คนส่วนใหญ่คิดว่าแค่ยาระบายไม่มีอันตรายอะไร บางคนใช้ยาระบายเพื่อลดความอ้วนโดยรับประทานต่อเนื่องทุกวันเป็นเวลาหลายเดือน ซึ่งเป็นการใช้ยาที่ไม่ถูกต้อง นอกจากไม่ได้ผลในการลดความอ้วนแล้ว ยังอาจทำให้เกิดผลเสียกับร่างกายตามมาอีกด้วย
ยาระบายมีหลายประเภท
ยาในกลุ่มยาระบายนั้นมีหลายประเภทตามกลไกการออกฤทธิ์ของยา ได้แก่ ยาเพิ่มปริมาณอุจจาระ (Bulk-producing agents) เช่น Mucillin powder, ยาทำให้อุจจาระอ่อนนุ่ม (Stool softeners / Surfactants) เช่น Docusate sodium, ยาประเภทหล่อลื่น (Lubricants/ Emollient) เช่น Mineral oil, ยาประเภทเพิ่มปริมาตรน้ำ (Hydrating agents (osmotics)) เช่น Milk of magnesia, ไฮเปอร์ออสโมติก เอเจนต์ (Hyperosmotic agents) เช่น ยาเหน็บ Glycerin และยาประเภทกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ (Stimulant) เช่น Bisacodyl, มะขามแขก ซึ่งการพิจารณาเลือกใช้ยานั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่นสภาพร่างกายของผู้ป่วย ภาวะโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ หรือความรุนแรงของอาการท้องผูก
ใช้ยาระบายเป็นประจำ จะทำให้เกิดอันตรายอย่างไร
ยาระบายที่นิยมซื้อใช้กันส่วนใหญ่ในบ้านเรา เป็นยากลุ่มกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ (stimulant laxatives) เช่น ยาที่มีส่วนประกอบของสมุนไพรมะขามแขก และยา Bisacodyl (ส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นยาเม็ดเคลือบสีเหลืองเล็กๆ) ขนาดการใช้ยาระบายกลุ่มนี้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการท้องผูก และการตอบสนองของผู้ป่วย และควรใช้เท่าที่จำเป็นในช่วงสั้นๆ เท่านั้น ไม่ควรใช้ในการลดความอ้วน หรือใช้บรรเทาอาการท้องผูกติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เพราะเมื่อใช้ยาในกลุ่มนี้ต่อเนื่องไปนานๆ จะทำให้เกิดภาวะลำไส้เคยชินต่อยาระบาย ร่างกายไม่สามารถขับถ่ายได้เอง และจะทนต่อยามากขึ้นเรื่อยๆ จนต้องเพิ่มขนาดยามากขึ้นเรื่อยๆ ลำไส้ทำงานไม่ปกติยากต่อการแก้ไข นอกจากนี้ยังอาจเกิดภาวะปวดท้อง ระดับเกลือแร่เสียสมดุล ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง เวียนศีรษะได้อีกด้วย
การรักษาอาการท้องผูกที่ถูกวิธีคือการรักษาที่สาเหตุ เช่น บางคนดื่มน้ำน้อยเกินไป ทานอาหารประเภทกากใยน้อยเกินไป มีภาวะเครียด หรือรับประทานยาบางประเภทที่ทำให้ท้องผูก เช่น ยาแก้ท้องเสียบางชนิด รับประทานมากเกินไปอาจทำให้ท้องผูก (Immodium, Lomotil เป็นต้น) ส่วนการลดความอ้วนที่ถูกวิธีนั้น ควรรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย และออกกำลังกายเป็นประจำ ส่วนการรับประทานยาระบายเป็นเพียงการระบายมวลอุจจาระออกจากร่างกายไม่ได้มีผลต่อการลดการดูดซึมไขมัน หรือลดไขมันที่สะสมอยู่ออกจากร่างกายแต่อย่างใด
ดังนั้น คราวต่อไปก่อนหยิบยาระบายขึ้นมาใช้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ลองฉุกคิดดูสักนิดว่าพอจะแก้ไขด้วยทางเลือกอื่นได้หรือไม่ และให้ยาระบายเป็นทางเลือกอันดับท้ายๆ ดีกว่าไปทำลายระบบขับถ่ายของร่างกายด้วยการกินยาระบายเป็นประจำจนทำให้การทำงานของลำไส้ผิดปกติไป
