"วิญญาณหยั่งลงในท้องแห่งมารดา" ตัดจากพุทธพจน์ส่วนหนึ่ง ซึ่งก็คือ "ปฏิสนธิวิญญาณ" ตามพระอรรถกถากล่าวไว้
จากพระไตรปิฏกเล่มทื่ 10
๒. มหานิทานสูตร (๑๕)
กถาว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท
------------
ก็คำนี้ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป เรากล่าวอธิบายดังต่อ ไปนี้
ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าว ไว้ว่า เพราะ
วิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป ดูกรอานนท์ ก็วิญญาณจักไม่หยั่งลง ในท้องแห่งมารดา นามรูป
จักขาดในท้องแห่งมารดาได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณหยั่งลงในท้องแห่งมารดาแล้วจักล่วงเลยไป นามรูปจักบังเกิด
เพื่อความเป็นอย่างนี้ได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณ ของกุมารก็ดี ของกุมาริกาก็ดี ผู้ยังเยาว์วัยอยู่ จักขาดความ
สืบต่อ นามรูปจักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งนามรูป ก็คือวิญญาณ
นั่นเอง ฯ
--------
จึงเกิดคำถามขึ้นว่า ทำไม พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า "วิญญาณหยั่งลงในท้องแห่งมารดา" ?
ทั้งที่ตามปฏิจสมุทปบาทฝ่ายเกิดคือ เพราะอวิชชา เป็นปัจจัย จึงเิกิดสังขาร เพราะสังขาร เป็นปัจจัย จึงเกิดวิญญาณ
ก็สามารถทำความเข้าใจได่ว่า การเกิดของทารกในท้องมารดา ย่อมมีเหตุคือ เกิดสภาวะ "วิญญาณหยั่งลงในท้องแห่งมารดา" คงไม่ใช่ทารกเิกิดขึ้นเป็นคนมาเอง นั้นเอง ด้วยเพียงแต่รูป ผสมผสานกันแล้วจึง เกิดเป็นทารถเท่านั้น.
ก็ด้วยธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสั่งสอนนั้น ย่อมมีเหตุมีปัจจัย ไม่ได้เกิดขึ้นมาเองอย่างลอยๆ จากพระไตรปิฏก เล่มที่ 17
-------
๘. คัททูลสูตรที่ ๒
ว่าด้วยอุปมาขันธ์ ๕ ด้วยเสาล่ามสุนัข
[๒๕๘] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้ที่สุด เบื้องต้น เบื้องปลายรู้
ไม่ได้แล้ว ที่สุดเบื้องต้น ย่อมไม่ปรากฏแก่สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น มีตัณหาเป็น
เครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุนัขที่เขาผูกไว้ด้วยเชือก ถูกล่ามไว้
ที่หลักหรือเสาอันมั่นคง ถ้าแม้มันเดิน มันก็ย่อมเดินใกล้หลักหรือเสานั้นเอง ถ้าแม้มันยืน
มันก็ย่อมยืนใกล้หลักหรือเสานั้นเอง ถ้าแม้มันนั่ง มันก็ย่อมนั่งใกล้หลักหรือเสานั้นเอง ถ้าแม้
มันนอน มันก็ย่อมนอนใกล้หลักหรือเสานั้นเอง แม้ฉันใด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้
สดับ ฉันนั้นเหมือนกันแล ย่อมตามเห็นรูปว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
ย่อมตามเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา.
ปุถุชนนั้น ถ้าแม้เดิน เขาก็ย่อมเดินใกล้อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั้นเอง ถ้าแม้ยืน เขาก็ย่อมยืน
ใกล้อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั้นเอง ถ้าแม้นั่ง เขาก็ย่อมนั่งใกล้อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั้นเอง
ถ้าแม้นอน เขาย่อมนอนใกล้อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั้นเอง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น
แล เธอทั้งหลาย พึงพิจารณาจิตของตนเนืองๆ ว่า จิตนี้เศร้าหมองแล้วด้วยราคะ โทสะ โมหะ
สิ้นกาลนาน.
