
คำเตือน กระทู้สนทนานี้มีกลิ่นตุ ตุ โปรดใช้วิจารณญาณในการเลือกเวลาอ่าน 555
ถ้าไม่พบสถานการณ์กับตัวเอง ดิฉันจะไม่มีทางทราบเลยว่าการขับถ่ายอุจจาระของพ่อ จะเป็นหัวข้อในการสนทนาของครอบครัวได้ขนาดนี้
พ่อในวัย 90+ กับอาการท้องผูก ทำให้แม่วิตกกังวลมาโดยตลอด คำถามที่แม่ถามพ่อทุกวันคือ ‘กิมยิก อู่ปั๊งไส้บ๊อ’ (วันนี้ถ่ายหรือเปล่า) ถ้ายังไม่ถ่ายใน 3-4 วัน ลูก ๆ จะได้รับคำบอกเล่าทั้งต่อหน้าและทางโทรศัพท์ว่าหลายวันแล้ว พ่อยังไม่ถ่ายเลย
เป็นบทสนทนาที่มีกลิ่นตุ ตุ ชอบก๊ล 555
วิธีการแก้ไขปัญหาท้องผูกของพ่อ มีสองวิธี โดยแม่ให้ใช้การสวนทวาร พี่สาวคนโตที่เป็นแพทย์สั่งยาระบายให้กิน แต่ก็ยังไม่ได้ผล เวลาพ่อถ่ายแต่ละครั้ง เหมือนมีมหกรรมเลยทีเดียว ลุ้นให้ถ่ายออก ส่งน้ำให้ดื่ม ช่วยสวนทวาร ถึงขั้นพี่สาวหรือหลานต้องล้วงไปควักอุจจาระกันเลยทีเดียว

แม้ดิฉันจะโชคดีไม่ต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในมหกรรมนั้นก็เถอะ แต่ก็อดสงสัยไม่ได้ว่า ท้องผูกนั้น มีแนวทางในการแก้ไขนอกจากการสวนและกินยาหรือเปล่านะ จึงไปสืบค้นข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ซึ่งประมวลรวมความรู้เกี่ยวกับท้องผูกได้ ดังนี้
อาการท้องผูก
“อาการที่ลำไส้บีบตัวหรือเคลื่อนตัวช้า ไม่สามารถกำจัดอุจจาระออกจากทางเดินอาหารได้ตามปกติ เกิดการตกค้างในลำไส้ใหญ่เป็นเวลานาน เมื่อร่างกายดูดน้ำในอุจจาระกลับ ทำให้อุจจาระมีลักษณะแห้งแข็งและมีขนาดใหญ่ ส่งผลให้ขับถ่ายลำบาก” (ที่มา ท้องผูกถ่ายยากทำอย่างไรดี : พญ.ศุภมาส เชิญอักษร)
“อาการท้องผูกไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งหรือความสม่ำเสมอในการขับถ่าย ตราบใดที่สามารถถ่ายได้อย่างสบายๆ ไร้กังวล ไม่ต้องเบ่ง อุจจาระนิ่มจับตัวเป็นก้อนดี แม้ 2-3 วันจะถ่ายสักครั้งก็ไม่ถือว่าผิดปกติ
แต่เมื่อใดก็ตามที่รู้สึกว่าการขับถ่ายเป็นเรื่องยาก หลายครั้งต้องนั่งนานถึงครึ่งชั่วโมงเพื่อเบ่งถ่าย บางครั้งต้องใช้น้ำฉีด ใช้นิ้วล้วงช่วย ถ่ายไม่สุด เหมือนมีอะไรมาอุดกั้นอยู่ ถ่ายออกมาน้อย อุจจาระแข็งมีลักษณะเป็นเม็ด ผิวขรุขระหรือแห้งแตก รู้สึกอึดอัดแน่นท้อง ทั้งหมดนี้บ่งบอกว่ามีอาการท้องผูกอย่างแน่นอน” (ที่มา ปัญหาท้องผูก ต้องแก้ให้ถูกวิธี : โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์)
