คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 13
1) เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ (ปฏิสนธิ)
2) ช่วงอยู่ระหว่างตั้งครรภ์ (สร้างอวัยวะทุกอย่างสมบูรณ์)
3) เมื่อคลอด
เมื่อจุติวิญญญาณ ของสัตว์นั้นดับลง (ตาย) มีเหตุปัจจัย ให้เกิด ปฏิสนธิวิญญาณ ในเชื้อของ มารดาและบิดา ที่ผสมกันแล้ว
จากหนังสือ ใครให้คุณเกิด
http://larndham.org/index.php?showtopic=30808&st=0#entry489409
นอกเหนือจากนี้ กรรมอื่นใดที่บุคคลผู้นั้นได้กระทำในอดีตส่งให้เจ้าของกรรมนั้นต้องได้รับผลทั้งดีทั้งชั่ว ตามเหตุที่กระทำมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย อาทิ
แม่บางคนยังไม่ได้ทันได้รู้ตัวด้วยซ้ำว่า มีการปฏิสนธิเกิดกลละ (ชีวิตใหม่) ขึ้นในครรภ์ของตนเอง ทั้งนี้ก็เพราะว่าอำนาจฝ่ายอกุศลกรรมที่มีกำลังแรงมาทำหน้าที่เป็นกรรมตัดรอนบั่นทอนให้ชีวิตที่อุบัตินั้นไม่มีโอกาศได้ฝังตัวที่มดลูก ต้องตายไปภายในสัปดาห์แรกหลังการปฏิสนธิ หรือแม่บางรายฮอร์โมนที่สร้างน้อยเกินไป ทำให้เกิดการผิดปกติ นั่นคือตัวอ่อนในระยะ blastocyst ไม่อาจฝังตัวติดแน่นกับมดลูกได้จึงต้องเกิดการแท้ง สาเหตุของการเป็นเช่นนี้ ก็เพราะบุคคลผู้ที่จะมาเกิดเป็นลูกนั้น ได้กระทำปาณาติบาตที่มีกำลังของบาปมาก และผลจากการฆ่าสัตว์นี้เองทำให้เขาต้องมีอายุสั้น ต้องตายก่อนโดยที่ชีวิตไม่มีโอกาศได้เจริญเป็นทารกเลย
เด็กบางคนเจริญเป็นตัวมาจนถึงสัปดาห์ที่ ๕ - ๖ คือกำลังมีการเจริญเป็นปัญจสาขา แต่ปรากฏว่า ปุ่มที่จะเจริญไปเป็นแขน หรือขานั้นเกิดการผิดปกติไม่สามารถเจริญต่อไปได้ด้วยอำนาจกรรมที่เขาได้เบียดเบียนทำร้าย ตัดแขนขาของสัตว์มาแต่อดีตชาติ ได้มาส่งผลให้เขาต้องพิการแขนขา อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หลายท่าน ๆ อาจเคยพบเห็นว่า ผู้ที่ชอบล่าสัตว์บางคน เมื่อมีลูกๆ ที่เกิดมานั้นจะมีลักษณะทุพพลภาพในอวัยวะบางส่วน บางคนสรุปว่าเป็นเพราะพ่อทำบาปลูกจึงต้องได้รับผลของบาปที่พ่อเคยทำ ความคิดเช่นนี้ย่อมผิดไปจากความเป็นจริง เพราะสัตว์โลกย่อมมีกรรมเป็นของของตน ผู้ใดทำกรรมชนิดใดไว้ ผู้นั้นย่อมต้องเป็นผู้รับผลของกรรมที่ตนทำมานั่นเอง หมายความว่า ลูกที่เกิดมาพิการนั้น ก็เพราะอดีตชาติเขาทำกรรมของเขามาเอง ส่วนการล่าสัตว์ที่พ่อทำไว้ในชาตินี้ พ่อย่อมต้องได้รับผลของกรรมในชาติต่อๆ ไปเอง แต่เป็นเพราะธรรมทั้งหลายย่อมไหลมาแต่เหตุจึงทำให้เขาต้องเกิดมาอยู่กับพ่อที่มีนิสัยคล้ายคลึงกัน คือชอบการเบียดเบียนทำร้ายสัตว์อยู่เป็นนิตย์