-----------------
ด้วยพุทธพจน์ส่วนนี้
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้ที่สุด เบื้องต้น เบื้องปลายรู้
ไม่ได้แล้ว ที่สุดเบื้องต้น ย่อมไม่ปรากฏแก่สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น มีตัณหาเป็น
เครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่."
ด้วยพุทธพจน์ที่ว่า "มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น" สามารถขยายความได้ว่า อวิชชา นั้นสามารถเจริญได้ทุกที่ ในสังขตธาตุ หรือ สังสารวัฏ ที่เหมาะตามเหตุปัจจัย ไม่กำหนด ระยะทาง กว้าง ยาว หรือลึก(สูง) หรือตำแห่นงใดๆ ในสังขธาตุ(สังสารวัฏ)
นั้นก็หมายความว่า ผู้ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น ซึ่งอวิชชาสามารถปรากฏได้ทุกที่ในสังขตธรม(สังสารวัฏ) ตามเหตุปัจจัย ย่อมเวียนว่ายตายเกิด ในวัฏสงสาร ในสังขตธาตุ นั้นเอง
ดังนั้น พุทธพจน์ที่ว่า "วิญญาณหยั่งลงในท้องแห่งมารดา" ก็ย่อมมีปัจจัย จากผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น นั้นเอง ไม่ใช่ ทารถที่เกิดในท้องแห่งมารดา ขึ้นมาเองเพียงมีแต่รูป ผสมผสานกัน อย่างลอยๆ เท่านั้น.
แต่ไม่ใช่ว่า วิญญาณ จากที่หนึ่งของผู้ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น จะล่องลอยจากร่างกายหนึ่งที่ตายไปแล้ว ไปสวมลงในท้องแห่งมารดา แล้วเกิดเป็นทารถคนใหม่ เพียงแต่เกิดเหตุจาก ผู้ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น กำลังจะตาย เกิดจุติจิตขึ้น เป็นเหตุเป็นปัจจัยเหนียวนำด้วยเหตุและปัจจัยแล้วดับไป จึงเกิดวิญญาณหยั่งลงในท้องแห่งมารดา เป็นจิตดวงใหม่ ในภพใหม่ ไม่ใช่ว่า จุติจิตดวงเก่าของผู้ที่กำลังใกล้ตายล่องลอยมาอยู่ในท้องแห่งมารดา
ก็ตามพระอรรถกาในเล่มที่ 77 กล่าวว่า
------
เพราะละตัณหาและอวิชชายังไม่ได้ จึงถูกตัณ-
หาให้น้อมไป สังขารอันเป็นสหชาตธรรมย่อมซัดไปในอารมณ์นั้นอันเป็นโทษ
อันอวิชชาปกปิดแล้วนั้น วิญญาณนั้นถูกตัณหาให้น้อมไป อันสังขารทั้งหลาย
ซัดไปอยู่ ด้วยอำนาจการสืบต่อ ย่อมละหทัยที่อาศัยอันมีมาก่อน จะยินดีอยู่
ก็ตาม ไม่ยินดีอยู่ก็ตามซึ่งหทัยอันเป็นที่อาศัยอันกรรมให้ตั้งขึ้นอื่นอีก ย่อม
เป็นไปด้วยปัจจัยทั้งหลายมีอารมณ์เป็นต้นทีเดียว เหมือนบุรุษเหนี่ยวเชือกที่
ผูกกับต้นไม้ฝั่งนี้ข้ามเหมืองไปฉะนั้น.
อนึ่ง ในวิญญาณทั้งหลายเหล่านี้ (จัดให้อ่านได้ชัดเจน ในความหายแต่ละบรรทัด)
วิญญาณดวงก่อน เรียกว่า จุติเพราะเคลื่อนไป
ดวงหลัง เรียกว่า ปฏิสนธิ เพราะสืบต่อภพอื่นเป็นต้น
ปฏิสนธิวิญญาณนี้นั้น บัณฑิตพึงทราบว่า มิใช่จากภพก่อนมาในภพนี้
แม้เว้นเหตุมีกรรม สังขาร คติ และอารมณ์เป็นต้น แต่ภพก่อนนั้น ก็ไม่ปรากฏ.