การแก้ไขอาการท้องผูก
1. ปรับพฤติกรรมประจำวัน โดยการกินอาหารที่มีกากใยสูง ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว ออกกำลังกายเป็นประจำ
ขับถ่ายให้เป็นเวลา ไม่กลั้นอุจจาระ และลดความเครียด
2. รักษาด้วยยา มีหลายชนิดให้เลือก เช่น ยาระบายกลุ่มกระตุ้น ยาระบายกลุ่มออสโมซิส ยาระบายกลุ่มเกลือ ยาที่ทำให้อุจจาระอ่อนนุ่ม/ยาหล่อลื่น ตลอดจนยาเหน็บทวารและการสวนอุจจาระ

ดิฉันจึงปรับพฤติกรรมการรับประทานประจำวันของพ่อ ดังนี้
1. เพิ่มอาหารจานผักและมีผักเป็นเครื่องเคียงให้มากขึ้น แม้พ่อจะโปรดอาหารจานเนื้อสัตว์ก็เถอะ โดยคอยตักผักใส่ช้อนให้พ่อทานไปเรื่อย ๆ ผักที่ใช้เป็นทั้งผักปรุงสุกและผักสด เครื่องเคียงยอดนิยมประจำมื้ออาหารของพ่อ คือ แตงกวา ผักสดที่ทานบ้าง ได้แก่ สลัด มะเขือเทศ ส่วนผักปรุงสุก ทานได้ทุกชนิด และชอบผักที่นิ่ม ๆ
ไม่เพียงแต่เพิ่มอาหารจานผัก แต่ดิฉันเพิ่มปริมาณอาหารในแต่ละมื้อให้เพิ่มขึ้นด้วย เพื่อจะได้มีมวลสารไปเพิ่มปริมาณอุจจาระ
สำหรับผลไม้ ไม่มีประเด็น พ่อทานผลไม้ได้มากเป็นปกติอยู่แล้ว โดยเฉพาะผลไม้ตามฤดูกาล ของโปรดคือ มะม่วง แตงโมและดิฉันพยายามสับเปลี่ยนผลไม้หลากหลายชนิดให้ได้รับประทาน
2. กำหนดวันทานยาให้ชัดเจน พี่สาวกำหนดให้แม่จัดยาระบายให้พ่อทานวันเว้นวัน แต่แม่ที่เป็นสาวน้อยวัย 15 (จะครบ 100) ลืม ลืมและลืม ดิฉันเลยจัดเวลาทานยาระบายใหม่ เป็นทุกวันจันทร์-พุธ-ศุกร์ แทน ทำให้พ่อได้ทานยาระบายอย่างเป็นระบบแล้ว
จากการปรับพฤติกรรมดังกล่าว ร่วม 3 สัปดาห์ ปรากฏว่าได้ผลที่น่าพอใจ พ่อขับถ่ายเฉลี่ยทุก 2 วัน ช่วงไหนถ่ายวันละครั้งได้ละก็ แม่ดีใจมากเลยทีเดียว แม่จะคุยและรายงานให้ลูกๆ ฟังว่าพ่อถ่ายออกแล้วนะ 555 แต่ดิฉันยังมีประเด็นที่ยังไม่สามารถกระตุ้นให้พ่อดื่มน้ำได้เพิ่มขึ้น ทุกวันนี้ พ่อดื่มน้ำ ไม่ถึง 2 แก้วต่อวัน ต้องหาวิธีต่อไป


เนื่องในโอกาสวันพ่อและเป็นการตั้งกระทู้แรกที่พันทิป ขอบพระคุณพ่อที่มีอายุยืนยาวให้ลูกได้มีโอกาสฉลองพระคุณ ได้ฝึกฝนตนเองและได้มีโอกาสขยายพรมแดนแห่งความรู้ใหม่ๆ

ความรู้เพิ่มเติม
ภาวะท้องผูก ใครว่าแก้ไม่ได้ ?
