ และอารมณ์เป็นต้น แต่ภพก่อนนั้น ก็ไม่ปรากฏ.
สิยุ นิทสฺสนาเนตฺถ ปฏิโฆสาทิกา อถ
สนฺตานพนฺธโต นตฺถิ เอกตา นาปิ นานตา
เปรียบเหมือนเสียงสะท้อนเป็นต้น
พึงเป็นอุทาหรณ์ได้ในเรื่องนี้ ก็เสียงสะท้อน
นั้น มิใช่เป็นเสียงเดียวกัน มิใช่เป็นเสียง
ต่างกัน (กับเสียงเดิม) เพราะเนื่องกันด้วย
ความสืบต่อ.
------------------------------
อธิบายตามที่เข้าใจในพระอรรถกถาดังนี้...
จากข้อความ
วิญญาณนี้ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่
ชีวะ วิญญาณนั้น จึงไม่มีการก้าวจากภพอดีตมาในภพนี้ เว้นเหตุแต่ภพอดีต
แล้ววิญญาณนั้นก็ไม่ปรากฏในภพนี้.
อธิบาย1 ดังนั้นการตายแล้วเกิด จึงไม่มีวิญญาณก้าวจากภพอดีต มาเป็นวิญญาณในภพปัจจุบัน มีเพียงแต่เหตุในภพอดีตเท่านั้นทีเป็นคติ
เหตุในภพอดีต ตามพระอรรถกถาคือ..
เพราะละตัณหาและอวิชชายังไม่ได้ จึงถูกตัณ-
หาให้น้อมไป สังขารอันเป็นสหชาตธรรมย่อมซัดไปในอารมณ์นั้นอันเป็นโทษ
อันอวิชชาปกปิดแล้วนั้น วิญญาณนั้นถูกตัณหาให้น้อมไป อันสังขารทั้งหลาย
ซัดไปอยู่ ด้วยอำนาจการสืบต่อ ย่อมละหทัยที่อาศัยอันมีมาก่อน จะยินดีอยู่
ก็ตาม ไม่ยินดีอยู่ก็ตามซึ่งหทัยอันเป็นที่อาศัยอันกรรมให้ตั้งขึ้นอื่นอีก ย่อม
เป็นไปด้วยปัจจัยทั้งหลายมีอารมณ์เป็นต้นทีเดียว เหมือนบุรุษเหนี่ยวเชือกที่
ผูกกับต้นไม้ฝั่งนี้ข้ามเหมืองไปฉะนั้น
เป็นอันว่า ตัณหาและอวิชชาที่ยังละไม่ได้ นั้นแหละเป็นเหตุ เป็นคติ นำไป แต่ไม่ใช่ วิญญาณในอดีตภพ(อดิตชาติ) ล่องลอยไป เกิดในภพใหม่(ชาติใหม่) ดังที่หลายๆ ท่านหรือชนส่วนมากเข้าใจกัน.
หรือกล่าวได้ว่า เมื่อตัณหาและอวิชชา ยังไม่ดับหมดสิ้นด้วยปัญญาญาณเป็นเหตุ เมื่อจุติวิญญาณในภพอดีตดับปับ จึงสืบต่อปรากฏปฏิสนธิวิญญาณ ปรากฏในภพใหม่ นั้นเอง ซึ่งในพระอรรถกถาได้กล่าวว่า..
----
อนึ่ง ในวิญญาณทั้งหลายเหล่านี้ วิญญาณดวงก่อน เรียกว่า จุติ
เพราะเคลื่อนไป ดวงหลัง เรียกว่า ปฏิสนธิ เพราะสืบต่อภพอื่นเป็นต้น
ปฏิสนธิวิญญาณนี้นั้น บัณฑิตพึงทราบว่า มิใช่จากภพก่อนมาในภพนี้ แม้เว้น
เหตุมีกรรม สังขาร คติ และอารมณ์เป็นต้น แต่ภพก่อนนั้น ก็ไม่ปรากฏ.