อันตรายจากการใช้ยาระบายเป็นประจำ
ยาระบายมีหลายประเภท
ยาในกลุ่มยาระบายนั้นมีหลายประเภทตามกลไกการออกฤทธิ์ของยา ได้แก่ ยาเพิ่มปริมาณอุจจาระ (Bulk-producing agents) เช่น Mucillin powder, ยาทำให้อุจจาระอ่อนนุ่ม (Stool softeners / Surfactants) เช่น Docusate sodium, ยาประเภทหล่อลื่น (Lubricants/ Emollient) เช่น Mineral oil, ยาประเภทเพิ่มปริมาตรน้ำ (Hydrating agents (osmotics)) เช่น Milk of magnesia, ไฮเปอร์ออสโมติก เอเจนต์ (Hyperosmotic agents) เช่น ยาเหน็บ Glycerin และยาประเภทกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ (Stimulant) เช่น Bisacodyl, มะขามแขก ซึ่งการพิจารณาเลือกใช้ยานั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่นสภาพร่างกายของผู้ป่วย ภาวะโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ หรือความรุนแรงของอาการท้องผูก
ใช้ยาระบายเป็นประจำ จะทำให้เกิดอันตรายอย่างไร
ยาระบายที่นิยมซื้อใช้กันส่วนใหญ่ในบ้านเรา เป็นยากลุ่มกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ (stimulant laxatives) เช่น ยาที่มีส่วนประกอบของสมุนไพรมะขามแขก และยา Bisacodyl (ส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นยาเม็ดเคลือบสีเหลืองเล็กๆ) ขนาดการใช้ยาระบายกลุ่มนี้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการท้องผูก และการตอบสนองของผู้ป่วย และควรใช้เท่าที่จำเป็นในช่วงสั้นๆ เท่านั้น ไม่ควรใช้ในการลดความอ้วน หรือใช้บรรเทาอาการท้องผูกติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เพราะเมื่อใช้ยาในกลุ่มนี้ต่อเนื่องไปนานๆ จะทำให้เกิดภาวะลำไส้เคยชินต่อยาระบาย ร่างกายไม่สามารถขับถ่ายได้เอง และจะทนต่อยามากขึ้นเรื่อยๆ จนต้องเพิ่มขนาดยามากขึ้นเรื่อยๆ ลำไส้ทำงานไม่ปกติยากต่อการแก้ไข นอกจากนี้ยังอาจเกิดภาวะปวดท้อง ระดับเกลือแร่เสียสมดุล ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง เวียนศีรษะได้อีกด้วย
การรักษาอาการท้องผูกที่ถูกวิธีคือการรักษาที่สาเหตุ เช่น บางคนดื่มน้ำน้อยเกินไป ทานอาหารประเภทกากใยน้อยเกินไป มีภาวะเครียด หรือรับประทานยาบางประเภทที่ทำให้ท้องผูก เช่น ยาแก้ท้องเสียบางชนิด รับประทานมากเกินไปอาจทำให้ท้องผูก (Immodium, Lomotil เป็นต้น) ส่วนการลดความอ้วนที่ถูกวิธีนั้น ควรรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย และออกกำลังกายเป็นประจำ ส่วนการรับประทานยาระบายเป็นเพียงการระบายมวลอุจจาระออกจากร่างกายไม่ได้มีผลต่อการลดการดูดซึมไขมัน หรือลดไขมันที่สะสมอยู่ออกจากร่างกายแต่อย่างใด
ดังนั้น คราวต่อไปก่อนหยิบยาระบายขึ้นมาใช้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ลองฉุกคิดดูสักนิดว่าพอจะแก้ไขด้วยทางเลือกอื่นได้หรือไม่ และให้ยาระบายเป็นทางเลือกอันดับท้ายๆ ดีกว่าไปทำลายระบบขับถ่ายของร่างกายด้วยการกินยาระบายเป็นประจำจนทำให้การทำงานของลำไส้ผิดปกติไป