คนที่ปัญญาอ่อน ซึ่งเป็นสุคติอเหตุกบุคคล โดยปฏิสนธิด้วยจิตที่มีชื่อว่า อุเบกขาสันตีรณกุศลวิปากจิตนั้น (เป็นกุศลที่มีกำลังอ่อน) เป็นเพราะในอดีตชาติชอบสร้างเหตุแห่งความมึนเมา เป็นผู้ที่ไม่มีเหตุ ไม่มีผล ไม่รู้จักคิด และมีมิจฉาทิฐิ เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ในภพชาติใหม่ กรรมเหล่านี้จะส่งผลให้ในปวัตติกาล คือในสัปดาห์ที่ ๕ และ ๖ ขณะที่มีการเจริญสร้างเนื้อเยื่อสมองขึ้นมานั้น พัฒนาการในส่วนนี้ของเขาไม่สมบูรณ์เท่ากับเด็กที่ปกติทั่วๆ ไป ที่เกิดเป็นทวิเหตุกบุคคล และติเหตุกบุคคล คือผู้ที่ปฏิสนธิด้วย มหาวิบากจิต ๘ ซึ่งในปัจจุบันนี้วิทยาการทางโลกได้มีการตรวจพบว่า ผู้ที่มีปัญญาอ่อนประเภท Down’s Syndrome นี้ เกิดขึ้นเนื่องจากการผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ ๒๑ (ปกติจะมี ๑ คู่ คือ ๒ ท่อน แต่คนปัญญาอ่อนจะมี ๓ ท่อน)
แม้คนที่ตาบอด หรือหูหนวกมาแต่กำเนิด ก็เช่นเดียวกัน เป็นเพราะอำนาจอกุศลกรรมมาส่งผลให้ในปวัตติกาล คือ สัปดาห์ที่ ๗ และ ๘ มีผลทำให้เนื้อเยื่อที่กำลังผันแปรไปเป็นประสาทตา และประสาทหู เกิดผิดปกติไม่สามารถสร้างอวัยวะในส่วนนั้นๆ ได้ ทั้งนี้เพราะบุคคลใดชอบทิ่มแทงตาสัตว์ให้บอดอยู่บ่อยๆ จิตของเขาย่อมมีเจตนาที่จะให้สัตว์นั้นมองไม่เห็น เจตนาหรือกรรมนั้นย่อมถูกสั่งสมไว้ในจิต เมื่อปฏิสนธิในภพใหม่ อำนาจแห่งกรรมนั้นก็จะสร้างกรรมชรูปให้เป็นผู้ที่ตาบอดมาแต่กำเนิด
สรุปได้ว่า อำนาจกรรม ย่อมส่งผลให้ ๒ ขณะ คือ
๑.ปฏิสนธิกาล (ขณะเกิด) นั่นคือ กรรมหรืออารมณ์ที่เกิดในมรณาสันนวิถี จะมีอำนาจส่งผลให้ในขณะที่ชีวิตอุบัติขึ้นมาในภพภูมิใดภพภูมิหนึ่ง ขณะที่ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นเป็นกลละ โดยนับเพียงอุปาทขณะเท่านั้น
๒.ปวัตติกาล (ขณะเจริญ) นั่นคือ กรรมอันเป็นบุญ บาป ที่กระทำมาตลอดชีวิตนั้นจะมีอำนาจส่งผลให้ภายหลังที่ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นแล้ว นับตั้งแต่ ฐีติขณะของปฏิสนธิจิตเป็นต้นไป
จะเห็นได้ว่า ชีวิตย่อมมีอยู่ได้ด้วยอำนาจกรรมเป็นใหญ่ ฉะนั้นจงหมั่นระลึกเสมอว่า บุญ บาป ที่กระทำลงไปนั้น มิได้หายไปไหน แต่จะคอยเวลาส่งผลให้กับบุคคลผู้ที่กระทำอยู่ตลอดเวลา
มักมีคำถามว่า หากผู้ที่ตั้งครรภ์ทำแท้งตอนที่เด็กอายุต่ำกว่า ๘ สัปดาห์ โดยที่ขณะนั้นทารกยังไม่ปรากฏรูปร่างของความเป็นคนเลย จะเป็นบาปหรือไม่
หากว่ากันโดยสภาวธรรมแล้ว ชีวิตคือรูปนาม (ขันธ์ ๕) อันประกอบด้วย จิต เจตสิก และรูป นั้น ย่อมอุบัติขึ้นมาพร้อมกันนับตั้งแต่วินาทีแรกที่เกิดการปฏิสนธิ เพราะขณะที่ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นนั้น ย่อมมีขันธ์ทั้ง ๕ ครบ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เป็นการบ่งบอกให้รู้ชัดว่า สิ่งที่อุบัติขึ้นมานี้คือชีวิตแล้ว หากมีผู้คิดทำลายโดยมีองค์ประกอบของการตัดสินว่าเป็นปาณาติปาตครบ ๕ ประการ คือ สัตว์นั้นมีชีวิต รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต มีจิตคิดจะทำลาย มีความพยายามลงมือทำลาย และสัตว์นั้นได้ตายลง ย่อมถือว่าผู้ที่กระทำนั้นบาปอย่างแน่นอน