---------
"วิญญาณหยั่งลงในท้องแห่งมารดา" ตัดจากพุทธพจน์ส่วนหนึ่ง ซึ่งก็คือ "ปฏิสนธิวิญญาณ" ตามพระอรรถกถากล่าวไว้
จากพระไตรปิฏกเล่มทื่ 10
๒. มหานิทานสูตร (๑๕)
กถาว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท
------------
ก็คำนี้ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป เรากล่าวอธิบายดังต่อ ไปนี้
ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าว ไว้ว่า เพราะ
วิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป ดูกรอานนท์ ก็วิญญาณจักไม่หยั่งลง ในท้องแห่งมารดา นามรูป
จักขาดในท้องแห่งมารดาได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณหยั่งลงในท้องแห่งมารดาแล้วจักล่วงเลยไป นามรูปจักบังเกิด
เพื่อความเป็นอย่างนี้ได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณ ของกุมารก็ดี ของกุมาริกาก็ดี ผู้ยังเยาว์วัยอยู่ จักขาดความ
สืบต่อ นามรูปจักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งนามรูป ก็คือวิญญาณ
นั่นเอง ฯ
--------
จึงเกิดคำถามขึ้นว่า ทำไม พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า "วิญญาณหยั่งลงในท้องแห่งมารดา" ?
ทั้งที่ตามปฏิจสมุทปบาทฝ่ายเกิดคือ เพราะอวิชชา เป็นปัจจัย จึงเิกิดสังขาร เพราะสังขาร เป็นปัจจัย จึงเกิดวิญญาณ
ก็สามารถทำความเข้าใจได่ว่า การเกิดของทารกในท้องมารดา ย่อมมีเหตุคือ เกิดสภาวะ "วิญญาณหยั่งลงในท้องแห่งมารดา" คงไม่ใช่ทารกเิกิดขึ้นเป็นคนมาเอง นั้นเอง ด้วยเพียงแต่รูป ผสมผสานกันแล้วจึง เกิดเป็นทารถเท่านั้น.
ก็ด้วยธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสั่งสอนนั้น ย่อมมีเหตุมีปัจจัย ไม่ได้เกิดขึ้นมาเองอย่างลอยๆ จากพระไตรปิฏก เล่มที่ 17
-------
๘. คัททูลสูตรที่ ๒
ว่าด้วยอุปมาขันธ์ ๕ ด้วยเสาล่ามสุนัข
[๒๕๘] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้ที่สุด เบื้องต้น เบื้องปลายรู้
ไม่ได้แล้ว ที่สุดเบื้องต้น ย่อมไม่ปรากฏแก่สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น มีตัณหาเป็น
เครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุนัขที่เขาผูกไว้ด้วยเชือก ถูกล่ามไว้
ที่หลักหรือเสาอันมั่นคง ถ้าแม้มันเดิน มันก็ย่อมเดินใกล้หลักหรือเสานั้นเอง ถ้าแม้มันยืน
มันก็ย่อมยืนใกล้หลักหรือเสานั้นเอง ถ้าแม้มันนั่ง มันก็ย่อมนั่งใกล้หลักหรือเสานั้นเอง ถ้าแม้
มันนอน มันก็ย่อมนอนใกล้หลักหรือเสานั้นเอง แม้ฉันใด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้
สดับ ฉันนั้นเหมือนกันแล ย่อมตามเห็นรูปว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
ย่อมตามเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา.
ปุถุชนนั้น ถ้าแม้เดิน เขาก็ย่อมเดินใกล้อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั้นเอง ถ้าแม้ยืน เขาก็ย่อมยืน
ใกล้อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั้นเอง ถ้าแม้นั่ง เขาก็ย่อมนั่งใกล้อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั้นเอง
ถ้าแม้นอน เขาย่อมนอนใกล้อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั้นเอง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น
แล เธอทั้งหลาย พึงพิจารณาจิตของตนเนืองๆ ว่า จิตนี้เศร้าหมองแล้วด้วยราคะ โทสะ โมหะ
สิ้นกาลนาน.