https://sriphat.med.cmu.ac.th/th/knowledge-45
แบ่งปันประสบการณ์การแก้ไขปัญหาการขับถ่ายของผู้สูงวัย
ถ้าไม่พบสถานการณ์กับตัวเอง ดิฉันจะไม่มีทางทราบเลยว่าการขับถ่ายอุจจาระของพ่อ จะเป็นหัวข้อในการสนทนาของครอบครัวได้ขนาดนี้
พ่อในวัย 90+ กับอาการท้องผูก ทำให้แม่วิตกกังวลมาโดยตลอด คำถามที่แม่ถามพ่อทุกวันคือ ‘กิมยิก อู่ปั๊งไส้บ๊อ’ (วันนี้ถ่ายหรือเปล่า) ถ้ายังไม่ถ่ายใน 3-4 วัน ลูก ๆ จะได้รับคำบอกเล่าทั้งต่อหน้าและทางโทรศัพท์ว่าหลายวันแล้ว พ่อยังไม่ถ่ายเลย
เป็นบทสนทนาที่มีกลิ่นตุ ตุ ชอบก๊ล 555
วิธีการแก้ไขปัญหาท้องผูกของพ่อ มีสองวิธี โดยแม่ให้ใช้การสวนทวาร พี่สาวคนโตที่เป็นแพทย์สั่งยาระบายให้กิน แต่ก็ยังไม่ได้ผล เวลาพ่อถ่ายแต่ละครั้ง เหมือนมีมหกรรมเลยทีเดียว ลุ้นให้ถ่ายออก ส่งน้ำให้ดื่ม ช่วยสวนทวาร ถึงขั้นพี่สาวหรือหลานต้องล้วงไปควักอุจจาระกันเลยทีเดียว
แม้ดิฉันจะโชคดีไม่ต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในมหกรรมนั้นก็เถอะ แต่ก็อดสงสัยไม่ได้ว่า ท้องผูกนั้น มีแนวทางในการแก้ไขนอกจากการสวนและกินยาหรือเปล่านะ จึงไปสืบค้นข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ซึ่งประมวลรวมความรู้เกี่ยวกับท้องผูกได้ ดังนี้
อาการท้องผูก
“อาการที่ลำไส้บีบตัวหรือเคลื่อนตัวช้า ไม่สามารถกำจัดอุจจาระออกจากทางเดินอาหารได้ตามปกติ เกิดการตกค้างในลำไส้ใหญ่เป็นเวลานาน เมื่อร่างกายดูดน้ำในอุจจาระกลับ ทำให้อุจจาระมีลักษณะแห้งแข็งและมีขนาดใหญ่ ส่งผลให้ขับถ่ายลำบาก” (ที่มา ท้องผูกถ่ายยากทำอย่างไรดี : พญ.ศุภมาส เชิญอักษร)
“อาการท้องผูกไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งหรือความสม่ำเสมอในการขับถ่าย ตราบใดที่สามารถถ่ายได้อย่างสบายๆ ไร้กังวล ไม่ต้องเบ่ง อุจจาระนิ่มจับตัวเป็นก้อนดี แม้ 2-3 วันจะถ่ายสักครั้งก็ไม่ถือว่าผิดปกติ
แต่เมื่อใดก็ตามที่รู้สึกว่าการขับถ่ายเป็นเรื่องยาก หลายครั้งต้องนั่งนานถึงครึ่งชั่วโมงเพื่อเบ่งถ่าย บางครั้งต้องใช้น้ำฉีด ใช้นิ้วล้วงช่วย ถ่ายไม่สุด เหมือนมีอะไรมาอุดกั้นอยู่ ถ่ายออกมาน้อย อุจจาระแข็งมีลักษณะเป็นเม็ด ผิวขรุขระหรือแห้งแตก รู้สึกอึดอัดแน่นท้อง ทั้งหมดนี้บ่งบอกว่ามีอาการท้องผูกอย่างแน่นอน” (ที่มา ปัญหาท้องผูก ต้องแก้ให้ถูกวิธี : โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์)