2) ช่วงอยู่ระหว่างตั้งครรภ์ (สร้างอวัยวะทุกอย่างสมบูรณ์)
3) เมื่อคลอด
เมื่อจุติวิญญญาณ ของสัตว์นั้นดับลง (ตาย) มีเหตุปัจจัย ให้เกิด ปฏิสนธิวิญญาณ ในเชื้อของ มารดาและบิดา ที่ผสมกันแล้ว
จากหนังสือ ใครให้คุณเกิด
http://larndham.org/index.php?showtopic=30808&st=0#entry489409
นอกเหนือจากนี้ กรรมอื่นใดที่บุคคลผู้นั้นได้กระทำในอดีตส่งให้เจ้าของกรรมนั้นต้องได้รับผลทั้งดีทั้งชั่ว ตามเหตุที่กระทำมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย อาทิ
แม่บางคนยังไม่ได้ทันได้รู้ตัวด้วยซ้ำว่า มีการปฏิสนธิเกิดกลละ (ชีวิตใหม่) ขึ้นในครรภ์ของตนเอง ทั้งนี้ก็เพราะว่าอำนาจฝ่ายอกุศลกรรมที่มีกำลังแรงมาทำหน้าที่เป็นกรรมตัดรอนบั่นทอนให้ชีวิตที่อุบัตินั้นไม่มีโอกาศได้ฝังตัวที่มดลูก ต้องตายไปภายในสัปดาห์แรกหลังการปฏิสนธิ หรือแม่บางรายฮอร์โมนที่สร้างน้อยเกินไป ทำให้เกิดการผิดปกติ นั่นคือตัวอ่อนในระยะ blastocyst ไม่อาจฝังตัวติดแน่นกับมดลูกได้จึงต้องเกิดการแท้ง สาเหตุของการเป็นเช่นนี้ ก็เพราะบุคคลผู้ที่จะมาเกิดเป็นลูกนั้น ได้กระทำปาณาติบาตที่มีกำลังของบาปมาก และผลจากการฆ่าสัตว์นี้เองทำให้เขาต้องมีอายุสั้น ต้องตายก่อนโดยที่ชีวิตไม่มีโอกาศได้เจริญเป็นทารกเลย
เด็กบางคนเจริญเป็นตัวมาจนถึงสัปดาห์ที่ ๕ - ๖ คือกำลังมีการเจริญเป็นปัญจสาขา แต่ปรากฏว่า ปุ่มที่จะเจริญไปเป็นแขน หรือขานั้นเกิดการผิดปกติไม่สามารถเจริญต่อไปได้ด้วยอำนาจกรรมที่เขาได้เบียดเบียนทำร้าย ตัดแขนขาของสัตว์มาแต่อดีตชาติ ได้มาส่งผลให้เขาต้องพิการแขนขา อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หลายท่าน ๆ อาจเคยพบเห็นว่า ผู้ที่ชอบล่าสัตว์บางคน เมื่อมีลูกๆ ที่เกิดมานั้นจะมีลักษณะทุพพลภาพในอวัยวะบางส่วน บางคนสรุปว่าเป็นเพราะพ่อทำบาปลูกจึงต้องได้รับผลของบาปที่พ่อเคยทำ ความคิดเช่นนี้ย่อมผิดไปจากความเป็นจริง เพราะสัตว์โลกย่อมมีกรรมเป็นของของตน ผู้ใดทำกรรมชนิดใดไว้ ผู้นั้นย่อมต้องเป็นผู้รับผลของกรรมที่ตนทำมานั่นเอง หมายความว่า ลูกที่เกิดมาพิการนั้น ก็เพราะอดีตชาติเขาทำกรรมของเขามาเอง ส่วนการล่าสัตว์ที่พ่อทำไว้ในชาตินี้ พ่อย่อมต้องได้รับผลของกรรมในชาติต่อๆ ไปเอง แต่เป็นเพราะธรรมทั้งหลายย่อมไหลมาแต่เหตุจึงทำให้เขาต้องเกิดมาอยู่กับพ่อที่มีนิสัยคล้ายคลึงกัน คือชอบการเบียดเบียนทำร้ายสัตว์อยู่เป็นนิตย์
คนที่ปัญญาอ่อน ซึ่งเป็นสุคติอเหตุกบุคคล โดยปฏิสนธิด้วยจิตที่มีชื่อว่า อุเบกขาสันตีรณกุศลวิปากจิตนั้น (เป็นกุศลที่มีกำลังอ่อน) เป็นเพราะในอดีตชาติชอบสร้างเหตุแห่งความมึนเมา เป็นผู้ที่ไม่มีเหตุ ไม่มีผล ไม่รู้จักคิด และมีมิจฉาทิฐิ เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ในภพชาติใหม่ กรรมเหล่านี้จะส่งผลให้ในปวัตติกาล คือในสัปดาห์ที่ ๕ และ ๖ ขณะที่มีการเจริญสร้างเนื้อเยื่อสมองขึ้นมานั้น