-----
อธิบาย2... ดังนั้น ปฏิสนธิวิญญาณ มิใช่วิญญาณมาจากภพก่อนมาอยู่ในภพนี้(ภพใหม่) แต่เป็นวิญญาณใหม่หรือของใหม่ปรากฏขึ้น ที่มีเหตุจาก กรรม สังขาร คติ และอารมณ์ หรือตตัณหาและอวิชชานั้นแหละเป็นเหตุ เป็นคติ นำไปแต่ภพก่อน
เมื่อเป็นดังนี้ ทั้งพระอรรถกถาจารย์อธิบาย จนถึงสมัยของพระพุทธโฆษาจารย์ที่อธิบายก็เป็นไปแนวเดียวกับพระอรรถกถาจารย์นั้นเองที่อธิบาย ปฏิจสมุทปบาท คลอมภพชาติ ได้ ก็ด้วยเหตุและปัจจัย ที่สืบต่อกันเกิด จากจุติวิญญาณ เป็นปฏิสนธิวิญญาณ ด้วยมีอวิชชาเป็นเหตุเป็นคตินั้นเอง.
หมายเหตุ ผมก็ขำๆ ตัวเองเหมือนกันว่า สมัยก่อนเมื่อวัยหนุ่มหลังปฏิบิตกรรมฐานอย่างยิ่งมาแล้วผมก็ไม่เคยอ่านไม่เคยศึกษาพระอรรถกถาในเรื่อง จุติวิญญาณ และ ปฏิสนธิวิญญาณ แต่ผมกลับเข้าใจและเห็นไปในทำนองเดียวกับพระอรรถกถา ที่ผมได้อ่านได้ศึกษาในตอนนี้ เพราะเหตุจากกระทู้ที่มีผู้ถามผม ว่าใครแย้งตำหนิติเติยนพระอรรถกถา
ผมเคยอธิบายทำนองว่า... เรื่องตายปัปแล้วจิตดับไป แล้วปรากฏจิตดวงใหม่(ไม่ใช่ดวงเดิม) ทันทีที่สืบต่อจากจิตดวงเดิมทียังมีอวิชชาอยู่ ใน สังขารหรือสังขตธาตุ ที่ใดๆ ก็ได้ตามเหตุปัจจัยอำนวย โดยที่จิตดวงเก่าดับไปแล้ว ไม่ได้ล่องลอยไปจากที่เดิมไปเกิดเลย ผมจึงได้เปรียบเทียบทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีปัจจับันเรื่องการส่งข้อมูลแบบไร้สาย ไม่มีสายเชื่อมต่อกันเลย โดยส่งแบบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ไปยังเครื่องรับที่เหมาะสม ข้อมูลนั้นที่ส่งไป ก็จะเหมือนข้อมูลเดิมทุกประการ
ดังนั้นผมขออธิบายเพิ่มเพื่อเทียบเคียงได้ดังนี้... สังขาร นั้นปรากฏอยู่ได้ทุกที่ใน ธรรมชาติฝ่ายสังขตธาตุ เพียงแต่มี อวิชชาเหนียวนำ สังขารก็ปรากฏมี(ไม่ว่าเป็นที่ใดๆ ที่เป็นสังขตธาตุ) แล้วสังขารเป็นปัจจัย จึงเกิดปฏิสนธิวิญญาณ แล้ววิญญาณเป็นปัจจัย จึงเกิดนามรูป ...ฯลฯ ในภพใหม่ เป็นปฏิจสมุทปบาทฝ่ายเกิด ที่สืบต่อกันโดยไม่ขาดสายนั้นเอง ซึ่งเป็นที่ถูกแย้งและถูกตำหนิจากท่านพุทธทาส ที่บรรยายไว้ เีขียนไว้อย่างน่าดูชมทีเดียว.
