เปลี่ยนนิสัยได้ คือ การแก้กรรม อย่างแท้จริง

โยมต้องมีสัมมาทิฏฐิในการใช้ชีวิต

รู้ว่าอะไร "ร้อน" อะไร "เย็น"

อะไรเป็นจิต "กุศล" อะไรเป็น "อกุศล"

อะไรมันเผาใจ อะไรมันทําให้ใจเย็น
รู้ว่าอะไรร้อนอะไรเย็น
ชีวิตจะมีแต่ความเจริญ เรียกว่ามี "สัมมาทิฏฐิ"

รู้ว่า
อะไรคือ >> ทุกข์
อะไรคือ >> เหตุ
อะไรคือ >> ความดับทุกข์
อะไรคือ >> หนทางแห่งความดับทุกข์นั่นเอง

และ "นิสัยมันคือชะตาชีวิตนะ"
เพราะนิสัยจะเป็นพฤติกรรม และพฤติกรรมตรงนี้คือชะตาชีวิต

โยมลองนึกภาพดูก็แล้วกัน
ถ้าสมมติมีใครสักคนเขาดื่มเป็นนิสัย ว่างก็ทุกข์ดื่มทุกข์ดื่ม ที่ไปก็....
ก็เป็นเหตุปัจจัยดื่ม ผิด "ศีล"

บางคนอาจจะสมมติว่า คนเขามีความรู้สึกโกรธ แล้วก็...
^ ฆ่าอยู่เป็นปกติ 
^ ลักทรัพย์ปกติ
^ ประพฤติผิดในกามปกติ
^ โกหกเป็นปกติ
^ ดื่มเป็นปกติ
....ผิดศีลเป็นปกติ มันก็เป็นทางสู่อบาย

#ดังนั้นเปลี่ยนนิสัยได้
#มันคือการแก้กรรมที่แท้จริง

เพราะว่านิสัยของเรามันคือ "ชะตาชีวิต"

ถ้าโยมมีนิสัยแบบไหนนี่
ถ้าใครสักคนนึงชอบโกรธคนพูดเป็นนิสัย
แล้วก็โกรธคนนี้บ่อยๆ พอคนที่พูดไม่ดี ก็โกรธเขาอีก
มันก็จะเวียนไปเวียนไป มันคือคําสั่ง คือนิสัยที่ต้องเกิดอีกเกิดอีก

>> แต่ถ้าใครเลือกได้มันจบ

เห็นว่าอันนี้ร้อน อันนี้เย็น
#จบ  #เลิกได้  #แล้วมันอิสระ 

ให้มีนิสัยของสัมมาทิฏฐิ​ไว้

#มันคือการเปลี่ยนแปลงชะตาชีวิต  #เปลี่ยนแปลงกรรม

เพราะกรรมคือการกระทํา

ถ้าโยมสร้างเหตุปัจจัยที่ไม่ดีไว้
นิสัยที่ไม่ใช่สัมมาทิฏฐิ ที่ไม่ใช่สิ่งที่เป็นกุศล
ก็จะเป็นเหตุปัจจัย ส่งผลที่ไม่ดีตามมา

นิสัยแบบไหนก็จะก่อกายวาจาแบบนั้น
และกายวาจาแบบนั้นมันก็มาจาก"ใจ"ก่อน
ทุกครั้งที่คนจะพูดมันมาจากใจเสมอ
จะคิด จะพูด จะทําอะไร มาจาก "ใจ" เสมอ

#ใจเป็นใหญ่ใจเป็นประธาน

ดังนั้น "ใจ" สําคัญ
ทั้งนิสัยไม่เปลี่ยน นิสัยจะติดคิดลบ อิจฉาริษยา
อะไรพวกนี้ที่มันเป็นด้านอกุศล มันคือ >> ชะตากรรม ชะตาชีวิต

#แก้กรรมที่แท้จริง >> คืออริยมรรคมีองค์แปดนะ

และอริยมรรคมีองค์แปดที่แก้กรรม
เพราะว่ามันเปลี่ยนจาก "คิดร้อน" "พูดร้อน" "ทําร้อน"
••
เป็นมีความคิดที่เย็น "พูดเย็น" "ทำเย็น"
#มันเปลี่ยนเป็นฝั่งสัมมาทั้งหมด

#ให้มีนิสัยของสัมมาทิฏฐิไว้แล้วชีวิตจะมีแต่ความเจริญ

ทําไมรู้ไหม?  ทําไมใจมีแต่ความเจริญ?

เพราะว่าเมื่อมีสัมมาทิฏฐิอยู่ในหัวใจ
ทุกการคิดพูดทํา จะอยู่ฝั่งสัมมาทั้งหมด (สัมมา #อริยมรรค มีองค์ 8)​
.
ธรรมบรรยาย โดย พระวรินทร นิทฺทโร 
ค่ำวันที่ 31 ธันวาคม 2566

ขอบคุณแหล่งที่มาของการเผยแพร่ธรรม #มูลนิธิธรรมอารี
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่