พัฒนาการในส่วนนี้ของเขาไม่สมบูรณ์เท่ากับเด็กที่ปกติทั่วๆ ไป ที่เกิดเป็นทวิเหตุกบุคคล และติเหตุกบุคคล คือผู้ที่ปฏิสนธิด้วย มหาวิบากจิต ๘ ซึ่งในปัจจุบันนี้วิทยาการทางโลกได้มีการตรวจพบว่า ผู้ที่มีปัญญาอ่อนประเภท Down’s Syndrome นี้ เกิดขึ้นเนื่องจากการผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ ๒๑ (ปกติจะมี ๑ คู่ คือ ๒ ท่อน แต่คนปัญญาอ่อนจะมี ๓ ท่อน)
แม้คนที่ตาบอด หรือหูหนวกมาแต่กำเนิด ก็เช่นเดียวกัน เป็นเพราะอำนาจอกุศลกรรมมาส่งผลให้ในปวัตติกาล คือ สัปดาห์ที่ ๗ และ ๘ มีผลทำให้เนื้อเยื่อที่กำลังผันแปรไปเป็นประสาทตา และประสาทหู เกิดผิดปกติไม่สามารถสร้างอวัยวะในส่วนนั้นๆ ได้ ทั้งนี้เพราะบุคคลใดชอบทิ่มแทงตาสัตว์ให้บอดอยู่บ่อยๆ จิตของเขาย่อมมีเจตนาที่จะให้สัตว์นั้นมองไม่เห็น เจตนาหรือกรรมนั้นย่อมถูกสั่งสมไว้ในจิต เมื่อปฏิสนธิในภพใหม่ อำนาจแห่งกรรมนั้นก็จะสร้างกรรมชรูปให้เป็นผู้ที่ตาบอดมาแต่กำเนิด
สรุปได้ว่า อำนาจกรรม ย่อมส่งผลให้ ๒ ขณะ คือ
๑.ปฏิสนธิกาล (ขณะเกิด) นั่นคือ กรรมหรืออารมณ์ที่เกิดในมรณาสันนวิถี จะมีอำนาจส่งผลให้ในขณะที่ชีวิตอุบัติขึ้นมาในภพภูมิใดภพภูมิหนึ่ง ขณะที่ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นเป็นกลละ โดยนับเพียงอุปาทขณะเท่านั้น
๒.ปวัตติกาล (ขณะเจริญ) นั่นคือ กรรมอันเป็นบุญ บาป ที่กระทำมาตลอดชีวิตนั้นจะมีอำนาจส่งผลให้ภายหลังที่ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นแล้ว นับตั้งแต่ ฐีติขณะของปฏิสนธิจิตเป็นต้นไป
จะเห็นได้ว่า ชีวิตย่อมมีอยู่ได้ด้วยอำนาจกรรมเป็นใหญ่ ฉะนั้นจงหมั่นระลึกเสมอว่า บุญ บาป ที่กระทำลงไปนั้น มิได้หายไปไหน แต่จะคอยเวลาส่งผลให้กับบุคคลผู้ที่กระทำอยู่ตลอดเวลา
มักมีคำถามว่า หากผู้ที่ตั้งครรภ์ทำแท้งตอนที่เด็กอายุต่ำกว่า ๘ สัปดาห์ โดยที่ขณะนั้นทารกยังไม่ปรากฏรูปร่างของความเป็นคนเลย จะเป็นบาปหรือไม่
หากว่ากันโดยสภาวธรรมแล้ว ชีวิตคือรูปนาม (ขันธ์ ๕) อันประกอบด้วย จิต เจตสิก และรูป นั้น ย่อมอุบัติขึ้นมาพร้อมกันนับตั้งแต่วินาทีแรกที่เกิดการปฏิสนธิ เพราะขณะที่ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นนั้น ย่อมมีขันธ์ทั้ง ๕ ครบ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เป็นการบ่งบอกให้รู้ชัดว่า สิ่งที่อุบัติขึ้นมานี้คือชีวิตแล้ว หากมีผู้คิดทำลายโดยมีองค์ประกอบของการตัดสินว่าเป็นปาณาติปาตครบ ๕ ประการ คือ สัตว์นั้นมีชีวิต รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต มีจิตคิดจะทำลาย มีความพยายามลงมือทำลาย และสัตว์นั้นได้ตายลง ย่อมถือว่าผู้ที่กระทำนั้นบาปอย่างแน่นอน
แสดงความคิดเห็น
จิตวิญญาณ จุติเข้าร่างมนุษย์ตั้งแต่เมื่อไร?
2) ช่วงอยู่ระหว่างตั้งครรภ์ (สร้างอวัยวะทุกอย่างสมบูรณ์)
3) เมื่อคลอด