การแก้ไขอาการท้องผูก
1. ปรับพฤติกรรมประจำวัน โดยการกินอาหารที่มีกากใยสูง ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว ออกกำลังกายเป็นประจำ
ขับถ่ายให้เป็นเวลา ไม่กลั้นอุจจาระ และลดความเครียด
2. รักษาด้วยยา มีหลายชนิดให้เลือก เช่น ยาระบายกลุ่มกระตุ้น ยาระบายกลุ่มออสโมซิส ยาระบายกลุ่มเกลือ ยาที่ทำให้อุจจาระอ่อนนุ่ม/ยาหล่อลื่น ตลอดจนยาเหน็บทวารและการสวนอุจจาระ
ดิฉันจึงปรับพฤติกรรมการรับประทานประจำวันของพ่อ ดังนี้
1. เพิ่มอาหารจานผักและมีผักเป็นเครื่องเคียงให้มากขึ้น แม้พ่อจะโปรดอาหารจานเนื้อสัตว์ก็เถอะ โดยคอยตักผักใส่ช้อนให้พ่อทานไปเรื่อย ๆ ผักที่ใช้เป็นทั้งผักปรุงสุกและผักสด เครื่องเคียงยอดนิยมประจำมื้ออาหารของพ่อ คือ แตงกวา ผักสดที่ทานบ้าง ได้แก่ สลัด มะเขือเทศ ส่วนผักปรุงสุก ทานได้ทุกชนิด และชอบผักที่นิ่ม ๆ
ไม่เพียงแต่เพิ่มอาหารจานผัก แต่ดิฉันเพิ่มปริมาณอาหารในแต่ละมื้อให้เพิ่มขึ้นด้วย เพื่อจะได้มีมวลสารไปเพิ่มปริมาณอุจจาระ
สำหรับผลไม้ ไม่มีประเด็น พ่อทานผลไม้ได้มากเป็นปกติอยู่แล้ว โดยเฉพาะผลไม้ตามฤดูกาล ของโปรดคือ มะม่วง แตงโมและดิฉันพยายามสับเปลี่ยนผลไม้หลากหลายชนิดให้ได้รับประทาน
2. กำหนดวันทานยาให้ชัดเจน พี่สาวกำหนดให้แม่จัดยาระบายให้พ่อทานวันเว้นวัน แต่แม่ที่เป็นสาวน้อยวัย 15 (จะครบ 100) ลืม ลืมและลืม ดิฉันเลยจัดเวลาทานยาระบายใหม่ เป็นทุกวันจันทร์-พุธ-ศุกร์ แทน ทำให้พ่อได้ทานยาระบายอย่างเป็นระบบแล้ว
จากการปรับพฤติกรรมดังกล่าว ร่วม 3 สัปดาห์ ปรากฏว่าได้ผลที่น่าพอใจ พ่อขับถ่ายเฉลี่ยทุก 2 วัน ช่วงไหนถ่ายวันละครั้งได้ละก็ แม่ดีใจมากเลยทีเดียว แม่จะคุยและรายงานให้ลูกๆ ฟังว่าพ่อถ่ายออกแล้วนะ 555 แต่ดิฉันยังมีประเด็นที่ยังไม่สามารถกระตุ้นให้พ่อดื่มน้ำได้เพิ่มขึ้น ทุกวันนี้ พ่อดื่มน้ำ ไม่ถึง 2 แก้วต่อวัน ต้องหาวิธีต่อไป
เนื่องในโอกาสวันพ่อและเป็นการตั้งกระทู้แรกที่พันทิป ขอบพระคุณพ่อที่มีอายุยืนยาวให้ลูกได้มีโอกาสฉลองพระคุณ ได้ฝึกฝนตนเองและได้มีโอกาสขยายพรมแดนแห่งความรู้ใหม่ๆ
ความรู้เพิ่มเติม
ภาวะท้องผูก ใครว่าแก้ไม่ได้ ? https://sriphat.med.cmu.ac.th/th/knowledge-45