ยกเรื่อง ปฏิสนธิวิญญาณ ที่ท่านพุทธทาส แยังไม่ย่อมรับพระอรรถกถา แล้วตำหนิติเติยนพระพุทธโฆษาจารย์
ข้อแนะนำ... แม้เราจะชอบ หรือรัก หรือศรัทธา ในตัวบุคคล แต่เมื่อกล่าวถึงธรรมศึกษาแล้ว ก็ต้องยกบุคคลนั้นออกไป
และแม้เราจะศรัทธาในพุทธพจน์ แต่เมื่อเป็นธรรมปฏิบัติถึงที่สุดแล้วก็ต้องเพิกพุทธพจน์นั้นไป ปรากฏสภาวะธรรมตามความเป็นจริงที่ถึงที่สุด ย่อมเป็น ปัจจตัง เวทิตับโป วิญญูเหติ ตามสัจธรรมนั้นๆ
มาเข้าเรื่อง ปฏิสนธิวิญญาณ ตามพระอรรถกถา ต่อไปดังนี้. จากพระอรรถกถา เล่มที่ 77
ลทฺธปฺปจฺจยมิติ ธมฺม มตฺตเมตํ ภวนฺตรมุเปติ
นาสฺส ตโต สงฺกนฺติ น ตโต เหตุ วินา โหติ
วิญญาณนี้ เป็นเพียงธรรมที่มีปัจจัย
อันได้แล้ว ย่อมเข้าถึงภพอื่น ด้วยประการ
ฉะนี้ วิญญาณนั้น จึงไม่มีการเคลื่อนไปจาก
ภพนี้ เว้นเหตุแต่ภพอดีตแล้ว วิญญาณก็หา
ปรากฏไม่.
จริงอยู่ วิญญาณนี้ มีปัจจัยอันได้แล้ว สักว่าเป็นธรรมอาศัยรูปและ
อรูปเมื่อเกิดขึ้นอยู่ เรียกว่า ย่อมเข้าถึงภพอื่น วิญญาณนี้ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่
ชีวะ วิญญาณนั้น จึงไม่มีการก้าวจากภพอดีตมาในภพนี้ เว้นเหตุแต่ภพอดีต
แล้ววิญญาณนั้นก็ไม่ปรากฏในภพนี้. ข้าพเจ้าจักประกาศวิญญาณนี้ โดยลำดับ
แห่งจุติและปฏิสนธิของมนุษย์ ตามที่ปรากฏต่อไป.
ว่าด้วยจุติวิญญาณและปฏิสนธิวิญญาณ
ความจริง เมื่อสัตว์ใกล้ต่อความตาย โดยสภาวะตามปรกติ หรือ
โดยความพยายามในภพอดีต อดทนไม่ได้ซึ่งกลุ้มรุมแห่งศัสตรา ซึ่งมีเวทนา
อันใกล้ต่อความตาย อันตัดซึ่งเส้นเอ็นอันเป็นข้อต่อแห่งอวัยวะน้อยใหญ่ทั้งปวง
ซึ่งใคร ๆ ก็ทนไม่ได้ เมื่อสรีระซูบซีดโดยลำดับดุจใบตาลสดที่ตากไว้กลางแดด
เมื่ออินทรีย์มีจักขุเป็นต้นดับแล้ว เมื่อกายินทรีย์ มนินทรีย์ และชีวิตินทรีย์
อันดำรงอยู่ในฐานะสักว่าหทยวัตถุ วิญญาณอาศัยหทยวัตถุที่ยังเหลือในขณะนั้น
ปรารภกรรมกล่าวคือสังขารมีปัจจัยที่ยังเหลือได้แล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดา
ครุกรรม อาจิณณกรรม อาสันนกรรม และกรรมที่ทำไว้ก่อน หรือปรารภ
อารมณ์กล่าวคือกรรม กรรมนิมิต คตินิมิต ที่เข้าไปปรากฏแล้วนั้น เป็นไป
วิญญาณนั้นนั่นแหละ เมื่อเป็นไป เพราะละตัณหาและอวิชชายังไม่ได้ จึงถูกตัณ-
หาให้น้อมไป สังขารอันเป็นสหชาตธรรมย่อมซัดไปในอารมณ์นั้นอันเป็นโทษ
อันอวิชชาปกปิดแล้วนั้น วิญญาณนั้นถูกตัณหาให้น้อมไป อันสังขารทั้งหลาย
ซัดไปอยู่ ด้วยอำนาจการสืบต่อ ย่อมละหทัยที่อาศัยอันมีมาก่อน จะยินดีอยู่
ก็ตาม ไม่ยินดีอยู่ก็ตามซึ่งหทัยอันเป็นที่อาศัยอันกรรมให้ตั้งขึ้นอื่นอีก ย่อม
เป็นไปด้วยปัจจัยทั้งหลายมีอารมณ์เป็นต้นทีเดียว เหมือนบุรุษเหนี่ยวเชือกที่
ผูกกับต้นไม้ฝั่งนี้ข้ามเหมืองไปฉะนั้น.