-----------------
ด้วยพุทธพจน์ส่วนนี้
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้ที่สุด เบื้องต้น เบื้องปลายรู้
ไม่ได้แล้ว ที่สุดเบื้องต้น ย่อมไม่ปรากฏแก่สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น มีตัณหาเป็น
เครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่."
ด้วยพุทธพจน์ที่ว่า "มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น" สามารถขยายความได้ว่า อวิชชา นั้นสามารถเจริญได้ทุกที่ ในสังขตธาตุ หรือ สังสารวัฏ ที่เหมาะตามเหตุปัจจัย ไม่กำหนด ระยะทาง กว้าง ยาว หรือลึก(สูง) หรือตำแห่นงใดๆ ในสังขธาตุ(สังสารวัฏ)
นั้นก็หมายความว่า ผู้ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น ซึ่งอวิชชาสามารถปรากฏได้ทุกที่ในสังขตธรม(สังสารวัฏ) ตามเหตุปัจจัย ย่อมเวียนว่ายตายเกิด ในวัฏสงสาร ในสังขตธาตุ นั้นเอง
ดังนั้น พุทธพจน์ที่ว่า "วิญญาณหยั่งลงในท้องแห่งมารดา" ก็ย่อมมีปัจจัย จากผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น นั้นเอง ไม่ใช่ ทารถที่เกิดในท้องแห่งมารดา ขึ้นมาเองเพียงมีแต่รูป ผสมผสานกัน อย่างลอยๆ เท่านั้น.
แต่ไม่ใช่ว่า วิญญาณ จากที่หนึ่งของผู้ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น จะล่องลอยจากร่างกายหนึ่งที่ตายไปแล้ว ไปสวมลงในท้องแห่งมารดา แล้วเกิดเป็นทารถคนใหม่ เพียงแต่เกิดเหตุจาก ผู้ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น กำลังจะตาย เกิดจุติจิตขึ้น เป็นเหตุเป็นปัจจัยเหนียวนำด้วยเหตุและปัจจัยแล้วดับไป จึงเกิดวิญญาณหยั่งลงในท้องแห่งมารดา เป็นจิตดวงใหม่ ในภพใหม่ ไม่ใช่ว่า จุติจิตดวงเก่าของผู้ที่กำลังใกล้ตายล่องลอยมาอยู่ในท้องแห่งมารดา
ก็ตามพระอรรถกาในเล่มที่ 77 กล่าวว่า
------
เพราะละตัณหาและอวิชชายังไม่ได้ จึงถูกตัณ-
หาให้น้อมไป สังขารอันเป็นสหชาตธรรมย่อมซัดไปในอารมณ์นั้นอันเป็นโทษ
อันอวิชชาปกปิดแล้วนั้น วิญญาณนั้นถูกตัณหาให้น้อมไป อันสังขารทั้งหลาย
ซัดไปอยู่ ด้วยอำนาจการสืบต่อ ย่อมละหทัยที่อาศัยอันมีมาก่อน จะยินดีอยู่
ก็ตาม ไม่ยินดีอยู่ก็ตามซึ่งหทัยอันเป็นที่อาศัยอันกรรมให้ตั้งขึ้นอื่นอีก ย่อม
เป็นไปด้วยปัจจัยทั้งหลายมีอารมณ์เป็นต้นทีเดียว เหมือนบุรุษเหนี่ยวเชือกที่
ผูกกับต้นไม้ฝั่งนี้ข้ามเหมืองไปฉะนั้น.
อนึ่ง ในวิญญาณทั้งหลายเหล่านี้ (จัดให้อ่านได้ชัดเจน ในความหายแต่ละบรรทัด)
วิญญาณดวงก่อน เรียกว่า จุติเพราะเคลื่อนไป
ดวงหลัง เรียกว่า ปฏิสนธิ เพราะสืบต่อภพอื่นเป็นต้น
ปฏิสนธิวิญญาณนี้นั้น บัณฑิตพึงทราบว่า มิใช่จากภพก่อนมาในภพนี้
แม้เว้นเหตุมีกรรม สังขาร คติ และอารมณ์เป็นต้น แต่ภพก่อนนั้น ก็ไม่ปรากฏ.
---------