ท่านคือ ผู้แทนราษฎร หรือ ผู้อยู่เหนือราษฎร กันแน่ครับ

จากข้อบังคับ การประชุมรัฐสภาฉบับปัจจุบัน ส่วนที่ ๓ การอภิปราย ข้อ ๕๖ ที่ระบุเอาไว้ว่า

“การอภิปรายต้องอยู่ในประเด็น หรือเกี่ยวกับประเด็นที่กำลังปรึกษากันอยู่ต้องไม่ฟุ่มเฟือย วนเวียน ซ้ำซาก หรือซ้ำกับผู้อื่น และห้ามมิให้นำเอกสารใด ๆ มาอ่านให้ที่ประชุมฟังโดยไม่จำเป็น และห้ามมิให้นำวัตถุใด ๆ เข้ามาแสดงในที่ประชุม เว้นแต่ประธานสภาจะอนุญาต

ห้ามผู้อภิปรายแสดงกิริยาหรือใช้วาจาอันไม่สุภาพ ใส่ร้ายหรือเสียดสีบุคคลใด และห้ามกล่าวถึงพระรามหากษัตริย์หรือออกชื่อสมาชิกหรือบุคคลใดโดยไม่จำเป็น”

จากข้อประเด็น ในการอภิปราย มาจาก หนังสือฉบับ ที่ นร ๐๕๐๓/๓๒๐๕ สำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๖ เรื่อง

“ร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. .....”

โดยมีหลักการ “ให้มีกฏหมายว่าด้วยการให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ มีมูลค่ารวมกันไม่เกิน สองล้านล้านบาท”

กรอบการอภิปรายน่าจะอยู่ที่ ๑.) การให้อำนาจกระทรวงการคลังชอบด้วย รธน. หรือไม่  ๒.) ลักษณะของการกู้มีผลกระทบกับเศษฐกิจคล่องตัวภายในของประเทศ อย่างใด หรือไม่  ๓.) ลักษณะและระบบการกู้ที่ให้ประโยชน์กับระบบเศษฐกิจของประเทศได้มากที่สุดหรือไม่ อย่างไร

โดยมีเหตุผลว่า “โดยที่ประเทศไทยมีความจำเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งเพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองและการเพิ่มขึ้นของประชากรที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และรับรองการขยายตัวด้านเศษฐกิจและการลงทุน ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ....”

กรอบการอภิปรายน่าจะอยู่ที่  ๔.) ความจำเป็นต้องพัฒนา ในด้านคมนาคม” เป็นเหตผลสมควรหรือไม่ อย่างไร

เป็นความสลดใจ ในเมื่อ ผู้ที่ทำหน้าที่ในรัฐสภา ในฐานะผู้แทนราษฎร ที่พยายามใช้เวลาอภิปราย (๓๐ ชั่วโมง) ในการสร้างภาพ แสวงหาผลประโยชน์ทางการเมืองนอกประเด็น และโดยไม่มีการควบคุมที่สมควร ของท่านประธานประชุมสภา รวมทั้งจากการถ่ายทอดสดยังสร้างภาพของการอภิปราย ในรัฐสภาที่ไม่ตรงกับระเบียบการที่มีอีกด้วย อย่างเช่น

๑.) ความกังวลใจ ถึง กรณี “กู้มาโกง” ไม่ใช่คำตอบ ถึง “หลักการ หรือ เหตุผล” ในข้ออภิปราย
๒.) ข้อกังวล ถึงกรณี “สร้างหนี้” และโดยไม่สามารถ “ปฎิเสธถึงความจำเป็น” เป็นการสร้างภาพลบ แต่มิใช่ การอภิปรายในกรอบ ของวาระการประชุม
๓.) การเชื่อมโยง ถึงกรณี “ร่างพระราชบัญญัติ....” ตามวาระการประชุม กับ กรณีอื่นใดที่ไม่เกี่ยวกับ “หลักการ หรือ เหตุผล” โดยตรง อย่างเช่น “ไทยเข้มแข็ง” เป็นต้น เป็นการอภิปราย ที่ผิดระเบียบการ อภิปราย อย่างชัดเจน

คำถามน่าจะอยู่ที่ว่า องค์ประชุมทั้งหลาย โดยเฉพาะท่านประธานที่ประชุม ในฐานะผู้แทนประชาชนกับ หน้าที่การงานใน รัฐสภา ท่านมีความรู้ความเข้าใจในหน้าที่ของท่าน หรือไม่อย่างไร  หรือด้วยเหตุผลใดที่ท่านสามารถเข้าใจได้ว่า ปชช. ที่ให้ท่านทำหน้าที่เป็นผู้แทน ไม่มีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะทราบซึ้งถึงการกระทำผิดถูกของท่าน ไปทั้งหมด เพราะท่านไม่ควรลืมว่า ท่านอยู่ในฐานะ “ผู้แทนราษฎร” มิใช่ในฐานะ “ผู้อยู่เหนือราษฎร” ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่