อนึ่ง ในวิญญาณทั้งหลายเหล่านี้ วิญญาณดวงก่อน เรียกว่า จุติ
เพราะเคลื่อนไป ดวงหลัง เรียกว่า ปฏิสนธิ เพราะสืบต่อภพอื่นเป็นต้น
ปฏิสนธิวิญญาณนี้นั้น บัณฑิตพึงทราบว่า มิใช่จากภพก่อนมาในภพนี้ แม้เว้น
เหตุมีกรรม สังขาร คติ และอารมณ์เป็นต้น แต่ภพก่อนนั้น ก็ไม่ปรากฏ.
สิยุ นิทสฺสนาเนตฺถ ปฏิโฆสาทิกา อถ
สนฺตานพนฺธโต นตฺถิ เอกตา นาปิ นานตา
เปรียบเหมือนเสียงสะท้อนเป็นต้น
พึงเป็นอุทาหรณ์ได้ในเรื่องนี้ ก็เสียงสะท้อน
นั้น มิใช่เป็นเสียงเดียวกัน มิใช่เป็นเสียง
ต่างกัน (กับเสียงเดิม) เพราะเนื่องกันด้วย
ความสืบต่อ.
------------------------------
อธิบายตามที่เข้าใจในพระอรรถกถาดังนี้...
จากข้อความ
วิญญาณนี้ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่
ชีวะ วิญญาณนั้น จึงไม่มีการก้าวจากภพอดีตมาในภพนี้ เว้นเหตุแต่ภพอดีต
แล้ววิญญาณนั้นก็ไม่ปรากฏในภพนี้.
อธิบาย1 ดังนั้นการตายแล้วเกิด จึงไม่มีวิญญาณก้าวจากภพอดีต มาเป็นวิญญาณในภพปัจจุบัน มีเพียงแต่เหตุในภพอดีตเท่านั้นทีเป็นคติ
เหตุในภพอดีต ตามพระอรรถกถาคือ..
เพราะละตัณหาและอวิชชายังไม่ได้ จึงถูกตัณ-
หาให้น้อมไป สังขารอันเป็นสหชาตธรรมย่อมซัดไปในอารมณ์นั้นอันเป็นโทษ
อันอวิชชาปกปิดแล้วนั้น วิญญาณนั้นถูกตัณหาให้น้อมไป อันสังขารทั้งหลาย
ซัดไปอยู่ ด้วยอำนาจการสืบต่อ ย่อมละหทัยที่อาศัยอันมีมาก่อน จะยินดีอยู่
ก็ตาม ไม่ยินดีอยู่ก็ตามซึ่งหทัยอันเป็นที่อาศัยอันกรรมให้ตั้งขึ้นอื่นอีก ย่อม
เป็นไปด้วยปัจจัยทั้งหลายมีอารมณ์เป็นต้นทีเดียว เหมือนบุรุษเหนี่ยวเชือกที่
ผูกกับต้นไม้ฝั่งนี้ข้ามเหมืองไปฉะนั้น
เป็นอันว่า ตัณหาและอวิชชาที่ยังละไม่ได้ นั้นแหละเป็นเหตุ เป็นคติ นำไป แต่ไม่ใช่ วิญญาณในอดีตภพ(อดิตชาติ) ล่องลอยไป เกิดในภพใหม่(ชาติใหม่) ดังที่หลายๆ ท่านหรือชนส่วนมากเข้าใจกัน.
หรือกล่าวได้ว่า เมื่อตัณหาและอวิชชา ยังไม่ดับหมดสิ้นด้วยปัญญาญาณเป็นเหตุ เมื่อจุติวิญญาณในภพอดีตดับปับ จึงสืบต่อปรากฏปฏิสนธิวิญญาณ ปรากฏในภพใหม่ นั้นเอง ซึ่งในพระอรรถกถาได้กล่าวว่า..
----
อนึ่ง ในวิญญาณทั้งหลายเหล่านี้ วิญญาณดวงก่อน เรียกว่า จุติ
เพราะเคลื่อนไป ดวงหลัง เรียกว่า ปฏิสนธิ เพราะสืบต่อภพอื่นเป็นต้น
ปฏิสนธิวิญญาณนี้นั้น บัณฑิตพึงทราบว่า มิใช่จากภพก่อนมาในภพนี้ แม้เว้น
เหตุมีกรรม สังขาร คติ และอารมณ์เป็นต้น แต่ภพก่อนนั้น ก็ไม่ปรากฏ.
-----
อธิบาย2... ดังนั้น ปฏิสนธิวิญญาณ มิใช่วิญญาณมาจากภพก่อนมาอยู่ในภพนี้(ภพใหม่) แต่เป็นวิญญาณใหม่หรือของใหม่ปรากฏขึ้น ที่มีเหตุจาก กรรม สังขาร คติ และอารมณ์ หรือตตัณหาและอวิชชานั้นแหละเป็นเหตุ เป็นคติ นำไปแต่ภพก่อน
เมื่อเป็นดังนี้ ทั้งพระอรรถกถาจารย์อธิบาย จนถึงสมัยของพระพุทธโฆษาจารย์ที่อธิบายก็เป็นไปแนวเดียวกับพระอรรถกถาจารย์นั้นเองที่อธิบาย ปฏิจสมุทปบาท คลอมภพชาติ ได้ ก็ด้วยเหตุและปัจจัย ที่สืบต่อกันเกิด จากจุติวิญญาณ เป็นปฏิสนธิวิญญาณ ด้วยมีอวิชชาเป็นเหตุเป็นคตินั้นเอง.
หมายเหตุ ผมก็ขำๆ ตัวเองเหมือนกันว่า สมัยก่อนเมื่อวัยหนุ่มหลังปฏิบิตกรรมฐานอย่างยิ่งมาแล้วผมก็ไม่เคยอ่านไม่เคยศึกษาพระอรรถกถาในเรื่อง จุติวิญญาณ และ ปฏิสนธิวิญญาณ แต่ผมกลับเข้าใจและเห็นไปในทำนองเดียวกับพระอรรถกถา ที่ผมได้อ่านได้ศึกษาในตอนนี้ เพราะเหตุจากกระทู้ที่มีผู้ถามผม ว่าใครแย้งตำหนิติเติยนพระอรรถกถา
ผมเคยอธิบายทำนองว่า... เรื่องตายปัปแล้วจิตดับไป แล้วปรากฏจิตดวงใหม่(ไม่ใช่ดวงเดิม) ทันทีที่สืบต่อจากจิตดวงเดิมทียังมีอวิชชาอยู่ ใน สังขารหรือสังขตธาตุ ที่ใดๆ ก็ได้ตามเหตุปัจจัยอำนวย โดยที่จิตดวงเก่าดับไปแล้ว ไม่ได้ล่องลอยไปจากที่เดิมไปเกิดเลย ผมจึงได้เปรียบเทียบทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีปัจจับันเรื่องการส่งข้อมูลแบบไร้สาย ไม่มีสายเชื่อมต่อกันเลย โดยส่งแบบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ไปยังเครื่องรับที่เหมาะสม ข้อมูลนั้นที่ส่งไป ก็จะเหมือนข้อมูลเดิมทุกประการ
ดังนั้นผมขออธิบายเพิ่มเพื่อเทียบเคียงได้ดังนี้... สังขาร นั้นปรากฏอยู่ได้ทุกที่ใน ธรรมชาติฝ่ายสังขตธาตุ เพียงแต่มี อวิชชาเหนียวนำ สังขารก็ปรากฏมี(ไม่ว่าเป็นที่ใดๆ ที่เป็นสังขตธาตุ) แล้วสังขารเป็นปัจจัย จึงเกิดปฏิสนธิวิญญาณ แล้ววิญญาณเป็นปัจจัย จึงเกิดนามรูป ...ฯลฯ ในภพใหม่ เป็นปฏิจสมุทปบาทฝ่ายเกิด ที่สืบต่อกันโดยไม่ขาดสายนั้นเอง ซึ่งเป็นที่ถูกแย้งและถูกตำหนิจากท่านพุทธทาส ที่บรรยายไว้ เีขียนไว้อย่างน่าดูชมทีเดียว.